Executive Summary
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,251.6 พันล้านบาท หรือร้อยละ 42.5 ของ GDP
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ย. 53 เบิกจ่ายจำนวน 192.7 พันล้านบาท หรือหดตัวร้อยละ -2.1 ต่อปีฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 53 ดุลงบประมาณเกินดุลจำ นวน 39.6 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 53 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี
- มูลค่าการส่งออกสินค้าเดือน ก.ย. 53 มีระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และขยายตัวที่ร้อยละ 21.2 ต่อปีในขณะที่การนำเข้าสินค้าเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการของยูโรโซน เดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 54.1 และ 56.2 ตามลำดับ
- GDP จีน ไตรมาส 3 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า
- ธนาคารกลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน ธ.ค. 50
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Sep: MPI (%yoy) 7.0 8.5
- เนื่องจากฐานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง โดยคาดว่าการผลิตสินค้าสำ คัญเพื่อการส่งออก เช่น สินค้าเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และเครื่องประดับ จะมีการผลิตที่ชะลอจนถึงหดตัวลงปี
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ก.ค. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น4,251.64 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 49.23 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.5 ของ GDP ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 44.9 พันล้านบาท 3.48 พันล้านบาท และ1.13 พันล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคงจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน ก.ย. 53 เบิกจ่ายได้จำนวน192.7 พันล้านบาท คิดเป็นการหดตัวร้อยละ -2.1 ต่อปี โดยมีการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำจำนวน 161.1 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 21.3 พันล้านบาท หดตัวร้อยละ -22.1 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายงบประมาณที่สำคัญในเดือน ก.ย. 53ได้แก่ รายจ่ายประจำในส่วนงบเงินเดือนและค่าจ้างจำนวน 39.2 พันล้านบาท งบดำเนินงานจำนวน 28.1 พันล้านบาท และงบการบริหารหารชำระหนี้ของกระทรวงการคลังจำนวน 53.6 พันล้านบาท ทั้งนี้ รายจ่ายรัฐบาลรวมทั้งปีงบประมาณ 53 สามารถเบิกจ่ายได้รวมทั้งสิ้น 1,784.4 พันล้านบาท โดยรายจ่ายประจำปีงบประมาณเบิกจ่ายได้จำนวน 1,627.9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95.8 ของกรอบวงเงินงบประมาณ (1.70 ล้านล้านบาท) ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 94 ซึ่งสาเหตุสำคัญมาจากการเบิกจ่ายรายจ่ายประจำ และรายจ่ายลงทุนที่เบิกจ่ายสูงกว่าเป้าหมาย นอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 15 ต.ค. 53 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้น 237.0 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ67.7 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
- ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน ก.ย. 53 ดุลงบประมาณเกินดุลจำนวน 39.6 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -4.1 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด(ก่อนกู้) ของรัฐบาลเกินดุลจำนวน 35.5 พันล้านบาท ทั้งนี้ ฐานะการคลังทั้งปีงบประมาณ 53 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน -100.8 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 3.7 พันล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสด (ก่อนกู้) จำนวน -97.1 พันล้านบาท ซึ่งการขาดดุลดังกล่าวต่ำกว่าเป้าหมาย เนื่องจากผลการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลสูงกว่าเป้าหมาย ในขณะที่รัฐบาลมีการกู้เงินตามกรอบการขาดดุลส่งผลให้ปริมาณ เงินคงคลัง ณ สิ้นปีงบประมาณ 53 อยู่ในระดับสูงถึง 429.3 พันล้านบาท
- ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 53 หดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -4.2 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาโรคระบาดศัตรูพืช ในขณะที่ผลผลิตยางพาราขยายตัวในอัตราชะลอลงเช่นกันเนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยาง ส่วนผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 2.6 ต่อปี จากผลผลิตไก่เนื้อเป็นสำคัญตามราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่งผลให้ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรขยายตัวร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
- ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 26.7 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ31.1 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ข้าวยางพารา และมันสำปะหลัง เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวน
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 53 ปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองมาอยู่ที่ระดับ 100.8 จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 102.4 เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อโดยรวมและยอดขายปรับตัวลดลงจากปัจจัยเงินบาทแข็งค่าที่กระทบภาคการส่งออก ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง ภาวะน้ำ ท่วม และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ล่วงหน้า 3 เดือน ณ เดือนก.ย.53 อยู่ที่ 114.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ115.4 เนื่องจากผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลต่อสถานการณ์ค่าเงินบาทเป็นสำคัญ
- ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 46.6 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 58.1 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และ 2) ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น
- ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 35.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 47.7 ต่อปีหรือขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำเมื่อปีที่แล้วที่การลงทุนภาคเอกชนหดตัวลงอย่างมาก
- มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ที่ร้อยละ 21.2 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 23.9 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้ว จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากการขยายตัวที่เร่งขึ้นในตลาดสำคัญ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกสินค้าเกษตร อุตสาหกรรมเกษตร และอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ28.6 7.5 และ 20.0 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาส 3 ปี 53 มูลค่าส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 21.9 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -4.3เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ที่ร้อยละ 16.0ต่อปี ชะลอลงมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 41.1 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ -3.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว)โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงหดตัวมากที่ร้อยละ -19.9 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำ เข้าสินค้าทุน สินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดีที่ร้อยละ 28.2 23.6 และ 18.1 ต่อปี ตามลำดับ ทำให้ในไตรมาส 3 ปี 53 มูลค่านำเข้าสินค้าขยายตัวร้อยละ 30.5 ต่อปีหรือขยายตัวร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือน ก.ย.53 เกินดุล 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้าไตรมาส 3 ปี 53 เกินดุล 2.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือน ก.ย.53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 7.0 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปีโดยคาดว่าการผลิ สินค้าสำคัญเพื่อการส่งออกเช่นสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ และเครื่องประดับ จะมีการผลิตที่ชะลอจนถึงหดตัวลง เนื่องจากฐานที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงเปราะบาง
Global Economic Indicators: This Week
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือนต.ค. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 54.1 ขณะที่ดัชนีฯภาคบริการ (Service PMI) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 มาอยู่ที่ 56.2 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค.53 ทรงอยู่ที่ระดับเดียวกับเดือนก่อนหน้าที่ระดับ -11.0
- ยอดสร้างบ้านใหม่เดือน ส.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยอดขออนุมัติสร้างบ้านหดตัวที่ร้อยละ -5.6 จากเดือนก่อหน้า บ่งชี้ความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ในระยะต่อไป ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 0.6 ต่อเดือน ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 53 หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 14 เดือนที่ร้อยละ -0.2 จากเดือนก่อนหน้า
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 9.6 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้า ขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือน 4 ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารกลางจีนปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งแรกนับแต่เดือน ธ.ค.50 โดยเพิ่ม Deposit Rate 25 bps เป็นร้อยละ 2.5 และ Lending Rate 25 bps เป็นร้อยละ 5.56 การลงทุนในเขตเมืองในเดือน ก.ย.53 ขยายตัวต่ำที่สุดในรอบ 2 ปีครึ่ง ที่ร้อยละ 24.5 ต่อปี ยอดค้าปลีกเดือน ก.ย. 53 เร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 18.8 ต่อปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 13.3 ต่อปี
- อัตราการว่างานเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 3.7 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ3.4 ของกำ ลังแรงงานรวม บ่งชี้สัญญาณการชะลอลงของอุปสงค์ในประเทศ
- มูลค่าการส่งออกไม่รวมน้ำมันในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 22.7 ต่อปี หรือหดตัวร้อยละ 4.5 จากเดือนก่อนหน้า จากการส่งออกในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ปรับตัวลดลง บ่งชี้สัญญาณการชะลอลงของอุปสงค์จากนอกประเทศ
- คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 16.7 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 23.3 ต่อปี จากการชะลอลงของคำ สั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป บ่งชี้อุปสงค์จากนอกประเทศที่เริ่มชะลอลงตามการแผ่วลงของเศรษฐกิจโลก
- อัตราการว่างงานเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 51 ที่ร้อยละ 4.2 ต่อปี สะท้อนถึงภาคการจ้างงานที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจฮ่องกงในขณะที่ความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อยังคงไม่สูงมานักโดยเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะต่อไป สอดคล้องกับค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากการจ้างงานที่อยู่ในระดับสู
นักลงทุนต่างชาติเริ่มมีการขายออกการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ของไทย ส่งผลให้ดัชนี SET ปรับตัวลดลงจากช่วงต้นสัปดาห์มาทรงตัวที่ระดับ 990 โดยปัจจัยสำคัญมาจากธนาคารกลางจีนประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายและส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ทั้งภูมิภาคส่วนใหญ่ปิดตัวลดลง ประกอบกับตลาดรอดูผลการปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง.ในช่วงกลางสัปดาห์ซึ่งมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายหลังจากที่ปรับขึ้นมาต่อเนื่องในช่วง 2 ครั้งที่ผ่านมาส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นปรับตัวลดลงแต่ระยะยาวไม่เปลี่ยนแปลงจากสัปดาห์ก่อนหน้ามากนัก
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงเล็กน้อยโดยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะมาทรงตัวที่ระดับ 29.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐเนื่องจากแรงกดดันจากเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาสู่ตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรเริ่มลดลง ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.12
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th