รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 26 — 29 ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 1, 2010 09:30 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 8.1 ต่อปี
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนก.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 4.9 ต่อปี
  • คำสั่งซื้อสินค้าคงทนสหรัฐฯ เดือน ก.ย. 53 ขยายตัวสูงสุดนับแต่ต้นปีที่ร้อยละ 3.3 จากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI)ของญี่ปุ่น เดือน ต.ค. 53 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 47.2
  • GDP เกาหลีใต้ไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ร้อยละ 4.5 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า
  • อัตราว่างงานของฮ่องกงเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย. 51 ที่ร้อยละ 4.2 ของกำลังแรงงานรวม

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Oct: Headline Inflation (%yoy)       3.5                 3.0
  • เนื่องจากสินค้าในหมวดพืชผักและผลไม้ได้รับความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วม ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับขึ้นในช่วงเดือน ต.ค.
Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ก.ย. 53ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 8.4 ต่อปี ทั้งนี้เมื่อปรับผลทา งฤดูกาลแล้วพบว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลบวกต่อ MPI ได้แก่
ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ รถยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขณะที่กลุ่มอุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อ MPI ได้แก่ เบียร์ บุหรี่ และเครื่องประดับเพชรพลอย สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 64.4 ของกำลังการผลิตรวม เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 63.6 โดยหากปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าอยู่ที่ร้อยละ 62.6 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับร้อยละ 63.2 ของกำลังการผลิตรวม

ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.9 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -1.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาส 3 ของปี 53 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 11.1 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 5.4 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวของปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นบ่งชี้ถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 3.5 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปีเนื่องจากสินค้าในหมวดพืชผักและผลไม้ได้รับความเสียหายจากวิกฤตน้ำท่วม ส่งผลให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับตัวสูงขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับขึ้นในช่วงเดือนต.ค. ทั้งนี้เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้ว คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.6 จากเดือนก่อนหน้า

Global Economic Indicators: This Week

Eurozone: improving economic trend
  • คำสั่งซื้อภาคอุตสาหกรรม (Industrial New Orders) ในเดือนส.ค.53 ขยายตัวในระดับสูง โดยคำสั่งซื้อเครืองจักรอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 8.1 จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่คำ สั่งซื้อสินค้าคงทนเพื่อการบริโภคขยายตัวร้อยละ 5.4 จากเดือนก่อนหน้า บ่งชี้การเพิ่มขึ้นของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในระยะต่อไป
USA: mixed signal
  • คำสั่งซื้อสินค้าคงทนเดือน ก .ย 53 .ขยายตัวสูงที่สุดนับแต่ต้นปีที่ร้อยละ 3.3จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากคำสั่งซื้อเครื่องบินเป็นสำคัญอย่างไรก็ตาม คำสั่งซื้อไม่รวมภาคขนส่งหดตัวร้อยละ 0.8-จากเดือนก่อนหน้า ยอดขายบ้านใหม่เดือน ก .ย 53 .ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2ที่ร้อยละ 6.6จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่ราคาบ้าน )Case-Shiller-20) ในเดือน ส.ค 53 .หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 4เดือนที่ร้อยละ 0.2-จากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ต.ค 53 .เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.2
Japan: worsening economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ก .ย 53 .หดตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.6-ต่อปี ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐานหดตัวที่ร้อยละ 1.5-ต่อปี ขณะที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน ก .ย 53 .หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4ที่ร้อยละ 1.9-จากเดือนก่อนหน้า สำหรับดัชนีผู้จัดการฝ่ายซื้อภาคอุตสาหกรรม ) Mfg PMI (เดือน ต.ค. 53 หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 47.2โดยดัชนีคำสั่งซื้อภาคการส่งออกหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบปี บ่งชี้สัญญาณการชะลอตัวในภาคการส่งออกจากอุปสงค์ภายนอกที่ลดลงและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้น
South Korea: improving economic trend
  • GDP ไตรมาสที่ 3ปี 53ขยายตัวในอัตราที่ต่ำที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีที่ร้อยละ 4.5ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.7เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า จากการชะลอลงของภาคการส่งออกอย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศยังคงสามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เป็นหัวใจหลักของเศรษฐกิจขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 1.3และ 3.5เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ บ่งชี้ว่าอุปสงค์ในประเทศจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกาหลีใต้ในระยะต่อไป
Philippines: improving economic trend
  • การนำเข้าเดือน ส.ค. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 22.0 ต่อปี ผลจากการนำเข้าชินส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 27.2 ต่อปี สะท้อนถึงการส่งออกโดยรวมที่มีแนวโน้มขยายตัวในระยะต่อไป
Australia: mixed signal
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาส3 ปี 53 ขยายตัวในอัตราต่ำที่ร้อยละ 2.8ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.6 ต่อปี ทำ ให้คาดการว่าธนาคารกลางออสเตรเลียจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.5 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อระยะสั้นยังคงอยู่ในกรอบที่กำหนดไว้
Hong Kong: improving economic trend
  • อัตราว่างงานเดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ย. 51 ที่ร้อยละ 4.2ของกำลังแรงงานรวม สะท้อนถึงภาคการจ้างงานที่ขยายตัวได้ดีตามการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 2.5ต่อปี อย่างไรก็ตามความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้นในระยะต่อไป จากค่าจ้างแรงงานเฉลี่ยที่ปรับตัวสงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา จากการจ้างงานที่อย่ในระดับสง
Weekly Financial Indicators

นักลงทุนต่างชาติยังคงมีการขายออกการลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ของไทยต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน หลังจากทางการไทยได้ออกมาตรการในการสะกัดเงินทุนเคลื่อนย้ายในช่วงสัปดาห์ก่อนหน้า ประกอบกับตลาดเริ่มมีความกังวล (Risk Aversion) เกี่ยวกับหนี้สาธารณะยุโรปอีกครั้งหนึ่ง หลังมีข่าวว่ารัฐบาลกรีซอาจล้มละลาย อย่างไรก็ตามดัชนี SET ได้เคลื่อนไหวอยู่ในระดับสูง โดยสามารถปรับตัวสู่ระดับที่สูงที่สุดในรอบ 14 ปีที่ระดับ 1001.06 จุด ในช่วงกลางสัปดาห์จากแรงซื้อของนักลงทุนในประเทศ

ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวระดับเดียวกับสัปดาห์ก่อนหน้า โดยทรงตัวที่ระดับ 29.94 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากแรงกดดันจากเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาสู่ตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรเริ่มลดลง ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวลงมาเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.23

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ