Executive Summary
- สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ 1.89 ล้านล้านบาท
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนต.ค. 53 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 122.5 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 5.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 4.5
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 53.8 ต่อปี
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ 1.49 แสนคัน หรือขยายตัวร้อยละ 14.4 ต่อปี
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนต.ค. 53 มีจำนวน 1.31 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี
- ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตรสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 53 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ 151,000 ตำแหน่งการส่งออกจีนเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 22.9 ต่อปี
- อัตราว่างงานออสเตรเลียเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม สูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค. 53
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Oct: TISI 100.0 100.8
- สาเหตุหลักจากภัยน้ำ ท่วม ที่คาดว่าจะส่งผลต่อผลิตผลสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรให้ได้รับความเสียหาย และยังส่งผลต่อการจัดส่งสินค้าอุตสาหกรรม
ทำให้ผู้ประกอบการมีความวิตกกังวลต่อต้นทุนการประกอบการที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามมา
- สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์เดือน ก.ย. 53 อยู่ที่ 1.89 ล้านล้านบาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2 หมื่นล้านบาทจากเดือนก่อนหน้า จากเงินฝากและเงินกู้ยืมเพิ่มขึ้นในปริมาณที่มากกว่าสินเชื่อ ซึ่งหากวิเคราะห์ด้านของเงินฝากจะพบว่า เงินฝากธนาคารพาณิชย์ขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน ต.ค. 53 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2554 มีจำนวนทั้งสิ้น 122.5 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 5.9 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 5.3 พันล้านบาทหรือร้อยละ 4.5 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างชัดเจนทั้งด้านการใช้จ่าย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.1 ต่อปี และหดตัวร้อยละ -1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) เนื่องจากปัจจัยฐานเริ่มปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในรายละเอียดแล้ว พบว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่จัดเก็บบนการบริโภคในประเทศยังขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่องโดยได้รับปัจจัยจากกำลังซื้อของประชาชนที่เพิ่มขึ้น ตามทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
- ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 53.8 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 85.1 ต่อปี การขยายตัวของภาษีอสังหาริมทรัพย์รวมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับตลาดทาวน์เฮ้าส์-อาคารพาณิชย์และอาคารชุดที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากจำนวนทาวน์เฮ้าส์-อาคารพาณิชย์ และอาคารชุดที่ได้รับอนุมัติสินเชื่อปล่อยใหม่จากธนาคารพาณิชย์ในเดือน ก.ย. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 17.3 และ 18.0 ต่อปี ตามลำดับ รวมถึงดัชนีราคาที่อยู่อาศัยในเดือนก.ย. 53 ที่วัดจากข้อมูลสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ
- ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ 1.49 แสนคัน คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 14.4 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี หรือคิดเป็นการหดตัวที่ร้อยละ -0.9 ต่อเดือน เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้วเนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจาก
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ระดับ 71.6 ถือเป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 6 เดือน จากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 73.5 ผลจาก 1) ปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดทั่วประเทศ ทำให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ 2) ความกังวลจากความไม่แน่นอนในการ
- นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนต.ค.53 มีจำนวน 1.31 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 8.6 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ปรับผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยเป็นการขยายตัวในระดับสูงจากกลุ่มเอเชีย ได้แก่ มาเลเซีย จีน และเกาหลี ที่ขยายตัวที่ร้อยละ 15.9 19.6 และ 87.1 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่ กลุ่มประเทศอเมริกาและตะวันออกกลางมีการหดตัวลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -4.3 และ -0.4 ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยนับจากต้นปีมีจำนวนทั้งสิ้น 12.5 ล้านคน คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 12.8 ต่อปี สะท้อนว่าจำนวนนักท่องเที่ยวฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า
- ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) เดือนต.ค. 53 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 100.0 ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ระดับ 100.8 โดยมีสาเหตุหลักจากภัยน้ำท่วม ที่ส่งผลต่อผลิตผลสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรให้ได้รับความเสียหาย และยังส่งผลมีต่อการจัดส่งสินค้าอุตสาหกรรม ทำให้ผู้ประกอบการมีความวิตกกังวลต่อต้นทุนการประกอบการที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามมา
Global Economic Indicators: This Week
- การส่งออกสินค้าและบริการเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี หรือร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 17.0 ต่อปีแต่ชะลอลงเล็กน้อยที่ร้อยละ -1.0 จากเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลลดลงมาอยู่ที่ 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นการขาดดุลกับจีนถึง 2.78 หมืนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ตำแหน่งงานนอกภาคเกษตร (Non-farm payrolls) ในเดือน ต.ค. 53 เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ 151,000 ตำแหน่งงาน อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานในเดือนต.ค. 53 ยังคงอยู่ในระดับเดิมเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 9.6 ของกำลังแรงงานรวม สัญญาซื้อบ้าน(Pending Home Sales) เดือนก.ย. 53 ลดลงร้อยละ -1.8 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) สะท้อนความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์
- การส่งออกเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 22.9 ต่อปี ขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 25.3 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 2.7 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ธนาคารกลางจีนให้ธนาคารพาณิชย์เพิ่มอัตราส่วนเงินทุนสำรองอีก 50bps จากความเสี่ยงที่เกิดจากอัตราเงินเฟ้อ โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค. 53 เร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ที่ร้อยละ 4.4 ต่อปี ด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่ามีสัญญาณชะลอลง โดยการลงทุนในเขตเมือง (Urban Fixed Asset Investment) ช่วง 10 เดือนแรกของปี 53 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ 24.4 ต่อปี ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงเป็นเดือนที่ 3 ที่ร้อยละ 13.1 ต่อปี ยอดค้าปลีกเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 18.6 ต่อปี
- ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. 53 ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 สะท้อนความกังวลของผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจและการจ้างงาน คำสั่งซื้อเครื่องจักรเดือน ก.ย. 53 หดตัวร้อยละ -9.2 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa)
- อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 53 ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 3.6 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 67,000 คน สะท้อนอุปสงค์ในประเทศที่น่าจะสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่องในระยะต่อไป
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี โดยมีปัจจัยสำคัญจากการขยายตัวเร่งขึ้นของการผลิตในอุตสาหกรรมสินแร่
- การส่งออกในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 21.9 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 17.5 ต่อปีจากการส่งออกไปสหรัฐฯที่ขยายตัวเร่งขึ้น บ่งชี้อุปสงค์จากนอกประเทศที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง การนำเข้าในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 27.9 ต่อปี
- การส่งออกในเดือน ก.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 46.1 ต่อปี จากการขยายตัวของการส่งออกในหมวดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ บ่งชี้อุปสงค์จากภายนอกประเทศที่ยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
- อัตราว่างงานเดือน ต.ค. 53 อยู่ระดับสูงสุดนับตั้งแต่ ม.ค.53 ที่ร้อยละ 5.4 ของกำลังแรงงานรวม
นักลงทุนต่างชาติเทขายการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ส่งผลให้ดัชนี SET ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากช่วงต้นสัปดาห์มาทรงตัวที่ระดับ 1029.86 โดยปัจจัยหลักมาจากความกังวลของนักลงทุนเกี่ยวกับปัญหาหนี้สาธารณะยุโรปหลังข่าวไอร์แลนด์ประกาศลดการขาดดุลงบประมาณประกอบกับนักลงทุนเฝ้ารอผลการประชุม G20 โดยเฉพาะหัวข้อเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสำคัญ ในขณะที่นักลงทุนต่างชาติกลับเข้ามาซื้อในตลาดพันธบัตรไทยต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า จากการที่ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลที่จะมีออกมาอย่างต่อเนื่องในเดือนนี้
ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นสัปดาห์ก่อนที่จะอ่อนลงมาอยู่ที่ระดับ 29.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากแรงกดดันจากเงินลงทุนต่างชาติที่เข้ามาสู่ตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรเริ่มลดลงจาก risk aversion ที่เพิ่มขึ้นซึ่งส่งผลให้ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ในสัปดาห์นี้ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.44 จากการที่นักลงทุนเทขายสกุลเงินต่าง ๆ และเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐและทองคำ เนื่องจากตลาดมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัย (Safe haven) แลทำให้ค่าเงินยูโรและเยนและค่าเงินในภูมิภาคส่วนใหญ่อ่อนค่าลงมากกว่าค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th