รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 8 ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 12, 2010 10:59 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ เดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ 1.87 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีการทำสัญญาชื้อบ้านสหรัฐฯ (Pending Home Sales) ในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนหน้า
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 22 เดือน มาอยู่ที่ร้อยละ 0.0 — 0.1
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการของประเทศในกลุ่มยูโรโซนในเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 54.1
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมสิงคโปร์ในเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 49.5 ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2
  • การส่งออกไต้หวันเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 25.0 ต่อปี

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Sep: Motorcycle sales (%yoy)         25.0                32.5
(ร้อยละต่อกำลังแรงงานรวม)
  • เนื่องจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ชัดเจน โดยจะเห็นได้จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ในช่วงครึ่งแรกของปี 53 ที่สูงถึงร้อยละ 5.3 ต่อปี อีกทั้งรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ
Sep: Tourist arrivals (%yoy)         10.5                 8.9
  • เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
Economic Indicators: This Week

สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ส.ค. 53 อยู่ที่ 1.87 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า ซึ่งหากวิเคราะห์ด้านของเงินฝากจะพบว่า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราชะลอลงที่ร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (หักปัจจัยทางฤดูกาลแล้ว) ซึ่งเป็นผลมาจากการโยกย้ายเงินไปลงทุนในผลิตภัณฑ์การออมอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น กองทุนรวม ประกันชีวิต หรือทองคำ ในขณะที่สินเชื่อเริ่มมีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น โดยหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า จากการลงทุนที่มีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจัยเงินฝากที่มีแนวโน้มชะลอลงบวกกับสินเชื่อที่มีแนวโน้มเร่งขึ้นนี้ เป็นแรงกดดันให้สภาพคล่องในระบบลดลง ดังนั้นเพื่อรักษาระดับสภาพคล่องและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันธนาคารพาณิชย์จึงออกตั๋วแลกเงิน เพื่อให้เป็นอีกทางเลือกของผู้ออม ส่งผลให้สภาพคล่องในระบบธนาคารเพิ่มขึ้น

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ก.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 25.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.5 ต่อปี ซึ่งแม้ว่าจะขยายตัวในอัตราชะลอลงแต่ถือได้ว่ายังขยายตัวได้ในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) การฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่ชัดเจน โดยจะเห็นได้จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนที่แท้จริง ในช่วงครึ่งแรกของปี 53 ที่สูงถึงร้อยละ 5.3 ต่อปี 2) รายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรสำคัญ โดยเฉพาะราคายางพารา และมันสำปะหลัง ที่ขยายตัวในอัตราเร่ง โดยในเดือน ส.ค. 53 รายได้เกษตรกรที่แท้จริงขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงที่เหลือของปีอัตราการขยายตัวของปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์จะเริ่มลดลงเนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น

นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย.53 คาดว่าจะมีจำนวน 1.15 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี ทั้งนี้ จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่าจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าผ่านด่านท่าอากาศยานสุวรรณภูมิซึ่งคิดเป็นร้อยละ 70 ของด่านทั้งหมด มีจำนวน 0.78 ล้านคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.8 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเอเชีย ได้แก่ เกาหลีและจีน ที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 93.9 และ 56.5 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ กลุ่มยุโรป อเมริกา และโอเชียเนียที่เดินทางผ่านด่านสุวรรณภูมิมีการหดตัวลง

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีการทำสัญญาชื้อบ้าน (Pending Home Sales) ในเดือนส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.3 จากเดือนก่อนหน้า (%momsa) บ่งชี้สัญญาณที่ดีในภาคอสังหาริมทรัพย์ อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวยังหดตัวที่ร้อยละ 20.1 ต่อปี (%yoy) ขณะที่คำสั่งซื้อสินค้าคงทน (Durable goods order) ในเดือน ส.ค. 53 หดตัวที่ร้อยละ -1.5 จากเดือนก่อนหน้า (%mom sa)
Japan: mixed signal
  • ธนาคารกลางญี่ปุ่นปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี มาอยู่ที่ร้อยละ 0.0 — 0.1 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ และลดแรงกดดันจากค่าเงินเยนที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธนาคารกลางญี่ปุ่นยังกล่าวว่าอาจจัดตั้งกองทุนมูลค่า 60 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์

ในประเทศ อันเป็นการเพิ่มสภาพคล่องในระบบ

Eurozone: mixed signal
  • สหภาพยุโรปปรับขึ้นอัตราการขยายตัวของ GDP ในไตรมาสที่ 1 ปี 53 โดยขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี จากเดิมที่ขยายตัวร้อยละ0.6 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคบริการในเดือนก.ย. 53 อยู่ที่ระดับต่ำสุดในรอบ 6 เดือนที่ระดับ 54.1 จากการหดตัวอย่างต่อเนี่องของภาคบริการในประเทศไอร์แลนด์และสเปน
Singapore: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 49.5 ต่ำกว่าระดับ 50 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคอุตสาหกรรมเริ่มส่งสัญญาณหดตัว โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากดัชนีการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิคส์ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 48.5
Taiwan: mixed signal
  • การส่งออกเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 26.6 ต่อปี ซึ่งเป็นผลมาจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น และจากการชะลอลงของเศรษฐกิจคู่ค้าสำ คัญเช่นจีน และสหรัฐฯ ในขณะที่การนำ เข้าเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 25.0 ต่อปี ด้านอัตราเงินเฟ้อ

เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี จากปัจจัยฐานสูงในเดือนส.ค. 53 ที่เกิดจากราคาที่เพิ่มขึ้นหลังการเกิดพายุไต้ฝุ่น ทั้งนี้หากเทียบกับเดือนก่อนหน้า จะพบว่าอัตราเงินเฟ้อยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

Philippines: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่ำสุดในรอบ 10 เดือนที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี โดยมีปัจจัยสำคัญจากราคาสินค้านำเข้าที่ปรับตัวลดลงตามค่าเงินเปโซที่แข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ 5.9 เมื่อเทียบกับช่วงต้นปี 53
Australia: mixed signal
  • อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 ของกำลังแรงงานรวม อยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรของไทยต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว โดยเฉพาะในพันธบัตรระยะกลางและยาว จากค่าเงิน ดอลลาร์ที่มีทิศทางอ่อนลงอย่างต่อเนื่องจากการคาดการณ์ว่า FED อาจดำเนินมาตรการ QE ประกอบกับตัวเลขเศรษฐกิจเอเชียส่วนใหญ่ออกมาดี ส่งผลให้ยังมีเงินทุนไหลเข้าในทั้งสองตลาดอย่างต่อเนื่อง

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยแข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 0.83 เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ เช่นเดียวกับดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ที่ ปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.35 สอดคล้องกับเงินทุนที่ไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในสัปดาห์นี้

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ