กรุงเทพ--28 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนดังนี้
1. คำแถลงของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้อ่านคำแถลงของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีของไทยได้เห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประชุมหารือกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการประชุมทวิภาคีดังกล่าว และได้เร่งแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยเพื่อไปทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งการเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์มีขึ้นในเย็นวันที่ 27 กรกฎาคม 2551
การไปประชุมทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นงานแรกและครั้งแรกที่จะมีโอกาสเริ่มต้นหารือกับฝ่ายกัมพูชาในเรื่องนี้ โดยจะพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาอย่างดีที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยอมรับว่าปัญหานี้มีความสลับซับซ้อน แต่เชื่อว่าบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีที่มีมายาวนาน สองประเทศจะสามารถร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ต่อไป
2. การประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
ในวันที่ 28 กรกฎาคม ศกนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมทั้งผู้แทนระดับสูงจากกองทัพภาคที่สอง กรมกิจการชายแดน กองบัญชาการกองทัพไทย กรมแผนที่ทหาร และสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศไทย-กัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์บริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยจะเดินทางไปและกลับในวันเดียวกัน
นายธฤตฯ แจ้งว่า ฝ่ายไทยมีความตั้งใจจริงที่จะเดินทางไปเจรจากับฝ่ายกัมพูชาด้วยความบริสุทธิ์ใจ บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่ต่างฝ่ายต่างจะไม่สามารถย้ายที่ตั้งของประเทศไปได้ และประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันไปอีกนับชั่วคน การแก้ปัญหาโดยการเลือกวิธีการที่สลับซับซ้อน และขยายวงกว้าง ไม่มีหลักประกันว่าจะหาข้อยุติได้ แต่กลับจะส่งผลทางลบต่อความสัมพันธ์และความรู้สึกของประชาชน ที่อาจทำให้ปัญหาลุกลามและสร้างแผลลึกในระยะยาวได้ นายธฤตฯ กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาครั้งที่แล้ว เมื่อปี 2547 ชาวกัมพูชากลุ่มหนึ่งได้เผาทำลายสถานเอกอัครราชทูตของไทยจนวอดวาย ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่ยากที่สังคมโลกจะยอมรับได้ แต่กระนั้นประเทศไทยก็เลือกที่จะแก้ไขปัญหาโดยให้จำกัดอยู่ในกรอบทวิภาคี ซึ่งสามารถหาข้อยุติได้ในเวลาไม่นาน และประชาชนชาวไทยก็พร้อมจะลืมเหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการเจรจาระหว่างสองฝ่ายรอบที่สองต่อจากการประชุม GBC เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ฝ่ายไทยหวังว่า ฝ่ายกัมพูชาจะเปิดใจกว้าง และมีความจริงใจโดยไม่ตั้งเงื่อนไขใด ๆ ล่วงหน้าว่าจะต้องมีข้อยุติในการเจรจาในวันที่ 28 กรกฎาคม เพราะการเจรจาเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนจำเป็นจะต้องใช้เวลามากกว่าการประชุมเพียง 2 ครั้ง ในการหาข้อยุติ
นอกจากนี้ ตามที่ฝ่ายกัมพูชาได้กล่าวหาฝ่ายไทยหลายครั้งว่า ทหารไทยได้รุกรานเข้าไปในดินแดนของ ฝ่ายกัมพูชานั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว ฝ่ายกัมพูชาได้ปล่อยให้พลเรือนจำนวนหนึ่งและทหารกว่า 200 นายเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งขัดต่อบันทึกความเข้าใจในปี 2543 เกี่ยวกับการสำรวจและปักปันเขตแดนที่ต่างตกลงกันแล้วว่า จะไม่
ทำลายสภาพแวดล้อมที่ยังไม่มีการปักปัน และด้วยเหตุนี้ไทยจึงได้ดำเนินการทางการทูตตามครรลองระหว่างประเทศ โดยการยื่นหนังสือประท้วงต่อรัฐบาลกัมพูชาไปแล้วถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2547 แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ สิ่งที่ฝ่ายไทยดำเนินการตลอดมาและดำเนินการอยู่ในปัจจุบันก็เพื่อต้องการให้เกิดเงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งจะเปิดทางให้คณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนสองฝ่ายสามารถดำเนินการตามกรอบที่ตกลงกันไว้แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษก กระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนดังนี้
1. คำแถลงของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้อ่านคำแถลงของนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีของไทยได้เห็นพ้องกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่จะให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายประชุมหารือกันเพื่อร่วมกันแก้ปัญหาบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหารนั้น รัฐบาลได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งกับการประชุมทวิภาคีดังกล่าว และได้เร่งแต่งตั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยเพื่อไปทำหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งการเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์มีขึ้นในเย็นวันที่ 27 กรกฎาคม 2551
การไปประชุมทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยกับรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของกัมพูชาครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นงานแรกและครั้งแรกที่จะมีโอกาสเริ่มต้นหารือกับฝ่ายกัมพูชาในเรื่องนี้ โดยจะพยายามหาทางคลี่คลายปัญหาอย่างดีที่สุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศยอมรับว่าปัญหานี้มีความสลับซับซ้อน แต่เชื่อว่าบนพื้นฐานของความสัมพันธ์ที่ดีที่มีมายาวนาน สองประเทศจะสามารถร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้ต่อไป
2. การประชุมหารือเพื่อแก้ไขปัญหาบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
ในวันที่ 28 กรกฎาคม ศกนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะนำคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการระดับสูงจากกระทรวงการต่างประเทศ พร้อมทั้งผู้แทนระดับสูงจากกองทัพภาคที่สอง กรมกิจการชายแดน กองบัญชาการกองทัพไทย กรมแผนที่ทหาร และสำนักเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เดินทางไปร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศไทย-กัมพูชาเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์บริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา โดยจะเดินทางไปและกลับในวันเดียวกัน
นายธฤตฯ แจ้งว่า ฝ่ายไทยมีความตั้งใจจริงที่จะเดินทางไปเจรจากับฝ่ายกัมพูชาด้วยความบริสุทธิ์ใจ บนพื้นฐานของความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีที่ต่างฝ่ายต่างจะไม่สามารถย้ายที่ตั้งของประเทศไปได้ และประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องอยู่ใกล้ชิดกันไปอีกนับชั่วคน การแก้ปัญหาโดยการเลือกวิธีการที่สลับซับซ้อน และขยายวงกว้าง ไม่มีหลักประกันว่าจะหาข้อยุติได้ แต่กลับจะส่งผลทางลบต่อความสัมพันธ์และความรู้สึกของประชาชน ที่อาจทำให้ปัญหาลุกลามและสร้างแผลลึกในระยะยาวได้ นายธฤตฯ กล่าวว่า ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปในกัมพูชาครั้งที่แล้ว เมื่อปี 2547 ชาวกัมพูชากลุ่มหนึ่งได้เผาทำลายสถานเอกอัครราชทูตของไทยจนวอดวาย ซึ่งถือเป็นเหตุการณ์ที่ร้ายแรงที่ยากที่สังคมโลกจะยอมรับได้ แต่กระนั้นประเทศไทยก็เลือกที่จะแก้ไขปัญหาโดยให้จำกัดอยู่ในกรอบทวิภาคี ซึ่งสามารถหาข้อยุติได้ในเวลาไม่นาน และประชาชนชาวไทยก็พร้อมจะลืมเหตุการณ์เลวร้ายดังกล่าวจนถึงปัจจุบัน
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า การประชุมครั้งนี้ถือเป็นการเจรจาระหว่างสองฝ่ายรอบที่สองต่อจากการประชุม GBC เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ฝ่ายไทยหวังว่า ฝ่ายกัมพูชาจะเปิดใจกว้าง และมีความจริงใจโดยไม่ตั้งเงื่อนไขใด ๆ ล่วงหน้าว่าจะต้องมีข้อยุติในการเจรจาในวันที่ 28 กรกฎาคม เพราะการเจรจาเรื่องที่มีความละเอียดอ่อนจำเป็นจะต้องใช้เวลามากกว่าการประชุมเพียง 2 ครั้ง ในการหาข้อยุติ
นอกจากนี้ ตามที่ฝ่ายกัมพูชาได้กล่าวหาฝ่ายไทยหลายครั้งว่า ทหารไทยได้รุกรานเข้าไปในดินแดนของ ฝ่ายกัมพูชานั้น ในข้อเท็จจริงแล้ว ฝ่ายกัมพูชาได้ปล่อยให้พลเรือนจำนวนหนึ่งและทหารกว่า 200 นายเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าวมาเป็นเวลาหลายปีแล้ว ซึ่งขัดต่อบันทึกความเข้าใจในปี 2543 เกี่ยวกับการสำรวจและปักปันเขตแดนที่ต่างตกลงกันแล้วว่า จะไม่
ทำลายสภาพแวดล้อมที่ยังไม่มีการปักปัน และด้วยเหตุนี้ไทยจึงได้ดำเนินการทางการทูตตามครรลองระหว่างประเทศ โดยการยื่นหนังสือประท้วงต่อรัฐบาลกัมพูชาไปแล้วถึง 4 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2547 แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ สิ่งที่ฝ่ายไทยดำเนินการตลอดมาและดำเนินการอยู่ในปัจจุบันก็เพื่อต้องการให้เกิดเงื่อนไขตามบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งจะเปิดทางให้คณะกรรมาธิการปักปันเขตแดนสองฝ่ายสามารถดำเนินการตามกรอบที่ตกลงกันไว้แล้ว
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-