นายแพทย์ชาวบราซิล ญี่ปุ่น และจีนได้รับเลือกเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551

ข่าวต่างประเทศ Monday November 24, 2008 10:29 —กระทรวงการต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2551 มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดพิธีแถลงข่าวการตัดสินผู้ได้รับพระรา=ทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551 ณ ห้องสมเด็จพระบรมราชชนก ตึกสยามินทร์

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยมีผู้ร่วมแถลงข่าว ได้แก่ ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีรวัฒน์ กุลทนันน์ คณบดี

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในฐานะรองประธานมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ศาสตราจารย์นายแพทย์สุพัฒน์

วาณิชย์การ เลขาธิการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ และนายวรเดช วีระเวคิน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ พร้อมด้วย

นาย Zhang Jiuhuan เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย นาย Edgard Telles Ribeiro เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลประจำประเทศไทย และ นาย Yuji Kumamaru อุปทูต สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

ที่ประชุมคณะกรรมการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

ทรงเป็นองค์ประธานเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2551 ได้พิจารณาผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551 จำนวน 49 ราย จาก 19 ประเทศ โดยกรรมการมูลนิธิฯ มีมติตัดสินให้ศาสตราจารย์ ดร. นพ. แซจิโอ เอ็นริเค เฟเรย์ร่า (Professor Dr. S?rgio Henrique Ferreira) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ภาควิชาเภสัชวิทยา มหาวิทยาลัยเซาว์เปาโล สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551 สาขาการแพทย์ และนายแพทย์ มิชิอากิ ทาคาฮาชิ (Dr. Michiaki Takahashi) กรรมการมูลนิธิวัจัยโรคจากเชื้อจุลชีววิทยา มหาวิทยาลัยโอซากา ประเทศญี่ปุ่น และศาสตราจารย์ นายแพทย์หยู หย่งซิน ( Professor Dr. Yu Yongxin) ผู้อำนวยการเกียรติคุณ ภาควิชาไวรัสวัคซีนสถาบันควบคุมชีวเภสัชภัณฑ์แห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลประจำปี 2551 สาขาการสาธารณสุข

สาขาการแพทย์

ศาสตราจารย์ ดร. นพ. แซจิโอ เอ็นริเค เฟเรย์ร่า เป็นผู้ค้นพบโปรตีนเปปไทด์จากพิษงูชนิดหนึ่งของประเทศบราซิล ซึ่งมีฤทธิ์ลดความดันโลหิตได้ นำไปสู่การศึกษาพัฒนายาในกลุ่ม ACEI ซึ่งยาตัวแรกคือ Captopril ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่ามีประสิทธิภาพในการลดความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความดันโลหิตสูงร่วมกับความเสื่อมของไต สามารถลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยจากภาวะหัวใจล้มเหลวได้มาก

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์นายแพทย์แซจิโอ เอ็นริเก้ เฟเรย์ร่า ยังได้ค้นพบกลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflamnary drungs (NSAID = เอนเสด) และศึกษากลไกขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในการอักเสบ นำไปสู่การค้นพบยาในกลุ่ม COX-2 inhibitors เป็นความก้าวหน้าในวงการยากลุ่มเอนเสดอย่างมาก

ผลงานของ ศาสตราจารย์นายแพทย์แซจิโอ เอ็นริเก้ เฟเรย์ร่า เป็นที่ยอมรับกว้างขวางทั่วโลก ยากลุ่ม ACEI และ COX-2 inhibitor เป็นยาที่มีการสั่งใช้มากที่สุดตัวหนึ่งช่วยบรรเทาการเจ็บปวดและการอักเสบ ตลอดจนช่วยชีวิตผู้ป่วยหลายร้อยล้านคนทั่วโลก

สาขาการสาธารณสุข

ศาสตราจารย์นายแพทย์มิชิอากิ ทากาฮาชิ ได้ศึกษาค้นคว้าวิจัยจนสามารถแยกเชื้อไวรัสจากโลหิตของเด็กชายอายุ 3 ขวบได้ ตั้งชื่อว่าสายพันธ์โอกะ (Oka) ตามชื่อของเด็กชายนั้น นำไปผ่านขบวนการขยายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยง เพื่อให้อ่อนแรงลง แต่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันไข้สุกใสได้ดี ได้มาตรฐานชีววัตถุ

ตามข้อกำหนดขององค์การอนามัยโลก เป็นที่ยอมรับและถูกนำไปใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เช่นประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส รวมทั้งประเทศไทยด้วย ช่วยให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนนี้ เมื่อป่วยเป็นไข้สุกใส จะไม่ค่อยมีไข้ ไม่ค่อยเกิดแผลเป็น และหายป่วยเร็วกว่า นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กที่ได้รับวัคซีนนี้ เมื่อมีอายุมากขึ้นจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคงูสวัดน้อยกว่าเด็กที่เป็นไข้สุกใสตามธรรมชาติ ในผู้ใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี วัคซีนนี้สามารถป้องกันการเกิดโรคงูสวัด ลดอาการแทรกซ้อนและป้องกันการลุกลามของโรคได้ จึงมีความเป็นไปได้ที่วัคซีนนี้จะถูกนำมาใช้ป้องกันโรคงูสวัดในคนสูงอายุด้วย

ไข้สุกใส หรือไข้อีสุกอีใส เป็นโรคซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Varicella-zoster ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มไวรัส Herpes อาการของโรค เริ่มด้วยมีไข้ ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร และมีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง พบได้ทั่วทุกภูมิภาคของโลก พบบ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า

6 ปี โดยทั่วไปไม่มีอาการรุนแรง แต่ติดต่อได้ง่าย อาการแทรกซ้อนที่พบไม่บ่อยคือ สมองอักเสบ ปอดอักเสบ ถ้าเป็น

ในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและระยะเวลานานกว่า

ผลการคิดค้นวาริเซลล่าวัคซีนของ ศาสตราจารย์นายแพทย์มิชิอากิ ทากาฮาชิ นำไปสู่การใช้วัคซีนป้องกันไข้สุกใส อย่างกว้างขวางทั่วโลก บรรเทาความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจ ตลอดจนลดอัตราตายจากไข้สุกใสของประชากร โดยเฉพาะเด็ก ๆ นับร้อยล้านคนทั่วโลก

ศาสตราจารย์นายแพทย์หยู หย่ง ซิน (Professor Yu Yong Xin) ใช้เวลากว่าสามทศวรรษในการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบ (Japanese Encephalitis vaccine) สายพันธุ์ SA 14-14-2 โดยผลิตจากเซลล์ไตของหนูแฮมสเตอร์ นำมาทดสอบในสัตว์ทดลองก่อนนำไปใช้ในคน พบว่ามีประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน และมีความปลอดภัยสูงในการป้องกันโรคไข้สมองอักเสบในเด็กได้ ทางการสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงได้นำวัคซีนไข้สมองอักเสบฉีดให้เด็กมากกว่า 200 ล้านคน ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา และได้แพร่ขยายไปยังประเทศอินเดีย เกาหลี ศรีลังกา และเนปาล รวมทั้งประเทศไทยด้วยอีกหลายสิบล้านคน ทำให้การแพร่ระบาดของโรคนี้ในทวีปเอเชียลดลงได้มาก

โรคไข้สมองอักเสบ เจอี จัดเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในกลุ่มโรคไข้สมองอักเสบที่เกิดจากไวรัสที่แมลงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งไม่มียารักษาแต่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน พบการแพร่ระบาดในทวีปเอเชีย ได้แก่ประเทศอินเดีย พม่า ลาว ไทย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ จีนและประเทศอื่น ๆ อีก โรคเคยระบาดในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน

แต่ปัจจุบันประเทศดังกล่าวควบคุมโรคนี้ได้ผู้ติดเชื้อไวรัสเจอีส่วนใหญ่ไม่มีอาการ อาการที่พบเป็นอาการทางสมองคือ

เยื้อหุ้มสมองและสมองอักเสบส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการ นับตั้งแต่กระทรวงสาธารณสุขบรรจุวัคซีนพื้นฐานไว้ใน

แผนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของประเทศไทยปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไข้สมองอักเสบ เจอี ลดน้อยลงมาก

ผลการศึกษาค้นคว้าและพัฒนาวัคซีนไข้สมองอักเสบของ ศาสตราจารย์นายแพทย์หยู หย่งซิน นำไปสู่

การป้องกันโรคที่ไม่มียารักษาได้ช่วยให้ผู้ป่วยทั่วภาคพื้นทวีปเอเชียรอดพ้นจากการเสียชีวิตหรือพิการได้หลายร้อนล้านคน

ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถจะเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ ประจำปี 2551 ในวันพุธที่ 28 มกราคม 2552 ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จฯ แทนพระองค์ในการพระราชทานเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับพระราชทานรางวัลพร้อมคู่สมรสในวันเดียวกัน ณ พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร

มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ก่อตั้งขึ้นในวโรกาสเฉลิมฉลองวันคล้ายวันพระราชสมภพ

ในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรมพระบรมราชชนก ครบ 100 ปี ในวันที่ 1 มกราคม 2535 โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธาน มูลนิธิฯ ทำหน้าที่มอบรางวัลให้แก่บุคคลหรือองค์กรทั่วโลกที่มีผลงานดีเด่นเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ บุคคลหรือสถาบันทั่วไปสามารถเสนอชื่อและผลงานของบุคคลหรือองค์กรให้คณะกรรมการรางวัลนานาชาติมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ คัดเลือกเพื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลประจำปี ซึ่งมี

2 รางวัลได้แก่ รางวัลด้านการแพทย์และด้านสาธารณสุข โดยแต่ละรางวัลประกอบด้วยเหรียญรางวัล ประกาศนียบัตร และเงินรางวัล รางวัลละ 50,000 เหรียญสหรัฐ

กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ