ภาวะเศรษฐกิจสหภาพยุโรป กันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday October 18, 2010 13:56 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจในเขตยูโรในไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนร้อยละ 1.0 และร้อยละ1.9 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากเศรษฐกิจเยอรมนีที่เร่งตัวขึ้นตามการส่งออก
  • เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในเขตยูโรน่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่อง ดังจะเห็นได้จาก ดัชนีเครื่องชี้ภาคบริการและเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตได้ดี
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • อัตราการว่างงานของกลุ่มยูโรโซนในเดือน ส.ค. ยังอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 10.1 ของกาลังแรงงาน เนื่องจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ในกลุ่มยังมีการว่างงานสูงมาก โดยเฉพาะสเปนและฝรั่งเศสที่ยังว่างงานถึงร้อยละ 20.5 และ 10.1 ยกเว้นเยอรมนีที่ว่างงานลดลงเหลือร้อยละ 6.8
  • อัตราเงินเฟ้อจาก HICP ในเดือน ก.ย. ปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 แต่ยังอยู่ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางยุโรปที่ร้อยละ 2.0
  • ดุลการค้าและดุลบริการเกินดุลเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดสะสม 12 เดือนขาดดุลลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.6 ของ GDP ในเดือน ก.ค.
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ในวันที่ 7 ต.ค. ธนาคารกลางยุโรปประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 1 และส่งสัญญาณการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการซื้อพันธบัตรภาครัฐ(Quantitative Easing)
  • ส่งผลให้ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์ สรอ. และปอนด์ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าธนาคารการในสหรัฐและอังกฤษอาจต้องใช้มาตรการ Quantitative Easing มากระตุ้นเศรษฐกิจมากขึ้น

**กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจโดยรวมในเขตยูโรโซนยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง เนื่องจากเยอรมนีซึ่งมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มฯ สามารถเติบโตได้ดี แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจอื่นๆ ในกลุ่มยังเปราะบาง จากปัญหาการว่างงานและปัญหาการขาดดุลการคลังที่ยังอยู่ในระดับสูง

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 2

เศรษฐกิจกลุ่มยูโรโซนในไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้นจากเศรษฐกิจเยอรมนีที่เร่งตัวขึ้นตามการส่งออก แต่เศรษฐกิจอื่นยังฟื้นตัวช้า

เศรษฐกิจในเขตยูโร (Euro area: EA16) ในไตรมาส 2 ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 1.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัวร้อยละ 1 จากไตรมาสแรกที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.3 โดยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในเขตยูโรส่วนใหญ่มาจากเศรษฐกิจเยอรมนีซึ่งมีขนาดใหญ่ที่สุดในเขตยูโรที่ขยายตัวดีจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 2.2 ขณะที่เศรษฐกิจในกลุ่ม PIIGS (โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี กรีซ และสเปน) ยังคงชะลอตัว ทั้งนี้ ปัจจัยหลักที่ช่วยสนับสนุนการขยายตัวที่ดีขึ้นของเศรษฐกิเขตยูโรมาจากการส่งออกของกลุ่มยูโรโซนที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 4.3 ซึ่งได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก โดยเฉพาะในเยอรมนี ขยายตัวเพิ่มขึ้น

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส 3

เครื่องชี้เศรษฐกิจไตรมาส3 ชี้ภาคบริการและภาคอุตสาหกรรมยังขยายตัวได้ดี

ดัชนีความเชื่อมั่นภาคบริการ (EC Services Survey) ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจในภาคบริการของเศรษฐกิจในเขตยูโรมีแนวโน้มขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง โดยคาดว่าภาคผลผลิตภาคบริการ (Services output) น่าจะขยายตัวได้ที่ประมาณร้อยละ 2 ซึ่งดีขึ้นกว่าไตรมาสแรกที่ขยายตัวร้อยละ 0.6

นอกจากนั้นดัชนีชี้วัดผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Production Index) เขตยูโรยังคงขยายตัวได้ดีในไตรมาส 3 โดยเฉพาะการที่ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคมที่กลับมาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 7.9 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ร้อยละ 7.2 ต่อปี ทั้งนี้ การปรับตัวที่ดีขึ้นดังกล่าว ได้ทำให้ตลาดคลายความกังวลหลังจากที่ดัชนีคาสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Manufacturing PMI) หดตัวจาก 56.7 จุด ในเดือนกรกฎาคมมาอยู่ที่ 56.3 และ 53.8 ในเดือนสิงหาคมและกันยายน ตามลำดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการว่างงานในเขตยูโรยังอยู่สูงที่ร้อยละ 10.1 ในเดือนส.ค. เนื่องจากการว่างงานของประเทศเศรษฐกิจใหญ่ในเขตยูโรยังทรงตัวในระดับสูง

ยอดผู้ว่างงานที่ปรับตามฤดูกาลแล้วของ Euro area 16 ประเทศ ณ เดือนสิงหาคมมีจานวน 15.87 ล้านคน หรือ คิดเป็นอัตราการว่างงานที่ร้อยละ 10.1 ของกาลังแรงงาน ซึ่งเป็นระดับอัตราการว่างงานที่สูงที่สุดติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 นับตั้งแต่เดือนสิงหาคม 1998 สำหรับสาเหตุทีอัตราการว่างงานยังคงทรงตัวในระดับสูงมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจขนาดใหญ่ เช่น ฝรั่งเศส และ สเปน ยังคงมีอัตราการว่างงานที่สูงและเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 10.1 และร้อยละ 20.5 ตามลาดับ อย่างไรก็ดี ประเทศเยอรมนีและอิตาลีเริ่มมีอัตราการว่างงานที่ลดลงเล็กน้อย โดยอัตราการว่างงานในเยอรมนี และในอิตาลีในเดือนส.ค.ได้ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.8 และร้อยละ 8.2 ตามลาดับ เนื่องจากเศรษฐกิจเยอรมนีและอิตาลีมีแนวโน้มการจ้างงานที่มากขึ้น จากการฟื้นตัวในภาคส่งออกที่ได้รับอานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกในช่วงไตรมาส 2 ที่ผ่านมา

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

เงินเฟ้อเดือนก.ย.เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 แต่ยังอยู่ภายใต้เป้าหมายเงินเฟ้อที่ร้อยละ 2

ดัชนีราคาผู้บริโภค (Harmonised Index of Consumer Prices: HICP) ของพื้นที่ยุโรป (Euro Area: 16 ประเทศ) ประจำเดือนกันยายนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 1.6 สำหรับสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนกันยายนเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและพลังงานเป็นหลัก ซึ่งหากคานวณอัตราเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมการเพิ่มขึ้นของราคาอาหารสดและพลังงาน (Core inflation) พบว่า การเพิ่มขึ้นของราคายังอยู่ในระดับตาที่ประมาณร้อยละ 1.0 เท่านั้น

อย่างไรก็ดี อัตราเงินเฟ้อในเขตยูโรที่ร้อยละ 1.8 ถือว่ายังเป็นไปตามเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางของยุโรปที่กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ที่ระดับร้อยละ 2

เครื่องชี้เสถียรภาพต่างประเทศ

ดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนก.ค. ขาดดุล 3.8 พันล้านยูโร หรือ ประมาณ 0.6% ของ GDP

ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว (seasonally adjusted current account balance) ขาดดุล 3.8 พันล้านยูโร ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนมิถุนายนที่ขาดดุล 4.6 พันล้านยูโร โดยในเดือน ก.ค.นี้ Euro area มีมูลค่าของการเกินดุลการค้า (trade) และดุลบริการ (services) ที่ 3.4 และ 2.2 พันล้านยูโร ตามลำดับ แต่ขาดดุลรายได้ (income) และดุลเงินโอน (current transfer) จานวน 1.4 และ 8.0 พันล้านยูโร ตามลำดับ จึงทำให้โดยรวมแล้ว Euro area ยังคงมีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลเล็กน้อย

สำหรับยอดสะสม 12 เดือน Euro area มีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลสะสมจานวน 49.8 พันล้านยูโร (ประมาณร้อยละ 0.6 ของ Euro GDP) ลดลงจากยอดสะสม 12 เดือนก่อนหน้าที่มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด 130.4 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา Euro area กลับสถานะจากขาดดุลการค้ามาเป็นเกินดุลการค้า เนื่องจากการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่การไหลออกสุทธิของดุลรายได้และดุลเงินโอนมียอดลดลง

อัตราดอกเบี้ย

ECB คงอัตราดอกเบี้ยเป็นเดือนที่ 16 ขณะที่ปริมาณเงินและสินเชื่อยังคงมีเสถียรภาพในระดับต่ำ

เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป มีมติคงอัตราดอกเบี้ย Refinancing Operations (MRO) ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ECB ไว้ตามเดิมที่ระดับร้อยละ 1.0 ต่อปี นับเป็นเดือนที่ 18 ที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับดังกล่าว โดย ECB ได้ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ว่า อัตราดอกเบี้ยในปจจุบันมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ กล่าวคือ แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟอในระยะปานกลางน่าจะยังอยู่ภายใต้กรอบอัตราเงินเฟอเป้าหมายที่ร้อยละ 2.0 นอกจากนั้น ข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาส 2 และเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจของไตรมาส 3 พบว่าดีกว่าที่หลายฝายคาดการณ์ไว้ ดังนั้น คณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรป จึงได้ส่งสัญญาณที่จะชะลอการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ทั้งนี้ คำแถลงของคณะกรรมการธนาคารกลางสหภาพยุโรปดังกล่าว ได้ส่งผลให้ตลาดการเงินคาดการณ์ว่าธนาคารกลางของสหภาพยุโรปจะเริ่มถอนตัวออกจากการใช้นโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจ (Exit Policy) และจะทยอยลดการใช้มาตรการในการซื้อพันธบัตรภาครัฐ หรือ Quantitative Easing Policy ในระยะต่อไป

อัตราแลกเปลี่ยน

ค่าเงินยูโรแข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับเงินปอนด์และ $ จากที่ตลาดเงินคาดว่า ECB จะหยุดใช้มาตรการ QE ตรงข้ามกับ FED และ BOE ที่อาจต้องกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่ม

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา เงินยูโรแข็งค่าขึ้นเมือเทียบกับค่าเงินปอนด์ค่อนข้างมาก โดยค่าเงินยูโรล่าสุด ณ วันที่ 13 ตุลาคม อยู่ที่ 0.8812 ปอนด์/ยูโร ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นจากต้นเดือนที่ค่าเงินยูโรอยู่ที่ประมาณ 0.875 ปอนด์/ยูโร ทั้งนี้เนื่องจากข้อมูลเศรษฐกิจของเขตยูโรในไตรมาส 3 มีสัญญาณการขยายตัวที่ดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับข้อมูลเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่สัญญาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาดการณ์

นอกจากนั้น ค่าเงินยูโรเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ สรอ. ในรอบเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกัน โดยค่าเงินยูโร ณ วันที่ 13 ตุลาคม อยู่ที่ 1.3967 $/ยูโร ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องจากต้นเดือนที่อยู่ที่ประมาณ 1.390 $/ยูโร ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารกลางของยุโรป ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 1 ต่อปี และส่งสัญญาณที่จะทยอยถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน Quantitative Easing Policy:QE ขณะที่ธนาคารกลางของสหรัฐฯ กลับส่งสัญญาณที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่าน QE ต่อเนื่อง เพื่อช่วยชะลอการหดตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ทาให้นักลงทุนในตลาดการเงินย้ายเงินลงทุนออกจากสหรัฐฯ มาในยุโรปมากขึ้น จึงส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์ สรอ.อ่อนค่าลง และยูโรแข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ดี ค่าเงินยูโรค่อนข้างทรงตัวเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนที่ประมาณ 114.24 เยน/ยูโร เนื่องจากนักลงทุนที่ถอนเงินลงทุนออกจากสหรัฐฯ ได้ย้ายเงินมาลงทุนในตลาดเอเชียโดยเฉพาะญี่ปุนมากขึ้นเช่นเดียวกัน

ประเด็นเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา
  • สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ Moody's Investor Service ได้ประกาศปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของประเทศสเปนจากระดับ Aaa เป็น Aa1 โดยแสดงความเป็นห่วงเรื่องอัตราการว่างงานที่ยังคงอยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 20 ซึ่งอาจจะกระทบความสามารถการแข่งขันของประเทศในระยะยาว นอกจากนั้น ยังแสดงความเป็นห่วงต่ออันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวของประเทศของไอร์แลนด์ที่อยู่ที่ระดับ Aa2 เนื่องจากเป็นห่วงวิกฤติสถาบันการเงินที่อาจส่งผลให้ภาครัฐขาดดุลการคลังสูงถึงร้อยละ 32 ของ GDP ในปี 2010

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ