กรุงเทพ--23 มิ.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่ากระทรวงการต่างประเทศกำลังเตรียมทำสมุดปกขาวชี้แจงข้อเท็จจริงและการดำเนินการที่ผ่านมาของกระทรวงการต่างประเทศในกรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้สาธารณชนรับทราบเรื่องทั้งหมดในเร็วๆ นี้
นายวีระศักดิ์ฯ กล่าวว่า การเจรจากับกัมพูชาที่ผ่านมามีการทำเป็นขั้นตอน และได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดตั้งแต่ระดับปฏิบัติจนถึงระดับนโยบายในที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมตรี (ครม.) กระทรวงการต่างประเทศไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่เจรจากับกัมพูชา แต่ทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายทหาร ทั้งกองบัญชาการกองทัพไทย กรมแผนที่ทหาร และกรมกิจการชายแดนทหาร
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ความสำเร็จในการเจรจานั้น ส่วนหนึ่งต้องให้เครดิตกับฝ่ายทหารที่ประสานงานแบบคู่ขนานไปกับฝ่ายทหารกัมพูชาด้วย เป็นการดำเนินงานในลักษณะที่เรียกว่า “กำปั้นเหล็กในถุงมือแพร (An iron fist in the velvet glove)” กล่าวคือ กระทรวงการต่างประเทศและทหารร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายทหารเปรียบเป็นกำปั้นเหล็กและกระทรวงการต่างประเทศเปรียบเป็นถุงมือแพร ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งทหารและกระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นตรงกัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่าหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายทหาร และ สมช. ทำงานอย่างต่อเนื่องและเต็มที่เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่
ต่อกรณีที่นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลกของไทยระบุว่า เคยเสนอให้ขึ้นทะเบียนร่วมกันระหว่างสองประเทศ ไม่เช่นนั้นไทยจะเสียดินแดนและอธิปไตย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เดิมทีระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-กัพมูชาในปี 2546 ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นว่าจะมีการพัฒนาเขาพระวิหารร่วมกัน และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมในปี 2547 เพื่อทำงานในเรื่องดังกล่าว โดยมีรองนายกรัฐมนตรี สก อาน ของกัมพูชาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย (ในขณะนั้น) เป็นประธาน ทว่าต่อมากัมพูชาได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเอง ซึ่งเมื่อไทยได้ทราบและเห็นว่ามีการระบุพื้นที่อนุรักษ์ล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ประเทศไทยจึงยื่นประท้วงกัมพูชาอย่างเป็นทางการและเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งจะรวมพื้นที่โดยรอบ อาทิ สระตราวและพื้นที่อื่นๆ เข้าไปด้วย แต่ทางกัมพูชานิ่งเฉย ต่อมาได้มีการแจ้งเป็นการภายในกับไทยว่าขอให้แต่ละฝ่ายขึ้นทะเบียนมรดกโลกในส่วนที่เป็นของแต่ละประเทศเอง ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าฝ่ายไทยได้เคยเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกันแล้ว แต่ทางกัมพูชาไม่ตอบรับข้อเสนอดังกล่าว
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่า การขึ้นทะเบียนตัวปราสาทเป็นสิทธิของกัมพูชาเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชา แต่ยืนยันว่าแผนที่ที่กัมพูชาเสนอเพื่อขอขึ้นเป็นมรดกโลกเป็นไปตามที่มติครม. เมื่อปี 2505 กำหนด พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน กัมพูชาไม่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่ยื่นเฉพาะพื้นที่ของกัมพูชาเอง
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวอีกว่า ไม่ว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีข้อกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหรือการปักปันเขตแดนระหว่างสองประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนเท่านั้นที่จะมีสิทธิไปเจรจา โดยปัจจุบันคณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา กำลังดำเนินการเจรจาปักปันเขตแดนในตอนที่ 3 ซึ่งในส่วนของเขาพระวิหารนั้นอยู่ในตอนที่ 6 จึงคาดว่าจะใช้เวลาอีกหลายปีในการดำเนินการ
ต่อข้อสังเกตที่ว่าหากขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท จะไม่ครบองค์ประกอบในการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของกัมพูชา ไม่ใช่เรื่องที่ประเทศไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนที่ไทยจะยื่นขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นมรดกโลกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศจะหารือและเตรียมความพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ต่อไป
ต่อกรณีกระแสข่าวการโยกย้ายข้าราชการในกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งเป็นทีมเจรจาเรื่องเขตแดน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวยืนยันว่าไม่มีการโยกย้ายใดๆ ผู้ที่เป็นตัวหลักในการเจรจาก็ยังทำหน้าที่ของตนตามเดิมและเป็นทีมเดิม ส่วนการเจรจากับทางกัมพูชาและยูเนสโกนั้น มีนายธนะ ดวงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในฐานะผู้แทนไทยประจำยูเนสโก และเป็นอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องเขตแดนและประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเขาพระวิหารเป็นอย่างดีอยู่ในทีมเจรจาด้วย ดังนั้นการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศจึงมีความต่อเนื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2551 นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ให้สัมภาษณ์ว่ากระทรวงการต่างประเทศกำลังเตรียมทำสมุดปกขาวชี้แจงข้อเท็จจริงและการดำเนินการที่ผ่านมาของกระทรวงการต่างประเทศในกรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ซึ่งรัฐบาลไทยได้ดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เพื่อให้สาธารณชนรับทราบเรื่องทั้งหมดในเร็วๆ นี้
นายวีระศักดิ์ฯ กล่าวว่า การเจรจากับกัมพูชาที่ผ่านมามีการทำเป็นขั้นตอน และได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอดตั้งแต่ระดับปฏิบัติจนถึงระดับนโยบายในที่ประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมตรี (ครม.) กระทรวงการต่างประเทศไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่เจรจากับกัมพูชา แต่ทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายทหาร ทั้งกองบัญชาการกองทัพไทย กรมแผนที่ทหาร และกรมกิจการชายแดนทหาร
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ความสำเร็จในการเจรจานั้น ส่วนหนึ่งต้องให้เครดิตกับฝ่ายทหารที่ประสานงานแบบคู่ขนานไปกับฝ่ายทหารกัมพูชาด้วย เป็นการดำเนินงานในลักษณะที่เรียกว่า “กำปั้นเหล็กในถุงมือแพร (An iron fist in the velvet glove)” กล่าวคือ กระทรวงการต่างประเทศและทหารร่วมมือกันทำงานอย่างใกล้ชิด โดยฝ่ายทหารเปรียบเป็นกำปั้นเหล็กและกระทรวงการต่างประเทศเปรียบเป็นถุงมือแพร ซึ่งจะเห็นได้ว่าทั้งทหารและกระทรวงการต่างประเทศมีความเห็นตรงกัน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่าหน่วยงานความมั่นคงของประเทศไทย ทั้งกระทรวงการต่างประเทศ ฝ่ายทหาร และ สมช. ทำงานอย่างต่อเนื่องและเต็มที่เพื่อรักษาอธิปไตยของไทยภายใต้กรอบกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่
ต่อกรณีที่นายอดุล วิเชียรเจริญ อดีตประธานคณะกรรมการมรดกโลกของไทยระบุว่า เคยเสนอให้ขึ้นทะเบียนร่วมกันระหว่างสองประเทศ ไม่เช่นนั้นไทยจะเสียดินแดนและอธิปไตย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เดิมทีระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรีร่วมไทย-กัพมูชาในปี 2546 ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นว่าจะมีการพัฒนาเขาพระวิหารร่วมกัน และได้มีการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมในปี 2547 เพื่อทำงานในเรื่องดังกล่าว โดยมีรองนายกรัฐมนตรี สก อาน ของกัมพูชาและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทย (ในขณะนั้น) เป็นประธาน ทว่าต่อมากัมพูชาได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเอง ซึ่งเมื่อไทยได้ทราบและเห็นว่ามีการระบุพื้นที่อนุรักษ์ล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อนซึ่งต่างฝ่ายต่างอ้างสิทธิ ประเทศไทยจึงยื่นประท้วงกัมพูชาอย่างเป็นทางการและเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกัน ซึ่งจะรวมพื้นที่โดยรอบ อาทิ สระตราวและพื้นที่อื่นๆ เข้าไปด้วย แต่ทางกัมพูชานิ่งเฉย ต่อมาได้มีการแจ้งเป็นการภายในกับไทยว่าขอให้แต่ละฝ่ายขึ้นทะเบียนมรดกโลกในส่วนที่เป็นของแต่ละประเทศเอง ดังนั้น จึงจะเห็นได้ว่าฝ่ายไทยได้เคยเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกันแล้ว แต่ทางกัมพูชาไม่ตอบรับข้อเสนอดังกล่าว
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวย้ำว่า การขึ้นทะเบียนตัวปราสาทเป็นสิทธิของกัมพูชาเนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของกัมพูชา แต่ยืนยันว่าแผนที่ที่กัมพูชาเสนอเพื่อขอขึ้นเป็นมรดกโลกเป็นไปตามที่มติครม. เมื่อปี 2505 กำหนด พื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อน กัมพูชาไม่ได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก แต่ยื่นเฉพาะพื้นที่ของกัมพูชาเอง
ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวอีกว่า ไม่ว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีข้อกังวลว่าจะมีผลกระทบต่อการเจรจาเรื่องพื้นที่ทับซ้อนหรือการปักปันเขตแดนระหว่างสองประเทศ เนื่องจากเป็นเรื่องที่คณะกรรมการปักปันเขตแดนเท่านั้นที่จะมีสิทธิไปเจรจา โดยปัจจุบันคณะกรรมการปักปันเขตแดนไทย-กัมพูชา กำลังดำเนินการเจรจาปักปันเขตแดนในตอนที่ 3 ซึ่งในส่วนของเขาพระวิหารนั้นอยู่ในตอนที่ 6 จึงคาดว่าจะใช้เวลาอีกหลายปีในการดำเนินการ
ต่อข้อสังเกตที่ว่าหากขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท จะไม่ครบองค์ประกอบในการยื่นขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า เรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องของกัมพูชา ไม่ใช่เรื่องที่ประเทศไทยต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง ส่วนที่ไทยจะยื่นขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานอื่นๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นมรดกโลกหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่กระทรวงการต่างประเทศจะหารือและเตรียมความพร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย ต่อไป
ต่อกรณีกระแสข่าวการโยกย้ายข้าราชการในกองเขตแดน กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งเป็นทีมเจรจาเรื่องเขตแดน ปลัดกระทรวงการต่างประเทศกล่าวยืนยันว่าไม่มีการโยกย้ายใดๆ ผู้ที่เป็นตัวหลักในการเจรจาก็ยังทำหน้าที่ของตนตามเดิมและเป็นทีมเดิม ส่วนการเจรจากับทางกัมพูชาและยูเนสโกนั้น มีนายธนะ ดวงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส ในฐานะผู้แทนไทยประจำยูเนสโก และเป็นอดีตอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านกฎหมายจากฝรั่งเศส ซึ่งมีความรู้ความเข้าใจในประเด็นเรื่องเขตแดนและประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับเขาพระวิหารเป็นอย่างดีอยู่ในทีมเจรจาด้วย ดังนั้นการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศจึงมีความต่อเนื่อง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-