กรุงเทพ--10 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวกรณีองค์การ Solidarity Center ภายใต้องค์กร American Federation of Labor and Congress of Industrial Organization (AFL-CIO) ออกรายงานเรื่อง The True Cost of Shrimp กล่าวหาอุตสาหกรรมกุ้งไทยว่าใช้แรงงานเด็ก และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงกับหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน มาเป็นระยะ โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้มีหนังสือชี้แจงถึงสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ สถานีโทรทัศน์ CNN และองค์กร AFL-CIO ตลอดจนเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าพบฝ่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นั้น
นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สั่งการให้นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวง การต่างประเทศ ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือและแสดงความกังวลต่อรายงานดังกล่าวกับฝ่ายสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมหารือยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ที่กรุงวอชิงตัน โดยฝ่ายไทยได้มอบเอกสารข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของไทยในเรื่องการตรวจตรากวดขันการปราบปรามการดำเนินการตามกฎหมายกับการใช้แรงงานเด็กต่อฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ มีนาย Christopher Hill Assistant Secretary of State เป็นหัวหน้าคณะ นอกจากนั้น นายวีระศักดิ์ฯ ยังได้หยิบยกประเด็นขึ้นหารือกับนาย William Burns ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วย
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ พร้อมด้วย พล. ต. ต. ธนากร ศิริอัฐ รองผู้บัญชาการตรวจคนเข้าเมือง และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เข้าพบนาย Lawrence Casey — Associate Deputy Under Secretary of Labor นาง Marcia Eugenio, Director for Child Labor, Forced Labor and Human Trafficking และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ โดยได้แจ้งข้อห่วงกังวลต่อความคลาดเคลื่อนของรายงานของ Solidarity Center และผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยจากรายงานดังกล่าว ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาง Eugenio ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินการของไทยในการปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ โดยเห็นว่าตนได้ร่วมงานกับไทยมาตั้งแต่ปี 2538 ถือว่าไทยเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดประเทศหนึ่งใน การจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งยังกล่าวว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญกับความถูกต้องของข้อมูล และวิธีการจัดทำรายงานซึ่งต้องมีความน่าเชื่อถือและเป็นกลาง รวมทั้งให้แน่ชัดว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องแพร่หลาย โดยจะไม่ถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียง 1-2 กรณี สะท้อนถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมกุ้งทั้งหมด
อธิบดีกรมอเมริกาฯ และรองผู้บัญชาการตรวจคนเข้าเมืองยังได้เข้าพบนาย Mark Lagon, Director of the Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons (TIP Office) และเจ้าหน้าที่จาก TIP Office โดยย้ำว่าไทยต้องการร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และขณะนี้ทีมงานของ Immigration and Customs Enforcement (ICE) กำลังเข้าเยี่ยมชมโรงงานกุ้งในประเทศไทยซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสของฝ่ายไทย ทั้งนี้ นาย Lagon รับที่จะแถลงข่าวในอีกประมาณ 2 สัปดาห์ข้างหน้า ให้เห็นถึงพัฒนาการในเรื่องการคุ้มครองแรงงานของไทยและจะไม่ใช้เฉพาะกรณีโรงงานรัญญาแพ้วเพียงกรณีเดียวมาตัดสินเกี่ยวกับสภาพการใช้แรงงานของอุตสาหกรรมกุ้งของไทย
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานงานให้ผู้แทนระดับสูงของกระทรวงแรงงานเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ภายในสองสัปดาห์หน้า โดยจะพบกับผู้แทนกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ตลอดจนสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกครั้ง
ทั้งนี้ การชี้แจงให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดนำเข้ากุ้งรายใหญ่จากไทยดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันมิให้ภาครัฐบาล รัฐสภาและเอกชนสหรัฐฯ มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอันสืบเนื่องจากรายงานของ Solidarity Center อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศได้นำผู้แทนจากภาครัฐ เช่น กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภาคเอกชน เดินทางไปให้ข้อมูลในเรื่องความก้าวหน้าของไทยในการป้องกันปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง เพื่อให้สหรัฐฯ มั่นใจในมาตรฐานที่ดีของไทยในเรื่องนี้ เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีผลต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการจ้างงานจำนวนมาก
ผลจากการเยือนสหรัฐฯ ที่ผ่านมาและการชี้แจงโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ ได้รับคำชื่นชมจากภาครัฐทั้งจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานเฝ้าระวังและปราบปรามการค้ามนุษย์สหรัฐฯ ว่า ไทยมีความก้าวหน้าในการป้องกันปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและแรงงานผิดกฎหมาย
อนึ่ง วันที่ 2 — 13 มิถุนายน เอกชนไทยได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก Immigration and Customs Enforcement (ICE) ของกระทรวง Homeland Security จากสหรัฐฯ มาเยี่ยมชมโรงงานกุ้งในไทย เพื่อย้ำให้เห็นถึงมาตรฐานของการใช้แรงงานและการผลิต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่ปรากฏเป็นข่าวกรณีองค์การ Solidarity Center ภายใต้องค์กร American Federation of Labor and Congress of Industrial Organization (AFL-CIO) ออกรายงานเรื่อง The True Cost of Shrimp กล่าวหาอุตสาหกรรมกุ้งไทยว่าใช้แรงงานเด็ก และกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงกับหน่วยงานต่างๆ ของสหรัฐผ่านสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน มาเป็นระยะ โดยเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตันได้มีหนังสือชี้แจงถึงสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ สถานีโทรทัศน์ CNN และองค์กร AFL-CIO ตลอดจนเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ได้เข้าพบฝ่ายต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นั้น
นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้สั่งการให้นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวง การต่างประเทศ ยกเรื่องนี้ขึ้นหารือและแสดงความกังวลต่อรายงานดังกล่าวกับฝ่ายสหรัฐฯ ในระหว่างการประชุมหารือยุทธศาสตร์ไทย-สหรัฐฯ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2551 ที่กรุงวอชิงตัน โดยฝ่ายไทยได้มอบเอกสารข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับความก้าวหน้าของไทยในเรื่องการตรวจตรากวดขันการปราบปรามการดำเนินการตามกฎหมายกับการใช้แรงงานเด็กต่อฝ่ายสหรัฐฯ ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ มีนาย Christopher Hill Assistant Secretary of State เป็นหัวหน้าคณะ นอกจากนั้น นายวีระศักดิ์ฯ ยังได้หยิบยกประเด็นขึ้นหารือกับนาย William Burns ปลัดกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ด้วย
นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นางนงนุช เพ็ชรรัตน์ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ พร้อมด้วย พล. ต. ต. ธนากร ศิริอัฐ รองผู้บัญชาการตรวจคนเข้าเมือง และผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน ได้เข้าพบนาย Lawrence Casey — Associate Deputy Under Secretary of Labor นาง Marcia Eugenio, Director for Child Labor, Forced Labor and Human Trafficking และเจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ โดยได้แจ้งข้อห่วงกังวลต่อความคลาดเคลื่อนของรายงานของ Solidarity Center และผลกระทบทางลบที่อาจจะเกิดขึ้นต่ออุตสาหกรรมกุ้งไทยจากรายงานดังกล่าว ซึ่งฝ่ายสหรัฐฯ ได้แสดงความเข้าใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาง Eugenio ได้กล่าวชื่นชมการดำเนินการของไทยในการปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและแรงงานบังคับ โดยเห็นว่าตนได้ร่วมงานกับไทยมาตั้งแต่ปี 2538 ถือว่าไทยเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดประเทศหนึ่งใน การจัดการกับปัญหาการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงาน รวมทั้งยังกล่าวว่ากระทรวงแรงงานสหรัฐฯ จะให้ความสำคัญกับความถูกต้องของข้อมูล และวิธีการจัดทำรายงานซึ่งต้องมีความน่าเชื่อถือและเป็นกลาง รวมทั้งให้แน่ชัดว่าปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องแพร่หลาย โดยจะไม่ถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียง 1-2 กรณี สะท้อนถึงภาพรวมของอุตสาหกรรมกุ้งทั้งหมด
อธิบดีกรมอเมริกาฯ และรองผู้บัญชาการตรวจคนเข้าเมืองยังได้เข้าพบนาย Mark Lagon, Director of the Office to Monitor and Combat Trafficking in Persons (TIP Office) และเจ้าหน้าที่จาก TIP Office โดยย้ำว่าไทยต้องการร่วมมือกับสหรัฐฯ เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และขณะนี้ทีมงานของ Immigration and Customs Enforcement (ICE) กำลังเข้าเยี่ยมชมโรงงานกุ้งในประเทศไทยซึ่งแสดงถึงความโปร่งใสของฝ่ายไทย ทั้งนี้ นาย Lagon รับที่จะแถลงข่าวในอีกประมาณ 2 สัปดาห์ข้างหน้า ให้เห็นถึงพัฒนาการในเรื่องการคุ้มครองแรงงานของไทยและจะไม่ใช้เฉพาะกรณีโรงงานรัญญาแพ้วเพียงกรณีเดียวมาตัดสินเกี่ยวกับสภาพการใช้แรงงานของอุตสาหกรรมกุ้งของไทย
นอกจากนี้ กระทรวงการต่างประเทศจะประสานงานให้ผู้แทนระดับสูงของกระทรวงแรงงานเดินทางไปสหรัฐฯ เพื่อหารือและชี้แจงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ภายในสองสัปดาห์หน้า โดยจะพบกับผู้แทนกระทรวงแรงงาน กระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนการค้าของสหรัฐฯ ตลอดจนสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง อีกครั้ง
ทั้งนี้ การชี้แจงให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงกับสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดนำเข้ากุ้งรายใหญ่จากไทยดังกล่าว ก็เพื่อป้องกันมิให้ภาครัฐบาล รัฐสภาและเอกชนสหรัฐฯ มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนอันสืบเนื่องจากรายงานของ Solidarity Center อย่างไรก็ดี กระทรวงการต่างประเทศได้นำผู้แทนจากภาครัฐ เช่น กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และภาคเอกชน เดินทางไปให้ข้อมูลในเรื่องความก้าวหน้าของไทยในการป้องกันปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและการบังคับใช้แรงงานในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องปีละครั้ง เพื่อให้สหรัฐฯ มั่นใจในมาตรฐานที่ดีของไทยในเรื่องนี้ เนื่องจากกระทรวงการต่างประเทศเห็นว่าอุตสาหกรรมดังกล่าวมีผลต่อเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการจ้างงานจำนวนมาก
ผลจากการเยือนสหรัฐฯ ที่ผ่านมาและการชี้แจงโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศในครั้งนี้ ได้รับคำชื่นชมจากภาครัฐทั้งจากกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงแรงงาน สำนักงานเฝ้าระวังและปราบปรามการค้ามนุษย์สหรัฐฯ ว่า ไทยมีความก้าวหน้าในการป้องกันปราบปรามการใช้แรงงานเด็กและแรงงานผิดกฎหมาย
อนึ่ง วันที่ 2 — 13 มิถุนายน เอกชนไทยได้เชิญเจ้าหน้าที่จาก Immigration and Customs Enforcement (ICE) ของกระทรวง Homeland Security จากสหรัฐฯ มาเยี่ยมชมโรงงานกุ้งในไทย เพื่อย้ำให้เห็นถึงมาตรฐานของการใช้แรงงานและการผลิต
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-