กรุงเทพ--17 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. ภูมิหลัง:
1.1 ปราสาทตาควายเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างหลักเขตแดนที่ 21 กับหลักเขตแดนที่ 22 ซึ่งอยู่ห่างจากกลุ่มปราสาท ตาเมือนไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 13 กิโลเมตร และห่างจากปราสาทพระวิหารไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร
1.2 เส้นเขตแดนบริเวณนี้เป็นไปตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้ายว่าด้วยการปักปันเขตแดน ซึ่งข้อบทของสนธิสัญญากำหนดให้ใช้สันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักเป็นเขตแดน และบันทึกวาจาปักหลักหมายเขต (Proc?s-verbal d’abornement) ปี ค.ศ. 1908-1909 และปี ค.ศ. 1919-1920
1.3 บริเวณพื้นที่ที่ติดกับปราสาทตาควายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2000 มีหน้าที่รับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมในพื้นที่ตลอดแนวชายแดนของไทยและกัมพูชา โดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมดังกล่าวได้จัดตั้งชุดสำรวจร่วมไทย-กัมพูชาขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการสำรวจตามข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของคณะกรรมาธิการฯ และจะเริ่มปฏิบัติงานในการหาที่ตั้งของหลักเขตแดนที่ 22 ไปจนถึงหลักเขตแดนที่ 1 เมื่อสำรวจพื้นที่ในจังหวัดตราดซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้แล้วเสร็จ
1.4 ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทหารไทยและกัมพูชาที่รับผิดชอบในพื้นที่ปราสาทตาควาย มีการติดต่อประสานงานและพูดจากันตลอดเวลา ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีแนวปฏิบัติร่วมกันในเรื่องการลาดตระเวนร่วมในพื้นที่ดังกล่าว
2. สถานะล่าสุด:
2.1 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ทหารกัมพูชาจำนวนประมาณ 30 คนได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยในบริเวณปราสาทตาควาย ภายหลังจากการพบปะหารือระหว่างทหารระดับพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย ทหารกัมพูชาดังกล่าวได้ถอนกำลังออกไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551
2.2 อย่างไรก็ดี ต่อมา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551 หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2551 กำลังทหารกัมพูชาพร้อมอาวุธมากกว่า 70 นาย ได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย และเข้ายึดครองปราสาทตาควายและบริเวณโดยรอบ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทหารกัมพูชาทราบว่า ได้เข้ามาอยู่ในดินแดนไทย และขอให้ถอนกำลังออกในทันที แต่ปราศจากการตอบสนองใดๆ จากทหารกัมพูชา ดังนั้น เพื่อพิทักษ์รักษาปราสาทตาควายซึ่งอยู่ในอาณาเขตของไทย ฝ่ายไทยจึงได้ส่งกองกำลังทหารพรานประมาณ 35 นายเข้าไปในบริเวณนั้น
2.3 ในการนี้ แม่ทัพภาคที่ 2 ได้หารือร่วมกับฝ่ายกัมพูชาระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2551 ซึ่งช่วยลดความตึงเครียด และทั้งสองฝ่ายตกลงปรับกำลังทหารออกห่างจากกัน ขณะนี้ ไม่มีกำลังทหารของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ภายในปราสาทตาควาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะคงกำลังเพียงจำนวนเล็กน้อยไว้ในพื้นที่
2.4 ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะคงช่องทางในการติดต่อระหว่างกันไว้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
1. ภูมิหลัง:
1.1 ปราสาทตาควายเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ในภาคตะวันออก เฉียงเหนือของประเทศไทย ระหว่างหลักเขตแดนที่ 21 กับหลักเขตแดนที่ 22 ซึ่งอยู่ห่างจากกลุ่มปราสาท ตาเมือนไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 13 กิโลเมตร และห่างจากปราสาทพระวิหารไปทางทิศตะวันตก ประมาณ 150 กิโลเมตร
1.2 เส้นเขตแดนบริเวณนี้เป็นไปตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ฉบับวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 กับพิธีสารแนบท้ายว่าด้วยการปักปันเขตแดน ซึ่งข้อบทของสนธิสัญญากำหนดให้ใช้สันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักเป็นเขตแดน และบันทึกวาจาปักหลักหมายเขต (Proc?s-verbal d’abornement) ปี ค.ศ. 1908-1909 และปี ค.ศ. 1919-1920
1.3 บริเวณพื้นที่ที่ติดกับปราสาทตาควายเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนโดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ซึ่งจัดตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2000 มีหน้าที่รับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมในพื้นที่ตลอดแนวชายแดนของไทยและกัมพูชา โดยคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมดังกล่าวได้จัดตั้งชุดสำรวจร่วมไทย-กัมพูชาขึ้นเพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการสำรวจตามข้อกำหนดอำนาจหน้าที่และแผนแม่บทของคณะกรรมาธิการฯ และจะเริ่มปฏิบัติงานในการหาที่ตั้งของหลักเขตแดนที่ 22 ไปจนถึงหลักเขตแดนที่ 1 เมื่อสำรวจพื้นที่ในจังหวัดตราดซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้แล้วเสร็จ
1.4 ตลอดหลายปีที่ผ่านมา ทหารไทยและกัมพูชาที่รับผิดชอบในพื้นที่ปราสาทตาควาย มีการติดต่อประสานงานและพูดจากันตลอดเวลา ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายมีแนวปฏิบัติร่วมกันในเรื่องการลาดตระเวนร่วมในพื้นที่ดังกล่าว
2. สถานะล่าสุด:
2.1 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2551 ทหารกัมพูชาจำนวนประมาณ 30 คนได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทยในบริเวณปราสาทตาควาย ภายหลังจากการพบปะหารือระหว่างทหารระดับพื้นที่ของทั้งสองฝ่าย ทหารกัมพูชาดังกล่าวได้ถอนกำลังออกไปเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2551
2.2 อย่างไรก็ดี ต่อมา เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2551 หน่วยงานในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์รายงานว่า ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2551 กำลังทหารกัมพูชาพร้อมอาวุธมากกว่า 70 นาย ได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนไทย และเข้ายึดครองปราสาทตาควายและบริเวณโดยรอบ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้ทหารกัมพูชาทราบว่า ได้เข้ามาอยู่ในดินแดนไทย และขอให้ถอนกำลังออกในทันที แต่ปราศจากการตอบสนองใดๆ จากทหารกัมพูชา ดังนั้น เพื่อพิทักษ์รักษาปราสาทตาควายซึ่งอยู่ในอาณาเขตของไทย ฝ่ายไทยจึงได้ส่งกองกำลังทหารพรานประมาณ 35 นายเข้าไปในบริเวณนั้น
2.3 ในการนี้ แม่ทัพภาคที่ 2 ได้หารือร่วมกับฝ่ายกัมพูชาระหว่างวันที่ 13-14 กันยายน 2551 ซึ่งช่วยลดความตึงเครียด และทั้งสองฝ่ายตกลงปรับกำลังทหารออกห่างจากกัน ขณะนี้ ไม่มีกำลังทหารของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอยู่ภายในปราสาทตาควาย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะคงกำลังเพียงจำนวนเล็กน้อยไว้ในพื้นที่
2.4 ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะคงช่องทางในการติดต่อระหว่างกันไว้
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-