กรุงเทพ--25 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรีสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ชี้แจงพัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับการนำประเด็นปราสาทพระวิหารเข้าที่ประชุมฉุกเฉิน (UNSC)
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 และกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งภายหลังการประชุมฯ ไทยได้รับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ สาระสำคัญดังนี้
1. พัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับการนำประเด็นปราสาทพระวิหารเข้าที่ประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้นำคำขอของรัฐบาลกัมพูชา ให้จัดการประชุมฉุกเฉินเรื่องกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งที่ประชุมฯ ยังไม่มีข้อยุติและจะหารือต่อในช่วงเช้าของวันที่ 24 กรกฎาคม (เวลาท้องถิ่น) นั้น ได้รับรายงานว่าประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้ไทยและกัมพูชาพยายามแก้ไขปัญหาโดยอาศัยกรอบการเจรจาทวิภาคีก่อน
2. นานาประเทศสนับสนุนไทยหารือระดับทวิภาคีก่อน
ก่อนเริ่มการประชุม ARF Retreat รองนายกรัฐมนตรีสหัสฯ ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 4 ประเทศ คือสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกไม่ถาวร อีก 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมถึงแคนาดาเพื่อขอให้สนับสนุนไทย และทุกประเทศเห็นด้วยกับท่าทีของไทยที่จะเจรจาในกรอบทวิภาคีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์ของอาเซียนที่ต้องการให้ไทยและกัมพูชาแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และอาศัยกลไกหารือทวิภาคี อีกทั้งเห็นว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
3. การประชุมกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในระหว่างการประชุมกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) ไทยเน้นความสำคัญของการพัฒนากลไกด้านการบรรเทาภัยพิบัติภายใต้กรอบ ARF ให้มีประสิทธิภาพและปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริงมากขึ้น ความร่วมมือด้านการป้องกันด้านยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ โดยไทยได้แสดงความพร้อมในการจัดทำและพัฒนาถ้อยแถลง รวมถึงการส่งเสริมกลไกการทำงานของ ARF เพื่อเสนอให้มีการขยายบทบาทของเลขาธิการอาเซียนในการส่งเสริมบทบาทประธานอาเซียนในกรณีสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาค
ทั้งนี้ ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนและประธานกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) อย่างเป็นทางการต่อจากสิงคโปร์ โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 51 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 52 เป็นระยะเวลา 1 ปีครึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรีสัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์ชี้แจงพัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับการนำประเด็นปราสาทพระวิหารเข้าที่ประชุมฉุกเฉิน (UNSC)
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 นายสหัส บัณฑิตกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนภายหลังการเข้าร่วมการประชุมว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (ARF) ครั้งที่ 15 ในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 และกรอบการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ซึ่งภายหลังการประชุมฯ ไทยได้รับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์ สาระสำคัญดังนี้
1. พัฒนาการล่าสุดเกี่ยวกับการนำประเด็นปราสาทพระวิหารเข้าที่ประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) ตามที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้นำคำขอของรัฐบาลกัมพูชา ให้จัดการประชุมฉุกเฉินเรื่องกรณีปราสาทพระวิหาร ซึ่งที่ประชุมฯ ยังไม่มีข้อยุติและจะหารือต่อในช่วงเช้าของวันที่ 24 กรกฎาคม (เวลาท้องถิ่น) นั้น ได้รับรายงานว่าประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้ไทยและกัมพูชาพยายามแก้ไขปัญหาโดยอาศัยกรอบการเจรจาทวิภาคีก่อน
2. นานาประเทศสนับสนุนไทยหารือระดับทวิภาคีก่อน
ก่อนเริ่มการประชุม ARF Retreat รองนายกรัฐมนตรีสหัสฯ ได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกถาวรคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ 4 ประเทศ คือสหรัฐฯ จีน รัสเซีย และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศฝรั่งเศส รวมทั้งได้หารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิกไม่ถาวร อีก 2 ประเทศ คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย รวมถึงแคนาดาเพื่อขอให้สนับสนุนไทย และทุกประเทศเห็นด้วยกับท่าทีของไทยที่จะเจรจาในกรอบทวิภาคีก่อน ซึ่งสอดคล้องกับแถลงการณ์ของอาเซียนที่ต้องการให้ไทยและกัมพูชาแก้ไขปัญหาโดยสันติวิธี และอาศัยกลไกหารือทวิภาคี อีกทั้งเห็นว่าเป็นการเร็วเกินไปที่จะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ
3. การประชุมกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในระหว่างการประชุมกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) ไทยเน้นความสำคัญของการพัฒนากลไกด้านการบรรเทาภัยพิบัติภายใต้กรอบ ARF ให้มีประสิทธิภาพและปฏิบัติได้ในสถานการณ์จริงมากขึ้น ความร่วมมือด้านการป้องกันด้านยาเสพติด อาชญากรข้ามชาติ โดยไทยได้แสดงความพร้อมในการจัดทำและพัฒนาถ้อยแถลง รวมถึงการส่งเสริมกลไกการทำงานของ ARF เพื่อเสนอให้มีการขยายบทบาทของเลขาธิการอาเซียนในการส่งเสริมบทบาทประธานอาเซียนในกรณีสถานการณ์ด้านความมั่นคงในภูมิภาค
ทั้งนี้ ไทยเข้ารับตำแหน่งประธานอาเซียนและประธานกรอบด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาค (ARF) อย่างเป็นทางการต่อจากสิงคโปร์ โดยมีวาระตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 51 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 52 เป็นระยะเวลา 1 ปีครึ่ง
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-