กรุงเทพ--6 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนแก่มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เพื่อดำเนิน “โครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม : สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีการนำเครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในประเทศไทย โดยจะจัดการแสดงอังกะลุงโดยนักแสดงไทย-อินโดนีเซีย ในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ศิลปะดนตรีไทยและอินโดนีเซียให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ในการสานสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งในทุก ๆ ด้าน
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีที่เครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในกรุงสยามเมื่อปี 2451 โดยจางวางศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐไพเราะ ซึ่งเป็นข้าราชบริพารตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ไปเยือนเกาะชวา และพบเครี่องดนตรีไม้ไผ่พื้นเมืองของชวา จางวางศรได้นำเครื่องดนตรีดังกล่าวกลับมาเผยแพร่ในสยาม รวมทั้งได้ประพันธ์เพลงใหม่เพิ่มเติมเพื่อใช้บรรเลงด้วยเป็นการเฉพาะสำหรับอังกะลุงในสยาม ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในสังคมไทยตั้งแต่นั้นมา
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านดนตรีของไทยและอินโดนีเซีย มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เชิญวงดนตรีอังกะลุงของอินโดนีเซียมาแสดงร่วมกันในครั้งนี้ โดยเชิญคณะซาอุงอังกะลุงอุดโจ (Saung Angklung Udjo) แห่งเมืองบันดุง เกาะชวา ซึ่งเป็นสถาบันศึกษาเกี่ยวกับอังกะลุงที่มีชื่อเสียงในอินโดนีเซีย โดยเริ่มการเรียนการสอนอังกะลุงเพื่อชุมชนตั้งแต่ปี 2501 และปัจจุบันมีผลการแสดงระดับนานาชาติ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากรัฐบาลอินโดนีเซียและองค์กรวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ส่วนตัวแทนอังกะลุงของฝ่ายไทย ได้แก่ คณะอังกะลุงดุริยศัพท์-นนทบุรี ในการควบคุมของครูพัฒน์ บัวทั่ง ทายาทของครูเฉลิม บัวทั่ง ศิลปินแห่งชาติ นอกจากนี้ จะมีการจัดนิทรรศการอังกะลุงและดนตรีไม้ไผ่ เพื่อแสดงวิวัฒนาการของเครื่องดนตรีอังกะลุงอีกด้วย ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้จัด “โครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม : สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย” ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย และอุทยานเรียนรู้ TK Park ระหว่างวันที่ 13 — 17 สิงหาคม 2551 ด้วย
การดำเนินโครงการนี้ นอกจากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะมีศิลปะวัฒนธรรมแล้ว ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับอินโดนีเซียด้วย ซึ่งไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนีเซียเมื่อปี 2493 และจะเฉลิมฉลองครบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนแก่มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เพื่อดำเนิน “โครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม : สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย” เนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีการนำเครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในประเทศไทย โดยจะจัดการแสดงอังกะลุงโดยนักแสดงไทย-อินโดนีเซีย ในวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ณ กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ศิลปะดนตรีไทยและอินโดนีเซียให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง และเป็นประโยชน์ในการสานสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอินโดนีเซีย ซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ดียิ่งในทุก ๆ ด้าน
โครงการดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบ 100 ปีที่เครื่องดนตรีอังกะลุงเข้ามาในกรุงสยามเมื่อปี 2451 โดยจางวางศร ศิลปบรรเลง หรือหลวงประดิษฐไพเราะ ซึ่งเป็นข้าราชบริพารตามเสด็จสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุพันธ์วงศ์วรเดช ไปเยือนเกาะชวา และพบเครี่องดนตรีไม้ไผ่พื้นเมืองของชวา จางวางศรได้นำเครื่องดนตรีดังกล่าวกลับมาเผยแพร่ในสยาม รวมทั้งได้ประพันธ์เพลงใหม่เพิ่มเติมเพื่อใช้บรรเลงด้วยเป็นการเฉพาะสำหรับอังกะลุงในสยาม ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในสังคมไทยตั้งแต่นั้นมา
เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์และศึกษาเปรียบเทียบพัฒนาการด้านดนตรีของไทยและอินโดนีเซีย มูลนิธิหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ได้เชิญวงดนตรีอังกะลุงของอินโดนีเซียมาแสดงร่วมกันในครั้งนี้ โดยเชิญคณะซาอุงอังกะลุงอุดโจ (Saung Angklung Udjo) แห่งเมืองบันดุง เกาะชวา ซึ่งเป็นสถาบันศึกษาเกี่ยวกับอังกะลุงที่มีชื่อเสียงในอินโดนีเซีย โดยเริ่มการเรียนการสอนอังกะลุงเพื่อชุมชนตั้งแต่ปี 2501 และปัจจุบันมีผลการแสดงระดับนานาชาติ ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติจากรัฐบาลอินโดนีเซียและองค์กรวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว ส่วนตัวแทนอังกะลุงของฝ่ายไทย ได้แก่ คณะอังกะลุงดุริยศัพท์-นนทบุรี ในการควบคุมของครูพัฒน์ บัวทั่ง ทายาทของครูเฉลิม บัวทั่ง ศิลปินแห่งชาติ นอกจากนี้ จะมีการจัดนิทรรศการอังกะลุงและดนตรีไม้ไผ่ เพื่อแสดงวิวัฒนาการของเครื่องดนตรีอังกะลุงอีกด้วย ทั้งนี้ มูลนิธิฯ ได้จัด “โครงการ 100 ปี อังกะลุงสยาม : สานสัมพันธ์ไทย-อินโดนีเซีย” ที่หอประชุมมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ สถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศไทย และอุทยานเรียนรู้ TK Park ระหว่างวันที่ 13 — 17 สิงหาคม 2551 ด้วย
การดำเนินโครงการนี้ นอกจากจะส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะมีศิลปะวัฒนธรรมแล้ว ยังส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านวัฒนธรรมและเข้าใจอันดีระหว่างไทยกับอินโดนีเซียด้วย ซึ่งไทยได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอินโดนีเซียเมื่อปี 2493 และจะเฉลิมฉลองครบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2553
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-