กรุงเทพ--8 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางโทรศัพท์เกี่ยวกับการเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กระทรวงการต่างประเทศ และโอกาสนี้ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตขอบตัวปราสาทพระวิหาร ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่ทางการกัมพูชาผลิตขึ้น สรุปสาระสำคัญดังนี้
รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กัมพูชาส่งแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตตัวปราสาทพระวิหารให้ฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ตามที่ตกลงกันไว้ระหว่างการประชุมเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาโดยมีผู้แทนยูเนสโกเข้าร่วมด้วย เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ทั้งนี้ เชื่อว่าไม่มีส่วนใดล่วงล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อน
ขั้นตอนต่อไป จะมอบให้กรมแผนที่ทหาร นำไปตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามเจตจำนง ที่ทั้งสองฝ่ายตั้งไว้ต่อไป และจะส่งต่อให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. พิจารณา ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป หลังจากนั้น ฝ่ายไทยจะตอบกลับไปทางกัมพูชา เพื่อที่ฝ่ายกัมพูชาจะได้ส่งแผนที่ที่ฝ่ายไทยเห็นชอบไปให้สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ประมาณวันที่ 15 มิถุนายน 2551 ก่อนการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะมีขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ซึ่งฝ่ายไทยจะสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาแผนที่ดังกล่าวแล้วเสร็จก่อนที่ฝ่ายกัมพูชาจะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณา ในชั้นนี้ แผนที่ดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชน
ความคืบหน้าดังกล่าวนี้ ถือเป็นความสำเร็จในการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา แน่นแฟ้นมากขึ้น และแสดงให้เห็นว่าไทยและกัมพูชามีศักยภาพที่จะตกลงร่วมในกรณีที่ก่อให้ประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายได้
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ประกอบด้วย 1) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนในท้องที่ เนื่องจากหากปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ก็จะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมมากขึ้น และดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เงินรายได้จากการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย และ 2) ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชาดีขึ้นและเป็นบรรทัดฐานและกลไกที่ทั้งสองประเทศจะใช้ในการส่งเสริมความสัมพันธ์และการร่วมแก้ปัญหาระหว่างกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนทางโทรศัพท์เกี่ยวกับการเยือนราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ณ กระทรวงการต่างประเทศ และโอกาสนี้ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตขอบตัวปราสาทพระวิหาร ที่จะขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกที่ทางการกัมพูชาผลิตขึ้น สรุปสาระสำคัญดังนี้
รัฐมนตรีว่าการฯ กล่าวว่าเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่กัมพูชาส่งแผนที่ฉบับใหม่แสดงขอบเขตตัวปราสาทพระวิหารให้ฝ่ายไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2551 ตามที่ตกลงกันไว้ระหว่างการประชุมเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกระหว่างไทยกับกัมพูชาโดยมีผู้แทนยูเนสโกเข้าร่วมด้วย เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ที่สำนักงานใหญ่ยูเนสโก ณ กรุงปารีส ทั้งนี้ เชื่อว่าไม่มีส่วนใดล่วงล้ำเข้ามาในเขตพื้นที่ที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อน
ขั้นตอนต่อไป จะมอบให้กรมแผนที่ทหาร นำไปตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้แน่ใจว่าเป็นไปตามเจตจำนง ที่ทั้งสองฝ่ายตั้งไว้ต่อไป และจะส่งต่อให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือ สมช. พิจารณา ก่อนจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป หลังจากนั้น ฝ่ายไทยจะตอบกลับไปทางกัมพูชา เพื่อที่ฝ่ายกัมพูชาจะได้ส่งแผนที่ที่ฝ่ายไทยเห็นชอบไปให้สมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ประมาณวันที่ 15 มิถุนายน 2551 ก่อนการประชุมเพื่อพิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกจะมีขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 ซึ่งฝ่ายไทยจะสามารถดำเนินกระบวนการพิจารณาแผนที่ดังกล่าวแล้วเสร็จก่อนที่ฝ่ายกัมพูชาจะต้องนำเสนอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณา ในชั้นนี้ แผนที่ดังกล่าวยังไม่สามารถเปิดเผยต่อสาธารณชน
ความคืบหน้าดังกล่าวนี้ ถือเป็นความสำเร็จในการเจรจาของกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชา แน่นแฟ้นมากขึ้น และแสดงให้เห็นว่าไทยและกัมพูชามีศักยภาพที่จะตกลงร่วมในกรณีที่ก่อให้ประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่ายได้
ประโยชน์ที่ไทยจะได้รับจากการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ประกอบด้วย 1) ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของชุมชนในท้องที่ เนื่องจากหากปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ก็จะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมมากขึ้น และดึงดูดให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยี่ยมชมมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เงินรายได้จากการท่องเที่ยวในบริเวณดังกล่าวเพิ่มขึ้นด้วย และ 2) ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทย-กัมพูชาดีขึ้นและเป็นบรรทัดฐานและกลไกที่ทั้งสองประเทศจะใช้ในการส่งเสริมความสัมพันธ์และการร่วมแก้ปัญหาระหว่างกันต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-