กรุงเทพ--14 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวการลาออก ดังนี้
" พี่น้องชาวไทยที่เคารพ
กระผมภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย และที่เกิดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กระผมมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล
ตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระผมมุ่งมั่นทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ โดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง
การทำงานที่ผ่านมา 5 เดือนเศษ กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการต่างประเทศ โดยดำเนินการทูตเชิงรุก การทูตที่รวดเร็ว โดย
- ได้เร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของไทยในเวทีโลกกลับคืน หลังจากที่สูญเสียไปภายการหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 จนความเชื่อมั่นจากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันและสหภาพยุโรป มีกลับคืนมา
- ได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะที่มีชายแดนติดกัน ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้แน่นแฟ้น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ทำให้บทบาทของไทยในเวทีโลกมีความโดดเด่น และได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้นำในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยไซโคลนนากิสในพม่าร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ รวมถึงการเตรียมการเป็นประธานอาเซียน
- ผมได้มุ่งเน้นการทูตเพื่อเศรษฐกิจ โดยการเดินหน้าหาโอกาสด้านการค้าและการลงทุนให้คนไทยโดยใช้สถานทูตเป็นทัพหน้า ของประเทศในการหาโอกาสทางการค้าการลงทุน โดยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลธุรกิจในสถานทูตต่างๆ โดยเริ่มจากสถานทูตในจีนและสหภาพยุโรปที่บรัสเซลส์
- ในด้านการปกป้องผลประโยชน์ของไทยผมได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ประชาไมตรีที่กรุงเทพ เพื่อให้คำแนะนำแก่คนไทยในด้านกฎหมาย การเดินทาง และการทำงานในต่างประเทศ
พี่น้องที่เคารพ
นอกจากริเริ่มงานใหม่เพื่อรับใช้ประชาชนแล้ว ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขคือการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลที่ผ่านมาแก้ยังไม่เสร็จ และตกทอดมายังรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งผมต้องเร่งแก้ไขให้ได้เพราะคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่ยื่นในปี 2549 นั้น รวมผนวกเอาพื้นที่ที่ไทยอ้างอธิปไตยเข้าไปด้วย ที่เรียกว่าพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนั่นเอง ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ผ่านมารวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปด้วย ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าว เพราะกระทรวงการต่างประเทศประเมินแล้วว่า คณะกรรมการมรดกโลกคงไม่ยอมให้เลื่อนการพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ออกไปอีก เพราะที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่นิวซีแลนด์ ได้เคยลงมติเห็นชอบในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ข้อ 3 ของมติ WHC 31 ) รวมทั้งไทยกับกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่ากัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลก ในปี 2551 (ข้อ 2 ของมติ WHC 31) และก็เป็นอย่างที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประเมินไว้ การประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่ให้เลื่อนการพิจารณาออกไปอีก
พี่น้องชาวไทยที่เคารพ
กระผมขอย้ำอีกครั้งว่า การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศนั้น
- ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการปกป้องไม่ให้ไทยเสียดินแดนและอธิปไตยเพราะได้พยายามสกัดมิให้กัมพูชารุกล้ำและรวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปขึ้นทะเบียนด้วย
- ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตามขั้นตอนเพราะมีการหารือและร่วมเจรจากับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ กรมเอเชียตะวันออก กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร
- การดำเนินการมิได้เร่งรีบแต่เป็นไปตามขั้นตอนเพราะภายหลังที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศร่วมเจรจาร่วมเห็นชอบก็ได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีรัฐมนตรีหลายกระทรวงและปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ซึ่งได้อนุมัติเอกสารและแนวทางการดำเนินการของกระทรวงต่างประเทศและ คณะรัฐมนตรี ก็ได้พิจารณาอนุมัติในวันต่อมา ผมจึงได้รับมอบอำนาจไปลงนามในเอกสารกับทางกัมพูชา
- ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า การดำเนินการมีประโยชน์ทับซ้อนหรือมีการแลกการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนกับการลงทุนในน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาตินั้นไ ม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้ว่าในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา แม้หลังจากคัดค้านและเจรจาอย่างหนักของกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย กัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้เพราะคุณสมบัติของตัวปราสาทของกัมพูชาเองไม่ใช่เพราะการสนับสนุนของไทยเพราะ คณะกรรมการมรดกโลก ไม่ได้นำ คำแถลงการณ์ร่วม เข้ามาประกอบการพิจารณา
นอกจากนั้นในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดา ไทยได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาและได้ปฎิบัติตามคำสั่งศาลปกครองอย่างเคร่งครัด และผมได้ปฎิเสธเอกสารและแผนผังของกัมพูชาและประท้วงไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกนำ คำแถลงการณ์ร่วม มาประกอบการพิจารณา นอกจากนั้นยังได้ยืนยันการสงวนสิทธิของไทยที่ระบุในหนังสือของ พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ส่งถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ในปี 2505
พี่น้องที่เคารพครับ
สิ่งที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงต่างประเทศและกรมแผนที่ทหาร สภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการได้ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไม่มีประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดน แต่ในทางตรงกันข้ามเป็นการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของไทย เราได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่น่าเสียดายและน่าเสียใจก็คือมีการนำประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารมาปลุกเร้ากระแสชาตินิยมจนเกินสมควรและทำเป็นประเด็นเพื่อหวังผลทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความถูกต้อง
ผมอยากจะเห็นคนไทยรักกันและรักเพื่อนบ้านเพราะความมั่งคั่ง มั่นคงของเพื่อนบ้านคือความมั่งคั่ง มั่นคงของไทย ประเทศไทยยิ่งใหญ่พอที่จะสามารถชื่นชมความสำเร็จของเพื่อนบ้านด้วยความเต็มใจ
พี่น้องครับ ในส่วนที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย กัมพูชาที่ลงวันที่ 8 กรกฏาคมที่ผ่านมา ผมขอเรียนว่าผมเคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตาม ม.190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แต่คำวินิจฉัยนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นกรณีศึกษาที่นักนิติศาสตร์ นักกฎหมายและผู้สนใจจะสนใจใช้ศึกษา และพิจารณาอีกต่อไปอย่างกว้างขวาง กระผมขอกราบเรียนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการตามความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศ มาโดยตลอดและไม่มีใครจงใจกระทำผิดกฎหมาย
พี่น้องที่เคารพครับ
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 24-26 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา ผมได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน ส.ส. จำนวน 278 คน ขอขอบคุณ สส. ทุกคน ที่ลงคะแนนไว้วางใจผม
- แต่ในเมื่อประเด็นการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารถูกนำมาเป็นประเด็นการเมืองทั้งในสภา และนอกสภา
- และมีกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีที่นำประเด็นดังกล่าวไปรังแก ระราน พี่สาวของผมที่โคราช บ้านเกิดผม ผู้หญิงตัวเล็กๆที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่และไม่มีทางสู้จนชาวบ้านออกมาช่วย
- มีการนำประเด็นนี้ปลุกเร้าความเกลียดชังและแตกแยกของคนในชาติ และระหว่างไทย กัมพูชา
ผมมั่นใจว่าเมื่อควันและฝุ่นจางลง ความจริงจะปรากฎชัดเจนขึ้น เมื่อเหตุผลเข้ามาแทนที่อารมณ์เวลาจะตัดสินสิ่งที่ผมได้ทำไป ว่าผมได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อปกป้องดินแดนและประโยชน์ของไทย
พี่น้องครับ ผมไม่ได้ขายชาติ และผมรักชาติเท่ากับคนไทยทุกคน กระผมขอยืนยันอีกครั้งว่า กระผมไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย แต่เพื่อให้รัฐบาลเอาเวลาไปแก้ปัญหาบ้านเมืองและความเดือดร้อนของประชาชน แทนที่จะเสียเวลาแก้ปัญหาการเมือง ทั้งนี้เพื่อให้ความทุกข์ยากของประชาชนได้รับการแก้ไขและเพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศไทยที่เป็นที่รักยิ่งของเราเดินหน้าต่อไปได้ และเนื่องจากบ้านเมืองของเราสำคัญกว่าตำแหน่งทางการเมืองของผม และแม้ว่าผมไม้ได้ทำอะไรผิดก็ตาม แต่ผมขอแสดงสปิริตและความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป
ผมขอกราบขอบพระคุณ ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ทหารในกรมแผนที่ทหาร ท่าน ผบ.ทบ ในความเป็นมืออาชีพและกล้าหาญที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องแม้ในวันที่พายุทางอารมณ์พัดรุนแรงและกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ขอให้ท่านเป็นหลักให้บ้านเมืองต่อไป ขอขอบคุณพี่น้อง เพื่อน และประชาชน ที่แสดงความเห็นใจผมในยามที่มรสุมทางการเมืองพัดกระหน่ำ มีบุคคลมากมายที่รักและคอยให้กำลังใจ โดยทางโทรศัพท์ และส่ง SMS โดยเฉพาะขอกราบขอบพระคุณสื่อมวลชนและคอลัมนิสต์หลายคนที่เขียนด้วยปัญญาและปราศจากอคติ ผมซาบซึ้งในความเป็นมนุษย์ของท่าน ที่ได้ให้แสงสว่างในคืนที่มืดมิด ผมขอสัญญาว่าผมจะเป็นคนดีดังที่ผมเป็นมา และจะทำงานต่อไปเพื่อประชาชน เพื่อความถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรม และเพื่อความจริง เพราะผมรู้แล้วว่ามนุษย์เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นเป็นเช่นไร ผมจะทำงานต่อไปเพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และแม้จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความถูกต้อง และหลักการ ผมพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อประชาชน และประเทศชาติตลอดไป
ขอขอบคุณ"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวการลาออก ดังนี้
" พี่น้องชาวไทยที่เคารพ
กระผมภูมิใจที่เกิดมาเป็นคนไทย และที่เกิดมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช กระผมมีความจงรักภักดีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล
ตั้งแต่ได้รับพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กระผมมุ่งมั่นทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และขยันขันแข็ง หนักเอาเบาสู้ โดยมุ่งผลสำเร็จของงานเป็นที่ตั้ง
การทำงานที่ผ่านมา 5 เดือนเศษ กระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงในการต่างประเทศ โดยดำเนินการทูตเชิงรุก การทูตที่รวดเร็ว โดย
- ได้เร่งฟื้นฟูภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นของไทยในเวทีโลกกลับคืน หลังจากที่สูญเสียไปภายการหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน 2549 จนความเชื่อมั่นจากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันและสหภาพยุโรป มีกลับคืนมา
- ได้สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับประเทศเพื่อนบ้านโดยเฉพาะที่มีชายแดนติดกัน ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย ความสัมพันธ์กับประเทศเหล่านี้แน่นแฟ้น อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ทำให้บทบาทของไทยในเวทีโลกมีความโดดเด่น และได้รับการยอมรับ ไม่ว่าจะเป็นการเป็นผู้นำในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยไซโคลนนากิสในพม่าร่วมกับอาเซียนและสหประชาชาติ รวมถึงการเตรียมการเป็นประธานอาเซียน
- ผมได้มุ่งเน้นการทูตเพื่อเศรษฐกิจ โดยการเดินหน้าหาโอกาสด้านการค้าและการลงทุนให้คนไทยโดยใช้สถานทูตเป็นทัพหน้า ของประเทศในการหาโอกาสทางการค้าการลงทุน โดยการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลธุรกิจในสถานทูตต่างๆ โดยเริ่มจากสถานทูตในจีนและสหภาพยุโรปที่บรัสเซลส์
- ในด้านการปกป้องผลประโยชน์ของไทยผมได้เตรียมจัดตั้งศูนย์ประชาไมตรีที่กรุงเทพ เพื่อให้คำแนะนำแก่คนไทยในด้านกฎหมาย การเดินทาง และการทำงานในต่างประเทศ
พี่น้องที่เคารพ
นอกจากริเริ่มงานใหม่เพื่อรับใช้ประชาชนแล้ว ปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องเร่งแก้ไขคือการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชา ที่เป็นปัญหาที่รัฐบาลที่ผ่านมาแก้ยังไม่เสร็จ และตกทอดมายังรัฐบาลปัจจุบัน ซึ่งผมต้องเร่งแก้ไขให้ได้เพราะคำขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาที่ยื่นในปี 2549 นั้น รวมผนวกเอาพื้นที่ที่ไทยอ้างอธิปไตยเข้าไปด้วย ที่เรียกว่าพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนนั่นเอง ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารที่ผ่านมารวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปด้วย ย่อมสุ่มเสี่ยงที่ไทยจะเสียอธิปไตยในพื้นที่ดังกล่าว เพราะกระทรวงการต่างประเทศประเมินแล้วว่า คณะกรรมการมรดกโลกคงไม่ยอมให้เลื่อนการพิจารณาในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในระหว่างวันที่ 2-10 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ออกไปอีก เพราะที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก ครั้งที่ 31 ที่นิวซีแลนด์ ได้เคยลงมติเห็นชอบในหลักการว่า ปราสาทพระวิหารควรได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก (ข้อ 3 ของมติ WHC 31 ) รวมทั้งไทยกับกัมพูชาได้เห็นพ้องกันว่ากัมพูชาจะเสนอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกอย่างเป็นทางการ ในสมัยประชุมที่ 32 ของคณะกรรมการมรดกโลก ในปี 2551 (ข้อ 2 ของมติ WHC 31) และก็เป็นอย่างที่กระทรวงการต่างประเทศได้ประเมินไว้ การประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะกรรมการมรดกโลกก็ไม่ให้เลื่อนการพิจารณาออกไปอีก
พี่น้องชาวไทยที่เคารพ
กระผมขอย้ำอีกครั้งว่า การดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศนั้น
- ได้ดำเนินการอย่างแข็งขันในการปกป้องไม่ให้ไทยเสียดินแดนและอธิปไตยเพราะได้พยายามสกัดมิให้กัมพูชารุกล้ำและรวมเอาพื้นที่ทับซ้อนเข้าไปขึ้นทะเบียนด้วย
- ได้ดำเนินการอย่างโปร่งใสตามขั้นตอนเพราะมีการหารือและร่วมเจรจากับเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศ กรมเอเชียตะวันออก กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และกรมแผนที่ทหาร
- การดำเนินการมิได้เร่งรีบแต่เป็นไปตามขั้นตอนเพราะภายหลังที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศร่วมเจรจาร่วมเห็นชอบก็ได้เสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสภาความมั่นคงแห่งชาติที่มีรัฐมนตรีหลายกระทรวงและปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงกลาโหม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ซึ่งได้อนุมัติเอกสารและแนวทางการดำเนินการของกระทรวงต่างประเทศและ คณะรัฐมนตรี ก็ได้พิจารณาอนุมัติในวันต่อมา ผมจึงได้รับมอบอำนาจไปลงนามในเอกสารกับทางกัมพูชา
- ส่วนข้อกล่าวหาที่ว่า การดำเนินการมีประโยชน์ทับซ้อนหรือมีการแลกการสนับสนุนการขึ้นทะเบียนกับการลงทุนในน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาตินั้นไ ม่เป็นความจริง ดังจะเห็นได้ว่าในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดาในวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ผ่านมา แม้หลังจากคัดค้านและเจรจาอย่างหนักของกระทรวงการต่างประเทศ และคณะกรรมการมรดกโลกของไทย กัมพูชาก็สามารถขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารได้เพราะคุณสมบัติของตัวปราสาทของกัมพูชาเองไม่ใช่เพราะการสนับสนุนของไทยเพราะ คณะกรรมการมรดกโลก ไม่ได้นำ คำแถลงการณ์ร่วม เข้ามาประกอบการพิจารณา
นอกจากนั้นในการประชุมครั้งที่ 32 ที่แคนาดา ไทยได้คัดค้านการขึ้นทะเบียนของกัมพูชาและได้ปฎิบัติตามคำสั่งศาลปกครองอย่างเคร่งครัด และผมได้ปฎิเสธเอกสารและแผนผังของกัมพูชาและประท้วงไม่ให้คณะกรรมการมรดกโลกนำ คำแถลงการณ์ร่วม มาประกอบการพิจารณา นอกจากนั้นยังได้ยืนยันการสงวนสิทธิของไทยที่ระบุในหนังสือของ พ.อ.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศที่ส่งถึงเลขาธิการสหประชาชาติ ในปี 2505
พี่น้องที่เคารพครับ
สิ่งที่เพื่อนข้าราชการกระทรวงต่างประเทศและกรมแผนที่ทหาร สภาความมั่นคงแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการได้ดำเนินการอย่างสุจริต โปร่งใส ไม่มีประโยชน์ทับซ้อนไม่ได้ทำให้ไทยเสียดินแดน แต่ในทางตรงกันข้ามเป็นการปกป้องดินแดนและอธิปไตยของไทย เราได้ทำดีที่สุดแล้ว แต่สิ่งที่น่าเสียดายและน่าเสียใจก็คือมีการนำประเด็นการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารมาปลุกเร้ากระแสชาตินิยมจนเกินสมควรและทำเป็นประเด็นเพื่อหวังผลทางการเมืองโดยไม่คำนึงถึงข้อเท็จจริง และความถูกต้อง
ผมอยากจะเห็นคนไทยรักกันและรักเพื่อนบ้านเพราะความมั่งคั่ง มั่นคงของเพื่อนบ้านคือความมั่งคั่ง มั่นคงของไทย ประเทศไทยยิ่งใหญ่พอที่จะสามารถชื่นชมความสำเร็จของเพื่อนบ้านด้วยความเต็มใจ
พี่น้องครับ ในส่วนที่เกี่ยวกับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวกับคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย กัมพูชาที่ลงวันที่ 8 กรกฏาคมที่ผ่านมา ผมขอเรียนว่าผมเคารพในคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญที่ระบุว่าคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างไทย กัมพูชา ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาตาม ม.190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 แต่คำวินิจฉัยนี้เป็นคำวินิจฉัยที่เป็นกรณีศึกษาที่นักนิติศาสตร์ นักกฎหมายและผู้สนใจจะสนใจใช้ศึกษา และพิจารณาอีกต่อไปอย่างกว้างขวาง กระผมขอกราบเรียนว่า กระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการตามความเห็นของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย และข้าราชการในกระทรวงการต่างประเทศ มาโดยตลอดและไม่มีใครจงใจกระทำผิดกฎหมาย
พี่น้องที่เคารพครับ
ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจในวันที่ 24-26 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมา ผมได้รับความไว้วางใจจากเพื่อน ส.ส. จำนวน 278 คน ขอขอบคุณ สส. ทุกคน ที่ลงคะแนนไว้วางใจผม
- แต่ในเมื่อประเด็นการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารถูกนำมาเป็นประเด็นการเมืองทั้งในสภา และนอกสภา
- และมีกลุ่มบุคคลผู้ไม่หวังดีที่นำประเด็นดังกล่าวไปรังแก ระราน พี่สาวของผมที่โคราช บ้านเกิดผม ผู้หญิงตัวเล็กๆที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่และไม่มีทางสู้จนชาวบ้านออกมาช่วย
- มีการนำประเด็นนี้ปลุกเร้าความเกลียดชังและแตกแยกของคนในชาติ และระหว่างไทย กัมพูชา
ผมมั่นใจว่าเมื่อควันและฝุ่นจางลง ความจริงจะปรากฎชัดเจนขึ้น เมื่อเหตุผลเข้ามาแทนที่อารมณ์เวลาจะตัดสินสิ่งที่ผมได้ทำไป ว่าผมได้ทำในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อปกป้องดินแดนและประโยชน์ของไทย
พี่น้องครับ ผมไม่ได้ขายชาติ และผมรักชาติเท่ากับคนไทยทุกคน กระผมขอยืนยันอีกครั้งว่า กระผมไม่ได้ทำให้ประเทศเสียหาย แต่เพื่อให้รัฐบาลเอาเวลาไปแก้ปัญหาบ้านเมืองและความเดือดร้อนของประชาชน แทนที่จะเสียเวลาแก้ปัญหาการเมือง ทั้งนี้เพื่อให้ความทุกข์ยากของประชาชนได้รับการแก้ไขและเพื่อสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของทุกภาคส่วนเพื่อให้ประเทศไทยที่เป็นที่รักยิ่งของเราเดินหน้าต่อไปได้ และเนื่องจากบ้านเมืองของเราสำคัญกว่าตำแหน่งทางการเมืองของผม และแม้ว่าผมไม้ได้ทำอะไรผิดก็ตาม แต่ผมขอแสดงสปิริตและความรับผิดชอบโดยการลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตั้งแต่วันที่ 14 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป
ผมขอกราบขอบพระคุณ ท่านนายกรัฐมนตรีสมัคร สุนทรเวช เพื่อนข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศ ทหารในกรมแผนที่ทหาร ท่าน ผบ.ทบ ในความเป็นมืออาชีพและกล้าหาญที่จะยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้องแม้ในวันที่พายุทางอารมณ์พัดรุนแรงและกระแสการเมืองที่เชี่ยวกราก ขอให้ท่านเป็นหลักให้บ้านเมืองต่อไป ขอขอบคุณพี่น้อง เพื่อน และประชาชน ที่แสดงความเห็นใจผมในยามที่มรสุมทางการเมืองพัดกระหน่ำ มีบุคคลมากมายที่รักและคอยให้กำลังใจ โดยทางโทรศัพท์ และส่ง SMS โดยเฉพาะขอกราบขอบพระคุณสื่อมวลชนและคอลัมนิสต์หลายคนที่เขียนด้วยปัญญาและปราศจากอคติ ผมซาบซึ้งในความเป็นมนุษย์ของท่าน ที่ได้ให้แสงสว่างในคืนที่มืดมิด ผมขอสัญญาว่าผมจะเป็นคนดีดังที่ผมเป็นมา และจะทำงานต่อไปเพื่อประชาชน เพื่อความถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรม และเพื่อความจริง เพราะผมรู้แล้วว่ามนุษย์เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมนั้นเป็นเช่นไร ผมจะทำงานต่อไปเพื่อสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และแม้จะเสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความถูกต้อง และหลักการ ผมพร้อมที่จะต่อสู้เพื่อประชาชน และประเทศชาติตลอดไป
ขอขอบคุณ"
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-