กรุงเทพ--8 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน มีอายุครบ 41 ปีในวันนี้ ตลอด 41 ปีที่ผ่านมา อาเซียนพัฒนาตนเองจากองค์การในภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต่อมาได้มีการขยายความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ในอีกหลายมิติ
เมื่อปลายปีที่แล้วผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีความรับผิดชอบต่อประชาคมระหว่างประเทศ เป็นองค์การที่มีกฎเกณฑ์และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อาจกล่าวได้ว่า อาเซียนในปีที่ 41 ได้ก้าวขึ้นเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบสูงขึ้นกว่าในอดีต
ขณะที่อาเซียนจะยังคงมีบทบาทสร้างสรรค์ในด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งยังประโยชน์แก่สมาชิกประเทศอาเซียนรวมทั้งส่งเสริมสันติสุขและความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป บัดนี้ อาเซียนยังได้เติบโตขึ้นในฐานะองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและรับผิดชอบ ดังจะเห็นได้จากการที่อาเซียนเป็นตัวกลางในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่าร่วมกับองค์การสหประชาชาติหลังจากพม่าประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีส
นอกจากเป้าหมายทางด้านการเมืองความมั่นคงและเศรษฐกิจแล้ว กฎบัตรอาเซียนใหม่ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ก็ทำให้อาเซียนกลายเป็นองค์กรของประชาชนและสามารถตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการสร้างประชาคมอาเซียนโดยมีประชาชนเป็นผู้ผลักดัน และร่วมกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ เช่น การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การขจัดยาเสพติดในภูมิภาค ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนอาเซียนรุ่นหลัง เป็นต้น
จากการที่ไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 และจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่งจนถึงปลายปี 2552 ประเทศไทยจึงมีความมุ่งหวัง ดังนี้
1. ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผลักดันการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนของไทยเพื่อให้ทันการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในประเทศไทยในปลายปีนี้
2. มุ่งให้ความสำคัญกับภาคประชาชนโดยส่งเสริมความเป็นเจ้าของอาเซียนของประชาชนอาเซียน รวมทั้งเน้นการมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการส่งเสริมการมีบทบาทในกลไกเพื่อพัฒนาต่างๆ ของอาเซียน
3. สนองประโยชน์ให้แก่ประชาชนจากความร่วมมือในมิติต่างๆ ของอาเซียน ทั้งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เป็นต้น
ผมใคร่ขอถือโอกาสนี้ยืนยันว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมอื่นๆ ในระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งการประชุมสุดยอดประจำปี 2551 นี้ จะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งที่ 14 ซึ่งกำหนดที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2551 นอกจากจะเป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกันเองแล้ว ผู้นำอาเซียนยังจะประชุมหารือกับประเทศสำคัญอื่นๆ ทั้งในด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งจะจัดการประชุมกับองค์การสหประชาชาติในเรื่องการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาของอาเซียน
หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดในปีนี้ ซึ่งได้แก่ “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน” (ASEAN Charter for ASEAN Peoples) เป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นของไทยในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกลไกต่างๆ ของกฎบัตรฯ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของชาติสมาชิกและประชาชนอาเซียน
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเป็นประธานอาเซียนเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่งนี้ ไทยจะสามารถวางรากฐานการพัฒนา ตลอดจนกำหนดทิศทางของภาคประชาชนอาเซียน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนในอีก 7 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียนอย่างแท้จริง
นับเป็นพันธกิจสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยที่จะแสดงให้ชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ประจักษ์ว่า ประเทศไทยและประชาชนไทยพร้อมที่จะมีบทบาทนำอย่างสร้างสรรค์ในการทำหน้าที่ประธานอาเซียนในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ต่อไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน มีอายุครบ 41 ปีในวันนี้ ตลอด 41 ปีที่ผ่านมา อาเซียนพัฒนาตนเองจากองค์การในภูมิภาคที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ต่อมาได้มีการขยายความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง รวมทั้งความร่วมมือด้านอื่นๆ ในอีกหลายมิติ
เมื่อปลายปีที่แล้วผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตรอาเซียน เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีความรับผิดชอบต่อประชาคมระหว่างประเทศ เป็นองค์การที่มีกฎเกณฑ์และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง อาจกล่าวได้ว่า อาเซียนในปีที่ 41 ได้ก้าวขึ้นเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีวุฒิภาวะและความรับผิดชอบสูงขึ้นกว่าในอดีต
ขณะที่อาเซียนจะยังคงมีบทบาทสร้างสรรค์ในด้านการเมืองความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งยังประโยชน์แก่สมาชิกประเทศอาเซียนรวมทั้งส่งเสริมสันติสุขและความมั่นคงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อไป บัดนี้ อาเซียนยังได้เติบโตขึ้นในฐานะองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือและรับผิดชอบ ดังจะเห็นได้จากการที่อาเซียนเป็นตัวกลางในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่าร่วมกับองค์การสหประชาชาติหลังจากพม่าประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กีส
นอกจากเป้าหมายทางด้านการเมืองความมั่นคงและเศรษฐกิจแล้ว กฎบัตรอาเซียนใหม่ซึ่งตั้งเป้าหมายที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ก็ทำให้อาเซียนกลายเป็นองค์กรของประชาชนและสามารถตอบสนองผลประโยชน์ของประชาชนได้อย่างแท้จริง นับเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการสร้างประชาคมอาเซียนโดยมีประชาชนเป็นผู้ผลักดัน และร่วมกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์ เช่น การแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ การขจัดยาเสพติดในภูมิภาค ตลอดจนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชนอาเซียนรุ่นหลัง เป็นต้น
จากการที่ไทยได้เข้าดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 และจะทำหน้าที่ประธานอาเซียนเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่งจนถึงปลายปี 2552 ประเทศไทยจึงมีความมุ่งหวัง ดังนี้
1. ผลักดันการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องรวมทั้งผลักดันการให้สัตยาบันกฎบัตรอาเซียนของไทยเพื่อให้ทันการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนในประเทศไทยในปลายปีนี้
2. มุ่งให้ความสำคัญกับภาคประชาชนโดยส่งเสริมความเป็นเจ้าของอาเซียนของประชาชนอาเซียน รวมทั้งเน้นการมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ตลอดจนการส่งเสริมการมีบทบาทในกลไกเพื่อพัฒนาต่างๆ ของอาเซียน
3. สนองประโยชน์ให้แก่ประชาชนจากความร่วมมือในมิติต่างๆ ของอาเซียน ทั้งในด้านความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน เป็นต้น
ผมใคร่ขอถือโอกาสนี้ยืนยันว่า ประเทศไทยมีความพร้อมในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนและการประชุมอื่นๆ ในระหว่างปี 2551-2552 ซึ่งการประชุมสุดยอดประจำปี 2551 นี้ จะเป็นการประชุมสุดยอดครั้งที่ 14 ซึ่งกำหนดที่จะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 15-18 ธันวาคม 2551 นอกจากจะเป็นการประชุมระหว่างผู้นำอาเซียนกันเองแล้ว ผู้นำอาเซียนยังจะประชุมหารือกับประเทศสำคัญอื่นๆ ทั้งในด้านการพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งจะจัดการประชุมกับองค์การสหประชาชาติในเรื่องการกำหนดเป้าหมายการพัฒนาของอาเซียน
หัวข้อหลักของการประชุมสุดยอดในปีนี้ ซึ่งได้แก่ “กฎบัตรอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียน” (ASEAN Charter for ASEAN Peoples) เป็นการสะท้อนความมุ่งมั่นของไทยในการปฏิบัติตามข้อกำหนดและกลไกต่างๆ ของกฎบัตรฯ เพื่อประโยชน์ร่วมกันของชาติสมาชิกและประชาชนอาเซียน
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การเป็นประธานอาเซียนเป็นเวลาหนึ่งปีครึ่งนี้ ไทยจะสามารถวางรากฐานการพัฒนา ตลอดจนกำหนดทิศทางของภาคประชาชนอาเซียน ซึ่งนับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการสร้างประชาคมอาเซียนในอีก 7 ปีข้างหน้า เพื่อพัฒนาอาเซียนเพื่อประชาชนอาเซียนอย่างแท้จริง
นับเป็นพันธกิจสำคัญของกระทรวงการต่างประเทศและรัฐบาลไทยที่จะแสดงให้ชาติสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ได้ประจักษ์ว่า ประเทศไทยและประชาชนไทยพร้อมที่จะมีบทบาทนำอย่างสร้างสรรค์ในการทำหน้าที่ประธานอาเซียนในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ต่อไป
ขอบคุณครับ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-