กรุงเทพ--28 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เลขาธิการอาเซียน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน กระผม นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอถือโอกาสนี้กล่าวรายงาน ดังนี้
ในเรื่องแรก การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย ซึ่งไทยได้รับช่วงการเป็นประธานต่อจากสิงคโปร์ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 41 ที่พึ่งจบไปเมื่อวานนี้ โดยการเป็นประธานของไทยจะมีระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ได้เริ่มอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยจะเริ่มจากการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Standing Committee (ASC) ครั้งที่ 1/42 ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2551 ที่กรุงเทพ
ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักที่จะผลักดันไว้ 3 เรื่อง กล่าวคือ
1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the Commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะในเรื่องการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา และคณะมนตรีประสานงานอาเซียนเป็นต้น
2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง(Revitalizing ASEAN as a people-centered Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชน ทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้การดำเนินความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาท้าทายต่างๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในช่วงการเป็นประธานอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียนได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน การเป็นประธานอาเซียนของไทย การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยมีโครงการ 15 โครงการลงสู่ภาคประชาชน ได้แก่
1.โครงการจัดตั้งสมาคมอาเซียนประเทศไทย
2.โครงการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
3.โครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน ซึ่งจะเปิดตัวในวันนี้
4.โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับเยาวชนอาเซียน (ASEAN University Youth Summit 2008)
5.โครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
6.โครงการประกวดเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem Competition)
7.โครงการการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียน 3 ประสาน (ASEAN High Level Panel Discussion
8.โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและการจัดการประชุม ASEAN Civil Society Conference ครั้งที่ 4
9.การจัดงานเฉลิมฉลองวันครบรอบก่อตั้งอาเซียนในวันที่ 8 สิงหาคม 2551
10.โครงการจัดทำสารคดีอาเซียน
11.โครงการจัดทำวีดีทัศน์การ์ตูนเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดทำหนังสือ
12.โครงการจัดทำหนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
13.โครงการจัดทำหนังสือ “บันทึกเดินทางอาเซียน”
14.โครงการจัดทำหนังสือ Young Faces of ASEAN
15.โครงการแข่งขันเรียงความภาษาไทยเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งจะเกิดวันพรุ่งนี้
ในส่วนของเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดครั้งนี้ภายใต้ชื่อ www.14thaseansummit.org ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเป็นทางการอีกครั้งในที่ประชุม ASC ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนหน้าในหน้าเว็บไซต์จะปรากฏสัญลักษณ์และคำขวัญสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยสัญลักษณ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ ภาพมือล้อมรอบสัญลักษณ์อาเซียนตั้งอยู่บนกฎบัตรอาเซียน
- รูปมือ 4 มือ หมายถึงการประสานความร่วมมือของอาเซียนในการสนับสนุนการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกอาเซียน (ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน) นอกจากนี้ มือที่ประกอบกันทั้ง 4 ด้านได้สะท้อนภาพคล้ายลายดอกไม้ไทยที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมของไทยอันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของไทย
- สีทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
- ลายคลื่นสีเขียวใต้สัญลักษณ์เปรียบเสมือนกฎบัตรอาเซียนที่จะมีผลใช้บังคับในการประชุมสุดยอดที่ประเทศไทย
ความหมายโดยรวมของสัญลักษณ์ คืออาเซียน โดยประชาชนจะประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ในการผลักดันการดำเนินงานของ 3 เสาหลักให้มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะสานต่อความสัมพันธ์และกระชับความร่วมมือกับประเทศนอกอาเซียนอย่างแนบแน่น โดยจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพต่อไป คำขวัญ (slogan) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ “ASEAN Charter for ASEAN Peoples” หรือ “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน”
ในส่วนของโครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการยุวทูตความดีขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในปี 2542 ซึ่งโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่สามารถริเริ่มและดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมตามแนวพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจำนวน 1,330 โรงเรียน จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ โครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน ถือเป็น 1 ใน 15 โครงการที่เน้นการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนกับเยาวชนทั่วประเทศโดยกระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียนได้จัดทำชุดเกมส์การทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียนชื่อ “ASEAN Traveler Game” และส่งให้โรงเรียนยุวทูตความดีทั่วประเทศจำนวน 919 โรงเรียนเพื่อจัดการแข่งขันขึ้นภายในโรงเรียนอย่างพร้อมเพรียงกันในวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งอาเซียน โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิยชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) มูลนิธิซิเมนต์ไทย สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัด บริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)บริษัทเดนโซ อินเตอร์เนชั่นเนล (ไทยแลนด์) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมทั้งบริษัทไปรษณีย์ไทยที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดส่งชุดเกมส์การแข่งขัน รางวัล อุปกรณ์กีฬา เครื่องเขียน สื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับอาเซียน ไปให้โรงเรียนยุวทูตความดีด้วย ทั้งนี้ โรงเรียนยุวทูตความดีจะได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงการต่างประเทศ ณ โอกาสนี้ กระผมใคร่ขอกราบเรียนเชิญท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการแถลงข่าวรับตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยและเปิดโครงการยุวทูตความดีกับอาเซียนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เลขาธิการอาเซียน และแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน กระผม นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ขอถือโอกาสนี้กล่าวรายงาน ดังนี้
ในเรื่องแรก การดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทย ซึ่งไทยได้รับช่วงการเป็นประธานต่อจากสิงคโปร์ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 41 ที่พึ่งจบไปเมื่อวานนี้ โดยการเป็นประธานของไทยจะมีระยะเวลา 1 ปีครึ่ง ได้เริ่มอย่างเป็นทางการนับแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552 โดยจะเริ่มจากการที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN Standing Committee (ASC) ครั้งที่ 1/42 ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม 2551 ที่กรุงเทพ
ในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยได้กำหนดเป้าหมายหลักที่จะผลักดันไว้ 3 เรื่อง กล่าวคือ
1. การอนุวัติข้อผูกพันภายใต้กฎบัตรอาเซียน (Realising the Commitments under the ASEAN Charter) โดยเฉพาะในเรื่องการยกร่างขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ที่จะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ กลไกสิทธิมนุษยชนอาเซียน คณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา และคณะมนตรีประสานงานอาเซียนเป็นต้น
2. การฟื้นฟูอาเซียนให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นจุดศูนย์กลาง(Revitalizing ASEAN as a people-centered Community) ซึ่งรวมถึงการเสริมสร้างความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนในหมู่ประชาชน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคประชาสังคมในการสร้างประชาคมอาเซียน
3. การเสริมสร้างการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์สำหรับประชาชน ทุกคนในภูมิภาค (Reinforcing human development and security for all the peoples of the region) โดยส่งเสริมให้การดำเนินความร่วมมือของอาเซียนตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนให้มากที่สุด โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาท้าทายต่างๆ เช่น ความมั่นคงด้านอาหาร พลังงาน ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เป็นต้น
นอกจากนี้ ในช่วงการเป็นประธานอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียนได้ดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อประชาสัมพันธ์อาเซียน การเป็นประธานอาเซียนของไทย การเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยมีโครงการ 15 โครงการลงสู่ภาคประชาชน ได้แก่
1.โครงการจัดตั้งสมาคมอาเซียนประเทศไทย
2.โครงการจัดทำเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14
3.โครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน ซึ่งจะเปิดตัวในวันนี้
4.โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับเยาวชนอาเซียน (ASEAN University Youth Summit 2008)
5.โครงการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียนร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
6.โครงการประกวดเพลงประจำอาเซียน (ASEAN Anthem Competition)
7.โครงการการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้นำอาเซียน 3 ประสาน (ASEAN High Level Panel Discussion
8.โครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและการจัดการประชุม ASEAN Civil Society Conference ครั้งที่ 4
9.การจัดงานเฉลิมฉลองวันครบรอบก่อตั้งอาเซียนในวันที่ 8 สิงหาคม 2551
10.โครงการจัดทำสารคดีอาเซียน
11.โครงการจัดทำวีดีทัศน์การ์ตูนเกี่ยวกับอาเซียน และการจัดทำหนังสือ
12.โครงการจัดทำหนังสือ “มารู้จักอาเซียนกันเถอะ”
13.โครงการจัดทำหนังสือ “บันทึกเดินทางอาเซียน”
14.โครงการจัดทำหนังสือ Young Faces of ASEAN
15.โครงการแข่งขันเรียงความภาษาไทยเกี่ยวกับอาเซียน ซึ่งจะเกิดวันพรุ่งนี้
ในส่วนของเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกระทรวงการต่างประเทศได้จัดทำเว็บไซต์สำหรับการประชุมสุดยอดครั้งนี้ภายใต้ชื่อ www.14thaseansummit.org ทั้งนี้ จะมีการเปิดตัวแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างเป็นทางการอีกครั้งในที่ประชุม ASC ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนหน้าในหน้าเว็บไซต์จะปรากฏสัญลักษณ์และคำขวัญสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 โดยสัญลักษณ์การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ ภาพมือล้อมรอบสัญลักษณ์อาเซียนตั้งอยู่บนกฎบัตรอาเซียน
- รูปมือ 4 มือ หมายถึงการประสานความร่วมมือของอาเซียนในการสนับสนุนการดำเนินงานของ 3 เสาหลัก ได้แก่ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับประเทศนอกอาเซียน (ประเทศคู่เจรจาของอาเซียน) นอกจากนี้ มือที่ประกอบกันทั้ง 4 ด้านได้สะท้อนภาพคล้ายลายดอกไม้ไทยที่ปรากฏในสถาปัตยกรรมของไทยอันแสดงให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของไทย
- สีทอง หมายถึงความเจริญรุ่งเรือง
- ลายคลื่นสีเขียวใต้สัญลักษณ์เปรียบเสมือนกฎบัตรอาเซียนที่จะมีผลใช้บังคับในการประชุมสุดยอดที่ประเทศไทย
ความหมายโดยรวมของสัญลักษณ์ คืออาเซียน โดยประชาชนจะประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง ในการผลักดันการดำเนินงานของ 3 เสาหลักให้มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรมเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียน รวมทั้งจะสานต่อความสัมพันธ์และกระชับความร่วมมือกับประเทศนอกอาเซียนอย่างแนบแน่น โดยจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ระบุไว้ในกฎบัตรอาเซียนที่จะทำให้อาเซียนเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพต่อไป คำขวัญ (slogan) ของการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 คือ “ASEAN Charter for ASEAN Peoples” หรือ “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน”
ในส่วนของโครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศได้จัดโครงการยุวทูตความดีขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ ในปี 2542 ซึ่งโรงเรียนที่ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนที่สามารถริเริ่มและดำเนินกิจกรรมประสบผลสำเร็จเกี่ยวกับการพัฒนานักเรียนให้เป็นผู้มีคุณภาพ คุณธรรมและจริยธรรมตามแนวพระราชดำรัสและพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีจำนวน 1,330 โรงเรียน จาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ โครงการยุวทูตความดีกับอาเซียน ถือเป็น 1 ใน 15 โครงการที่เน้นการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนกับเยาวชนทั่วประเทศโดยกระทรวงการต่างประเทศ โดยกรมอาเซียนได้จัดทำชุดเกมส์การทดสอบความรู้เกี่ยวกับอาเซียนชื่อ “ASEAN Traveler Game” และส่งให้โรงเรียนยุวทูตความดีทั่วประเทศจำนวน 919 โรงเรียนเพื่อจัดการแข่งขันขึ้นภายในโรงเรียนอย่างพร้อมเพรียงกันในวันที่ 8 สิงหาคม 2551 ซึ่งเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งอาเซียน โดยโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารไทยพาณิยชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) มูลนิธิซิเมนต์ไทย สภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จำกัด บริษัทผาแดง อินดัสทรี จำกัด (มหาชน)บริษัทเดนโซ อินเตอร์เนชั่นเนล (ไทยแลนด์) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมทั้งบริษัทไปรษณีย์ไทยที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ในการจัดส่งชุดเกมส์การแข่งขัน รางวัล อุปกรณ์กีฬา เครื่องเขียน สื่อสิ่งพิมพ์เกี่ยวกับอาเซียน ไปให้โรงเรียนยุวทูตความดีด้วย ทั้งนี้ โรงเรียนยุวทูตความดีจะได้รับประกาศนียบัตรจากกระทรวงการต่างประเทศ ณ โอกาสนี้ กระผมใคร่ขอกราบเรียนเชิญท่านนายกรัฐมนตรีเป็นประธานการแถลงข่าวรับตำแหน่งประธานอาเซียนของไทยและเปิดโครงการยุวทูตความดีกับอาเซียนต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-