รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 4 — 22 ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 1, 2010 11:39 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนสิงหาคม 2553

2. การเกินดุลการค้าเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงร้อยละ 37.5

3. BOJ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอีกอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1

4. สมาชิกพรรค DPJ ต้องการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดความเป็นอิสระของธนาคารกลางญี่ปุ่น

----------------------------------- 1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สำคัญในเดือนสิงหาคม 2553

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือนสิงหาคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.3

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 94.5 (ปี 2005=100) ซึ่งลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือนแล้ว เนื่องจากผลผลิตเครื่องจักรและเหล็กลดลงและความต้องการเครื่องรถยนต์ของภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและสหรัฐฯ ลดลงด้วย

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจำเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจำเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงร้อยละ 1.0 อยู่ที่ 99.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 18 เดือนแล้ว เนื่องจากสินค้าบริโภคหลายประเภทลดลงอย่างต่อเนื่องแสดงถึงเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะเงินฝืด

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

อัตราการว่างงานเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงเป็นร้อยละ 5.1 เทียบกับร้อยละ 5.2 ในเดือนกรกฎาคม 2553 ซึ่งเป็นการปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็น 2 เดือนแล้ว แต่ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลให้ภาวะการว่างงานอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกได้

1.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือนสิงหาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจำเดือนสิงหาคม 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเพิ่มติดต่อกัน 3 เดือนแล้ว เป็นผลมาจากมีผู้บริโภคซื้อรถยนต์และเครื่องไฟฟ้ามากขึ้น

2. การเกินดุลการค้าเดือนสิงหาคม 2553 ลดลงร้อยละ 37.5

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่าการเกินดุลการค้าเดือนสิงหาคม 2553 อยู่ที่ 103.2 พันล้านเยนทั้งที่ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.8 คิดเป็นมูลค่า 5.2241 ล้านล้านเยน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า โดยเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 9 เดือนแล้ว โดยการส่งออกไปยังเอเชียและจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 และ 18.5 ตามลำดับ ขณะที่การส่งออกไปยังสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8 ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า อยู่ที่ 5.1209 ล้านล้านเยน

ดุลการค้าประจำเดือนสิงหาคม 2553

หน่วย: พันล้านเยน

               ยอดการส่งออก (ร้อยละ)          ยอดการนำเข้า (ร้อยละ)              ดุลการค้า (ร้อยละ)
สหรัฐฯ                 776.1 (8.8)               490.7 (11.3)                  285.4 (4.9)
สหภาพยุโรป            584.5 (13.7)               502.7 (7.0)                    81.9 (84.8)
เอเชีย (รวมจีน)      3,052.5 (18.6)             2,294.4 (21.7)                  758.1 (10.0)
สาธารณรัฐประชาชนจีน  1,048.1 (18.5)             1,117.6 (20.0)                 --69.6 (47.3)
  รวม              5,224.1 (15.8)             5,120.9 (17.9)                  103.2(-37.5)
ที่มา กระทรวงการคลังญี่ปุ่น

3. BOJ ได้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอีกอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1
          BOJ ได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงไปอีกอยู่ที่ระหว่างร้อยละ 0-0.1 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องต่อไป ซึ่งเป็นการใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยเป็นร้อยละ 0 อีกครั้งนับเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปี 3 เดือน และคาดว่าจะรักษาระดับอัตราดอกเบี้ยไว้จนกว่าจะสามารถคาดได้ว่าอัตราราคาผู้บริโภคจะปรับเพิ่มมากกว่าร้อยละ 1 ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นกาลังฟื้นตัวขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ถดถอยและการที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นยังอาจทาให้ญี่ปุ่นหลุดพ้นจากภาวะเงินฝืดช้าลง

4.สมาชิกพรรค DPJ ต้องการแก้ไขกฎหมายเพื่อลดความเป็นอิสระของธนาคารกลางญี่ปุ่น
          สมาชิกพรรค DPJ ซึ่งเป็นพรรคแกนนาของรัฐบาลญี่ปุ่นจานวน 150 คน ได้ตกลงที่จะเสนอขอแก้ไขกฎหมายธนาคารกลางญี่ปุ่น (Bank of Japan: BOJ) เพื่อที่ให้ฝ่ายการเมืองสามารถมีส่วนร่วมในการกาหนดนโยบายของ BOJ ได้ โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้ BOJ กาหนดนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาเงินฝืด (deflation) ของญี่ปุ่น โดยกลุ่มสมาชิกดังกล่าวต้องการให้ BOJ ปรับปรุงนโยบายในการกาหนดเป้าหมายเงินเฟ้อ (inflation targeting) และให้การเพิ่มการจ้างเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายของ BOJ
          อย่างไรก็ตาม นาย Naoto Kan นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรค DPJ ยังไม่ได้ให้ความเห็นชอบในการเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าว และนาย Banri Kaieda รัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลด้านนโยบายเศรษฐกิจก็ได้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการแก้ไขนี้ นอกจากนี้ นาย Hirohisa Fujii อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่นก็ได้เคยให้ความเห็นว่ารัฐบาลไม่ควรใช้ BOJ เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ


          สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

          ที่มา:  Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ