กรุงเทพ--7 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญสมัยที่ 63 ณ นครนิวยอร์ก ตนต้องพิจารณามาตรารัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องอย่างระมัดระวังในการกระทำการใดๆ ระหว่างการประชุมฯ จึงได้ตัดสินใจไม่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติและไม่พบหารือทวิภาคี ด้วยคำนึงถึงความห่วงกังวลของบุคคลบางกลุ่ม ประกอบกับการกระทำการดังกล่าวอาจส่งผลผูกพันต่อประเทศไทย ซึ่งอาจไม่เหมาะสมในเมื่อรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ภาระกิจที่สำคัญที่สุดในการ ไปนิวยอร์กครั้งนั้น คือการทำหน้าที่ประธานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างเป็นไม่ทางการในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ในการนี้ ตนได้นำคณะรัฐมนตรีต่างประเทศเข้าหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติและประธานสมัชชาสหประชาชาติด้วย
2. กรณีการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-การต่างประเทศได้ลำดับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารพรานสังกัดกองกำลังสุรนารีกับทหารกัมพูชา และ ย้ำว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตแดนไทยและฝ่ายไทยได้ยิงตอบโต้เพื่อช่วยคุ้มกันและป้องกันตนเองหลังจากที่ทหารกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่ายตามที่ได้เห็นชอบร่วมกันในการประชุมคณะกรรมาธิการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551 และข้อตกลงที่ให้ทหารทั้งสองฝ่ายใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็น ความเข้าใจผิด ขณะนี้ สถานการณ์ในพื้นที่ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับรายงานข่าวที่ทหารพรานไทย 2 นายเหยียบกับระเบิดและได้รับบาดเจ็บในบริเวณใกล้เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า น่าจะเป็นกับระเบิดที่ถูกวางไว้เมื่อนานมาแล้วแต่ต้องตรวจสอบก่อน
ทั้งสองฝ่ายคงจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือเมื่อนายกรัฐมนตรีไปเยือนกัมพูชาในวันที่ 13 ตุลาคม 2551 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเป็นประธานร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งรัฐสภาน่าจะพิจารณากรอบการเจรจาดังกล่าวได้หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวด้วยว่า ระหว่างการพบหารือกับนายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี มุนยังได้กล่าวว่า ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาควรหาข้อยุติในกรอบทวิภาคี
3. การเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเพื่อแนะนำตัวตามธรรมเนียมปฏิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-การต่างประเทศกล่าวว่า จะเดินทางเยือนลาวเป็นประเทศแรก และกระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. กรณีรายงานข่าว พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ขอลี้ภัยการเมืองในสหราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า ต้องขอตรวจสอบก่อน โดยหลักการแล้ว บุคคลใดก็ตามมีสิทธิ์ที่จะขอลี้ภัยในอีกประเทศหนึ่ง และขึ้นอยู่กับประเทศนั้นว่าจะรับการร้องขอลี้ภัยหรือไม่ เรื่องการยกเลิกหนังสือเดินทางทูตของอดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2551 นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนที่กระทรวงการต่างประเทศ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า ในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญสมัยที่ 63 ณ นครนิวยอร์ก ตนต้องพิจารณามาตรารัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องอย่างระมัดระวังในการกระทำการใดๆ ระหว่างการประชุมฯ จึงได้ตัดสินใจไม่ขึ้นกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติและไม่พบหารือทวิภาคี ด้วยคำนึงถึงความห่วงกังวลของบุคคลบางกลุ่ม ประกอบกับการกระทำการดังกล่าวอาจส่งผลผูกพันต่อประเทศไทย ซึ่งอาจไม่เหมาะสมในเมื่อรัฐบาลยังไม่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ภาระกิจที่สำคัญที่สุดในการ ไปนิวยอร์กครั้งนั้น คือการทำหน้าที่ประธานการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนอย่างเป็นไม่ทางการในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประธานอาเซียน ในการนี้ ตนได้นำคณะรัฐมนตรีต่างประเทศเข้าหารือกับเลขาธิการสหประชาชาติและประธานสมัชชาสหประชาชาติด้วย
2. กรณีการปะทะกันระหว่างทหารไทยกับทหารกัมพูชาเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2551รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-การต่างประเทศได้ลำดับเหตุการณ์การปะทะกันระหว่างทหารพรานสังกัดกองกำลังสุรนารีกับทหารกัมพูชา และ ย้ำว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในเขตแดนไทยและฝ่ายไทยได้ยิงตอบโต้เพื่อช่วยคุ้มกันและป้องกันตนเองหลังจากที่ทหารกัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มยิงก่อน การกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดข้อตกลงระหว่างกองทัพทั้งสองฝ่ายตามที่ได้เห็นชอบร่วมกันในการประชุมคณะกรรมาธิการชายแดนส่วนภูมิภาคไทย-กัมพูชา ที่จังหวัดสุรินทร์ เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2551 และข้อตกลงที่ให้ทหารทั้งสองฝ่ายใช้ความอดกลั้นอย่างถึงที่สุด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นน่าจะเป็น ความเข้าใจผิด ขณะนี้ สถานการณ์ในพื้นที่ได้กลับคืนสู่ภาวะปกติแล้ว สำหรับรายงานข่าวที่ทหารพรานไทย 2 นายเหยียบกับระเบิดและได้รับบาดเจ็บในบริเวณใกล้เคียง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวว่า น่าจะเป็นกับระเบิดที่ถูกวางไว้เมื่อนานมาแล้วแต่ต้องตรวจสอบก่อน
ทั้งสองฝ่ายคงจะได้หยิบยกเรื่องนี้ขึ้นหารือเมื่อนายกรัฐมนตรีไปเยือนกัมพูชาในวันที่ 13 ตุลาคม 2551 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอยู่ระหว่างการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมเพื่อเป็นประธานร่วมในการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งรัฐสภาน่าจะพิจารณากรอบการเจรจาดังกล่าวได้หลังจากรัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา
อนึ่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวด้วยว่า ระหว่างการพบหารือกับนายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาชาติ นายบัน คี มุนยังได้กล่าวว่า ปัญหาเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชาควรหาข้อยุติในกรอบทวิภาคี
3. การเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการเพื่อแนะนำตัวตามธรรมเนียมปฏิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง-การต่างประเทศกล่าวว่า จะเดินทางเยือนลาวเป็นประเทศแรก และกระทรวงการต่างประเทศกำลังประสานรายละเอียดในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. กรณีรายงานข่าว พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีที่ขอลี้ภัยการเมืองในสหราชอาณาจักร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศตอบว่า ต้องขอตรวจสอบก่อน โดยหลักการแล้ว บุคคลใดก็ตามมีสิทธิ์ที่จะขอลี้ภัยในอีกประเทศหนึ่ง และขึ้นอยู่กับประเทศนั้นว่าจะรับการร้องขอลี้ภัยหรือไม่ เรื่องการยกเลิกหนังสือเดินทางทูตของอดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาอยู่
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-