กรุงเทพ--8 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เวลา 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 (32nd Meeting of the World Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 ที่แคนาดา ได้แจ้งความคืบหน้าทางโทรศัพท์เกี่ยวกับกรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แนวโน้มการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
กัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกและมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2505 โดยการพิจารณากรณีปราสาทพระวิหารถูกเลื่อนจากวาระที่ 4 ไปเป็นวาระที่ 47 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้มีเวลาตกลงกัน ส่วนการดำเนินการในระหว่างนี้ ไทยได้แจ้งท่าทีของไทยในการขอเลื่อนการพิจารณาและเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกันต่อผู้แทนคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งได้มีการนำท่าทีของไทยไปหารือกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงเจรจาเรียบร้อยแล้วโดยผ่านคณะกรรมการฯ จึงจะมีการแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ทราบต่อไป อย่างไรก็ดี ผู้แทนคณะกรรมการฯ กล่าวว่าคงเลื่อนการพิจารณาอีกไม่ได้ เนื่องจากได้เลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว ส่วนการเสนอขอขึ้นทะเบียนร่วมนั้น ทางกัมพูชาขอเสนอฝ่ายเดียวและยอมลดพื้นที่ลงมา เหลือเพียงเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น โดยทางกัมพูชายืนยันว่าไม่มีการรุกล้ำเข้ามายังดินแดนไทย
สาเหตุประการหนึ่งที่กัมพูชามีแนวโน้มจะได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท เนื่องมาจากการที่องค์การ ICOMOS (International Council on Monuments and Sites) ซึ่งเป็นองค์การที่เข้ามาทำการสำรวจ วิจัย และทำรายงานข้อเสนอแนะให้แก่ยูเนสโก แจ้งว่ากัมพูชาได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์ที่ 1,3 และ 4 จากทั้งหมด 6 หลักเฏณฑ์ แต่การที่กัมพูชาลดพื้นที่ลงมาเหลือเพียงแค่ตัวปราสาทฯ ทำให้ ICOMOS พิจารณาให้ผ่านหลักเกณฑ์ที่ 1 คือการเป็นหลักฐานแสดงอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ ส่วนหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ไม่ผ่านการพิจารณาของ ICOMOS เนื่องจากปราสาทฯ เป็นโบราณสถานในพื้นที่ทับซ้อน และโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทยไม่ได้ถูกนำมารวมด้วย ทำให้องค์ประกอบปราสาทพระวิหารไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์การเป็นมรดกโลก ไทยจึงสามารถนำมาโต้แย้งได้ว่า ไทยและกัมพูชาควรเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทฯ ร่วมกัน โดยหากกัมพูชายอมรับการเสนอดังกล่าวของไทย ก็จะสามารถผ่านตามหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ไปได้
อย่างไรก็ดี ปรากฏว่ากัมพูชายังคงมีท่าทีจะขอขี้นทะเบียนฝ่ายเดียวให้ได้ แม้จะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ICOMOS ไทยจึงเจรจาว่าหากเป็นเช่นนั้น กัมพูชาก็จะต้องสนับสนุนการขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่เกี่ยวข้องในฝั่งไทยต่อไป รวมทั้งการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งอื่นๆ ของไทยด้วย
นายปองพลฯ กล่าวว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบกัมพูชา คือ รัฐบาลกัมพูชากำหนดเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ จึงทำให้มีนโยบายชัดเจนและดำเนินการต่อเนื่องมาตลอด 2 ปีเต็ม ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยเกิดการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ทำให้ขาดตอนในการดำเนินการ อีกทั้งประเทศต่างๆ ที่เป็นประชาธิปไตยก็หันไปสนับสนุนกัมพูชาในช่วงที่ไทยมีรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร
2. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ
นายปองพลฯ ชมเชยการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากในการประชุมที่นิวซีแลนด์เมื่อปีที่แล้ว คณะทำงานของกระทรวงฯ ได้พบว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบเสนอไปนั้น มีบางส่วนที่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน ประเทศไทยจึงได้ทักท้วงเรื่องดังกล่าว จนทำให้มีการเลื่อนการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทฯ เป็นมรดกโลกออกไป ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสามารถเจรจาจนกัมพูชายอมขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งถ้าไม่มีการยับยั้งเรื่องนี้ในปีที่แล้ว กัมพูชาก็คงสามารถขึ้นทะเบียนได้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อเป็นการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร กัมพูชาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแผนที่ จึงกล่าวได้ว่าการทำงานของกระทรวงฯ ในการแสดงท่าทีไทยคัดค้านกัมพูชาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ และการเจรจาจนกัมพูชายอมเสนอให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทนั้น แสดงว่าไทยไม่เสียดินแดน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 เวลา 10.00 น. ตามเวลาประเทศไทย นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกของไทย ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 32 (32nd Meeting of the World Heritage Committee) ระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม 2551 ที่แคนาดา ได้แจ้งความคืบหน้าทางโทรศัพท์เกี่ยวกับกรณีการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. แนวโน้มการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
กัมพูชามีแนวโน้มที่จะได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นของกัมพูชาตามคำตัดสินของศาลโลกและมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2505 โดยการพิจารณากรณีปราสาทพระวิหารถูกเลื่อนจากวาระที่ 4 ไปเป็นวาระที่ 47 ซึ่งเป็นวาระสุดท้ายในวันที่ 7 กรกฎาคม ตามเวลาท้องถิ่น เพื่อให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาได้มีเวลาตกลงกัน ส่วนการดำเนินการในระหว่างนี้ ไทยได้แจ้งท่าทีของไทยในการขอเลื่อนการพิจารณาและเสนอให้มีการขึ้นทะเบียนร่วมกันต่อผู้แทนคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งได้มีการนำท่าทีของไทยไปหารือกับฝ่ายกัมพูชา เมื่อทั้งสองฝ่ายตกลงเจรจาเรียบร้อยแล้วโดยผ่านคณะกรรมการฯ จึงจะมีการแจ้งให้ที่ประชุมใหญ่ทราบต่อไป อย่างไรก็ดี ผู้แทนคณะกรรมการฯ กล่าวว่าคงเลื่อนการพิจารณาอีกไม่ได้ เนื่องจากได้เลื่อนมาครั้งหนึ่งแล้ว ส่วนการเสนอขอขึ้นทะเบียนร่วมนั้น ทางกัมพูชาขอเสนอฝ่ายเดียวและยอมลดพื้นที่ลงมา เหลือเพียงเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้น โดยทางกัมพูชายืนยันว่าไม่มีการรุกล้ำเข้ามายังดินแดนไทย
สาเหตุประการหนึ่งที่กัมพูชามีแนวโน้มจะได้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท เนื่องมาจากการที่องค์การ ICOMOS (International Council on Monuments and Sites) ซึ่งเป็นองค์การที่เข้ามาทำการสำรวจ วิจัย และทำรายงานข้อเสนอแนะให้แก่ยูเนสโก แจ้งว่ากัมพูชาได้ยื่นขอขึ้นทะเบียนตามหลักเกณฑ์ที่ 1,3 และ 4 จากทั้งหมด 6 หลักเฏณฑ์ แต่การที่กัมพูชาลดพื้นที่ลงมาเหลือเพียงแค่ตัวปราสาทฯ ทำให้ ICOMOS พิจารณาให้ผ่านหลักเกณฑ์ที่ 1 คือการเป็นหลักฐานแสดงอัจฉริยภาพด้านการสร้างสรรค์ ส่วนหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ไม่ผ่านการพิจารณาของ ICOMOS เนื่องจากปราสาทฯ เป็นโบราณสถานในพื้นที่ทับซ้อน และโบราณสถานที่ตั้งอยู่ในเขตประเทศไทยไม่ได้ถูกนำมารวมด้วย ทำให้องค์ประกอบปราสาทพระวิหารไม่สมบูรณ์ตามหลักเกณฑ์การเป็นมรดกโลก ไทยจึงสามารถนำมาโต้แย้งได้ว่า ไทยและกัมพูชาควรเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทฯ ร่วมกัน โดยหากกัมพูชายอมรับการเสนอดังกล่าวของไทย ก็จะสามารถผ่านตามหลักเกณฑ์ที่ 3 และ 4 ไปได้
อย่างไรก็ดี ปรากฏว่ากัมพูชายังคงมีท่าทีจะขอขี้นทะเบียนฝ่ายเดียวให้ได้ แม้จะไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ ICOMOS ไทยจึงเจรจาว่าหากเป็นเช่นนั้น กัมพูชาก็จะต้องสนับสนุนการขึ้นทะเบียนโบราณสถานที่เกี่ยวข้องในฝั่งไทยต่อไป รวมทั้งการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกแห่งอื่นๆ ของไทยด้วย
นายปองพลฯ กล่าวว่าสิ่งหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยเสียเปรียบกัมพูชา คือ รัฐบาลกัมพูชากำหนดเรื่องดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติ จึงทำให้มีนโยบายชัดเจนและดำเนินการต่อเนื่องมาตลอด 2 ปีเต็ม ขณะที่สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศไทยเกิดการรัฐประหารเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ทำให้ขาดตอนในการดำเนินการ อีกทั้งประเทศต่างๆ ที่เป็นประชาธิปไตยก็หันไปสนับสนุนกัมพูชาในช่วงที่ไทยมีรัฐบาลมาจากการรัฐประหาร
2. การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศ
นายปองพลฯ ชมเชยการทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ เนื่องจากในการประชุมที่นิวซีแลนด์เมื่อปีที่แล้ว คณะทำงานของกระทรวงฯ ได้พบว่าแผนที่ที่กัมพูชาแนบเสนอไปนั้น มีบางส่วนที่ล้ำเข้ามาในพื้นที่ทับซ้อน ประเทศไทยจึงได้ทักท้วงเรื่องดังกล่าว จนทำให้มีการเลื่อนการพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทฯ เป็นมรดกโลกออกไป ต่อมานายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสามารถเจรจาจนกัมพูชายอมขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งถ้าไม่มีการยับยั้งเรื่องนี้ในปีที่แล้ว กัมพูชาก็คงสามารถขึ้นทะเบียนได้เรียบร้อยแล้ว และเมื่อเป็นการขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร กัมพูชาจึงจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแผนที่ จึงกล่าวได้ว่าการทำงานของกระทรวงฯ ในการแสดงท่าทีไทยคัดค้านกัมพูชาตั้งแต่เมื่อปีที่แล้วเป็นเรื่องที่สำคัญ และการเจรจาจนกัมพูชายอมเสนอให้ขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาทนั้น แสดงว่าไทยไม่เสียดินแดน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-