กรุงเทพ--4 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวและตอบคำถามสื่อมวลชนดังนี้
1. การหารือกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเกี่ยวกับประเด็นบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าใจถึงสถานการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นอย่างดี และได้ทำรายงานกลับไปยังรัฐบาล และคณะทูตของฝรั่งเศสประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กแล้ว ว่า ประเด็นปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นที่สนใจของประชาชนไทยอย่างกว้างขวาง ส่วนการที่กัมพูชานำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินั้น ทางฝรั่งเศสเห็นว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประเทศสมาชิกสหประชาชาติพึงกระทำได้ และเห็นว่าตามระเบียบปฏิบัติแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงฯ ก็มีสิทธิที่พิจารณาเรื่องดังกล่าวได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอว่า ฝรั่งเศสสามารถมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในรูปแบบไตรภาคีได้ โดยเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสรับทราบและพร้อมนำกลับไปพิจารณา
2. การหารือกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเกี่ยวกับประเด็นบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไทยได้นักการทูตมืออาชีพที่มีความรู้และความสามารถ เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรู้สึกประทับใจที่ภารกิจแรกหลังการรับตำแหน่ง คือ การเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 นั้น สามารถคลี่คลายปัญหาไปได้ในทางที่ดี
ส่วนบทบาทของญี่ปุ่นต่อการแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าวนั้น ญี่ปุ่นยืนยันว่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมโครงการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ทั้งในด้านการงบประมาณและด้านเทคโนโลยี ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นทางออกที่สร้างสรรค์ และเป็นการสมานความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในอีกด้วย
3. ผลการประชุมร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551เรื่องการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ได้ข้อสรุปว่า ให้แต่ละหน่วยงานนำเรื่องกลับไปให้หน่วยงานระดับสูงพิจารณาเพื่อนำมาหารือกันใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานก็กำลังเร่งรัดเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาในทางสร้างสรรค์ ส่วนในการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายนั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2551 นายธฤต จรุงวัฒน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้แถลงข่าวและตอบคำถามสื่อมวลชนดังนี้
1. การหารือกับเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเกี่ยวกับประเด็นบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเข้าใจถึงสถานการณ์ระหว่างไทยกับกัมพูชาเป็นอย่างดี และได้ทำรายงานกลับไปยังรัฐบาล และคณะทูตของฝรั่งเศสประจำองค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์กแล้ว ว่า ประเด็นปราสาทพระวิหารเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และเป็นที่สนใจของประชาชนไทยอย่างกว้างขวาง ส่วนการที่กัมพูชานำประเด็นดังกล่าวเข้าสู่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาตินั้น ทางฝรั่งเศสเห็นว่าเป็นสิทธิอันชอบธรรมของประเทศสมาชิกสหประชาชาติพึงกระทำได้ และเห็นว่าตามระเบียบปฏิบัติแล้ว คณะมนตรีความมั่นคงฯ ก็มีสิทธิที่พิจารณาเรื่องดังกล่าวได้เช่นกัน
ในขณะเดียวกัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เสนอว่า ฝรั่งเศสสามารถมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในการเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในรูปแบบไตรภาคีได้ โดยเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสรับทราบและพร้อมนำกลับไปพิจารณา
2. การหารือกับเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นเกี่ยวกับประเด็นบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร
เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นรู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ไทยได้นักการทูตมืออาชีพที่มีความรู้และความสามารถ เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรู้สึกประทับใจที่ภารกิจแรกหลังการรับตำแหน่ง คือ การเจรจาทวิภาคีระหว่างไทยกับกัมพูชาที่เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2551 นั้น สามารถคลี่คลายปัญหาไปได้ในทางที่ดี
ส่วนบทบาทของญี่ปุ่นต่อการแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าวนั้น ญี่ปุ่นยืนยันว่าพร้อมที่จะให้การสนับสนุนเพิ่มเติมโครงการเก็บกู้ทุ่นระเบิด ทั้งในด้านการงบประมาณและด้านเทคโนโลยี ซึ่งเอกอัครราชทูตฯ เชื่อว่าโครงการดังกล่าวจะเป็นทางออกที่สร้างสรรค์ และเป็นการสมานความสัมพันธ์ระหว่างไทยและกัมพูชาในอีกด้วย
3. ผลการประชุมร่วมกับสภาความมั่นคงแห่งชาติ
การประชุมระดับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการที่สภาความมั่นคงแห่งชาติเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2551เรื่องการถอนกำลังทหารออกจากบริเวณพื้นที่ใกล้ปราสาทพระวิหาร ได้ข้อสรุปว่า ให้แต่ละหน่วยงานนำเรื่องกลับไปให้หน่วยงานระดับสูงพิจารณาเพื่อนำมาหารือกันใหม่อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้แต่ละหน่วยงานก็กำลังเร่งรัดเพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาในทางสร้างสรรค์ ส่วนในการแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายนั้น รัฐบาลกำลังพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-