กรุงเทพ--8 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ถ้อยแถลงโดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 นครควิเบก ประเทศแคนาดา วันที่ 7 กรกฎาคม 2551
ท่านประธาน
ท่านสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกผู้ทรงเกียรติ
ท่านสภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผมได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก อันงดงามในวันนี้
เกี่ยวกับข้อมติในเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกที่คณะกรรมการ ฯ ได้ให้การรับรองไป ซึ่งแม้จะตั้งอยู่บนข้อบกพร่องและข้อจำกัดของคุณสมบัติต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการได้รับสถานะมรดกโลกที่สมบูรณ์ ตามข้อประเมินของอิโคโมสด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกข้อสังเกตและข้อสงวนดังต่อไปนี้
นอกเหนือจากข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่รอบ ๆ ปราสาท พระวิหาร ประเทศไทยประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากการกระทำหรือมาตรการ และการดำเนินการใด ๆ ที่จะติดตามมาหลังจากนี้ ไม่ว่าจะโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามอื่น ๆในพื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารที่เป็นดินแดนไทยนั้น จะไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะได้รับความยินยอมของประเทศไทยเท่านั้น ในฐานะประเทศภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ. 1972 ประเทศไทยยืนยันสิทธิทั้งหลายทั้งปวงของไทยตามมาตรา 11 (3) ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งกำหนดว่าการรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในดินแดน อธิปไตย หรือเขตอำนาจ ซึ่งอ้างสิทธิมากกว่าหนึ่งรัฐจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของรัฐที่มีข้อพิพาท
ประเทศไทยขอย้ำว่า การประท้วงและคัดค้านเอกสารทั้งปวงที่กัมพูชาได้ยื่นเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานทางเทคนิคของคณะผู้เชี่ยวชาญ และรายงานความก้าวหน้าที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง เพราะประเทศไทยถูกปิดโอกาสไม่ให้เข้าร่วมอย่างเต็มที่จนจำใจต้องสงวนสิทธิและปลีกตัวออกจากรายงานดังกล่าวในท้ายที่สุด ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกแก่คณะกรรมการมรดกโลกว่า แผนบริหารจัดการของปราสาทพระวิหารที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะไม่มี ทางสมบูรณ์ได้ หากปราศจากความร่วมมือจากประเทศไทย
ประเทศไทยรู้สึกเศร้าใจที่ว่า คณะกรรมการมรดกโลกได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ไทยมีฐานะเป็นประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และความเป็นไปได้ที่ไทยจะยื่นเสนอบริเวณโดยรอบในเขตแดนไทยที่มีลักษณะสอดคล้องเกื้อกูลต่อคุณค่าอันโดดเด่นอันเป็นสากลของปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก เพื่อให้คุณค่าของสินทรัพย์แห่งนี้ มีความสมบูรณ์ในฐานะมรดกโลกอย่างแท้จริงดังนั้น ประเทศไทยจึงขอย้ำ ณ ที่นี้ ถึงความตั้งใจที่จะยื่นจดทะเบียนสถานที่และอาณาบริเวณในดินแดนไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหาร เพื่อให้ได้รับสถานะเป็นมรดกโลก เพื่อให้คุณค่าความสำคัญและความสมบูรณ์ของสถานที่แห่งนี้ ปรากฏเป็นความจริง ในการนี้ ไทยจึงร้องขอคณะกรรมการ ฯ พิจารณาให้การสนับสนุนเจตนาของประเทศไทยในเรื่องนี้ด้วย
โดยสรุป ประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ในนามของคณะผู้แทนไทย ขอแจ้งและให้ความมั่นใจกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า ปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนี้ เป็นเพียงประเด็นเดียวในภาพรวมของความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชา รัฐบาลไทยยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลกัมพูชาในทุกเรื่องต่อไป เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศ
ท่านประธาน
ท่านสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกผู้ทรงเกียรติ
สุดท้าย ไทยประสงค์จะย้ำการสงวนสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย ถึงรักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และยืนยันรักษาสิทธิของไทยว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิทั้งปวงของประเทศไทยเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย ตลอดจนการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกในพื้นที่ในอนาคต และท่าทีทางกฎหมายของประเทศไทย
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ถ้อยแถลงโดยนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 นครควิเบก ประเทศแคนาดา วันที่ 7 กรกฎาคม 2551
ท่านประธาน
ท่านสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกผู้ทรงเกียรติ
ท่านสภาพสตรีและสุภาพบุรุษทุกท่าน
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ผมได้นำคณะผู้แทนไทยเดินทางมาร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก อันงดงามในวันนี้
เกี่ยวกับข้อมติในเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกที่คณะกรรมการ ฯ ได้ให้การรับรองไป ซึ่งแม้จะตั้งอยู่บนข้อบกพร่องและข้อจำกัดของคุณสมบัติต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการได้รับสถานะมรดกโลกที่สมบูรณ์ ตามข้อประเมินของอิโคโมสด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกข้อสังเกตและข้อสงวนดังต่อไปนี้
นอกเหนือจากข้อขัดแย้งเรื่องพรมแดนต่าง ๆ ที่ยังไม่ได้รับการแก้ไขในพื้นที่รอบ ๆ ปราสาท พระวิหาร ประเทศไทยประสงค์จะชี้ให้เห็นว่า ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติ เนื่องจากการกระทำหรือมาตรการ และการดำเนินการใด ๆ ที่จะติดตามมาหลังจากนี้ ไม่ว่าจะโดยกัมพูชาหรือฝ่ายที่สามอื่น ๆในพื้นที่ข้างเคียงปราสาทพระวิหารที่เป็นดินแดนไทยนั้น จะไม่สามารถดำเนินการได้จนกว่าจะได้รับความยินยอมของประเทศไทยเท่านั้น ในฐานะประเทศภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ค.ศ. 1972 ประเทศไทยยืนยันสิทธิทั้งหลายทั้งปวงของไทยตามมาตรา 11 (3) ของอนุสัญญา ฯ ซึ่งกำหนดว่าการรวมเอาทรัพย์สินที่ตั้งอยู่ในดินแดน อธิปไตย หรือเขตอำนาจ ซึ่งอ้างสิทธิมากกว่าหนึ่งรัฐจะไม่มีผลกระทบต่อสิทธิของรัฐที่มีข้อพิพาท
ประเทศไทยขอย้ำว่า การประท้วงและคัดค้านเอกสารทั้งปวงที่กัมพูชาได้ยื่นเพื่อเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายงานทางเทคนิคของคณะผู้เชี่ยวชาญ และรายงานความก้าวหน้าที่เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง เพราะประเทศไทยถูกปิดโอกาสไม่ให้เข้าร่วมอย่างเต็มที่จนจำใจต้องสงวนสิทธิและปลีกตัวออกจากรายงานดังกล่าวในท้ายที่สุด ประเทศไทยประสงค์ให้บันทึกแก่คณะกรรมการมรดกโลกว่า แผนบริหารจัดการของปราสาทพระวิหารที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติจะไม่มี ทางสมบูรณ์ได้ หากปราศจากความร่วมมือจากประเทศไทย
ประเทศไทยรู้สึกเศร้าใจที่ว่า คณะกรรมการมรดกโลกได้เพิกเฉยต่อข้อเท็จจริงที่ว่า ไทยมีฐานะเป็นประเทศที่มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ และความเป็นไปได้ที่ไทยจะยื่นเสนอบริเวณโดยรอบในเขตแดนไทยที่มีลักษณะสอดคล้องเกื้อกูลต่อคุณค่าอันโดดเด่นอันเป็นสากลของปราสาทพระวิหารในฐานะมรดกโลก เพื่อให้คุณค่าของสินทรัพย์แห่งนี้ มีความสมบูรณ์ในฐานะมรดกโลกอย่างแท้จริงดังนั้น ประเทศไทยจึงขอย้ำ ณ ที่นี้ ถึงความตั้งใจที่จะยื่นจดทะเบียนสถานที่และอาณาบริเวณในดินแดนไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหาร เพื่อให้ได้รับสถานะเป็นมรดกโลก เพื่อให้คุณค่าความสำคัญและความสมบูรณ์ของสถานที่แห่งนี้ ปรากฏเป็นความจริง ในการนี้ ไทยจึงร้องขอคณะกรรมการ ฯ พิจารณาให้การสนับสนุนเจตนาของประเทศไทยในเรื่องนี้ด้วย
โดยสรุป ประเทศไทยซึ่งจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์
ในนามของคณะผู้แทนไทย ขอแจ้งและให้ความมั่นใจกับคณะกรรมการมรดกโลกว่า ปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกนี้ เป็นเพียงประเด็นเดียวในภาพรวมของความสัมพันธ์ไทยกับกัมพูชา รัฐบาลไทยยังคงให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการทำงานอย่างใกล้ชิดกับรัฐบาลกัมพูชาในทุกเรื่องต่อไป เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศและประชาชนของทั้งสองประเทศ
ท่านประธาน
ท่านสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกผู้ทรงเกียรติ
สุดท้าย ไทยประสงค์จะย้ำการสงวนสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย ถึงรักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และยืนยันรักษาสิทธิของไทยว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหาร เป็นมรดกโลกจะไม่กระทบต่อสิทธิทั้งปวงของประเทศไทยเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย ตลอดจนการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกในพื้นที่ในอนาคต และท่าทีทางกฎหมายของประเทศไทย
ขอบคุณ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-