กรุงเทพ--28 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เจ้าชายแอนดรูว์ อัลเบิร์ต คริสเตียน เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กจะเสด็จเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม — 5 กันยายน 2551 ในฐานะผู้แทนพิเศษทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร (United Kingdom Special Representative for International Trade and Investment) ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระมหากรุณาทรงรับดยุกแห่งยอร์กเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ในวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2551 ณ วังไกลกังวล และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาส ให้ดยุกแห่งยอร์กเข้าเฝ้าฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน 2551 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นอกจากนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าเฝ้าฯ และถวายพระกระยาหารกลางวันแด่ดยุกแห่งยอร์ก ในโอกาสที่เสด็จเยือนประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล
การเสด็จเยือนประเทศไทยของดยุกแห่งยอร์กในครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและ การท่องเที่ยว ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรมีความแน่นแฟ้นยาวนานในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ รัฐบาล ข้าราชการ และประชาชน ในด้านความสัมพันธ์ด้านการค้า สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยในสหภาพยุโรป ปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 5,067.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.73 ของการค้ารวมของไทย หรือร้อยละ 12.68 ของการค้าของไทยกับสหภาพยุโรป โดยไทยส่งออกไปสหราชอาณาจักร มูลค่า 3,550.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักร มูลค่า 1,516.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในด้านการลงทุน ปี 2551 สหราชอาณาจักรลงทุนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 22 โครงการ มูลค่า 2,305 ล้านบาท (ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) บริษัทของสหราชอาณาจักรที่ลงทุนในประเทศไทย อาทิ Tesco Lotus, British Gas, Standard Chartered, HSBC, Rolls Royce, บริษัทยา GlaxoSmithKline เป็นต้น นอกจากนี้ สถิติในปี 2551 มีนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 863,662 คน ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสหราชอาณาจักร 74,602 คน อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-สหราชอาณาจักร ซึ่งจะเป็นกรอบการดำเนินความสัมพันธ์ในทุกสาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจของทั้งสองประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เจ้าชายแอนดรูว์ อัลเบิร์ต คริสเตียน เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งยอร์กจะเสด็จเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม — 5 กันยายน 2551 ในฐานะผู้แทนพิเศษทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักร (United Kingdom Special Representative for International Trade and Investment) ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระมหากรุณาทรงรับดยุกแห่งยอร์กเป็นพระราชอาคันตุกะส่วนพระองค์ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้เข้าเฝ้าฯ ในวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2551 ณ วังไกลกังวล และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชวโรกาส ให้ดยุกแห่งยอร์กเข้าเฝ้าฯ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน 2551 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน นอกจากนี้ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเข้าเฝ้าฯ และถวายพระกระยาหารกลางวันแด่ดยุกแห่งยอร์ก ในโอกาสที่เสด็จเยือนประเทศไทย ในวันศุกร์ที่ 5 กันยายน 2551 ณ ทำเนียบรัฐบาล
การเสด็จเยือนประเทศไทยของดยุกแห่งยอร์กในครั้งนี้มีจุดประสงค์ที่จะกระชับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนและ การท่องเที่ยว ทั้งนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรมีความแน่นแฟ้นยาวนานในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับพระราชวงศ์ รัฐบาล ข้าราชการ และประชาชน ในด้านความสัมพันธ์ด้านการค้า สหราชอาณาจักรเป็นคู่ค้าอันดับที่ 2 ของไทยในสหภาพยุโรป ปี 2551 มีมูลค่าการค้ารวม 5,067.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 1.73 ของการค้ารวมของไทย หรือร้อยละ 12.68 ของการค้าของไทยกับสหภาพยุโรป โดยไทยส่งออกไปสหราชอาณาจักร มูลค่า 3,550.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในขณะที่นำเข้าจากสหราชอาณาจักร มูลค่า 1,516.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในด้านการลงทุน ปี 2551 สหราชอาณาจักรลงทุนโครงการที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จำนวน 22 โครงการ มูลค่า 2,305 ล้านบาท (ประมาณ 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) บริษัทของสหราชอาณาจักรที่ลงทุนในประเทศไทย อาทิ Tesco Lotus, British Gas, Standard Chartered, HSBC, Rolls Royce, บริษัทยา GlaxoSmithKline เป็นต้น นอกจากนี้ สถิติในปี 2551 มีนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักรเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 863,662 คน ในขณะที่นักท่องเที่ยวไทยเดินทางไปสหราชอาณาจักร 74,602 คน อนึ่ง ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมไทย-สหราชอาณาจักร ซึ่งจะเป็นกรอบการดำเนินความสัมพันธ์ในทุกสาขาความร่วมมือที่เป็นรูปธรรม และอนุสัญญาว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงการรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้และจากทุนระหว่างไทย-สหราชอาณาจักร ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่นักธุรกิจของทั้งสองประเทศ
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-