กรุงเทพ--14 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและวิชาการระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ฉันญาติสนิทมาช้านาน
รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะตระหนักดีว่า
ความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของประเทศเพื่อนบ้านย่อมเกื้อกูลต่อความเจริญและความสงบสุขของประเทศไทยและของภูมิภาคด้วย รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาประเทศของลาว ซึ่งตั้งเป้าหมายจะให้พ้นจากสถานะประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2563 โดยให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค เช่น การปรับปรุงถนน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่นครพนม-คำม่วน และการสร้างทางรถไฟจากหนองคายไปสถานีท่านาแล้งในนครหลวงเวียงจันทน์ ที่สำคัญที่สุด ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือทางการศึกษาและวิชาการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทุกด้าน แต่ยังไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มมูลค่าเพื่อพัฒนาประเทศอย่างเต็มศักยภาพ ปัญหาสำคัญคือยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญและทักษะต่างๆ ดังนั้น บทบาทของไทยในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลาวจึงมีนัยที่สำคัญมากต่อพัฒนาการของสปป.ลาว และเมื่อสปป.ลาวสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคงแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็จะสามารถเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ การต่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับทุกมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เฉพาะความร่วมมือด้านการศึกษา ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การให้ความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือทางวิชาการของไทยเป็นสื่อในการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกาที่ทวีความสำคัญขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ ไทยยังร่วมมือกับหลายประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศที่สาม เช่นในกรณีของ สปป.ลาว ในลักษณะความร่วมมือไตรภาคี โดยมีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างทุกฝ่ายเพื่อให้มีแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเจ้าบ้านมากที่สุดด้วย
ในกรณีของ สปป.ลาว มีกรอบความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นทางการระหว่างไทยกับ สปป.ลาว โดยมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่ประสานงานฝ่ายไทย รัฐบาลไทยให้ทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมผ่านกรอบความร่วมมือดังกล่าวแก่บุคลากรลาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาที่ไทยชำนาญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สปป.ลาว โดยเฉพาะในสาขาสาธารณสุขและการเกษตร ในขณะเดียวกัน เป็นที่น่ายินดีว่าสถาบัน การศึกษาต่างๆ ของไทยก็เล็งเห็นความสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านและได้ริเริ่มความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ของ สปป. ลาวด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วยให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความหลากหลายทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นสาขาที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของ สปป.ลาวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล สปป.ลาวเพื่อให้พึ่งตนเองได้
การสัมมนาในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้แลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ และข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือไทย-ลาวด้านการศึกษาในมิติใหม่เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน และเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษานั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ในระยะยาว และไม่สามารถชี้วัดผลสำเร็จได้ในเวลาสั้น ดังโคลงที่ประพันธ์โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลด้านการศึกษาว่า “กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป ฉันนั้น” ผมขอเรียนว่าการต่างประเทศก็ไม่ต่างกัน เพราะเป็นเรื่องของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่น ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ผมเชื่อมั่นว่า การสัมมนาในครั้งนี้จะได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ลาว ทั้งในการบูรณาการแนวนโยบายและการประสานงานระหว่างหน่วยงานไทยและสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยกัน และการทำให้ความร่วมมือด้านการศึกษาเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมงานการต่างประเทศของไทยให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และบรรลุสมตามเจตนารมณ์ของนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ผมมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้มาร่วมงานสัมมนาครั้งนี้ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงการต่างประเทศในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาและวิชาการระหว่างประเทศไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความสัมพันธ์ฉันญาติสนิทมาช้านาน
รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับประเทศเพื่อนบ้าน เพราะตระหนักดีว่า
ความเจริญก้าวหน้าและความสงบสุขของประเทศเพื่อนบ้านย่อมเกื้อกูลต่อความเจริญและความสงบสุขของประเทศไทยและของภูมิภาคด้วย รัฐบาลจึงมีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาประเทศของลาว ซึ่งตั้งเป้าหมายจะให้พ้นจากสถานะประเทศด้อยพัฒนาภายในปี 2563 โดยให้ความร่วมมือในการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค เช่น การปรับปรุงถนน การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่นครพนม-คำม่วน และการสร้างทางรถไฟจากหนองคายไปสถานีท่านาแล้งในนครหลวงเวียงจันทน์ ที่สำคัญที่สุด ทั้งสองประเทศมีความร่วมมือทางการศึกษาและวิชาการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้เป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ทุกด้าน แต่ยังไม่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มมูลค่าเพื่อพัฒนาประเทศอย่างเต็มศักยภาพ ปัญหาสำคัญคือยังขาดบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญและทักษะต่างๆ ดังนั้น บทบาทของไทยในการสนับสนุนส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ลาวจึงมีนัยที่สำคัญมากต่อพัฒนาการของสปป.ลาว และเมื่อสปป.ลาวสามารถพึ่งตนเองได้อย่างมั่นคงแล้ว ทั้งสองฝ่ายก็จะสามารถเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือในสาขาใหม่ ๆ เพื่อผลประโยชน์ร่วมกันได้อย่างยั่งยืน
ด้วยเหตุนี้ การต่างประเทศจึงเกี่ยวข้องกับทุกมิติของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เฉพาะความร่วมมือด้านการศึกษา ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา การให้ความร่วมมือ
เพื่อการพัฒนาและความร่วมมือทางวิชาการของไทยเป็นสื่อในการดำเนินนโยบายต่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้านและประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียและแอฟริกาที่ทวีความสำคัญขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ ไทยยังร่วมมือกับหลายประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศที่สาม เช่นในกรณีของ สปป.ลาว ในลักษณะความร่วมมือไตรภาคี โดยมีการประชุมปรึกษาหารือระหว่างทุกฝ่ายเพื่อให้มีแผนงานที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศเจ้าบ้านมากที่สุดด้วย
ในกรณีของ สปป.ลาว มีกรอบความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นทางการระหว่างไทยกับ สปป.ลาว โดยมีสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของกระทรวงการต่างประเทศทำหน้าที่ประสานงานฝ่ายไทย รัฐบาลไทยให้ทุนการศึกษาและทุนฝึกอบรมผ่านกรอบความร่วมมือดังกล่าวแก่บุคลากรลาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในสาขาที่ไทยชำนาญและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สปป.ลาว โดยเฉพาะในสาขาสาธารณสุขและการเกษตร ในขณะเดียวกัน เป็นที่น่ายินดีว่าสถาบัน การศึกษาต่างๆ ของไทยก็เล็งเห็นความสำคัญของประเทศเพื่อนบ้านและได้ริเริ่มความร่วมมือกับหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่างๆ ของ สปป. ลาวด้วยเช่นกัน ซึ่งช่วยให้การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีความหลากหลายทั่วถึงมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นสาขาที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของ สปป.ลาวในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของรัฐบาล สปป.ลาวเพื่อให้พึ่งตนเองได้
การสัมมนาในครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ผู้เข้าร่วมทุกท่านจะได้แลกเปลี่ยนความเห็น ประสบการณ์ และข้อเสนอแนะ เพื่อสร้างสรรค์ความร่วมมือไทย-ลาวด้านการศึกษาในมิติใหม่เพื่อให้เป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกัน และเกิดประโยชน์สูงสุด การศึกษานั้นเป็นกระบวนการเรียนรู้ในระยะยาว และไม่สามารถชี้วัดผลสำเร็จได้ในเวลาสั้น ดังโคลงที่ประพันธ์โดยหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ปูชนียบุคคลด้านการศึกษาว่า “กล้วยไม้ออกดอกช้า ฉันใด การศึกษาเป็นไป ฉันนั้น” ผมขอเรียนว่าการต่างประเทศก็ไม่ต่างกัน เพราะเป็นเรื่องของการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและความเชื่อมั่น ซึ่งต้องใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ ผมเชื่อมั่นว่า การสัมมนาในครั้งนี้จะได้ข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนประสิทธิภาพของความร่วมมือด้านการศึกษาไทย-ลาว ทั้งในการบูรณาการแนวนโยบายและการประสานงานระหว่างหน่วยงานไทยและสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนด้วยกัน และการทำให้ความร่วมมือด้านการศึกษาเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยเสริมงานการต่างประเทศของไทยให้ดำเนินไปอย่างราบรื่น และบรรลุสมตามเจตนารมณ์ของนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-