กรุงเทพ--28 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามคำประกาศของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2551 เรื่อง ขอให้กระทรวงการต่างประเทศปกป้องอธิปไตยของชาติและนำตัวผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินมารับโทษด้วยกระบวนการยุติธรรมของไทย ซึ่งพันธมิตรฯ ได้ยื่นแก่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 โดยเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่าง ๆ ในกรณีปราสาทพระวิหารและหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรและขอคำตอบจากกระทรวงฯ นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
1. “ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ว่า การกระทำของรัฐบาลที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีและการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 นั้น เราขอเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศส่งหนังสือแจ้งไปยังสหประชาชาติและรัฐบาลประเทศกัมพูชาเพื่อเพิกถอนข้อตกลงและคำแถลงการณ์ร่วมทั้งหมดอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ และรักษาสิทธิมิให้ประเทศไทยเสียเปรียบด้วยกฎหมายปิดปากต่อไปในวันข้างหน้า”
ขอชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินการมาเป็นลำดับเพื่อให้คำแถลงการณ์ร่วมไม่มีผลบังคับใช้และสิ้นผลไป โดยดำเนินการต่อองค์การสหประชาชาติ ผ่านองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre) และสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และต่อรัฐบาลกัมพูชา ดังนี้
1.1 ทันทีที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการอ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบคำแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา และดำเนินการตามมติดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึง (1) นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (2) นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาและ (3) นายโคอิชิโร มัตซูระ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก แจ้งขอระงับผลการใช้บังคับของคำแถลงการณ์ร่วมออกไปก่อนตามคำสั่งศาลปกครอง และต่อมาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก ได้เวียนสำเนาหนังสือทั้งสามฉบับให้ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย ในการนี้ ผู้แทนของกัมพูชา ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกต่างแจ้งกับผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมฯ ว่าจะไม่อ้างอิงคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวแต่อย่างใด และจะไม่นำมาประกอบการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาด้วย
1.2 ภายหลังจากที่ ICOMOS ได้เผยแพร่รายงาน WHC 08/32.COM/INF. 8B1.Add.2 ซึ่ง ICOMOS ได้เตรียมไว้สำหรับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ก่อนที่ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งระงับคำแถลงการณ์ร่วม และรายงานนี้ได้รวมเนื้อหาของคำแถลงการณ์ร่วมไว้และได้อ้างถึงอย่างผิดพลาดว่า ไทยและกัมพูชาได้จัดทำคำแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 ถึงหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ ยืนยันว่า “คำแถลงการณ์ร่วมจะต้องไม่ถูกนำมาประกอบการพิจารณาและไม่สามารถตีความว่าเป็นการสนับสนุนการยื่นขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาได้” (The said Joint Communiqu? of 18 June 2008, including its draft which ICOMOS referred to erroneously as being issued on 22 May 2008 in its evaluation report prepared for the 32nd session, must therefore be disregarded and thus cannot be construed as giving support to Cambodia’s nomination.) นอกจากนั้น ได้แจ้งศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโกและประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ด้วย ต่อมา ICOMOS ได้ถอนรายงานฉบับดังกล่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก โดยใช้การรายงานต่อที่ประชุมด้วยวาจาแทน ซึ่งมิได้มีการอ้างถึงคำแถลงการณ์ร่วมไทย — กัมพูชาอีกต่อไป
1.3 นอกจากนั้น ข้อ 5 ของมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ได้รับรองว่า “คำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทยกับยูเนสโก รวมทั้งคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC- 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของคำแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้” (“Recognizing that the Joint Communiqu? signed on 18 June 2008 by the representatives of the Governments of Cambodia and Thailand, as well as by UNESCO, including its draft which was erroneously referred to as having been signed on 22 and 23 May 2008 in the document WHC-08/32.COM/INF.8B1Add.2, must be disregarded, following the decision of the Government of Thailand to suspend the effect of the Joint Communiqu?, pursuant to the Thai Administrative Court’s interim injunction on this issue.”) ซึ่งข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คณะกรรมการมรดกโลกรับฟังคำขอของกระทรวงฯ ที่ให้ระงับการใช้ประโยชน์ใด ๆ จากคำแถลงการณ์ร่วม
1.4 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาให้คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวสิ้นผลไปแล้ว
2. ”ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ 7 ชาติ เข้ามาจัดการพื้นที่อนุรักษ์เกือบหมื่นไร่รอบเขาพระวิหารซึ่งเป็นดินแดนของประเทศไทย เป็นการกระทำที่ผิดกฎระเบียบของคณะกรรมการมรดกโลกและเป็นการยึดครองอธิปไตยของประเทศไทยไปให้ประเทศกัมพูชานั้น เราจึงเรียกร้องให้ นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเร่งรีบทำหนังสือแจ้งปฏิเสธข้อมติดังกล่าวไปยังคณะกรรมการมรดกโลกในทันที และทำหนังสือแจ้งไปยังชาติต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจัดการว่าประเทศไทยไม่ยอมรับมตินั้น เพราะเป็นดินแดนของประเทศไทย และห้ามเข้ามาจัดการใด ๆ ทั้งสิ้นในการละเมิดอธิปไตยของชาติไทยทุกรูปแบบ”
ขอชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ปฏิเสธข้อมติของที่ประชุมแล้ว ดังนี้
2.1 เมื่อคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวต่อที่ประชุมทันทีว่า “ประเทศไทยจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์” (“In short, Thailand is obliged to object the decision to inscribe the Temple of Preah Vihear on the World Heritage list, as unilaterally proposed by Cambodia and on the basis of incomplete integrity.”) การแถลงดังกล่าวเท่ากับว่าประเทศไทยได้ประกาศไม่ยอมรับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาทั้งฉบับ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC) ตามข้อ 14 ของข้อมติด้วย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อที่ประชุมเพิ่มเติมว่า “ไทยประสงค์จะย้ำการสงวนสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย ถึงรักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และยืนยันรักษาสิทธิของไทยว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะไม่กระทบต่อสิทธิทั้งปวงของประเทศไทยเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย ตลอดจนการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกในพื้นที่ในอนาคต และท่าทีทางกฎหมายของประเทศไทย” (“In the end, I wish to reaffirm Thailand’s reservations of her rights as contained in the Note dated 6 July 1962 from the Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand to the Acting Secretary-General of the United Nations. The inscription of the Temple of Preah Vihear on the World Heritage list shall in no way prejudice Thailand’s rights regarding her territorial integrity and sovereignty as well as the survey and demarcation of land boundary in the area and Thailand’s legal position.”)
2.2 ICC ที่จะจัดตั้งขึ้นนั้นมีหน้าที่ตรวจสอบนโยบายในการคุ้มครองและพัฒนา ทรัพย์สิน หรือ property ที่ขอขึ้นทะเบียน โดยให้ร่วมมือกับองค์การยูเนสโกและให้กัมพูชา “เชิญ” ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย โดยร่วมกับคู่ภาคีระหว่างประเทศอีกจำนวนไม่เกิน 7 ประเทศหรือองค์กรซึ่งอาจเป็นสถาบันการศึกษาก็ได้ และในข้อ 9 ของข้อมติดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนนั้น จำกัดไว้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่รวมพื้นที่อื่น ดังนั้น จึงถือว่าการดำเนินการของ ICC จะต้องไม่ล่วงล้ำเข้ามาในเขตที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นดินแดนของไทย ยิ่งกว่านั้น ข้อมตินี้เป็นการกำหนดให้กัมพูชามีพันธกรณี ที่จะต้อง “เชิญ” ให้ไทยเข้าร่วม มิใช่บังคับให้ไทยต้องเข้าร่วมแต่ประการใด
2.3 การที่ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าวกำหนดให้กัมพูชาเชิญให้ไทยมีส่วนร่วมใน ICC จะเปิดโอกาสให้ไทยมีส่วนในการตรวจสอบนโยบายการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งหมายถึงโอกาสของไทยในการเข้าไปช่วยกำกับดูแลมิให้การพัฒนาปราสาทพระวิหารกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ใด ๆ ของไทย โดยเฉพาะการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย
2.4 การจัดตั้ง ICC เป็นวิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งสำหรับองค์การยูเนสโกและศูนย์มรดกโลกในการดูแลรักษามรดกโลกทั้งที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่การดูแลรักษานั้นจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก และต้องใช้ความรู้ความชำนาญทางวิชาการเฉพาะด้าน เช่น การอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน เป็นต้น และในอดีตที่ผ่านมา วิธีการทำงานโดย ICC นี้ก็ได้นำมาใช้เสมอในหลายๆ กรณี อาทิ คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองและพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนคร หรือ ICC อังกอร์ ซึ่งมีไทยร่วมอยู่ด้วย คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอัฟกานิสถาน คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอิรัก เป็นต้น
อนึ่ง การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกโลก รวมทั้งปราสาทพระวิหารด้วยนั้นอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ
3. “เราขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า เขาพระวิหารของประเทศไทยได้ถูกละเมิดดินแดนอย่างร้ายแรง ด้วยการยึดครองโดยทหารกัมพูชาที่เข้ามาบวชเป็นพระอยู่ที่วัดสิขคีรีศวร และยังส่งชาวกัมพูชาเข้ามายึดครองอยู่โดยมิชอบ ดังนั้น ผลการเจรจาที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย และนายฮอ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศกัมพูชา โดยให้ทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากเขาพระวิหารนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ ทำให้คนไทยไม่สามารถขึ้นไปบนเขาพระวิหารได้เพราะถูกปิดกั้นไว้ไม่ให้รับรู้ว่าประเทศกัมพูชายึดครองอยู่อย่างไม่ถูกต้อง และทำให้ชาวกัมพูชาที่ลักลอบเข้ามาสามารถอยู่บนเขาพระวิหาร และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารได้ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการปกปิดความผิดให้นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนยกดินแดนเขาพระวิหารให้ประเทศกัมพูชาไปอย่างไม่ถูกต้อง เราจึงเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค โปรดปฏิบัติตนในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย เพื่อแสดงความรับผิดชอบด้วยการแก้ไขผลการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อยุติความเสียเปรียบในอธิปไตยของชาติไทยทันที”
กระทรวงฯ ขอเรียนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ดังนี้
3.1 การปรับลดกำลังที่มีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นผลจากการเจรจาของฝ่ายทหาร ระหว่างประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคของไทย ซึ่งได้แก่ แม่ทัพภาคที่ 2 กับประธานชุดประสานงานฝ่ายกัมพูชา ซึ่งได้แก่ พล.อ. เนียง พาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา อันเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 ทั้งนี้ การปรับกำลังดังกล่าวเป็นการดำเนินการทางยุทธวิธีของฝ่ายทหารเพื่อลดการเผชิญหน้าและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรอการจัดทำ “ข้อตกลงชั่วคราว” ข้างต้น ซึ่งทางฝ่ายทหารได้ประเมินไว้แล้วว่า จะไม่ส่งผลเสียหายต่อการรักษาอธิปไตยของชาติ
3.2 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชาที่ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี ฝ่ายทหารไทยและกัมพูชาก็ได้ตกลงที่จะหารือเรื่องนี้กันต่อไปที่เมืองเสียมราฐในวันที่ 29 สิงหาคม 2551
4. “นอกจากการเจรจาให้ถอนทหารไทยให้ออกจากพื้นที่ในดินแดนไทยที่ถูกรุกล้ำเข้ามาบริเวณปราสาทพระวิหารแล้ว ยังมีการตกลงอีกว่าจะเจรจาเรื่องปราสาทตาเหมือนธมอีก เท่ากับเป็นการขยายพื้นที่การบุกรุกและละเมิดอธิปไตยของไทยต่อไปอีก เพราะขณะนี้ได้เกิดรูปแบบซ้ำซากที่ชาวกัมพูชาได้ลักลอบเข้ามาอยู่บริเวณปราสาทตาเหมือนธมเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับเขาพระวิหารอีกแห่งหนึ่ง เราจึงเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำหนังสือบันทึกช่วยจำในการที่ชาวกัมพูชาได้บุกรุกอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทยโดยทันที”
กระทรวงฯ ได้ยืนยันว่า กลุ่มปราสาทตาเมือนอยู่ในเขตของไทย โดยอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ ประกอบเพื่อยืนยันสิทธิไปแล้ว ดังนี้
4.1 กระทรวงฯ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ว่า “กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ใกล้แนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ไทยถือว่าอยู่ในเขตของไทย ทหารไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นั้นตลอดมา อย่างไรก็ดี หลักเขตแดนในบริเวณนั้นสูญหายไป ทำให้ฝ่ายกัมพูชาอาจเข้าใจไปในมุมมองของเขา ซึ่งเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายมีกลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา (Joint Boundary Commission — JBC) ที่สามารถชี้ชัดลงไปได้ ฝ่ายกัมพูชาเคยระบุไว้ในแผนที่แนะนำโบราณสถานที่ทำร่วมกับประเทศฝรั่งเศสว่า ปราสาทตาเมือนธมอยู่ในกัมพูชา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 และยังได้ออกข่าวเผยแพร่ต่อสาธารณชนเรื่องการประท้วงด้วย” ดังสำเนาบันทึกช่วยจำที่แนบมา
4.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือกัมพูชา ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2551 ยืนยันอีกครั้งว่า กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในเขตแดนไทย ซึ่งได้ส่งให้ฝ่ายกัมพูชาผ่านช่องทางทางการทูตแล้ว
4.3 ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชาได้พิจารณาเรื่องเขตแดนไทย — กัมพูชา ในภาพรวมทั้งหมดอยู่แล้ว ดังนั้น การหารือเรื่องปราสาทตาเมือนธมจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับกรมแผนที่ทหารต่อไป
5. “สำหรับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในบริเวณอ่าวไทย ในขณะนี้ประเทศกัมพูชาได้ให้ชาติมหาอำนาจหลายชาติสัมปทานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปแล้ว และกำลังขุดเจาะสำรวจหาแหล่งพลังงานในพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติไทยโดยมิชอบและปราศจากการทักท้วงใด ๆ จากรัฐบาลไทย เราจึงขอเรียกร้องให้นายเตช บุนนาคในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เร่งทำหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชาให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที”
กระทรวงฯ ได้ประสานงานเบื้องต้นกับกองทัพเรือเพื่อตรวจสอบแล้ว ได้รับแจ้งว่า ไม่มีรายงานการดำเนินการขุดเจาะแสวงประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนบริเวณไหล่ทวีป ระหว่างไทย — กัมพูชาแต่อย่างใด
6. “เราขอให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รีบประกาศยกเลิกหนังสือเดินทางทุกประเภทของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินโดยทันที”
กระทรวงฯ ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ดังนี้
6.1 ทันทีที่ปรากฏข่าวในสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ว่าศาลได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสอง กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการออกหมายจับ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการออกหมายจับว่าศาลได้กำหนดห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่ควรออกหนังสือเดินทางให้หรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณา
6.2 ต่อมาศาลฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ซึ่งกระทรวงฯ ได้รับเมื่อเย็นวันที่ 18 สิงหาคม 2551 แจ้งว่าได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสอง เนื่องจากไม่มารายงานตัวต่อศาลภายในกำหนดและส่งหมายจับให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแล้วเมื่อ 13 สิงหาคม 2551
6.3 หลังจากได้รับหนังสือจากศาลฯ กระทรวงฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้ โดยยึดระเบียบกระทรวงฯ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 กฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้มีหนังสือ ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2551 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อขอรับบัญชาว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการยกเลิกหนังสือเดินทางทั้งหนังสือเดินทางทางการทูตและหนังสือเดินทางธรรมดาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เนื่องจากในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เคยมีคำสั่งให้ยกเลิกหนังสือเดินทางทางการทูตของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ดังนั้น ในเมื่อการยกเลิกหนังสือเดินทางทางการทูตครั้งที่แล้วเป็นบัญชาของนายกรัฐมนตรี การยกเลิกในครั้งนี้ก็ควรต้องรอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเช่นกัน
7. “พ.ต.ท. ทักษิณฯ มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งความจับแกนนำพันธมิตรฯ เข้าใจว่า หนังสือมอบอำนาจต้องทำที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน แล้วทำไมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่จับกุม”
7.1 ในช่วงที่ผ่านมา พ.ต.ท. ทักษิณฯ ยังไม่เคยเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ ตามที่พันธมิตรฯ อ้างถึงแต่อย่างใด
7.2 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายไทยที่จะมีอำนาจหน้าที่จับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้
8. “กระทรวงการต่างประเทศสั่งการไม่ให้ข้าราชการออกมาฟังปราศรัยของพันธมิตรฯ”
กระทรวงฯ ขอยืนยันว่าไม่เคยห้ามข้าราชการของกระทรวงฯ ออกมาฟังปราศรัยของพันธมิตรฯ แต่อย่างใด มีแต่คำขอร้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ขอความร่วมมือข้าราชการที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไปยืนสังเกตการณ์เพราะจะเป็นการกีดขวางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
9. “มีรายงานข่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เดินทางไปอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยยังใช้หนังสือเดินทางทางการทูต”
กระทรวงฯ ไม่ได้รับรายงานใด ๆ เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ตามคำประกาศของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2551 เรื่อง ขอให้กระทรวงการต่างประเทศปกป้องอธิปไตยของชาติและนำตัวผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินมารับโทษด้วยกระบวนการยุติธรรมของไทย ซึ่งพันธมิตรฯ ได้ยื่นแก่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 โดยเรียกร้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการต่าง ๆ ในกรณีปราสาทพระวิหารและหนังสือเดินทางของ พ.ต.ท. ทักษิณ และคุณหญิงพจมาน ชินวัตรและขอคำตอบจากกระทรวงฯ นั้น
กระทรวงการต่างประเทศขอชี้แจง ดังนี้
1. “ตามที่ศาลรัฐธรรมนูญ ได้มีคำวินิจฉัยเมื่อวันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ว่า การกระทำของรัฐบาลที่ได้มีมติคณะรัฐมนตรีและการลงนามในคำแถลงการณ์ร่วมระหว่างประเทศไทยและประเทศกัมพูชาขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 นั้น เราขอเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศส่งหนังสือแจ้งไปยังสหประชาชาติและรัฐบาลประเทศกัมพูชาเพื่อเพิกถอนข้อตกลงและคำแถลงการณ์ร่วมทั้งหมดอย่างเร่งด่วน เพื่อปกป้องอธิปไตยของประเทศ และรักษาสิทธิมิให้ประเทศไทยเสียเปรียบด้วยกฎหมายปิดปากต่อไปในวันข้างหน้า”
ขอชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้ดำเนินการมาเป็นลำดับเพื่อให้คำแถลงการณ์ร่วมไม่มีผลบังคับใช้และสิ้นผลไป โดยดำเนินการต่อองค์การสหประชาชาติ ผ่านองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ศูนย์มรดกโลก (World Heritage Centre) และสภาการโบราณสถานระหว่างประเทศ (International Council on Monuments and Sites หรือ ICOMOS) และต่อรัฐบาลกัมพูชา ดังนี้
1.1 ทันทีที่ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา ลงวันที่ 27 มิถุนายน 2551 ห้ามมิให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและคณะรัฐมนตรีดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการอ้างหรือใช้ประโยชน์จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ที่เห็นชอบคำแถลงการณ์ร่วมรัฐบาลไทยและรัฐบาลกัมพูชา และดำเนินการตามมติดังกล่าวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดหรือศาลจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ถึง (1) นายสก อาน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (2) นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาและ (3) นายโคอิชิโร มัตซูระ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโก แจ้งขอระงับผลการใช้บังคับของคำแถลงการณ์ร่วมออกไปก่อนตามคำสั่งศาลปกครอง และต่อมาเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2551 คณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ณ นครควิเบก ได้เวียนสำเนาหนังสือทั้งสามฉบับให้ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทราบด้วย ในการนี้ ผู้แทนของกัมพูชา ประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกและองค์การยูเนสโกต่างแจ้งกับผู้แทนไทยที่เข้าร่วมประชุมฯ ว่าจะไม่อ้างอิงคำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวแต่อย่างใด และจะไม่นำมาประกอบการพิจารณาการขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาด้วย
1.2 ภายหลังจากที่ ICOMOS ได้เผยแพร่รายงาน WHC 08/32.COM/INF. 8B1.Add.2 ซึ่ง ICOMOS ได้เตรียมไว้สำหรับการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ก่อนที่ศาลปกครองกลางจะมีคำสั่งระงับคำแถลงการณ์ร่วม และรายงานนี้ได้รวมเนื้อหาของคำแถลงการณ์ร่วมไว้และได้อ้างถึงอย่างผิดพลาดว่า ไทยและกัมพูชาได้จัดทำคำแถลงการณ์ร่วมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้มีหนังสือลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 ถึงหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกทั้ง 21 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ ยืนยันว่า “คำแถลงการณ์ร่วมจะต้องไม่ถูกนำมาประกอบการพิจารณาและไม่สามารถตีความว่าเป็นการสนับสนุนการยื่นขอขึ้นทะเบียนของกัมพูชาได้” (The said Joint Communiqu? of 18 June 2008, including its draft which ICOMOS referred to erroneously as being issued on 22 May 2008 in its evaluation report prepared for the 32nd session, must therefore be disregarded and thus cannot be construed as giving support to Cambodia’s nomination.) นอกจากนั้น ได้แจ้งศูนย์มรดกโลก องค์การยูเนสโกและประธานการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ด้วย ต่อมา ICOMOS ได้ถอนรายงานฉบับดังกล่าวจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก โดยใช้การรายงานต่อที่ประชุมด้วยวาจาแทน ซึ่งมิได้มีการอ้างถึงคำแถลงการณ์ร่วมไทย — กัมพูชาอีกต่อไป
1.3 นอกจากนั้น ข้อ 5 ของมติคณะกรรมการมรดกโลกที่ให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ได้รับรองว่า “คำแถลงการณ์ร่วมฉบับเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2008 โดยผู้แทนของรัฐบาลแห่งกัมพูชาและไทยกับยูเนสโก รวมทั้งคำแถลงการณ์ร่วมซึ่งได้อ้างผิดว่าได้ลงนามเมื่อวันที่ 22 และ 23 พฤษภาคม ค.ศ. 2008 ในเอกสาร WHC- 08/32.COM/INF.8B1.Add.2 ต้องไม่ใช้ ตามการตัดสินใจของรัฐบาลไทยที่ระงับผลของคำแถลงการณ์ร่วม ภายหลังคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองไทยในเรื่องนี้” (“Recognizing that the Joint Communiqu? signed on 18 June 2008 by the representatives of the Governments of Cambodia and Thailand, as well as by UNESCO, including its draft which was erroneously referred to as having been signed on 22 and 23 May 2008 in the document WHC-08/32.COM/INF.8B1Add.2, must be disregarded, following the decision of the Government of Thailand to suspend the effect of the Joint Communiqu?, pursuant to the Thai Administrative Court’s interim injunction on this issue.”) ซึ่งข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกนี้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า คณะกรรมการมรดกโลกรับฟังคำขอของกระทรวงฯ ที่ให้ระงับการใช้ประโยชน์ใด ๆ จากคำแถลงการณ์ร่วม
1.4 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศกัมพูชาให้คำแถลงการณ์ร่วมดังกล่าวสิ้นผลไปแล้ว
2. ”ตามที่คณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ 7 ชาติ เข้ามาจัดการพื้นที่อนุรักษ์เกือบหมื่นไร่รอบเขาพระวิหารซึ่งเป็นดินแดนของประเทศไทย เป็นการกระทำที่ผิดกฎระเบียบของคณะกรรมการมรดกโลกและเป็นการยึดครองอธิปไตยของประเทศไทยไปให้ประเทศกัมพูชานั้น เราจึงเรียกร้องให้ นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเร่งรีบทำหนังสือแจ้งปฏิเสธข้อมติดังกล่าวไปยังคณะกรรมการมรดกโลกในทันที และทำหนังสือแจ้งไปยังชาติต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจัดการว่าประเทศไทยไม่ยอมรับมตินั้น เพราะเป็นดินแดนของประเทศไทย และห้ามเข้ามาจัดการใด ๆ ทั้งสิ้นในการละเมิดอธิปไตยของชาติไทยทุกรูปแบบ”
ขอชี้แจงว่า กระทรวงฯ ได้แถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยที่ 32 ปฏิเสธข้อมติของที่ประชุมแล้ว ดังนี้
2.1 เมื่อคณะกรรมการมรดกโลกได้มีมติให้ขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของกัมพูชาเป็นมรดกโลกเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 นั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้กล่าวต่อที่ประชุมทันทีว่า “ประเทศไทยจำเป็นต้องคัดค้านข้อมติในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกตามที่กัมพูชาเสนอโดยฝ่ายเดียว เนื่องจากเป็นการขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่ขาดความสมบูรณ์ และไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์” (“In short, Thailand is obliged to object the decision to inscribe the Temple of Preah Vihear on the World Heritage list, as unilaterally proposed by Cambodia and on the basis of incomplete integrity.”) การแถลงดังกล่าวเท่ากับว่าประเทศไทยได้ประกาศไม่ยอมรับข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาทั้งฉบับ ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศ (International Coordinating Committee หรือ ICC) ตามข้อ 14 ของข้อมติด้วย นอกจากนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงต่อที่ประชุมเพิ่มเติมว่า “ไทยประสงค์จะย้ำการสงวนสิทธิต่าง ๆ ตามที่ระบุในหนังสือลงวันที่ 6 กรกฎาคม ค.ศ. 1962 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของราชอาณาจักรไทย ถึงรักษาการเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ และยืนยันรักษาสิทธิของไทยว่า การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก จะไม่กระทบต่อสิทธิทั้งปวงของประเทศไทยเกี่ยวกับบูรณภาพแห่งดินแดนและอธิปไตย ตลอดจนการสำรวจและปักปันเขตแดนทางบกในพื้นที่ในอนาคต และท่าทีทางกฎหมายของประเทศไทย” (“In the end, I wish to reaffirm Thailand’s reservations of her rights as contained in the Note dated 6 July 1962 from the Minister of Foreign Affairs of the Kingdom of Thailand to the Acting Secretary-General of the United Nations. The inscription of the Temple of Preah Vihear on the World Heritage list shall in no way prejudice Thailand’s rights regarding her territorial integrity and sovereignty as well as the survey and demarcation of land boundary in the area and Thailand’s legal position.”)
2.2 ICC ที่จะจัดตั้งขึ้นนั้นมีหน้าที่ตรวจสอบนโยบายในการคุ้มครองและพัฒนา ทรัพย์สิน หรือ property ที่ขอขึ้นทะเบียน โดยให้ร่วมมือกับองค์การยูเนสโกและให้กัมพูชา “เชิญ” ประเทศไทยเข้าร่วมด้วย โดยร่วมกับคู่ภาคีระหว่างประเทศอีกจำนวนไม่เกิน 7 ประเทศหรือองค์กรซึ่งอาจเป็นสถาบันการศึกษาก็ได้ และในข้อ 9 ของข้อมติดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดเจนว่าทรัพย์สินที่ขอขึ้นทะเบียนนั้น จำกัดไว้เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร ไม่รวมพื้นที่อื่น ดังนั้น จึงถือว่าการดำเนินการของ ICC จะต้องไม่ล่วงล้ำเข้ามาในเขตที่มีการอ้างสิทธิทับซ้อนกันระหว่างไทยกับกัมพูชา รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นดินแดนของไทย ยิ่งกว่านั้น ข้อมตินี้เป็นการกำหนดให้กัมพูชามีพันธกรณี ที่จะต้อง “เชิญ” ให้ไทยเข้าร่วม มิใช่บังคับให้ไทยต้องเข้าร่วมแต่ประการใด
2.3 การที่ข้อมติของคณะกรรมการมรดกโลกดังกล่าวกำหนดให้กัมพูชาเชิญให้ไทยมีส่วนร่วมใน ICC จะเปิดโอกาสให้ไทยมีส่วนในการตรวจสอบนโยบายการอนุรักษ์ปราสาทพระวิหาร ซึ่งหมายถึงโอกาสของไทยในการเข้าไปช่วยกำกับดูแลมิให้การพัฒนาปราสาทพระวิหารกระทบกระเทือนต่อผลประโยชน์ใด ๆ ของไทย โดยเฉพาะการละเมิดอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของไทย
2.4 การจัดตั้ง ICC เป็นวิธีการทำงานรูปแบบหนึ่งสำหรับองค์การยูเนสโกและศูนย์มรดกโลกในการดูแลรักษามรดกโลกทั้งที่เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและวัฒนธรรม โดยเฉพาะในกรณีที่การดูแลรักษานั้นจำเป็นต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก และต้องใช้ความรู้ความชำนาญทางวิชาการเฉพาะด้าน เช่น การอนุรักษ์ปฏิสังขรณ์โบราณสถาน เป็นต้น และในอดีตที่ผ่านมา วิธีการทำงานโดย ICC นี้ก็ได้นำมาใช้เสมอในหลายๆ กรณี อาทิ คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองและพัฒนาอุทยานประวัติศาสตร์เมืองพระนคร หรือ ICC อังกอร์ ซึ่งมีไทยร่วมอยู่ด้วย คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอัฟกานิสถาน คณะกรรมการประสานงานระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมของอิรัก เป็นต้น
อนึ่ง การดำเนินการต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการมรดกโลก รวมทั้งปราสาทพระวิหารด้วยนั้นอยู่ในความดูแลของคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ซึ่งมีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นฝ่ายเลขานุการ
3. “เราขอประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่า เขาพระวิหารของประเทศไทยได้ถูกละเมิดดินแดนอย่างร้ายแรง ด้วยการยึดครองโดยทหารกัมพูชาที่เข้ามาบวชเป็นพระอยู่ที่วัดสิขคีรีศวร และยังส่งชาวกัมพูชาเข้ามายึดครองอยู่โดยมิชอบ ดังนั้น ผลการเจรจาที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระหว่างนายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย และนายฮอ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศกัมพูชา โดยให้ทั้งสองประเทศถอนทหารออกจากเขาพระวิหารนั้น ทำให้ประเทศไทยต้องเสียเปรียบ ทำให้คนไทยไม่สามารถขึ้นไปบนเขาพระวิหารได้เพราะถูกปิดกั้นไว้ไม่ให้รับรู้ว่าประเทศกัมพูชายึดครองอยู่อย่างไม่ถูกต้อง และทำให้ชาวกัมพูชาที่ลักลอบเข้ามาสามารถอยู่บนเขาพระวิหาร และในบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารได้ต่อไป อีกทั้งยังเป็นการปกปิดความผิดให้นายนพดล ปัทมะ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ตลอดจนยกดินแดนเขาพระวิหารให้ประเทศกัมพูชาไปอย่างไม่ถูกต้อง เราจึงเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค โปรดปฏิบัติตนในฐานะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของประเทศไทย เพื่อแสดงความรับผิดชอบด้วยการแก้ไขผลการเจรจากับรัฐบาลกัมพูชาเพื่อยุติความเสียเปรียบในอธิปไตยของชาติไทยทันที”
กระทรวงฯ ขอเรียนการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับประเด็นนี้ ดังนี้
3.1 การปรับลดกำลังที่มีขึ้นในช่วงที่ผ่านมาในบริเวณปราสาทพระวิหารเป็นผลจากการเจรจาของฝ่ายทหาร ระหว่างประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนภูมิภาคของไทย ซึ่งได้แก่ แม่ทัพภาคที่ 2 กับประธานชุดประสานงานฝ่ายกัมพูชา ซึ่งได้แก่ พล.อ. เนียง พาด รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมกัมพูชา อันเป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2551 ทั้งนี้ การปรับกำลังดังกล่าวเป็นการดำเนินการทางยุทธวิธีของฝ่ายทหารเพื่อลดการเผชิญหน้าและสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างรอการจัดทำ “ข้อตกลงชั่วคราว” ข้างต้น ซึ่งทางฝ่ายทหารได้ประเมินไว้แล้วว่า จะไม่ส่งผลเสียหายต่อการรักษาอธิปไตยของชาติ
3.2 ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยและกัมพูชาที่ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี ฝ่ายทหารไทยและกัมพูชาก็ได้ตกลงที่จะหารือเรื่องนี้กันต่อไปที่เมืองเสียมราฐในวันที่ 29 สิงหาคม 2551
4. “นอกจากการเจรจาให้ถอนทหารไทยให้ออกจากพื้นที่ในดินแดนไทยที่ถูกรุกล้ำเข้ามาบริเวณปราสาทพระวิหารแล้ว ยังมีการตกลงอีกว่าจะเจรจาเรื่องปราสาทตาเหมือนธมอีก เท่ากับเป็นการขยายพื้นที่การบุกรุกและละเมิดอธิปไตยของไทยต่อไปอีก เพราะขณะนี้ได้เกิดรูปแบบซ้ำซากที่ชาวกัมพูชาได้ลักลอบเข้ามาอยู่บริเวณปราสาทตาเหมือนธมเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับเขาพระวิหารอีกแห่งหนึ่ง เราจึงเรียกร้องให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้ทำหนังสือบันทึกช่วยจำในการที่ชาวกัมพูชาได้บุกรุกอธิปไตยในดินแดนของประเทศไทยโดยทันที”
กระทรวงฯ ได้ยืนยันว่า กลุ่มปราสาทตาเมือนอยู่ในเขตของไทย โดยอ้างอิงข้อมูลต่าง ๆ ประกอบเพื่อยืนยันสิทธิไปแล้ว ดังนี้
4.1 กระทรวงฯ ได้ออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551 ว่า “กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ใกล้แนวตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ไทยถือว่าอยู่ในเขตของไทย ทหารไทยก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่นั้นตลอดมา อย่างไรก็ดี หลักเขตแดนในบริเวณนั้นสูญหายไป ทำให้ฝ่ายกัมพูชาอาจเข้าใจไปในมุมมองของเขา ซึ่งเรื่องนี้ทั้งสองฝ่ายมีกลไกคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา (Joint Boundary Commission — JBC) ที่สามารถชี้ชัดลงไปได้ ฝ่ายกัมพูชาเคยระบุไว้ในแผนที่แนะนำโบราณสถานที่ทำร่วมกับประเทศฝรั่งเศสว่า ปราสาทตาเมือนธมอยู่ในกัมพูชา ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือประท้วงอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2551 และยังได้ออกข่าวเผยแพร่ต่อสาธารณชนเรื่องการประท้วงด้วย” ดังสำเนาบันทึกช่วยจำที่แนบมา
4.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือถึงนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและความร่วมมือกัมพูชา ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2551 ยืนยันอีกครั้งว่า กลุ่มปราสาทตาเมือนตั้งอยู่ในเขตแดนไทย ซึ่งได้ส่งให้ฝ่ายกัมพูชาผ่านช่องทางทางการทูตแล้ว
4.3 ในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชาได้พิจารณาเรื่องเขตแดนไทย — กัมพูชา ในภาพรวมทั้งหมดอยู่แล้ว ดังนั้น การหารือเรื่องปราสาทตาเมือนธมจึงไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องที่อยู่ระหว่างการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย — กัมพูชา ซึ่งต้องพิจารณาร่วมกับกรมแผนที่ทหารต่อไป
5. “สำหรับพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในบริเวณอ่าวไทย ในขณะนี้ประเทศกัมพูชาได้ให้ชาติมหาอำนาจหลายชาติสัมปทานน้ำมันและก๊าซธรรมชาติไปแล้ว และกำลังขุดเจาะสำรวจหาแหล่งพลังงานในพื้นที่ของประเทศไทยอีกด้วย อันเป็นการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติไทยโดยมิชอบและปราศจากการทักท้วงใด ๆ จากรัฐบาลไทย เราจึงขอเรียกร้องให้นายเตช บุนนาคในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เร่งทำหนังสือประท้วงรัฐบาลกัมพูชาให้ยุติการกระทำดังกล่าวในทันที”
กระทรวงฯ ได้ประสานงานเบื้องต้นกับกองทัพเรือเพื่อตรวจสอบแล้ว ได้รับแจ้งว่า ไม่มีรายงานการดำเนินการขุดเจาะแสวงประโยชน์ในพื้นที่อ้างสิทธิทับซ้อนบริเวณไหล่ทวีป ระหว่างไทย — กัมพูชาแต่อย่างใด
6. “เราขอให้นายเตช บุนนาค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รีบประกาศยกเลิกหนังสือเดินทางทุกประเภทของ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ผู้ร้ายหนีอาญาแผ่นดินโดยทันที”
กระทรวงฯ ได้ดำเนินการในเรื่องนี้ ดังนี้
6.1 ทันทีที่ปรากฏข่าวในสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ว่าศาลได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสอง กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือลงวันที่ 11 สิงหาคม 2551 ถึงศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการออกหมายจับ รวมทั้งข้อมูลเกี่ยวกับการออกหมายจับว่าศาลได้กำหนดห้ามมิให้จำเลยทั้งสองเดินทางออกนอกราชอาณาจักรหรือไม่ควรออกหนังสือเดินทางให้หรือไม่ เพื่อประกอบการพิจารณา
6.2 ต่อมาศาลฯ ได้มีหนังสือลงวันที่ 15 สิงหาคม 2551 ซึ่งกระทรวงฯ ได้รับเมื่อเย็นวันที่ 18 สิงหาคม 2551 แจ้งว่าได้ออกหมายจับบุคคลทั้งสอง เนื่องจากไม่มารายงานตัวต่อศาลภายในกำหนดและส่งหมายจับให้ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติแล้วเมื่อ 13 สิงหาคม 2551
6.3 หลังจากได้รับหนังสือจากศาลฯ กระทรวงฯ ได้พิจารณาเรื่องนี้ โดยยึดระเบียบกระทรวงฯ ว่าด้วยการออกหนังสือเดินทาง พ.ศ. 2548 กฎหมายไทยและกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประสานกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และได้มีหนังสือ ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2551 กราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อขอรับบัญชาว่าจะให้ดำเนินการอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องการยกเลิกหนังสือเดินทางทั้งหนังสือเดินทางทางการทูตและหนังสือเดินทางธรรมดาของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เนื่องจากในสมัยรัฐบาลของ พล.อ. สุรยุทธ์ จุลานนท์ ได้เคยมีคำสั่งให้ยกเลิกหนังสือเดินทางทางการทูตของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ ดังนั้น ในเมื่อการยกเลิกหนังสือเดินทางทางการทูตครั้งที่แล้วเป็นบัญชาของนายกรัฐมนตรี การยกเลิกในครั้งนี้ก็ควรต้องรอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาเช่นกัน
7. “พ.ต.ท. ทักษิณฯ มอบอำนาจให้ทนายความแจ้งความจับแกนนำพันธมิตรฯ เข้าใจว่า หนังสือมอบอำนาจต้องทำที่ สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน แล้วทำไมเจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตฯ ไม่จับกุม”
7.1 ในช่วงที่ผ่านมา พ.ต.ท. ทักษิณฯ ยังไม่เคยเดินทางไปยังสถานเอกอัครราชทูตฯ ตามที่พันธมิตรฯ อ้างถึงแต่อย่างใด
7.2 เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศ ไม่ใช่เจ้าพนักงานตามกฎหมายไทยที่จะมีอำนาจหน้าที่จับกุมบุคคลหนึ่งบุคคลใดได้
8. “กระทรวงการต่างประเทศสั่งการไม่ให้ข้าราชการออกมาฟังปราศรัยของพันธมิตรฯ”
กระทรวงฯ ขอยืนยันว่าไม่เคยห้ามข้าราชการของกระทรวงฯ ออกมาฟังปราศรัยของพันธมิตรฯ แต่อย่างใด มีแต่คำขอร้องของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่รักษาความปลอดภัยบริเวณกระทรวงฯ เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2551 ขอความร่วมมือข้าราชการที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องไปยืนสังเกตการณ์เพราะจะเป็นการกีดขวางการรักษาความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
9. “มีรายงานข่าวว่า ขณะนี้ พ.ต.ท. ทักษิณฯ เดินทางไปอยู่ที่ญี่ปุ่นโดยยังใช้หนังสือเดินทางทางการทูต”
กระทรวงฯ ไม่ได้รับรายงานใด ๆ เกี่ยวกับการเดินทางไปญี่ปุ่นของ พ.ต.ท. ทักษิณฯ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-