กรุงเทพ--8 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามที่มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางว่า สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ยืนยันให้ไทยและกัมพูชาแก้ปัญหากรณีปราสาทพระวิหารอย่างสันติวิธีและยึดตามกระบวนการที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อดำรงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชาต่อไปนับหมื่นปี และยังได้แสดงความหวังว่าการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 2 จะประสบความสำเร็จด้วยดี นั้น ขอชี้แจง ดังนี้
1. ไทยยินดีกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของไทยโดยขอยืนยันอีกครั้งว่า ไทยประสงค์ที่จะหาทางออกกรณีปราสาทพระวิหารอย่างสันติวิธีในบรรยากาศฉันมิตร โดยเน้นการใช้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงการหารือในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมหรือ JBC และคณะกรรมการชายแดนทั่วไปหรือ GBC เป็นต้น
2. ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องเส้นเขตแดนนั้นเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับประเทศที่มีเขตแดนร่วมกัน ซึ่งกรณีของไทยและกัมพูชานั้น มีเขตแดนทางบกร่วมกันถึง 798 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า ทั้งสองประเทศ ยังสามารถหาทางออกกันเองได้
3. ขอย้ำว่า กรณีปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชาเท่านั้น โดยทั้งสองประเทศยังมีผลประโยชน์และความร่วมมืออีกมากทั้งเชิงเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และมิติอื่น ๆ และประชาชนของทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน ดังจะเห็นจากชุมชนไทยและกัมพูชาตลอดแนวชายแดน ซึ่งได้ไปมาหาสู่กันฉันมิตรและญาติสนิท รวมทั้งได้เฉลิมฉลองประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ร่วมกันมายาวนาน
4. ฝ่ายไทยเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 2 เพื่อหารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารนั้น น่าจะสามารถมีความคืบหน้าที่ดี ต่อยอดจากผลสำเร็จเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสองฝ่ายครั้งแรกที่นครเสียมราฐได้ และน่าจะเอื้ออำนวยต่อการแสวงหาทางออกร่วมกันได้ต่อไป ทั้งนี้ กำหนดการประชุมจะเป็นช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคมนี้ ที่ประเทศไทย และเมื่อมีการยืนยันในรายละเอียดแน่นอนแล้ว ทางการไทยก็จะแจ้งให้สื่อมวลชนทราบรายละเอียดของกำหนดการทันที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามที่มีการรายงานข่าวอย่างกว้างขวางว่า สมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้ยืนยันให้ไทยและกัมพูชาแก้ปัญหากรณีปราสาทพระวิหารอย่างสันติวิธีและยึดตามกระบวนการที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศให้มากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อดำรงความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับกัมพูชาต่อไปนับหมื่นปี และยังได้แสดงความหวังว่าการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศไทย — กัมพูชา ครั้งที่ 2 จะประสบความสำเร็จด้วยดี นั้น ขอชี้แจง ดังนี้
1. ไทยยินดีกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งสอดคล้องกับจุดยืนของไทยโดยขอยืนยันอีกครั้งว่า ไทยประสงค์ที่จะหาทางออกกรณีปราสาทพระวิหารอย่างสันติวิธีในบรรยากาศฉันมิตร โดยเน้นการใช้กลไกต่าง ๆ ที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศอย่างเต็มที่ ซึ่งรวมถึงการหารือในระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมหรือ JBC และคณะกรรมการชายแดนทั่วไปหรือ GBC เป็นต้น
2. ความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันในเรื่องเส้นเขตแดนนั้นเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้สำหรับประเทศที่มีเขตแดนร่วมกัน ซึ่งกรณีของไทยและกัมพูชานั้น มีเขตแดนทางบกร่วมกันถึง 798 กิโลเมตร อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทยเห็นพ้องกับข้อคิดเห็นของนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า ทั้งสองประเทศ ยังสามารถหาทางออกกันเองได้
3. ขอย้ำว่า กรณีปราสาทพระวิหารนั้นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ไทย — กัมพูชาเท่านั้น โดยทั้งสองประเทศยังมีผลประโยชน์และความร่วมมืออีกมากทั้งเชิงเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และมิติอื่น ๆ และประชาชนของทั้งสองประเทศยังมีความสัมพันธ์ที่ดี ต่อกัน ดังจะเห็นจากชุมชนไทยและกัมพูชาตลอดแนวชายแดน ซึ่งได้ไปมาหาสู่กันฉันมิตรและญาติสนิท รวมทั้งได้เฉลิมฉลองประเพณีและวัฒนธรรมต่าง ๆ ร่วมกันมายาวนาน
4. ฝ่ายไทยเห็นด้วยกับนายกรัฐมนตรีกัมพูชาว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศครั้งที่ 2 เพื่อหารือกันเพิ่มเติมเกี่ยวกับสถานการณ์ในพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหารนั้น น่าจะสามารถมีความคืบหน้าที่ดี ต่อยอดจากผลสำเร็จเบื้องต้นที่เกิดขึ้นในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสองฝ่ายครั้งแรกที่นครเสียมราฐได้ และน่าจะเอื้ออำนวยต่อการแสวงหาทางออกร่วมกันได้ต่อไป ทั้งนี้ กำหนดการประชุมจะเป็นช่วงสัปดาห์ที่สามของเดือนสิงหาคมนี้ ที่ประเทศไทย และเมื่อมีการยืนยันในรายละเอียดแน่นอนแล้ว ทางการไทยก็จะแจ้งให้สื่อมวลชนทราบรายละเอียดของกำหนดการทันที
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-