รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 11 - 15 ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 18, 2010 11:04 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • อัตราการว่างงานเดือนส.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 84.6 พันล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่และภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.1 และ 85.1 ต่อปี ตามลำดับ
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เดือนก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 53 มีจำนวน 1.19 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปี
  • การส่งออกจีนในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 25.1 ต่อปี
  • Advanced GDP สิงคโปร์ ไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ร้อยละ 2.25

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Sep: TISI (%yoy)                    102.0               102.4
  • เนื่องจากอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลักได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทำ ให้ขีดความสามารถการแข่งขันด้านราคาลดลง และภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี
Economic Indicators: This Week
  • การจ้างงานเดือนส.ค. 53 อยู่ที่ 38.7 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.1 แสนคน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี ขณะที่เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า การจ้างงานเพิ่มขึ้นจำนวน 3.3 แสนคน สาเหตุสำคัญมาจากการจ้างงานนอกภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะสาขาการขายส่งและขายปลีกที่เพิ่มขึ้น 2.1 แสนคนและการจ้างงานภาคการเกษตรที่เพิ่มขึ้น 3.7 แสนคน ซึ่งเป็นผลจากเป็นช่วงฤดูกาลเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร โดยมีการเคลื่อนย้ายแรงงานจากนอกภาคการเกษตร ซึ่งสะท้อนได้จากจำนวนการจ้างงานในภาคการผลิตที่ลดลง 3.0 แสนคน และภาคบริการในบางสาขาโดยเฉพาะสาขาโรงแรมและภัตตาคารที่ลดลง 1.2 แสนคน ทำให้แรงงานเริ่มกลับเข้ามาสู่ภาคการเกษตรมากขึ้น สำหรับอัตราการว่างงานเดือนส.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม เท่ากับเดือนที่ผ่านมา โดยคิดเป็นจำนวนผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 3.5 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานในภาคบริการ 8.6 หมื่นคน ภาคการผลิต 9.9 หมื่นคน ภาคเกษตร 1.0 หมื่นคนและผู้ที่กำลังหางานจำนวน 1.6 แสนคน
  • รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ก.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 84.6 พันล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 12.8 พันล้านบาท หรือร้อยละ 17.8 ซึ่งสะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร ส่งผลให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการนำเข้าได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ ขยายตัวร้อยละ 36.4 8.2 8.8 และ 53.9 ต่อปี ตามลำดับทั้งนี้ ตลอดปีงบประมาณ 53 (ต.ค. 52 — ก.ย. 53) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ได้จำนวน 1,678.9 พันล้านบาท คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 19.0 ต่อปี สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 328.9 พันล้านบาท หรือร้อยละ 24.4 ซึ่งจัดเก็บได้สูงกว่าปีก่อนหน้าร้อยละ 19.0 สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 19.4 ต่อปี หรือหดตัวที่ร้อยละ -3.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) ตามการลดลงของภาษีที่จัดเก็บจากการนำ เข้าเป็นสำ คัญ ทั้งนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 13.0 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 20.2 ต่อปี (หรือหดตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ -0.3 จากไตรมาสก่อนหน้าเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้ว) เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ
  • ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 85.1 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 45.2 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลแล้ว คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับตลาดบ้านเดี่ยว บ้านแฝด และตลาดทาวน์เฮ้าส์ อาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากจำนวนที่อยู่อาศัยที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเดือนส.ค. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 และ 12.7 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ไตรมาสที่ 3 ปี 53 ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวร้อยละ 58.9 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 81.5 ต่อปี ทั้งนี้ แนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์คาดว่าจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากยังมีความต้องการที่แท้จริงจากผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ประกอบกับผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์มีการเปิดตัวโครงการใหม่ๆ เพื่อรองรับอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ เดือนก.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 1.60 แสนคัน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 32.5 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -5.3 ต่อเดือน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน แต่อย่างไรก็ตาม ถือได้ว่าปริมาณการจำหน่ายรถจักยานยนต์ในเดือนก.ย. 53 ยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 20.6 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 1.2 จากไตรมาสก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนในหมวดสินค้าคงทนยังขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนก.ย. 53 ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 มาอยู่ที่ระดับ 73.5 ต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ระดับ 72.8 บ่งชี้ว่าผู้บริโภคมีความมั่นใจว่าภาวะเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น โดยมีปัจจัยบวกจากภาพรวมเศรษฐกิจยังคงส่งสัญญาณฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง สะท้อนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคการผลิต ทั้งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ดี ซึ่งเป็นเหตุผลหลักที่ทำให้หน่วยงานเศรษฐกิจ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยสศช. และสศค. ปรับขึ้นคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 53 ทั้งนี้ ปัจจัยที่กดดันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ได้แก่ ความไม่สงบทางการเมือง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ก.ย. 53 มีจำนวน 1.19 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 14.5 ต่อปีปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.9 ต่อปี โดยเป็นการขยายตัวในทุกกลุ่มประเทศโดยเฉพาะกลุ่มเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย จีนและเกาหลีที่ขยายตัวสูงที่ร้อยละ 32.3 56.5 และ 107.8 ต่อปี ตามลำดับส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในไตรมาสที่ 3 ปี 53 อยู่ที่ 3.69 ล้านคน คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่ร้อยละ 12.5 ต่อปี หรือร้อยละ 24.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)สะท้อนว่าจำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และจะเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยไตรมาส 3
Economic Indicators: Next Week
  • ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือน ก.ย. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 102.0 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.4 โดยมีสาเหตุมาจากอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออกเป็นหลักได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาท ซึ่งทำให้ขีดความสามารถการแข่งขันด้านราคาลดลง และภาวะเศรษฐกิจโลกในช่วงที่เหลือของปี

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: improving economic trend
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 7.9 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 1.0 ต่อเดือน (%mom_sa) บ่งชี้ว่าภาคการผลิตซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 17 ของ GDP ยังคงสามารถขยายตัวได้ดีในไตรมาสที่ 3
Japan: mixed signal
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค เดือน ก.ย. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 41.2 บ่งชี้ว่าการบริโภคภาคเอกชนน่าจะต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว ด้านคำสั่งซื้อเครื่องจักรพื้นฐานของภาคเอกชน ในเดือน ส.ค. 53 ปรับตัวดีขึ้นโดยขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 10.1 ต่อเดือน (%mom_sa) บ่งชี้ว่าการลงทุนภาคเอกชนน่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป
China: improving economic trend
  • การส่งออกในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 25.1 ต่อปีชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 34.4 ต่อปี ซึ่งเมื่อพิจารณาจากมูลค่าการส่งออกแล้วยังถือได้ว่าอยู่ในระดับสูงด้านการนำเข้าเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนที่ 128.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขยายตัวที่ร้อยละ 24.1 ต่อปี โดยคาดว่าน่าจะเป็นผลมาจาก 1) อุปสงค์ในประเทศที่มีทิศทางดีขึ้น และ 2)การนำเข้าเพื่อส่งออกตามฤดูกาลการส่งออกที่จะเพิ่มขึ้นในระยะต่อไป บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจจีนยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
South Korea: mixed signal
  • ธนาคารกลางเกาหลีใต้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ที่ร้อยละ 2.25 เพื่อป้องกันไม่ให้ค่าเงินวอนแข็งค่าขึ้น เนื่องจากมีแนวโน้มที่เงินทุนจะไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น หลังจากที่สหรัฐอมริกาประกาศจะทำนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายเพิ่มเติม
Malaysia: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี หรือหดตัวจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ -1.2 (%mom_sa) จากผลผลิตสินแร่และเล็กทรอนิกส์ที่หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า บ่งชี้ว่าภาคการผลิตเริ่มชะลอตัวลง
Singapore: improving economic trend
  • Advanced GDP ในไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -5.3 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(%qoq_sa) จากอุปสงค์ของคู่ค้าสำคัญที่เริ่มชะลอลง
Philippines: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 36.6 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 35.9 ต่อปี (ตัวเลขปรับปรุง)จากการขยายตัวของการส่งออกในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และฉนวนไฟฟ้า บ่งชี้อุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดี
India: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี จากมรสุมในช่วงก่อนหน้าที่ส่งผลกระทบต่อยอดผลิตของโรงงานต่างๆ กว่าครึ่งหนึ่งของประเทศ อย่างไรก็ตาม เทศกาลต่างๆในช่วงปลายปี น่าจะส่งผลให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเร่งขึ้นในระยะต่อไป
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้ามาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของไทยโดยยังคงมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์ส่งผลให้ดัชนี SET Index ของไทยปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในสัปดาห์ที่ผ่านมาเข้าใกล้ระดับ 1,000 จุดอย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างชาติเริ่มขายพันธบัตรของไทยออกในสัปดาห์นี้หลังจากที่รัฐบาลได้มีมาตรการชะลอค่าเงินบาทผ่านการยกเลิกการละเว้นการเก็บภาษี Withholding tax ร้อยละ 15 ต่อปีซึ่งมีผลวันที่ 13 ต.ค. ทั้งนี้ หากพิจารณาจากเส้นผลตอบแทนจากสัปดาห์ก่อนหน้าจะพบว่ายังไม่ได้มีการขยับอย่างชัดเจน

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวค่อนข้างผันผวน โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะมาทรงตัวที่ระดับ 29.82 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยสาเหตุสำคัญที่ส่งผลให้ค่าเงินบาททรงตัวได้แก่การออกมาตรการเพื่อชะลอค่าเงินบาท ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.19

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ