กรุงเทพ--15 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2551 นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน ได้แถลงข่าวเรื่องการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM)การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC) ครั้งทื่ 41 การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-24 กรกฎาคม 2551 ณ สิงคโปร์ ดังนี้
1. ความสำคัญของการประชุม AMM/PMC ครั้งนี้
ไทยจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ในวันที่ 24 กรกฏาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมฯ โดยไทยจะใช้การประชุม AMM ครั้งนี้ ปูทางสำหรับประเด็นที่ไทยต้องการผลักดันให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2551 ได้แก่ การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน การจัดทำความตกลงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านกฎหมายของอาเซียน การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาของอาเซียน (ASEAN Development Goals) รวมทั้งการผลักดันประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคลังสำรองข้าวภายใต้กรอบอาเซียน+3 ความร่วมมือ ด้านพลังงาน การจัดการภัยพิบัติ และการป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งผลิตหรือคลังสำรองวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกในภูมิภาค
2.กำหนดการสำคัญของการประชุมฯ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 - การหารือระหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ
วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 - การประชุม AMM Retreat/Plenary
- การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนและคณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับสูงว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน
- การประชุมคณะมนตรีสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(SEANWFZ)
วันที่ 22กรกฎาคม 2551 - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3
- การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS)
วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 - การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC+1) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเป็นประธานร่วมในที่ประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย รวมทั้งเข้าร่วมการหารือกับสาธารณัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และแคนาดา
วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 - การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15
- พิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
3.ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือ
3.1 การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ สำคัญ ได้แก่ ความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่ากรณีไซโคลนนาร์กีส ความมั่นคง ด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านการเงินในภูมิภาค และความมั่นคงด้านอาหารซึ่งรวมถึงข้อเสนอของประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร
3.2 การอนุวัติการกฎบัตรอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ การพิจารณาร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) สำหรับคณะทำงานระดับสูง (HLP) เพื่อยกร่าง TOR ของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะผู้เชียวชาญด้านกฎหมายระดับสูง (HLEG) ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกประจำอาเซียน (CPRs)
3.3 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะพิจารณาร่างแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community Blueprint) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)
3.4 ไทยจะบรรยายสรุปต่อที่ประชุมฯ เกี่ยวกับการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
3.5 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือได้แก่การจัดทำความตกลง ASEAN+3 on Emergency Rice Reserve ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ และความร่วมมือด้านการเงินภายใต้ Chiang Mai Initiative ในขณะที่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ EAS จะมีการหารือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานชีวภาพ ความมั่นคงด้านการเงิน และทิศทางในอนาคตของ EAS
3.6 การประชุม ARF จะพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายใต้ Paper on the Review of the ARF และกำหนดทิศทางในอนาคตของ ARF โดยไทยตั้งเป้าหมายให้ ARF เป็นกลไกที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ไทยจะมีบทบาทนำในการยกร่าง ARF Vision Statement ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนด้วย
4. เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรอง
4.1 Statement on the Implementation of ASEAN Charter
4.2 MoU on ASEAN-Australia Development Cooperation Plan Phase II
4.3 Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
4.4 Roadmap on Implementation of the Comprehensive Programme of Action to Promote Cooperation between ASEAN and Russia
4.5 Declaration on the 15th Anniversary of ARF
4.6 ARF Statement Promoting Collaboration on the Prevention pf Diversion of Precursors into Illicit Drugs Manufacture
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอร่างเอกสารสำคัญดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 15 กรกฏาคม 2551 นายวิทวัส ศรีวิหค อธิบดีกรมอาเซียน ได้แถลงข่าวเรื่องการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน (AMM)การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC) ครั้งทื่ 41 การประชุมว่าด้วยการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-24 กรกฎาคม 2551 ณ สิงคโปร์ ดังนี้
1. ความสำคัญของการประชุม AMM/PMC ครั้งนี้
ไทยจะเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ในวันที่ 24 กรกฏาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการประชุมฯ โดยไทยจะใช้การประชุม AMM ครั้งนี้ ปูทางสำหรับประเด็นที่ไทยต้องการผลักดันให้บรรลุผลอย่างเป็นรูปธรรมในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ในเดือนธันวาคม 2551 ได้แก่ การจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน การจัดทำความตกลงที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านกฎหมายของอาเซียน การจัดทำเป้าหมายการพัฒนาของอาเซียน (ASEAN Development Goals) รวมทั้งการผลักดันประเด็นเรื่องความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคลังสำรองข้าวภายใต้กรอบอาเซียน+3 ความร่วมมือ ด้านพลังงาน การจัดการภัยพิบัติ และการป้องกันโรคระบาด โดยเฉพาะการผลักดันให้ไทยเป็นแหล่งผลิตหรือคลังสำรองวัคซีนป้องกันไข้หวัดนกในภูมิภาค
2.กำหนดการสำคัญของการประชุมฯ
วันที่ 20 กรกฎาคม 2551 - การหารือระหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำอย่างไม่เป็นทางการ
วันที่ 21 กรกฎาคม 2551 - การประชุม AMM Retreat/Plenary
- การหารือระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการจัดตั้งกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียนและคณะทำงานของผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระดับสูงว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน
- การประชุมคณะมนตรีสนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(SEANWFZ)
วันที่ 22กรกฎาคม 2551 - การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3
- การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก (EAS)
วันที่ 23 กรกฎาคม 2551 - การประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา (PMC+1) โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยจะเป็นประธานร่วมในที่ประชุมอาเซียน-ออสเตรเลีย รวมทั้งเข้าร่วมการหารือกับสาธารณัฐเกาหลี นิวซีแลนด์ สหรัฐฯ และแคนาดา
วันที่ 24 กรกฎาคม 2551 - การประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15
- พิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย
3.ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือ
3.1 การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและสถานการณ์ระหว่างประเทศที่ สำคัญ ได้แก่ ความคืบหน้าในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่ากรณีไซโคลนนาร์กีส ความมั่นคง ด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านการเงินในภูมิภาค และความมั่นคงด้านอาหารซึ่งรวมถึงข้อเสนอของประธานาธิบดีอินโดนีเซียที่ให้จัดการประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยความมั่นคงด้านอาหาร
3.2 การอนุวัติการกฎบัตรอาเซียนที่สำคัญ ได้แก่ การพิจารณาร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ (TOR) สำหรับคณะทำงานระดับสูง (HLP) เพื่อยกร่าง TOR ของกลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะผู้เชียวชาญด้านกฎหมายระดับสูง (HLEG) ว่าด้วยกฎบัตรอาเซียน และคณะกรรมการผู้แทนถาวรประเทศสมาชิกประจำอาเซียน (CPRs)
3.3 ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนจะพิจารณาร่างแผนงานสำหรับการจัดตั้งประชาคมการเมือง ความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community Blueprint) และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)
3.4 ไทยจะบรรยายสรุปต่อที่ประชุมฯ เกี่ยวกับการเตรียมการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
3.5 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน +3 ประเด็นสำคัญที่จะมีการหารือได้แก่การจัดทำความตกลง ASEAN+3 on Emergency Rice Reserve ความร่วมมือด้านพลังงานนิวเคลียร์ และความร่วมมือด้านการเงินภายใต้ Chiang Mai Initiative ในขณะที่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ EAS จะมีการหารือเกี่ยวกับความมั่นคงด้านอาหาร พลังงานชีวภาพ ความมั่นคงด้านการเงิน และทิศทางในอนาคตของ EAS
3.6 การประชุม ARF จะพิจารณาทบทวนการดำเนินงานภายใต้ Paper on the Review of the ARF และกำหนดทิศทางในอนาคตของ ARF โดยไทยตั้งเป้าหมายให้ ARF เป็นกลไกที่สามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ท้าทายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ไทยจะมีบทบาทนำในการยกร่าง ARF Vision Statement ในช่วงที่ไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนด้วย
4. เอกสารสำคัญที่จะมีการลงนามหรือรับรอง
4.1 Statement on the Implementation of ASEAN Charter
4.2 MoU on ASEAN-Australia Development Cooperation Plan Phase II
4.3 Instrument of Extension of the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) สำหรับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ)
4.4 Roadmap on Implementation of the Comprehensive Programme of Action to Promote Cooperation between ASEAN and Russia
4.5 Declaration on the 15th Anniversary of ARF
4.6 ARF Statement Promoting Collaboration on the Prevention pf Diversion of Precursors into Illicit Drugs Manufacture
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้เสนอร่างเอกสารสำคัญดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 ด้วยแล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-