กรุงเทพ--15 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
- อำนาจตุลาการของไทย เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของอำนาจอธิปไตย เคียงคู่ ดุล และคาน กับอำนาจอธิปไตยด้านการบริหารและนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของรัฐชาติประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในสากล
- ในประวัติศาสตร์ไทย อำนาจตุลาการมีความเป็นมาสืบเนื่องมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องนับร้อยปีและได้วิวัฒนาการ
มาอย่างไม่มีการสะดุดหยุดยั้ง จากระบบกฎหมายแบบประเพณี มาสู่การสร้างระบบกฎหมายแบบประมวล ที่มีความทันสมัย
และได้มาตรฐานทัดเทียมนานาอารยประเทศ
- ขณะที่อำนาจอธิปไตยในด้านนิติบัญญัติและด้านบริหารอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือการชะงักงันในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย แต่ระบบตุลาการมีความมั่นคง ต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในสังคมไทยเสมอมา โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น
- กระบวนการคัดสรรบุคลากรผู้มาเป็นตุลาการ ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมไทยว่ามีความเป็นวิชาชีพสูงมีจรรยาบรรณ และเป็นกระบวนการคัดสรรที่เป็นประชาธิปไตยภายในระบบตุลาการเองที่มีความเข้มงวด ปลอดจากการแทรกแซงภายนอก และเป็นอิสระ ประชาชนในชาติถือเป็นที่พึ่งเสมอมา กล่าวได้ว่า สังคมไทยเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และยุติธรรมของอำนาจตุลาการตลอดมา
- ระบบตุลาการไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับสภาพการณ์ของสังคมที่มีวิวัฒนาการ เพื่อสามารถจรรโลงความยุติธรรมให้แก่สังคมได้อย่างทันสมัย เช่น ได้มีการจัดตั้งองค์การทางตุลาการเพิ่มขึ้นจากศาลยุติธรรมที่มีอยู่เดิม เช่น
ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 และฉบับปัจจุบันคือฉบับปี 2550 โครงสร้างใหม่เหล่านี้จึงอยู่คู่กับฝ่ายบริหาร
และฝ่ายนิติบัญญัติอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี แล้วโดยไม่มีความกังขาใดๆ
- ศาลทั้งหลายต้องพิพากษาอรรถคดีและทำหน้าที่ของตนด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษา อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ผู้พิพากษาถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วย แต่ก็ถือเป็นบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ เพราะการแต่งตั้งผู้พิพากษานั้นเป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนการคัดสรรของระบบตุลาการเอง ซึ่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในกรณีนี้ ก็ไม่แตกต่างจากประเพณีปฏิบัติในประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อาทิ สหราชอาณาจักร เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
- อำนาจตุลาการของไทย เป็น 1 ใน 3 เสาหลักของอำนาจอธิปไตย เคียงคู่ ดุล และคาน กับอำนาจอธิปไตยด้านการบริหารและนิติบัญญัติ ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของรัฐชาติประชาธิปไตยอันเป็นที่ยอมรับในสากล
- ในประวัติศาสตร์ไทย อำนาจตุลาการมีความเป็นมาสืบเนื่องมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องนับร้อยปีและได้วิวัฒนาการ
มาอย่างไม่มีการสะดุดหยุดยั้ง จากระบบกฎหมายแบบประเพณี มาสู่การสร้างระบบกฎหมายแบบประมวล ที่มีความทันสมัย
และได้มาตรฐานทัดเทียมนานาอารยประเทศ
- ขณะที่อำนาจอธิปไตยในด้านนิติบัญญัติและด้านบริหารอาจมีการเปลี่ยนแปลงหรือการชะงักงันในประวัติศาสตร์การเมืองของไทย แต่ระบบตุลาการมีความมั่นคง ต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายในสังคมไทยเสมอมา โดยไม่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น
- กระบวนการคัดสรรบุคลากรผู้มาเป็นตุลาการ ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคมไทยว่ามีความเป็นวิชาชีพสูงมีจรรยาบรรณ และเป็นกระบวนการคัดสรรที่เป็นประชาธิปไตยภายในระบบตุลาการเองที่มีความเข้มงวด ปลอดจากการแทรกแซงภายนอก และเป็นอิสระ ประชาชนในชาติถือเป็นที่พึ่งเสมอมา กล่าวได้ว่า สังคมไทยเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์และยุติธรรมของอำนาจตุลาการตลอดมา
- ระบบตุลาการไทยมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับสภาพการณ์ของสังคมที่มีวิวัฒนาการ เพื่อสามารถจรรโลงความยุติธรรมให้แก่สังคมได้อย่างทันสมัย เช่น ได้มีการจัดตั้งองค์การทางตุลาการเพิ่มขึ้นจากศาลยุติธรรมที่มีอยู่เดิม เช่น
ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ รวมทั้งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ซึ่งเป็นโครงสร้างตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับปี 2540 และฉบับปัจจุบันคือฉบับปี 2550 โครงสร้างใหม่เหล่านี้จึงอยู่คู่กับฝ่ายบริหาร
และฝ่ายนิติบัญญัติอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปี แล้วโดยไม่มีความกังขาใดๆ
- ศาลทั้งหลายต้องพิพากษาอรรถคดีและทำหน้าที่ของตนด้วยความยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ และพระมหากษัตริย์ทรงมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งผู้พิพากษา อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ผู้พิพากษาถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ด้วย แต่ก็ถือเป็นบทบาทในเชิงสัญลักษณ์ เพราะการแต่งตั้งผู้พิพากษานั้นเป็นไปตามกระบวนการและขั้นตอนการคัดสรรของระบบตุลาการเอง ซึ่งบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทยในกรณีนี้ ก็ไม่แตกต่างจากประเพณีปฏิบัติในประเทศที่มีระบอบการปกครองเช่นเดียวกับไทยคือสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ อาทิ สหราชอาณาจักร เป็นต้น
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-