กรุงเทพ--12 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. เมื่อศาลโลกมีคำพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาเมื่อปี 2505 รัฐบาลไทยได้แถลงอย่างเป็นทางการว่ารัฐบาลไทยไม่เห็นด้วย (disagreement) กับคำพิพากษาดังกล่าว แต่ในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ไทยก็จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆอันเป็นผลมาจากคำพิพากษา ตามข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ ไทยได้คืนตัวปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชาไปตั้งแต่ปี 2505 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505
การที่ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะไม่ทำให้ไทยเสียสิทธิในเรื่องเขตแดนตามที่ไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี สิทธิที่ไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ย่อมเป็นสิทธิที่กฎหมายระหว่างประเทศได้รับรองไว้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวจะมีขอบเขตมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสถานะของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ถือเป็นที่สิ้นสุดและไม่มีการอุทธรณ์ (ข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก) และการขอให้ศาลทบทวนคำพิพากษาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ที่สำคัญที่ศาลไม่เคยรับทราบมาก่อน และไม่ได้เกิดจากการเพิกเฉยละเลยของฝ่ายที่ขอทบทวนคำพิพากษาคำขอทบทวนจะต้องกระทำภายใน 6 เดือนหลังจากการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่นั้น และต้องกระทำภายใน 10 ปีหลังจากที่มีคำพิพากษาสำหรับในกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ซึ่งเป็นเวลา 46 ปีแล้ว และพ้นเวลาขอทบทวนคำพิพากษาตามข้อ 61 ของธรรมนูญศาลโลก
3. แผนที่ขอบเขตปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาจะใช้ในการขอขึ้นทะเบียน โดยได้ร่างขึ้นใหม่และได้มอบให้ฝ่ายไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นั้น ขณะนี้กระทรวงฯ ได้ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พิจารณาอยู่
4. หากกัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้สำเร็จ ก็จะไม่กระทบต่อสิทธิทางเขตแดนของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานของ JBC ตาม MOU ปี 2543 เพราะจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทโดยไม่มีพื้นที่อนุรักษ์ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน
5. ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงกันที่จะปักหลักเขตแดนระหว่างกันตลอดแนวมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งรวมบริเวณปราสาทพระวิหารซึ่งยังไม่มีหลักเขตแดนด้วย ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการตามพื้นที่ที่กำหนดกันไว้แล้ว และคาดว่าจะใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะเข้าดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะดำเนินการเป็นอันดับที่ 6 จากพื้นที่การสำรวจทั้งหมด 7 ตอน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. เมื่อศาลโลกมีคำพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารอยู่ในดินแดนภายใต้อธิปไตยของกัมพูชาเมื่อปี 2505 รัฐบาลไทยได้แถลงอย่างเป็นทางการว่ารัฐบาลไทยไม่เห็นด้วย (disagreement) กับคำพิพากษาดังกล่าว แต่ในฐานะประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ ไทยก็จะปฏิบัติตามพันธกรณีต่าง ๆอันเป็นผลมาจากคำพิพากษา ตามข้อ 94 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ทั้งนี้ ไทยได้คืนตัวปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชาไปตั้งแต่ปี 2505 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2505
การที่ไทยสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะไม่ทำให้ไทยเสียสิทธิในเรื่องเขตแดนตามที่ไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด อย่างไรก็ดี สิทธิที่ไทยพึงมีตามกฎหมายระหว่างประเทศนั้น ย่อมเป็นสิทธิที่กฎหมายระหว่างประเทศได้รับรองไว้ ซึ่งสิทธิดังกล่าวจะมีขอบเขตมากน้อยเพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับสถานะของกฎหมายระหว่างประเทศที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
2. คำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ถือเป็นที่สิ้นสุดและไม่มีการอุทธรณ์ (ข้อ 60 ของธรรมนูญศาลโลก) และการขอให้ศาลทบทวนคำพิพากษาจะกระทำได้ต่อเมื่อมีการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่ที่สำคัญที่ศาลไม่เคยรับทราบมาก่อน และไม่ได้เกิดจากการเพิกเฉยละเลยของฝ่ายที่ขอทบทวนคำพิพากษาคำขอทบทวนจะต้องกระทำภายใน 6 เดือนหลังจากการค้นพบข้อเท็จจริงใหม่นั้น และต้องกระทำภายใน 10 ปีหลังจากที่มีคำพิพากษาสำหรับในกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ศาลมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2505 ซึ่งเป็นเวลา 46 ปีแล้ว และพ้นเวลาขอทบทวนคำพิพากษาตามข้อ 61 ของธรรมนูญศาลโลก
3. แผนที่ขอบเขตปราสาทพระวิหารซึ่งกัมพูชาจะใช้ในการขอขึ้นทะเบียน โดยได้ร่างขึ้นใหม่และได้มอบให้ฝ่ายไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2551 นั้น ขณะนี้กระทรวงฯ ได้ขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจากส่วนราชการต่าง ๆ รวมทั้งกรมแผนที่ทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย พิจารณาอยู่
4. หากกัมพูชาสามารถขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้สำเร็จ ก็จะไม่กระทบต่อสิทธิทางเขตแดนของประเทศไทย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการดำเนินงานของ JBC ตาม MOU ปี 2543 เพราะจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทโดยไม่มีพื้นที่อนุรักษ์ตามข้อกำหนดของคณะกรรมการมรดกโลกที่จะรุกล้ำเข้ามาในพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิทับซ้อนกัน
5. ไทยกับกัมพูชาได้ตกลงกันที่จะปักหลักเขตแดนระหว่างกันตลอดแนวมาตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งรวมบริเวณปราสาทพระวิหารซึ่งยังไม่มีหลักเขตแดนด้วย ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการตามพื้นที่ที่กำหนดกันไว้แล้ว และคาดว่าจะใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าจะเข้าดำเนินการในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะดำเนินการเป็นอันดับที่ 6 จากพื้นที่การสำรวจทั้งหมด 7 ตอน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-