กรุงเทพ--25 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม 2551 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ มีกำหนดการเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ครั้งที่ 10 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
การประชุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหารือแนวทางที่จะส่งเสริมความร่วมมือสาขาต่าง ๆให้มีความคืบหน้า และประเมินผลการดำเนินความสัมพันธ์ในกรอบ BIMSTEC ที่ผ่านมา เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอด BIMSTEC ครั้งที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งอินเดียจะเป็นเจ้าภาพที่กรุงนิวเดลี เช่นกัน นอกจากนั้น ไทยได้เสนอให้มีการหารือในข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาและวิกฤตการณ์ของโลกในปัจจุบัน เช่น ความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสอันดีในการกระชับความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก BIMSTEC โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการจะหารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายประณาบ มุขชี (H.E. Mr. Pranab Mukherjee) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ในวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ด้วย BIMSTEC หรือ Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation คือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือในหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในอ่าวเบกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย มีจุดมุ่งหมายให้เป็นกรอบที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างพลวัตรและศักยภาพของทั้งสองภูมิภาค ปัจจุบันมีสาขาความร่วมมือ 13 สาขา แบ่งความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขาต่างๆ ได้แก่ การค้าการลงทุน (บังคลาเทศ) การท่องเที่ยว (อินเดีย) การสื่อสารและคมนาคม (อินเดีย) พลังงาน (พม่า) เทคโนโลยี (ศรีลังกา) ประมง (ไทย) เกษตร (พม่า) การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดีย) ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทย) สาธารณสุข (ไทย) วัฒนธรรม (ภูฏาน) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดีย) และการลดความยากจน (เนปาล)
ความคืบหน้าที่สำคัญของ BIMSTEC ในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ ADB ได้จัดทำผลการศึกษา (BIMSTEC Transport Infrastructure and Logistics Study — BITILS)
2. การค้าการลงทุน ซึ่งมีการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก BIMSTEC
3. การขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งมีการประชุมระดับรัฐมนตรีที่บังคลาเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาและในการประชุมครั้งนี้ จะได้มีการหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMSTEC ด้วย เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันความร่วมมือต่างๆ ในกรอบ BIMSTEC ด้วยกรอบความร่วมมือ BIMSTEC เกิดขึ้นจากความริเริ่มของไทย ในปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC เพื่อเชื่อมสานนโยบาย look east ของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้และนโยบาย look west ของไทย และเป็นกรอบเดียวที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอด BIMSTEC ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30-31 ก.ค. 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ระหว่างวันที่ 28-29 สิงหาคม 2551 นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะ มีกำหนดการเดินทางเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรี BIMSTEC ครั้งที่ 10 ณ กรุงนิวเดลี สาธารณรัฐอินเดีย
การประชุมครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อหารือแนวทางที่จะส่งเสริมความร่วมมือสาขาต่าง ๆให้มีความคืบหน้า และประเมินผลการดำเนินความสัมพันธ์ในกรอบ BIMSTEC ที่ผ่านมา เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม การอำนวยความสะดวกด้านการค้า และเตรียมการสำหรับการประชุมสุดยอด BIMSTEC ครั้งที่ 2 ในเดือนพฤศจิกายน 2551 ซึ่งอินเดียจะเป็นเจ้าภาพที่กรุงนิวเดลี เช่นกัน นอกจากนั้น ไทยได้เสนอให้มีการหารือในข้อกังวลเกี่ยวกับปัญหาและวิกฤตการณ์ของโลกในปัจจุบัน เช่น ความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การประชุมครั้งนี้ยังเป็นโอกาสอันดีในการกระชับความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีระหว่างไทยกับประเทศสมาชิก BIMSTEC โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมีกำหนดการจะหารือข้อราชการกับ ฯพณฯ นายประณาบ มุขชี (H.E. Mr. Pranab Mukherjee) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ในวันที่ 28 สิงหาคม 2551 ด้วย BIMSTEC หรือ Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation คือความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือในหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจระหว่าง 7 ประเทศในอ่าวเบกอล ได้แก่ บังกลาเทศ ภูฏาน อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย มีจุดมุ่งหมายให้เป็นกรอบที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน เพื่อเสริมสร้างพลวัตรและศักยภาพของทั้งสองภูมิภาค ปัจจุบันมีสาขาความร่วมมือ 13 สาขา แบ่งความรับผิดชอบในการขับเคลื่อนความร่วมมือในสาขาต่างๆ ได้แก่ การค้าการลงทุน (บังคลาเทศ) การท่องเที่ยว (อินเดีย) การสื่อสารและคมนาคม (อินเดีย) พลังงาน (พม่า) เทคโนโลยี (ศรีลังกา) ประมง (ไทย) เกษตร (พม่า) การต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (อินเดีย) ปฏิสัมพันธ์ในระดับประชาชน (ไทย) สาธารณสุข (ไทย) วัฒนธรรม (ภูฏาน) การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและภัยพิบัติ (อินเดีย) และการลดความยากจน (เนปาล)
ความคืบหน้าที่สำคัญของ BIMSTEC ในประเด็นต่างๆ ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและโลจิสติกส์ที่ ADB ได้จัดทำผลการศึกษา (BIMSTEC Transport Infrastructure and Logistics Study — BITILS)
2. การค้าการลงทุน ซึ่งมีการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก BIMSTEC
3. การขจัดปัญหาความยากจน ซึ่งมีการประชุมระดับรัฐมนตรีที่บังคลาเทศเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาและในการประชุมครั้งนี้ จะได้มีการหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMSTEC ด้วย เพื่อเป็นกลไกในการผลักดันความร่วมมือต่างๆ ในกรอบ BIMSTEC ด้วยกรอบความร่วมมือ BIMSTEC เกิดขึ้นจากความริเริ่มของไทย ในปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC เพื่อเชื่อมสานนโยบาย look east ของกลุ่มประเทศในเอเชียใต้และนโยบาย look west ของไทย และเป็นกรอบเดียวที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้เข้ากับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมสุดยอด BIMSTEC ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30-31 ก.ค. 2547
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-