กรุงเทพ--15 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบกระทู้ถามสดของสภาผู้แทนราษฎร เรื่องโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ดังนี้
1. รัฐบาลไทยและลาวได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 อนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และต่อมา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกับนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่นครหลวงเวียงจันทน์
2. บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนให้มีการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการฝายไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาวที่ตั้งโครงการฝั่งไทยอยู่ที่บริเวณใกล้หมู่บ้านท่าล้งและดอนกุ่ม ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และฝั่งลาวอยู่ที่บริเวณบ้านกุ่มน้อย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เรียกว่า “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม” บันทึกความเข้าใจมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า รัฐบาลไทยและลาวตกลงสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม โดยภาครัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังกล่าวแต่อย่างใด และจะมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศร่วมมือกันในการกำกับดูแลและประสานงานกับบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษา จากนั้นจึงให้รายงานรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศต่อไป
3. “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม” เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-ลาว ซึ่งเป็นสาขาความร่วมมือที่รัฐบาลไทยและลาวให้ความสำคัญในลำดับต้นและได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี 2536 โดยรัฐบาลไทยและลาวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในลาวฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 ซึ่งไทยได้ตกลงให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาโครงการไฟฟ้าต่าง ๆ ในลาวและตกลงรับซื้อไฟฟ้าจากลาว จำนวน 1,500 เมกะวัตต์ และจากการที่ประเทศไทยมีความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น จึงได้ตกลงขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวมาโดยลำดับ ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาว ฉบับที่ 4 ตกลงขยายการรับซื้อจากไฟฟ้าจากลาวเป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในหรือหลังปี 2558
4. ปัจจุบัน มีโครงการไฟฟ้าในลาวที่สร้างเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว จำนวน 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 346 เมกะวัตต์ และมีโครงการที่ได้มีการตกลงในเบื้องต้นแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิต รวม 5,494 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่มีศักยภาพที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายโครงการ โครงการไฟฟ้าต่างๆ ประกอบด้วย โครงการบนแม่น้ำโขงส่วนที่อยู่ในลาว บนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงในลาว และแม่น้ำสายสำคัญในลาว รวมทั้งโครงการไฟฟ้าเหมืองถ่านหิน
5. อย่างไรก็ดีเนื่องจากประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาว ในลักษณะฝายขั้นบันไดด้วย เพื่อเพิ่มทางเลือกของแหล่งผลิตพลังงาน โดยเมื่อปี 2548 กระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 8 ล้านบาท ศึกษาศักยภาพจุดที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าบนแม่น้ำโขง ผลการศึกษาสรุปว่ามีโครงการที่มีศักยภาพ 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการฝายปากชม (จ.เลย - แขวงเวียงจันทน์) และ (2) โครงการฝายบ้านกุ่ม (จ.อุบลราชธานี - แขวงจำปาสัก) และในปี 2550 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 24 ล้านบาท ศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Preliminary Study) ของโครงการทั้งสองดังกล่าว
6. จากพัฒนาการของความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวที่ดำเนินมาเป็นลำดับดังกล่าวนายกรัฐมนตรีไทยและลาวจึงได้ให้ความเห็นชอบในหลักการในช่วงการเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2551 ตกลงสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม โดยภาครัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังกล่าวแต่อย่างใดและจะมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศร่วมมือกันในการกำกับดูแลและประสานงานกับบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษา จากนั้นจึงให้รายงานรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศต่อไป และต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 อนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-ลาว และได้มีพิธีลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
7. การดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดในลักษณะพิเศษ และตั้งอยู่บนหลักการนโยบายของรัฐบาลไทยที่มุ่งพัฒนาความร่วมมือให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ มีสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับไทยอย่างเท่าเทียมและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยสำหรับฝ่ายไทย ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อประกันการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และสำหรับฝ่ายลาว การพัฒนาโครงการไฟฟ้าต่าง ๆ จะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญให้แก่รัฐบาลลาว เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
8. สำหรับสถานะของเรื่องนี้ ขณะนี้รัฐบาลไทยและลาวยังมิได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่มหรือไม่ การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นเพียงการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อนำข้อมูลมาประกอบ การพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล โดยภาคเอกชนที่เป็นผู้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ดังกล่าวจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการทำการ ศึกษาทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น จึงมิได้ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแก่รัฐบาลแต่อย่างใด
9. สำหรับประเด็นข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจมีขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยการทำการศึกษาความเป็นไปได้ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะครอบคลุมถึงการทำการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาผลกระทบด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จากนั้นจึงนำผลการศึกษาเสนอให้รัฐบาลไทยและลาวพิจารณา คาดว่ากระบวนการศึกษาทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 เดือน ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวจะต้องสามารถตอบคำถามข้อห่วงกังวลของประชาชนของไทยและลาวและของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งต้องสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินและแหล่งเงินทุนที่จะให้การสนับสนุนโครงการด้วย
10. หลังจากนั้นหากผลการศึกษาปรากฏว่าโครงการมีความเป็นไปได้ รัฐบาลไทยและลาวจะพิจารณาว่าจะดำเนินโครงการดังกล่าวหรือไม่ และในรูปแบบใด ซึ่งหากตัดสินใจที่จะพัฒนาโครงการทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการตามระเบียบและข้อกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง โดยในส่วนของไทยที่สำคัญ ได้แก่
- รัฐธรรมนูญมาตรา 57 ว่าด้วยสิทธิในข้อมูลข่าวสารซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
- รัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งกำหนดว่าการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
- การดำเนินการตามกฎหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของการใช้น้ำในแม่น้ำโขงในฐานะที่ไทยและลาวเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC)
- นอกจากนี้ เมื่อจะต้องเจรจาจัดทำความตกลงกับฝ่ายลาวเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ก็จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ด้วย
11. สำหรับประเด็นเรื่องการให้การสนับสนุนบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอเชียคอร์ปโฮลดิ้ง ลิมิเต็ด เป็นผู้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนั้น เป็นข้อเสนอของรัฐบาล สปป.ลาว ที่เสนอให้ภาคเอกชนที่จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ รวมถึงประสบการณ์ด้านการลงทุนประกอบธุรกิจใน สปป.ลาว ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุสืบเนื่องจากประสบการณ์ในอดีตเมื่อ สปป.ลาวเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งไทย เข้าไปสัมปทานโครงการลงทุนในลาวจำนวนมาก และในจำนวนนี้มีหลายโครงการที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง ทำให้รัฐบาลลาวต้องยกเลิกสัญญาสัมปทานหรือยกเลิกการอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และส่งผลกระทบทำให้โครงการสำคัญต่างๆ มีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลลาวกำหนดไว้ รัฐบาลลาวจึงไม่ประสงค์ให้เกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีกเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
12. ต่อมาในการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-ลาวเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2551 ในช่วงการเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ฝ่ายลาวได้แจ้งให้การสนับสนุน บมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวเนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและมีประสบการณ์ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในลาว ได้แก่ การลงทุนพัฒนาและก่อสร้างโครงการไฟฟ้า “น้ำเทิน 2” ซึ่งเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกำลังผลิตใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน (920 MW) กำหนดเสร็จในปี 2552 และเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในลาวหลายโครงการ เช่น โครงการเหมืองบ๊อกไซด์ โครงการแยกแร่อลูมินา และโครงการหลอมแปรรูปอลูมิเนียมในแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของฝ่ายลาวดังกล่าวเพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง สปป.ลาวให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งพิจารณาเห็นว่าการเข้ามาลงทุนทำการศึกษาของบริษัทฯ ดังกล่าว มิได้มีเงื่อนไขผูกพันรัฐบาล ทั้งในด้านงบประมาณและการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2551 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ตอบกระทู้ถามสดของสภาผู้แทนราษฎร เรื่องโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม ซึ่งตั้งอยู่ที่บริเวณบ้านท่าล้ง ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ดังนี้
1. รัฐบาลไทยและลาวได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระหว่างสองประเทศ โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 อนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าวโดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลไทย และต่อมา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 นายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการต่างประเทศในขณะนั้น ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ร่วมกับนายทองลุน สีสุลิด รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่นครหลวงเวียงจันทน์
2. บันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อสนับสนุนให้มีการทำการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการฝายไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาวที่ตั้งโครงการฝั่งไทยอยู่ที่บริเวณใกล้หมู่บ้านท่าล้งและดอนกุ่ม ต.ห้วยไผ่ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี และฝั่งลาวอยู่ที่บริเวณบ้านกุ่มน้อย เมืองชะนะสมบูน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว เรียกว่า “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม” บันทึกความเข้าใจมีสาระสำคัญโดยสรุปว่า รัฐบาลไทยและลาวตกลงสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม โดยภาครัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังกล่าวแต่อย่างใด และจะมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศร่วมมือกันในการกำกับดูแลและประสานงานกับบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษา จากนั้นจึงให้รายงานรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศต่อไป
3. “โครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม” เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-ลาว ซึ่งเป็นสาขาความร่วมมือที่รัฐบาลไทยและลาวให้ความสำคัญในลำดับต้นและได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมมาตั้งแต่ปี 2536 โดยรัฐบาลไทยและลาวได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในลาวฉบับที่ 1 เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2536 ซึ่งไทยได้ตกลงให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาโครงการไฟฟ้าต่าง ๆ ในลาวและตกลงรับซื้อไฟฟ้าจากลาว จำนวน 1,500 เมกะวัตต์ และจากการที่ประเทศไทยมีความต้องการพลังงานเพิ่มมากขึ้น จึงได้ตกลงขยายการรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาวมาโดยลำดับ ล่าสุด เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2550 ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาไฟฟ้าในลาว ฉบับที่ 4 ตกลงขยายการรับซื้อจากไฟฟ้าจากลาวเป็น 7,000 เมกะวัตต์ ภายในหรือหลังปี 2558
4. ปัจจุบัน มีโครงการไฟฟ้าในลาวที่สร้างเสร็จและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแล้ว จำนวน 2 โครงการ กำลังผลิตรวม 346 เมกะวัตต์ และมีโครงการที่ได้มีการตกลงในเบื้องต้นแล้วและอยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 8 โครงการ กำลังการผลิต รวม 5,494 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่มีศักยภาพที่อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้อีกหลายโครงการ โครงการไฟฟ้าต่างๆ ประกอบด้วย โครงการบนแม่น้ำโขงส่วนที่อยู่ในลาว บนลำน้ำสาขาของแม่น้ำโขงในลาว และแม่น้ำสายสำคัญในลาว รวมทั้งโครงการไฟฟ้าเหมืองถ่านหิน
5. อย่างไรก็ดีเนื่องจากประเทศไทยมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำบนแม่น้ำโขงระหว่างไทย-ลาว ในลักษณะฝายขั้นบันไดด้วย เพื่อเพิ่มทางเลือกของแหล่งผลิตพลังงาน โดยเมื่อปี 2548 กระทรวงพลังงานโดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 8 ล้านบาท ศึกษาศักยภาพจุดที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าบนแม่น้ำโขง ผลการศึกษาสรุปว่ามีโครงการที่มีศักยภาพ 2 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการฝายปากชม (จ.เลย - แขวงเวียงจันทน์) และ (2) โครงการฝายบ้านกุ่ม (จ.อุบลราชธานี - แขวงจำปาสัก) และในปี 2550 กระทรวงพลังงานได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาวงเงิน 24 ล้านบาท ศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น (Preliminary Study) ของโครงการทั้งสองดังกล่าว
6. จากพัฒนาการของความร่วมมือระหว่างไทย-ลาวที่ดำเนินมาเป็นลำดับดังกล่าวนายกรัฐมนตรีไทยและลาวจึงได้ให้ความเห็นชอบในหลักการในช่วงการเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2551 ตกลงสนับสนุนให้ภาคเอกชนดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่ม โดยภาครัฐไม่ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายในการศึกษาดังกล่าวแต่อย่างใดและจะมอบหมายให้หน่วยงานภาครัฐของทั้งสองประเทศร่วมมือกันในการกำกับดูแลและประสานงานกับบริษัทที่ได้รับมอบหมายให้ทำการศึกษา จากนั้นจึงให้รายงานรัฐบาลของทั้งสองประเทศเพื่อพิจารณาดำเนินการภายใต้ระเบียบและข้อกฎหมายภายในของทั้งสองประเทศต่อไป และต่อมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2551 อนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่องความร่วมมือพัฒนาพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-ลาว และได้มีพิธีลงนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2551 ที่นครหลวงเวียงจันทน์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
7. การดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับ สปป.ลาว ซึ่งมีความผูกพันใกล้ชิดในลักษณะพิเศษ และตั้งอยู่บนหลักการนโยบายของรัฐบาลไทยที่มุ่งพัฒนาความร่วมมือให้ประเทศเพื่อนบ้านมีความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ มีสังคมที่มีคุณภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขและพัฒนาสู่ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือกับไทยอย่างเท่าเทียมและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยสำหรับฝ่ายไทย ความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าจะเป็นการช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานเพื่อประกันการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และสำหรับฝ่ายลาว การพัฒนาโครงการไฟฟ้าต่าง ๆ จะเป็นแหล่งสร้างรายได้ที่สำคัญให้แก่รัฐบาลลาว เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศและยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน
8. สำหรับสถานะของเรื่องนี้ ขณะนี้รัฐบาลไทยและลาวยังมิได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินโครงการไฟฟ้าพลังน้ำฝายบ้านกุ่มหรือไม่ การจัดทำบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นเพียงการสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามาศึกษาความเป็นไปได้ของการที่จะพัฒนาโครงการเพื่อนำข้อมูลมาประกอบ การพิจารณาตัดสินใจของรัฐบาล โดยภาคเอกชนที่เป็นผู้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ดังกล่าวจะเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายในการทำการ ศึกษาทั้งหมดโดยไม่มีเงื่อนไข ดังนั้น จึงมิได้ก่อให้เกิดภาระด้านงบประมาณแก่รัฐบาลแต่อย่างใด
9. สำหรับประเด็นข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับผลกระทบที่อาจมีขึ้นจากการดำเนินโครงการนั้น เป็นเรื่องที่รัฐบาลให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยการทำการศึกษาความเป็นไปได้ภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะครอบคลุมถึงการทำการศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การศึกษาผลกระทบด้านสังคมและด้านสิ่งแวดล้อม การทำประชาพิจารณ์ตามระเบียบที่เกี่ยวข้องและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล จากนั้นจึงนำผลการศึกษาเสนอให้รัฐบาลไทยและลาวพิจารณา คาดว่ากระบวนการศึกษาทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 30 เดือน ซึ่งผลการศึกษาดังกล่าวจะต้องสามารถตอบคำถามข้อห่วงกังวลของประชาชนของไทยและลาวและของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง รวมทั้งต้องสามารถสร้างความมั่นใจให้แก่สถาบันการเงินและแหล่งเงินทุนที่จะให้การสนับสนุนโครงการด้วย
10. หลังจากนั้นหากผลการศึกษาปรากฏว่าโครงการมีความเป็นไปได้ รัฐบาลไทยและลาวจะพิจารณาว่าจะดำเนินโครงการดังกล่าวหรือไม่ และในรูปแบบใด ซึ่งหากตัดสินใจที่จะพัฒนาโครงการทั้งสองฝ่ายต้องดำเนินการตามระเบียบและข้อกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง โดยในส่วนของไทยที่สำคัญ ได้แก่
- รัฐธรรมนูญมาตรา 57 ว่าด้วยสิทธิในข้อมูลข่าวสารซึ่งบุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐ ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขอนามัย คุณภาพชีวิตหรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
- รัฐธรรมนูญมาตรา 67 ซึ่งกำหนดว่าการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และสุขภาพ จะต้องมีการศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน และจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้เสียก่อน
- การดำเนินการตามกฎหมายอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 รวมทั้งความตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติของการใช้น้ำในแม่น้ำโขงในฐานะที่ไทยและลาวเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC)
- นอกจากนี้ เมื่อจะต้องเจรจาจัดทำความตกลงกับฝ่ายลาวเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ก็จะต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ด้วย
11. สำหรับประเด็นเรื่องการให้การสนับสนุนบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทเอเชียคอร์ปโฮลดิ้ง ลิมิเต็ด เป็นผู้ทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนั้น เป็นข้อเสนอของรัฐบาล สปป.ลาว ที่เสนอให้ภาคเอกชนที่จะทำการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการฯ ควรเป็นผู้ที่มีประสบการณ์และความน่าเชื่อถือ รวมถึงประสบการณ์ด้านการลงทุนประกอบธุรกิจใน สปป.ลาว ทั้งนี้ อาจมีสาเหตุสืบเนื่องจากประสบการณ์ในอดีตเมื่อ สปป.ลาวเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน ตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา ปรากฏว่ามีนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งไทย เข้าไปสัมปทานโครงการลงทุนในลาวจำนวนมาก และในจำนวนนี้มีหลายโครงการที่ไม่ประสบผลสำเร็จ ไม่ดำเนินการอย่างจริงจัง ทำให้รัฐบาลลาวต้องยกเลิกสัญญาสัมปทานหรือยกเลิกการอนุญาตให้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ และส่งผลกระทบทำให้โครงการสำคัญต่างๆ มีความล่าช้า ไม่เป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจที่รัฐบาลลาวกำหนดไว้ รัฐบาลลาวจึงไม่ประสงค์ให้เกิดปัญหาในลักษณะดังกล่าวขึ้นอีกเพราะจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศ
12. ต่อมาในการพบหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีไทย-ลาวเมื่อวันที่ 29 ก.พ. 2551 ในช่วงการเยือน สปป.ลาวอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรี ฝ่ายลาวได้แจ้งให้การสนับสนุน บมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการดังกล่าวเนื่องจากพิจารณาเห็นว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีความพร้อมและมีประสบการณ์ในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในลาว ได้แก่ การลงทุนพัฒนาและก่อสร้างโครงการไฟฟ้า “น้ำเทิน 2” ซึ่งเป็นโครงการไฟฟ้าพลังน้ำที่มีกำลังผลิตใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน (920 MW) กำหนดเสร็จในปี 2552 และเป็นผู้ร่วมลงทุนในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในลาวหลายโครงการ เช่น โครงการเหมืองบ๊อกไซด์ โครงการแยกแร่อลูมินา และโครงการหลอมแปรรูปอลูมิเนียมในแขวงจำปาสักและแขวงอัตตะปือ ซึ่งฝ่ายไทยไม่ขัดข้องต่อข้อเสนอของฝ่ายลาวดังกล่าวเพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้เอกชนไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง สปป.ลาวให้มากยิ่งขึ้น เพื่อช่วยพัฒนาและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจแก่ประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งพิจารณาเห็นว่าการเข้ามาลงทุนทำการศึกษาของบริษัทฯ ดังกล่าว มิได้มีเงื่อนไขผูกพันรัฐบาล ทั้งในด้านงบประมาณและการดำเนินโครงการในระยะต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-