กรุงเทพ--11 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานของ ICC ในการคุ้มครองและพัฒนาปราสาทพระวิหาร ดังนี้
1.ข้อ 14 ของข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่รับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้กำหนดให้กัมพูชาจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC) เพื่อตรวจสอบ (examine) นโยบายในการคุ้มครองและพัฒนา (safeguarding and development) ทรัพย์สิน หรือ property ที่ขอขึ้นทะเบียน โดยให้ร่วมมือกับ UNESCO และให้กัมพูชา “เชิญ” ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย โดยร่วมกับคู่ภาคีระหว่างประเทศอีกจำนวนไม่เกิน 7 ประเทศ/องค์กร ซึ่งในข้อ 9 ของข้อมติดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนนั้น จำกัดไว้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่รวมพื้นที่อื่น ดังนั้น จึงวางใจ
ได้ว่า การดำเนินการของ ICC จะไม่ล่วงล้ำเข้ามาในเขตที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นดินแดนของไทย ยิ่งกว่านั้น ข้อมตินี้เป็นการกำหนดให้กัมพูชามีพันธกรณีที่จะต้อง “เชิญ” ให้ไทยเข้าร่วม มิใช่บังคับให้ไทยต้องเข้าร่วมแต่ประการใด
2. การที่ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าวกำหนดให้กัมพูชาเชิญให้ไทยมีส่วนร่วมใน ICC จะเปิดโอกาสให้ไทยมีส่วนในการตรวจสอบนโยบายการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งหมายถึงโอกาสของไทยในการเข้าไปช่วยกำกับดูแลมิให้การพัฒนาปราสาทพระวิหารกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ใดๆ ของไทย
3. การจัดตั้ง ICC เป็นวิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งสำหรับ UNESCO และศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre) ในการดูแลรักษามรดกโลกทั้งที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่การดูแลรักษานั้นจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก และต้องใช้ความรู้ความชำนาญด้านวิชาการเฉพาะด้าน เช่น การอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน เป็นต้น และในอดีตที่ผ่านมา วิธีการทำงานโดย ICC นี้ก็ได้นำมาใช้เสมอในหลายๆ กรณี อาทิ คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองและพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนคร (International Coordinating Committee for the Safeguarding and Development of the Historic Site of Angkor — ICC Angkor) ซึ่งมีไทยร่วมอยู่ด้วย คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอัฟกานิสถาน (International Coordinating Committee for the Safeguarding of Afghanistan’s Cultural Heritage) คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอิรัก (International Coordinating Committee for the Safeguarding of Iraq’s Cultural Heritage) เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศ ในฐานะโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้ตอบคำถามสื่อมวลชนเกี่ยวกับรูปแบบการทำงานของ ICC ในการคุ้มครองและพัฒนาปราสาทพระวิหาร ดังนี้
1.ข้อ 14 ของข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกที่รับรองการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกได้กำหนดให้กัมพูชาจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC) เพื่อตรวจสอบ (examine) นโยบายในการคุ้มครองและพัฒนา (safeguarding and development) ทรัพย์สิน หรือ property ที่ขอขึ้นทะเบียน โดยให้ร่วมมือกับ UNESCO และให้กัมพูชา “เชิญ” ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย โดยร่วมกับคู่ภาคีระหว่างประเทศอีกจำนวนไม่เกิน 7 ประเทศ/องค์กร ซึ่งในข้อ 9 ของข้อมติดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนนั้น จำกัดไว้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่รวมพื้นที่อื่น ดังนั้น จึงวางใจ
ได้ว่า การดำเนินการของ ICC จะไม่ล่วงล้ำเข้ามาในเขตที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นดินแดนของไทย ยิ่งกว่านั้น ข้อมตินี้เป็นการกำหนดให้กัมพูชามีพันธกรณีที่จะต้อง “เชิญ” ให้ไทยเข้าร่วม มิใช่บังคับให้ไทยต้องเข้าร่วมแต่ประการใด
2. การที่ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าวกำหนดให้กัมพูชาเชิญให้ไทยมีส่วนร่วมใน ICC จะเปิดโอกาสให้ไทยมีส่วนในการตรวจสอบนโยบายการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งหมายถึงโอกาสของไทยในการเข้าไปช่วยกำกับดูแลมิให้การพัฒนาปราสาทพระวิหารกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ใดๆ ของไทย
3. การจัดตั้ง ICC เป็นวิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งสำหรับ UNESCO และศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre) ในการดูแลรักษามรดกโลกทั้งที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่การดูแลรักษานั้นจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก และต้องใช้ความรู้ความชำนาญด้านวิชาการเฉพาะด้าน เช่น การอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน เป็นต้น และในอดีตที่ผ่านมา วิธีการทำงานโดย ICC นี้ก็ได้นำมาใช้เสมอในหลายๆ กรณี อาทิ คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองและพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนคร (International Coordinating Committee for the Safeguarding and Development of the Historic Site of Angkor — ICC Angkor) ซึ่งมีไทยร่วมอยู่ด้วย คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอัฟกานิสถาน (International Coordinating Committee for the Safeguarding of Afghanistan’s Cultural Heritage) คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอิรัก (International Coordinating Committee for the Safeguarding of Iraq’s Cultural Heritage) เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-