กรุงเทพ--9 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32
1. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะผู้แทนไทยประกอบด้วยนายสนั่นชาติ เทพหัสดิน เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ดร. มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษาคณะผู้แทนไทย (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ณ นครไครส์ทเชิร์ช นิวซีแลนด์) นายถวิล เปลี่ยนศรี รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พลโท นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร พันเอกนพดล โชติศิริ รองผู้บัญชาการโรงเรียนแผนที่ทหาร กรมแผนที่ทหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก แคนาดา ระหว่างวันที่ 2-8 กรกฎาคม 2551 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ประเด็นเรื่องกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่อยู่ในวาระการพิจารณาของที่ประชุม
2. คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ให้ความเห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย รับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวในฐานะที่เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของศิลปะเขมร
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นความต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31
3. มติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 นี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่นครไครส์เชิร์ช เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ที่เคยลงมติเห็นชอบในหลักการว่าปราสาทควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ข้อ 3 มติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ปี 2550) และไทยกับกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่า กัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 โดยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากไทย (ข้อ 1 ของมติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ปี 2550) และกำหนดให้กัมพูชาจัดทำรายงานความคืบหน้าเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 พิจารณาประกอบคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย
ภารกิจของคณะผู้แทนไทย
4. รัฐบาลไทยได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามพันธกรณีที่มีต่อข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ซึ่งปรากฏต่อมาว่าได้ก่อให้เกิดกระแสความห่วงกังวลในสังคมไทยจนเป็นเหตุให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ที่ห้ามมิให้อ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด กล่าวคือก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 ก็ได้มีหนังสือแจ้งยูเนสโก รัฐบาลกัมพูชา และประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ให้ทราบถึงคำสั่งศาลปกครองดังกล่าว และให้ระงับผลของคำแถลงการณ์ร่วมทั้งหมด นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 ที่นครควิเบก ยังได้มีหนังสือถึงหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ย้ำในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง โดยได้เน้นเพิ่มเติมถึงท่าทีของไทยที่จะรักษาสิทธิทั้งปวงในเรื่องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร กับได้ขอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้ไทยกับกัมพูชาได้มีโอกาสหารือกันเกี่ยวกับการเสนอปราสาทพระวิหาร และแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตไทย ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาโดยเร็ว
6. ในการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยคำนึงถึงความกังวลของสาธารณชนในปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างจริงจัง และได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะผู้แทนจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (ประเทศไทย) นำโดยนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการฯ โดยได้ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อโน้มน้าวและชักจูงให้คณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของไทยในฐานะประเทศผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เพื่อสนับสนุนให้ปราสาทพระวิหารมีความสมบูรณ์ในฐานะมรดกโลก โดยได้ดำเนินการทั้งโดย ลายลักษณ์อักษร และการรณรงค์แบบเข้าถึงตัวคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ รวมทั้งฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้คัดค้านและเลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกออกไปก่อน
7. ในการประชุมครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้ทำงานอย่างหนัก ทั้งเพื่อการรักษาสิทธิในเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตยไว้ รวมทั้งพยายามการแก้ไขปัญหาข้อห่วงกังวลของสังคมไทย ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกได้แสดงความเข้าใจ แม้ไม่ยินยอมในเรื่องการเลื่อนขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเนื่องจากหลักการของคณะกรรมการมรดกโลก แต่ข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลต่าง ๆ ของไทยได้รับการเอาใจใส่ด้วยดี ดังเห็นได้จากข้อมติในเรื่องต่าง ๆ อาทิ (1) การระบุอย่างชัดเจนถึงการไม่อ้างอิงและห้ามนำแถลงการณ์ร่วมฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มาใช้ประกอบการพิจารณา (และร่างแถลงการณ์ร่วมวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ถูกอ้างอย่างผิดพลาดว่ามีการลงนาม) ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่จะระงับแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว (2) การยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งแสดงนัยถึงการยอมรับของคณะกรรมการมรดกโลกว่าพื้นที่บริเวณรอบปราสาทตาม “แผนผัง” (graphic plan) ฉบับแก้ไขของกัมพูชาที่กำหนดขอบเขตของปราสาทพระวิหารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกยังเป็นที่พื้นที่ที่มีปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา (3) โอกาสที่ไทยได้รับจากคณะกรรมการมรดกโลกในเรื่องการขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกในอนาคต เป็นต้น
8. เกี่ยวกับเรื่องการรักษาท่าทีทางกฎหมาย สิทธิในเรื่องเขตแดน และอำนาจอธิปไตยของไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้แถลงคัดค้านข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่ยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยได้ย้ำถึงการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกบนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ครบถ้วนตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ โดยอ้างถึงข้อเสนอแนะขององค์กรที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของคณะกรรมการมรดกโลก (ICOMOS) ย้ำสิทธิของไทยโดยอ้างอิงข้อ 11(3) ของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และการรักษาสิทธิของไทยตามข้อสงวนต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีถึงรักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 หลังมีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีปราสาทพระวิหาร เพื่อรักษาสิทธิของไทยในเรื่องเขตแดนไว้อย่างสมบูรณ์ กับยืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อทำให้พื้นที่ฝั่งไทยที่ต่อเนื่องกับปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในอนาคตด้วย
9. อนึ่ง นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ยังได้แถลงแก่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ แสดงความผิดหวังอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาตามลำพังฝ่ายเดียว ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลกและข้อพิจารณาด้านวิชาการซึ่งมีผลลดความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการมรดกโลกเอง ประท้วงการใช้แผนที่และเอกสารต่าง ๆ ของกัมพูชาในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เป็นมิตรกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ในอนาคต กับยืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะยื่นขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานและอาณาบริเวณในเขตไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารในมิติด้านภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (cultural landscape) เป็นมรดกโลกเพื่อทำให้ปราสาทพระวิหารมีสถานะมรดกโลกที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือโดยสันติระหว่างประเทศไทยและกัมพูชารวมทั้งประชาชนทั้งสองฝ่ายด้วย
10. คณะผู้แทนไทยขอยืนยันว่าในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรักษาสิทธิของประเทศไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 นั้น ได้คำนึงถึงความสมดุลระหว่างประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นเพียงหนึ่งในประเด็นของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ยังมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศมากมาย และคณะผู้แทนไทยได้ยืนยันกับคณะกรรมการมรดกโลก รวมทั้งได้ทำความเข้าใจกับกัมพูชาซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าทั้งสองชาติ จะไม่ปล่อยให้ปัญหาอันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในภาพรวม และจะร่วมมือกันจรรโลงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันให้เจริญยั่งยืนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
การประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32
1. นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้นำคณะผู้แทนไทยประกอบด้วยนายสนั่นชาติ เทพหัสดิน เอกอัครราชทูต ณ กรุงออตตาวา ดร. มนัสพาสน์ ชูโต ที่ปรึกษาคณะผู้แทนไทย (หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ณ นครไครส์ทเชิร์ช นิวซีแลนด์) นายถวิล เปลี่ยนศรี รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ พลโท นิพัทธ์ ทองเล็ก เจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร พันเอกนพดล โชติศิริ รองผู้บัญชาการโรงเรียนแผนที่ทหาร กรมแผนที่ทหาร และเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก แคนาดา ระหว่างวันที่ 2-8 กรกฎาคม 2551 ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ ประเด็นเรื่องกัมพูชาขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก เป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่อยู่ในวาระการพิจารณาของที่ประชุม
2. คณะกรรมการมรดกโลกได้พิจารณาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ให้ความเห็นชอบโดยไม่มีการอภิปราย รับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก บนพื้นฐานของหลักเกณฑ์เพียงข้อเดียวในฐานะที่เป็นสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของศิลปะเขมร
การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นความต่อเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31
3. มติของที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 นี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 31 ที่นครไครส์เชิร์ช เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ที่เคยลงมติเห็นชอบในหลักการว่าปราสาทควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ข้อ 3 มติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ปี 2550) และไทยกับกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่า กัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลกในปี 2551 โดยการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากไทย (ข้อ 1 ของมติคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ปี 2550) และกำหนดให้กัมพูชาจัดทำรายงานความคืบหน้าเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 พิจารณาประกอบคำขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกด้วย
ภารกิจของคณะผู้แทนไทย
4. รัฐบาลไทยได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามพันธกรณีที่มีต่อข้อมติที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 31 ซึ่งปรากฏต่อมาว่าได้ก่อให้เกิดกระแสความห่วงกังวลในสังคมไทยจนเป็นเหตุให้ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ที่ห้ามมิให้อ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา จนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลปกครองกลางดังกล่าวอย่างเคร่งครัด กล่าวคือก่อนหน้าการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 ก็ได้มีหนังสือแจ้งยูเนสโก รัฐบาลกัมพูชา และประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ให้ทราบถึงคำสั่งศาลปกครองดังกล่าว และให้ระงับผลของคำแถลงการณ์ร่วมทั้งหมด นอกจากนั้น เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 ที่นครควิเบก ยังได้มีหนังสือถึงหัวหน้าคณะผู้แทนประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ย้ำในเรื่องดังกล่าวอีกครั้ง โดยได้เน้นเพิ่มเติมถึงท่าทีของไทยที่จะรักษาสิทธิทั้งปวงในเรื่องอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหาร กับได้ขอให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาเลื่อนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารออกไปเพื่อเปิดโอกาสให้ไทยกับกัมพูชาได้มีโอกาสหารือกันเกี่ยวกับการเสนอปราสาทพระวิหาร และแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตไทย ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกร่วมกันระหว่างไทยกับกัมพูชาโดยเร็ว
6. ในการเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยคำนึงถึงความกังวลของสาธารณชนในปัญหาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างจริงจัง และได้ร่วมทำงานอย่างใกล้ชิดกับคณะผู้แทนจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (ประเทศไทย) นำโดยนายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการฯ โดยได้ดำเนินการอย่างเต็มความสามารถเพื่อโน้มน้าวและชักจูงให้คณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ ตระหนักถึงความสำคัญของไทยในฐานะประเทศผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง เพื่อสนับสนุนให้ปราสาทพระวิหารมีความสมบูรณ์ในฐานะมรดกโลก โดยได้ดำเนินการทั้งโดย ลายลักษณ์อักษร และการรณรงค์แบบเข้าถึงตัวคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ รวมทั้งฝ่ายกัมพูชา เพื่อให้คัดค้านและเลื่อนการพิจารณาการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกออกไปก่อน
7. ในการประชุมครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้ทำงานอย่างหนัก ทั้งเพื่อการรักษาสิทธิในเรื่องเขตแดนและอำนาจอธิปไตยไว้ รวมทั้งพยายามการแก้ไขปัญหาข้อห่วงกังวลของสังคมไทย ซึ่งคณะกรรมการมรดกโลกได้แสดงความเข้าใจ แม้ไม่ยินยอมในเรื่องการเลื่อนขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเนื่องจากหลักการของคณะกรรมการมรดกโลก แต่ข้อเสนอแนะและข้อห่วงกังวลต่าง ๆ ของไทยได้รับการเอาใจใส่ด้วยดี ดังเห็นได้จากข้อมติในเรื่องต่าง ๆ อาทิ (1) การระบุอย่างชัดเจนถึงการไม่อ้างอิงและห้ามนำแถลงการณ์ร่วมฉบับวันที่ 18 มิถุนายน 2551 มาใช้ประกอบการพิจารณา (และร่างแถลงการณ์ร่วมวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 ถูกอ้างอย่างผิดพลาดว่ามีการลงนาม) ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่จะระงับแถลงการณ์ร่วมดังกล่าว (2) การยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนเฉพาะตัวปราสาท ซึ่งแสดงนัยถึงการยอมรับของคณะกรรมการมรดกโลกว่าพื้นที่บริเวณรอบปราสาทตาม “แผนผัง” (graphic plan) ฉบับแก้ไขของกัมพูชาที่กำหนดขอบเขตของปราสาทพระวิหารเพื่อการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกยังเป็นที่พื้นที่ที่มีปัญหาระหว่างไทยกับกัมพูชา (3) โอกาสที่ไทยได้รับจากคณะกรรมการมรดกโลกในเรื่องการขอขึ้นทะเบียนแหล่งโบราณสถานต่าง ๆ ในเขตไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารขึ้นเป็นมรดกโลกในอนาคต เป็นต้น
8. เกี่ยวกับเรื่องการรักษาท่าทีทางกฎหมาย สิทธิในเรื่องเขตแดน และอำนาจอธิปไตยของไทยนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยได้แถลงคัดค้านข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่ยินยอมให้กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยได้ย้ำถึงการพิจารณาของคณะกรรมการมรดกโลกบนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ไม่ครบถ้วนตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ โดยอ้างถึงข้อเสนอแนะขององค์กรที่ปรึกษาด้านวัฒนธรรมของคณะกรรมการมรดกโลก (ICOMOS) ย้ำสิทธิของไทยโดยอ้างอิงข้อ 11(3) ของอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และการรักษาสิทธิของไทยตามข้อสงวนต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือที่ นายถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีถึงรักษาการเลขาธิการสหประชาชาติเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2505 หลังมีคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ในคดีปราสาทพระวิหาร เพื่อรักษาสิทธิของไทยในเรื่องเขตแดนไว้อย่างสมบูรณ์ กับยืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะดำเนินการต่าง ๆ เพื่อทำให้พื้นที่ฝั่งไทยที่ต่อเนื่องกับปราสาทพระวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกในอนาคตด้วย
9. อนึ่ง นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ยังได้แถลงแก่ที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกครั้งนี้ แสดงความผิดหวังอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารโดยกัมพูชาตามลำพังฝ่ายเดียว ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการมรดกโลกและข้อพิจารณาด้านวิชาการซึ่งมีผลลดความน่าเชื่อถือของคณะกรรมการมรดกโลกเอง ประท้วงการใช้แผนที่และเอกสารต่าง ๆ ของกัมพูชาในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและความไม่เป็นมิตรกันระหว่างประชาชนในพื้นที่ในอนาคต กับยืนยันเจตนารมณ์ของไทยที่จะยื่นขอขึ้นทะเบียนโบราณสถานและอาณาบริเวณในเขตไทยที่เกี่ยวเนื่องกับปราสาทพระวิหารในมิติด้านภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม (cultural landscape) เป็นมรดกโลกเพื่อทำให้ปราสาทพระวิหารมีสถานะมรดกโลกที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งเป็นสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพและความร่วมมือโดยสันติระหว่างประเทศไทยและกัมพูชารวมทั้งประชาชนทั้งสองฝ่ายด้วย
10. คณะผู้แทนไทยขอยืนยันว่าในการดำเนินการต่าง ๆ เพื่อรักษาสิทธิของประเทศไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยที่ 32 นั้น ได้คำนึงถึงความสมดุลระหว่างประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกกับความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างไทยกับกัมพูชา ซึ่งเรื่องปราสาทพระวิหารเป็นเพียงหนึ่งในประเด็นของความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ยังมีผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศมากมาย และคณะผู้แทนไทยได้ยืนยันกับคณะกรรมการมรดกโลก รวมทั้งได้ทำความเข้าใจกับกัมพูชาซึ่งมีความเห็นตรงกันว่าทั้งสองชาติ จะไม่ปล่อยให้ปัญหาอันเกี่ยวกับปราสาทพระวิหาร ส่งผลกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาในภาพรวม และจะร่วมมือกันจรรโลงความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันให้เจริญยั่งยืนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-