กรุงเทพ--14 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อมติ: 32 COM 8 B. 102
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2
2. โดยอ้างถึง ข้อมติ 31 COM 8B.24 ซึ่งยอมรับ "ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหารมีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่าสากลที่โดดเด่นเบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ (4) และตกลงในหลักการว่าปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก"
3. ได้บันทึกว่า ความคืบหน้าโดยรัฐภาคีกัมพูชาไปสู่การพัฒนาแผนบริหารจัดการสำหรับทรัพย์สิน ดังร้องขอโดยคณะกรรมการโดยข้อมติ 31 COM 8 B.24 ที่นครไครส์ทเชิร์ช นิวซีแลนด์
4. ขอแสดง ความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น และ ICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าในกระบวนการนี้
5. รับรอง ว่าคำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทย กับยูเนสโก รวมทั้งร่างคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้
6. บันทึก ว่ารัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
7. ตัดสิน บนพื้นฐานการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษให้รับ ในกระบวนการพหุภาคีซึ่งไปสู่การจัดทำรายงานขยายความเสริมซึ่งเสนอเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยรัฐภาคีกัมพูชา ตามคำขอของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ข้อมูลส่งโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในวรรค148 ของแนวปฏิบัติดำเนินการ
8. รับรอง ว่าไทยได้แสดงความปรารถนาซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อที่จะร่วมในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
9. บันทึก ว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหารและไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่าง ๆ
10. พิจารณา ต่อไปอีกว่าการค้นคว้าทางโบราณคดีกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีในการค้นพบสำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย
11. ส่งเสริม กัมพูชาให้ประสานงานกับไทยในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้คุณค่าแก่ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็นสิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการรับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24
12. ขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา ในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1
13. ออก คำแถลงของเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ดังต่อไปนี้
ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ในเรื่องของผัง การตกแต่ง และความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เกณฑ์ 1: พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่งทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง
ความถูกต้องแท้จริงได้รับการยอมรับ ในลักษณะที่อาคารและวัสดุได้แสดงคุณค่าของทรัพย์สินเป็นอย่างดี ข้อเด่นของทรัพย์สิน ประกอบด้วยกลุ่มปราสาท บูรณภาพของทรัพย์สินถูกทำให้เสียไปส่วนหนึ่งเพราะส่วนของชะง่อนเขาไม่ได้รวมไว้ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาทในทางกฎหมายถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้าในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับการพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับการรับรอง
14. ร้องขอ ให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยการประสานงานกับยูเนสโก ให้จัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนาทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยเชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สิน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล
15. ร้องขอ รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009:
ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหารจัดการ
16. ร้องขอเพิ่มเติม ต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งแผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จให้ศูนย์มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้แก่คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 34 ใน ค.ศ. 2010
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
(คำแปลอย่างไม่เป็นทางการ)
ข้อมติ: 32 COM 8 B. 102
คณะกรรมการมรดกโลก
1. ได้ตรวจสอบ เอกสาร WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2
2. โดยอ้างถึง ข้อมติ 31 COM 8B.24 ซึ่งยอมรับ "ว่าสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งปราสาทพระวิหารมีความสำคัญระหว่างประเทศอย่างสูงและมีคุณค่าสากลที่โดดเด่นเบนพื้นฐานของเกณฑ์ (1) (3) และ (4) และตกลงในหลักการว่าปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก"
3. ได้บันทึกว่า ความคืบหน้าโดยรัฐภาคีกัมพูชาไปสู่การพัฒนาแผนบริหารจัดการสำหรับทรัพย์สิน ดังร้องขอโดยคณะกรรมการโดยข้อมติ 31 COM 8 B.24 ที่นครไครส์ทเชิร์ช นิวซีแลนด์
4. ขอแสดง ความขอบคุณต่อรัฐบาลเบลเยี่ยม สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอินเดีย ที่ให้การสนับสนุนการทำงานของผู้เชี่ยวชาญที่ช่วยเหลือในความพยายามครั้งนี้ และต่อรัฐบาลจีน และญี่ปุ่น และ ICCROM ที่ได้ให้ข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญที่มีค่าในกระบวนการนี้
5. รับรอง ว่าคำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทย กับยูเนสโก รวมทั้งร่างคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้
6. บันทึก ว่ารัฐภาคีกัมพูชาได้ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งแผนผังฉบับใหม่ของทรัพย์สิน (RGPP) รวมอยู่ใน WHC-08/32.COM/INF.8B.Add2 (ซึ่งต่อจากนี้ไปจะเรียกว่า “RGPP”) ระบุขอบเขตที่ทบทวนใหม่ของพื้นที่ที่เสนอสำหรับการขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลก
7. ตัดสิน บนพื้นฐานการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษให้รับ ในกระบวนการพหุภาคีซึ่งไปสู่การจัดทำรายงานขยายความเสริมซึ่งเสนอเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2008 โดยรัฐภาคีกัมพูชา ตามคำขอของคณะกรรมการมรดกโลกของยูเนสโก ข้อมูลส่งโดยรัฐภาคีนั้นภายหลังกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ในวรรค148 ของแนวปฏิบัติดำเนินการ
8. รับรอง ว่าไทยได้แสดงความปรารถนาซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อที่จะร่วมในการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารและพื้นที่โดยรอบ
9. บันทึก ว่าทรัพย์สินที่เสนอสำหรับขึ้นทะเบียนได้รับการลดขนาดและประกอบเพียงปราสาทพระวิหารและไม่รวมชะง่อนเขาที่มี่พื้นที่กว้าง หน้าผาและถ้ำต่าง ๆ
10. พิจารณา ต่อไปอีกว่าการค้นคว้าทางโบราณคดีกำลังดำเนินอยู่ ซึ่งอาจมีในการค้นพบสำคัญซึ่งอาจทำให้สามารถพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนข้ามพรมแดนใหม่ได้ ซึ่งจะต้องได้รับความยินยอมทั้งจากกัมพูชาและประเทศไทย
11. ส่งเสริม กัมพูชาให้ประสานงานกับไทยในการอนุรักษ์คุณค่าของทรัพย์สินด้วยข้อเท็จจริงที่ว่าประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ให้คุณค่าแก่ปราสาทพระวิหารมาช้านาน และตกลงว่าจะเป็นสิ่งพึงปรารถนาในอนาคตที่จะสะท้อนคุณค่าและภูมิทัศน์อย่างสมบูรณ์ โดยการขอขึ้นทะเบียนในบัญชีมรดกโลกเพิ่มเติมซึ่งจะเข้าเกณฑ์ 3 และ 4 ซึ่งได้รับการรับรองแล้วโดยคณะกรรมการในคำตัดสิน 31 COM 8B.24
12. ขึ้นทะเบียน ปราสาทพระวิหาร กัมพูชา ในบัญชีมรดกโลกในเกณฑ์ 1
13. ออก คำแถลงของเกี่ยวกับคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล ดังต่อไปนี้
ปราสาทพระวิหาร ซึ่งเป็นกลุ่มสถาปัตยกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของชุดอาคารที่เชื่อมต่อกันด้วยระบบทางเดินและบันไดเป็นแนวแกนยาว 800 เมตร เป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ในเรื่องของผัง การตกแต่ง และความสัมพันธ์กับภูมิทัศน์แวดล้อมที่น่าตื่นตาตื่นใจ
เกณฑ์ 1: พระวิหารเป็นศิลปกรรมชั้นเยี่ยมของสถาปัตยกรรมเขมร ซึ่งมีความบริสุทธิ์อย่างยิ่งทั้งในเรื่องผังและในรายละเอียดของการตกแต่ง
ความถูกต้องแท้จริงได้รับการยอมรับ ในลักษณะที่อาคารและวัสดุได้แสดงคุณค่าของทรัพย์สินเป็นอย่างดี ข้อเด่นของทรัพย์สิน ประกอบด้วยกลุ่มปราสาท บูรณภาพของทรัพย์สินถูกทำให้เสียไปส่วนหนึ่งเพราะส่วนของชะง่อนเขาไม่ได้รวมไว้ในขอบเขตของทรัพย์สิน มาตรการป้องกันปราสาทในทางกฎหมายถือว่าเพียงพอ และความคืบหน้าในกำหนดแนวทางของแผนบริหารจัดการ ต้องได้รับการพัฒนาเป็นแผนบริหารจัดการเต็มรูปแบบที่ได้รับการรับรอง
14. ร้องขอ ให้รัฐภาคีกัมพูชา โดยการประสานงานกับยูเนสโก ให้จัดการประชุมคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศเพื่อรักษาและพัฒนาทรัพย์สินภายในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009 โดยเชิญให้รัฐบาลไทยและหุ้นส่วนระหว่างประเทศอีกไม่เกิน 7 ประเทศ เข้าร่วม เพื่อตรวจสอบนโยบายทั่วไปเกี่ยวกับการรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของทรัพย์สิน โดยสอดคล้องกับมาตรฐานการอนุรักษ์สากล
15. ร้องขอ รัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งเอกสารต่อไปนี้ให้ศูนย์มรดกโลกภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2009:
ก) แผนที่ชั่วคราวซึ่งให้รายละเอียดเพิ่มเติมของทรัพย์สินที่ได้ขึ้นทะเบียน และแผนที่กำหนดขอบเขตของเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ข) เอกสารคำขอขึ้นทะเบียนที่ปรับปรุงแล้วเพื่อสะท้อนการเปลี่ยนแปลงขอบเขตของทรัพย์สิน
ค) คำยืนยันว่าพื้นที่บริหารจัดการของทรัพย์สินจะรวมทรัพย์สินที่ขึ้นทะเบียนและเขตกันชนที่ระบุใน RGPP
ง) รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับการเตรียมแผนบริหารจัดการ
16. ร้องขอเพิ่มเติม ต่อรัฐภาคีกัมพูชาให้ส่งแผนบริหารจัดการที่สมบูรณ์เพื่อทรัพย์สินที่ได้รับการขึ้นทะเบียนพร้อมทั้งแผนที่ที่แล้วเสร็จให้ศูนย์มรดกโลกภายในกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2010 เพื่อส่งให้แก่คณะกรรมการมรดกโลกในสมัยประชุมที่ 34 ใน ค.ศ. 2010
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-