กรุงเทพ--4 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ฯพณฯ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฯพณฯ นายสตีเฟน สมิท รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย ได้พบปะกันในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายสตีเฟน สมิท ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551
รัฐมนตรีทั้งสองตระหนักถึงประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพที่ยาวนาน และความร่วมมือที่ใกล้ชิด ระหว่างไทยและออสเตรเลีย ทั้งสองประเทศกล่าวถึงพันธกรณีในการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทวิภาคีให้ใกล้ชิดเช่นเดิม หลังจากที่ไทยกลับสู่ครรลองประชาธิปไตย เมื่อต้นปี 2551
รัฐมนตรีทั้งสองเน้นย้ำถึงความสำคัญโดยพื้นฐานของประชาธิปไตย การยึดถือและการถือปฏิบัติตามหลักการและวิธีปฏิบัติของระบอบประชาธิปไตย ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับธรรมาภิบาล เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
รัฐมนตรีทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่า ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่มีมายาวนาน ระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย ได้พัฒนามาถึงจุดแห่งความเป็นหุ้นส่วนกัน ที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์สำคัญแก่ทั้งสองประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศ เมื่อพิจารณาถึงความหลากหลายของความร่วมมือทวิภาคีในสาขาต่างๆ แล้ว รัฐมนตรีทั้งสองตกลงที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Action Plan) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายขอให้มีการลงนามแผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมสำหรับความร่วมมือทวิภาคี ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2551
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อความสำเร็จที่สำคัญว่า ตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ เมื่อเดือนมกราคม 2548 การค้าสองฝ่ายได้ขยายตัวอย่างมากจนบัดนี้ ไทยได้กลายเป็นคู่ค้าระหว่างกันที่ใหญ่ที่สุดในลำดับที่ 8 ของออสเตรเลีย รัฐมนตรีทั้งสองรับทราบถึงพันธกรณีภายใต้ TAFTA ที่จะเริ่มการเจรจาในระเบียบวาระที่เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงดังกล่าว ตลอดจนผลผลประโยชน์ที่พึงจะเกิดขึ้น สำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสอง
รัฐมนตรีทั้งสองเน้นย้ำถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมหลากหลายสาขา ซึ่งรวมถึง การป้องกันประเทศ การต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบขนคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รัฐมนตรีทั้งสองรับทราบว่า ไทยและออสเตรเลียมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย การควบคุมชายแดน และความปลอดภัยด้านการขนส่ง และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว รัฐมนตรีของ ทั้งสองจึงได้เสนอมาตรการต่างๆ ในบันทึกความเข้าใจระหว่างกันที่ลงนามไปในปี 2545 เพื่อสร้างเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อความสัมพันธ์โยงใยกันที่เข้มแข็งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนชาวออสเตรเลียที่เลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายด้านการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น (จำนวนกว่า 650,000 คนในปี 2550) และจำนวนคนไทยที่ศึกษาในออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้น (ประมาณ 19,000 คน ในปี 2550) ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดของนักเรียนไทยที่ศึกษาในต่างประเทศทั่วโลก
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อการหารือทวิภาคีที่ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้นในประเด็นท้าทายใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องสภาพสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานและความมั่นคงด้านอาหาร โดยตกลงกันว่า ทั้งไทยและออสเตรเลียจะร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายเหล่านี้
นายสตีเฟน สมิท ได้กล่าวว่า ออสเตรเลียหวังที่จะทำงานร่วมมือใกล้ชิดกับไทย เมื่อไทยดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียนในปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ฯพณฯ นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฯพณฯ นายสตีเฟน สมิท รัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย ได้พบปะกันในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของนายสตีเฟน สมิท ในฐานะรัฐมนตรีต่างประเทศออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2551
รัฐมนตรีทั้งสองตระหนักถึงประวัติศาสตร์แห่งมิตรภาพที่ยาวนาน และความร่วมมือที่ใกล้ชิด ระหว่างไทยและออสเตรเลีย ทั้งสองประเทศกล่าวถึงพันธกรณีในการฟื้นคืนความสัมพันธ์ทวิภาคีให้ใกล้ชิดเช่นเดิม หลังจากที่ไทยกลับสู่ครรลองประชาธิปไตย เมื่อต้นปี 2551
รัฐมนตรีทั้งสองเน้นย้ำถึงความสำคัญโดยพื้นฐานของประชาธิปไตย การยึดถือและการถือปฏิบัติตามหลักการและวิธีปฏิบัติของระบอบประชาธิปไตย ว่าเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับธรรมาภิบาล เสถียรภาพทางการเมือง และความเจริญรุ่งเรืองของประเทศ
รัฐมนตรีทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่า ความสัมพันธ์อันใกล้ชิดที่มีมายาวนาน ระหว่างไทยกับ ออสเตรเลีย ได้พัฒนามาถึงจุดแห่งความเป็นหุ้นส่วนกัน ที่เอื้ออำนวยผลประโยชน์สำคัญแก่ทั้งสองประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศ เมื่อพิจารณาถึงความหลากหลายของความร่วมมือทวิภาคีในสาขาต่างๆ แล้ว รัฐมนตรีทั้งสองตกลงที่จะพัฒนาแผนปฏิบัติการร่วม (Joint Action Plan) เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายขอให้มีการลงนามแผนปฏิบัติการร่วมดังกล่าวในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมสำหรับความร่วมมือทวิภาคี ในระดับรัฐมนตรีต่างประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในปี 2551
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อความสำเร็จที่สำคัญว่า ตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย มีผลบังคับใช้ เมื่อเดือนมกราคม 2548 การค้าสองฝ่ายได้ขยายตัวอย่างมากจนบัดนี้ ไทยได้กลายเป็นคู่ค้าระหว่างกันที่ใหญ่ที่สุดในลำดับที่ 8 ของออสเตรเลีย รัฐมนตรีทั้งสองรับทราบถึงพันธกรณีภายใต้ TAFTA ที่จะเริ่มการเจรจาในระเบียบวาระที่เป็นส่วนหนึ่งของความตกลงดังกล่าว ตลอดจนผลผลประโยชน์ที่พึงจะเกิดขึ้น สำหรับการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทั้งสอง
รัฐมนตรีทั้งสองเน้นย้ำถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ครอบคลุมหลากหลายสาขา ซึ่งรวมถึง การป้องกันประเทศ การต่อสู้อาชญากรรมข้ามชาติ เช่น การค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ และการลักลอบขนคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย รัฐมนตรีทั้งสองรับทราบว่า ไทยและออสเตรเลียมีความร่วมมือที่แข็งแกร่งด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งรวมถึงการบังคับใช้กฎหมาย การควบคุมชายแดน และความปลอดภัยด้านการขนส่ง และเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ดังกล่าว รัฐมนตรีของ ทั้งสองจึงได้เสนอมาตรการต่างๆ ในบันทึกความเข้าใจระหว่างกันที่ลงนามไปในปี 2545 เพื่อสร้างเสริมความร่วมมือด้านการต่อต้านการก่อการร้ายให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อความสัมพันธ์โยงใยกันที่เข้มแข็งระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งเห็นได้จากจำนวนชาวออสเตรเลียที่เลือกประเทศไทยเป็นจุดหมายด้านการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น (จำนวนกว่า 650,000 คนในปี 2550) และจำนวนคนไทยที่ศึกษาในออสเตรเลียที่เพิ่มขึ้น (ประมาณ 19,000 คน ในปี 2550) ซึ่งเป็นตัวเลขสูงสุดของนักเรียนไทยที่ศึกษาในต่างประเทศทั่วโลก
รัฐมนตรีทั้งสองยินดีต่อการหารือทวิภาคีที่ขยายตัวกว้างขวางมากขึ้นในประเด็นท้าทายใหม่ๆ ซึ่งรวมถึงเรื่องสภาพสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พลังงานและความมั่นคงด้านอาหาร โดยตกลงกันว่า ทั้งไทยและออสเตรเลียจะร่วมมือกันเพื่อแก้ไขปัญหาความท้าทายเหล่านี้
นายสตีเฟน สมิท ได้กล่าวว่า ออสเตรเลียหวังที่จะทำงานร่วมมือใกล้ชิดกับไทย เมื่อไทยดำรงตำแหน่งประธานของอาเซียนในปลายเดือนกรกฎาคม ศกนี้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-