กรุงเทพ--7 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในเวลานี้ ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่การตีความ ทั้งการตีความด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี และของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การตีความแถลงการณ์ร่วมว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายตาม มาตรา190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 และการตีความในรายละเอียดของผลการเจรจาต่าง ๆ และผลสืบเนื่อง เป็นต้น
การตีความที่ต่างกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ท้ายที่สุดก็จะมีผู้ที่ตัดสิน และทุกฝ่ายก็ควรยอมรับข้อยุติดังกล่าว เพื่อเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยสอดคล้องต่อไป โดยเฉพาะคำตัดสินของศาลปกครอง คำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลไกตามกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ที่ทุกฝ่ายรวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศจะต้องเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังเช่นที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งชั่วคราวให้ระงับการอ้างหรือใช้ประโยชน์และการดำเนินการ ใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไว้ก่อน กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด รวมทั้งได้แจ้งขอให้ระงับผลการใช้บังคับของคำแถลงการณ์ร่วมไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว
ปัญหาการตีความ ก็ยังได้เกิดกับกรณีหลังสุด เมื่อมีการกล่าวถึงข้อมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสท์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 2550 ที่ว่าประเทศไทยได้เคยแสดงเจตนารมณ์อย่างแข็งขันไปแล้วที่จะให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่นครควิเบก ขณะที่ก็มีผู้ตีความว่า ข้อมติดังกล่าวเป็นเงื่อนไขว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากไทยก่อนเป็นต้น ในประเด็นนี้ ขอให้ข้อมูลในภาพรวมว่า ไทยมีท่าทีที่แสดงออกอยู่เสมอว่า เราสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าในเชิงโบราณคดีที่ควรเป็นมรดกแห่งมนุษยชาติ แต่ต้องไม่กระทบต่อเรื่องเขตแดน รวมทั้งไทยก็เป็นฝ่ายที่แสดงเจตจำนงมาโดยตลอดว่า ควรจะขึ้นทะเบียนองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งรวมหมายถึง สระตราว สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ภาพสลักนูนต่ำ และอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตแดนไทยด้วย เพื่อความสมบูรณ์ แต่ก็ด้วยท่าทีของฝ่ายกัมพูชาที่เห็นว่า ควรต่างคนต่างขึ้น จึงเป็นที่มาของปัญหาของการที่จะขึ้นทะเบียนร่วมจนวันนี้
ขณะนี้กำลังจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่นครควิเบก คาดว่าจะถึงวาระการประชุมหัวข้อนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2551 หรือวันที่ 7 กรกฎาคม เวลาไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยืนยันว่า จะไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ซึ่งคงจะต้องติดตามผลในเรื่องนี้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การวิพากษ์วิจารณ์ในประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารในเวลานี้ ปัญหาส่วนใหญ่อยู่ที่การตีความ ทั้งการตีความด้านกฎหมายที่เกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรี และของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การตีความแถลงการณ์ร่วมว่าเข้าข่ายหรือไม่เข้าข่ายตาม มาตรา190 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 และการตีความในรายละเอียดของผลการเจรจาต่าง ๆ และผลสืบเนื่อง เป็นต้น
การตีความที่ต่างกันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ แต่ท้ายที่สุดก็จะมีผู้ที่ตัดสิน และทุกฝ่ายก็ควรยอมรับข้อยุติดังกล่าว เพื่อเดินหน้าปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยสอดคล้องต่อไป โดยเฉพาะคำตัดสินของศาลปกครอง คำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกลไกตามกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ที่ทุกฝ่ายรวมทั้งกระทรวงการต่างประเทศจะต้องเคารพและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังเช่นที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งชั่วคราวให้ระงับการอ้างหรือใช้ประโยชน์และการดำเนินการ ใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องกับมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการลงนามในแถลงการณ์ร่วมไว้ก่อน กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด รวมทั้งได้แจ้งขอให้ระงับผลการใช้บังคับของคำแถลงการณ์ร่วมไปยังทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องแล้ว
ปัญหาการตีความ ก็ยังได้เกิดกับกรณีหลังสุด เมื่อมีการกล่าวถึงข้อมติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่เมืองไครสท์เชิร์ช ประเทศนิวซีแลนด์ ในปี 2550 ที่ว่าประเทศไทยได้เคยแสดงเจตนารมณ์อย่างแข็งขันไปแล้วที่จะให้การสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 32 ที่นครควิเบก ขณะที่ก็มีผู้ตีความว่า ข้อมติดังกล่าวเป็นเงื่อนไขว่ากัมพูชาจะขึ้นทะเบียนปราสาทได้จะต้องได้รับการสนับสนุนจากไทยก่อนเป็นต้น ในประเด็นนี้ ขอให้ข้อมูลในภาพรวมว่า ไทยมีท่าทีที่แสดงออกอยู่เสมอว่า เราสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เนื่องจากมีคุณค่าในเชิงโบราณคดีที่ควรเป็นมรดกแห่งมนุษยชาติ แต่ต้องไม่กระทบต่อเรื่องเขตแดน รวมทั้งไทยก็เป็นฝ่ายที่แสดงเจตจำนงมาโดยตลอดว่า ควรจะขึ้นทะเบียนองค์ประกอบทั้งหมดร่วมกัน ซึ่งรวมหมายถึง สระตราว สถูปคู่ แหล่งตัดหิน ภาพสลักนูนต่ำ และอื่น ๆ ที่อยู่ในเขตแดนไทยด้วย เพื่อความสมบูรณ์ แต่ก็ด้วยท่าทีของฝ่ายกัมพูชาที่เห็นว่า ควรต่างคนต่างขึ้น จึงเป็นที่มาของปัญหาของการที่จะขึ้นทะเบียนร่วมจนวันนี้
ขณะนี้กำลังจะมีการพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 ที่นครควิเบก คาดว่าจะถึงวาระการประชุมหัวข้อนี้ในวันที่ 6 กรกฎาคม 2551 หรือวันที่ 7 กรกฎาคม เวลาไทย ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศก็ได้ยืนยันว่า จะไปดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ซึ่งคงจะต้องติดตามผลในเรื่องนี้ต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-