ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร ตุลาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 23, 2010 12:03 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 (ข้อมูลเบื้องต้น) ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.8 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีกว่าคาดการณ์

ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจ U.K. ขยายตัวดีกว่าคาด มาจาก การผลิตภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 76 ของการผลิตทั้งหมด) ขยายตัวดีต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริการค้าส่งค้าปลีกฯ ที่เพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ประกอบการเริ่มเร่งสะสมสินค้าล่วงหน้าก่อนอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มปรับเพิ่มเป็นร้อยละ 20 ในต้นปีหน้า

เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นเดือนแรกของไตรมาส 4 บ่งชี้ว่า การผลิตทั้งภาคบริการและภาคอุตสาหกรรม ยังคงมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่งผลให้ตลาดคลายความกังวลเกี่ยวกับการกลับมาหดตัวของเศรษฐกิจ U.K. อีกครั้งในปีนี้

เสถียรภาพเศรษฐกิจ

เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงเปราะบาง จากอัตราเงินเฟ้อจาก Consumer Price Index ในเดือน ก.ย.ยังคงทรงตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 3.1 ซึ่งยังคงสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่กาหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2

แต่อัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือน มีแนวโน้มดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 จากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตที่ขยายตัวต่อเนื่องในไตรมาส 3 ส่งผลให้มีการจ้างงานมากขึ้น

ดุลการค้าและดุลบริการของ U.K. ในเดือน ก.ย. ปรับตัวดีขึ้น จากการลดลงของการขาดดุลการค้าของสินค้าที่ลดลงเหลือ 8.2 พันล้านปอนด์ จากเดือนก่อนที่ขาดดุล 8.5 พันล้านปอนด์ โดยส่วนหนึ่งได้รับอานิสงค์จากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าลงที่ช่วยให้การส่งออกดีขึ้น

ภาคการเงินและภาคการคลัง

ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 และคงมาตรการ QE ที่ 200 พันล้านปอนด์ ตรงข้ามกับธนาคารกลางสหรัฐที่เพิ่ม QE อีก 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นและการคงมาตรการ QE ของอังกฤษส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ในช่วงเดือนที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลหลัก ทั้งค่าเงินยูโร ค่าเงินดอลลาร์ และค่าเงินเยน

รัฐบาลขาดดุลการคลังสูงขึ้นในเดือนก.ย.ทำให้หนี้สาธารณะต่อGDP สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 64.6

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3

เศรษฐกิจ U.K.ไตรมาส 3 (ข้อมูลเบื้องต้น) ขยายตัวดีขึ้นกว่าที่ตลาดคาดการณ์

ข้อมูลเบื้องต้นของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของสหราชอาณาจักรประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2010 ขยายจากไตรมาสก่อน (Quarter on Quarter) ร้อยละ 0.8 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน(Year on Year) ร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นการขยายตัวที่ดีกว่าตลาดคาดการณ์

ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 ขยายตัวได้ต่อเนื่องจากในไตรมาส 2 มาจาก การขยายตัวที่ดีต่อเนื่องของการผลิตภาคบริการ (ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ76 ของ GDP) โดยเฉพาะบริการในด้านค้าส่งค้าปลีก โรงแรม และภัตตาคาร (Distribution Hotels and Restaurants) และการคมนาคมขนส่ง (Transport Storage and Communications) ที่ขยายตัวดีขึ้นในไตรมาสที่ 3 ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากการที่ผู้ประกอบการค้าส่งค้าปลีกเร่งสะสมสินค้าล่วงหน้าก่อนที่ภาษีมูลค่าเพิ่มจะปรับสูงขึ้นจากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ในต้นปีหน้า นอกจากนั้นการก่อสร้างในไตรมาส 3 ยังขยายตัวดี แม้จะมีอัตราการขยายตัวที่ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่เร่งตัวสูงขึ้นมากหลังจากประสบปัญหาภัยธรรมชาติในช่วงไตรมาสแรกของปี

เครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมในไตรมาส 3

เครื่องชี้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและภาคบริการในเดือน ต.ค ปรับตัวดีขึ้น

ดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร (UK CIPS/Markit Report on Manufacturing) ประจำเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 54.9 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 53.5 จุด โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อสินค้าอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อส่งออกที่เพิ่มขึ้นมาก จากที่อยู่ในระดับ 49.0 จุดในเดือนกันยายน เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 55.0 จุด ในเดือนตุลาคม ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะมาจากอานิสงค์จากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนลงในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ยอดคาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น

ดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคบริการของสหราชอาณาจักร (UK CIPS/Markit Report on Services) ประจำเดือนตุลาคมอยู่ที่ระดับ 53.2 จุด ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ระดับ 52.8 จุด สาเหตุหลักที่ช่วยให้ดัชนีเศรษฐกิจภาคบริการกลับมาดีขึ้นในเดือนกันยายนมาจากการปรับตัวที่ดีขึ้นของการจ้างงานที่กลับมาสูงเท่ากับ 50 จุดเป็นครั้งแรก หลังจากที่ปรับตัวลดลงต่ากว่า 50 จุดในช่วง 2 เดือนก่อนหน้า กล่าวโดยสรุป การที่เครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและบริการปรับตัวดีขึ้นในเดือนตุลาคม ทำให้ตลาดคลายความกังวลถึงเกี่ยวกับการกลับมาหดตัวของเศรษฐกิจอีกครั้ง (Double-dip Recession) ของเศรษฐกิจอังกฤษ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

CPI เดือนก.ย.ทรงตัวระดับสูงที่ 3.1% สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางที่ 2%

อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เดือนกันยายนทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 เท่ากับเดือนก่อน โดยมีสินค้าประเภทที่ราคาปรับเพิ่มขึ้นสูง ได้แก่ การปรับราคาเพิ่มขึ้นของสินค้าประเภทเสื้อผ้าและรองเท้า ซึ่งมีราคาสูงเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนถึงร้อยละ 6.4 โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาสินค้าของเครื่องแต่งกายสตรีที่เพิ่มอย่างมากในเดือนนี้ที่เริ่มมีสินค้าใหม่เข้าฤดูใบไม้ผลิออกมาจาหน่าย และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าประเภทเนื้อสัตว์และผลไม้ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.3 ในขณะที่ราคาสินค้าสำคัญที่ปรับลดลงในเดือนนี้ ได้แก่ ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันในท้องตลาดที่ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 1.1 เพนซ์ต่อลิตร สำหรับดัชนี Retail Price Index (RPI) ในเดือนกันยายนชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนี Retail Price Index excluding Mortgage Interest Payments (RPIX) ในเดือนกันยายนก็ปรับตัวลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 4.6 จากร้อยละ 4.7 ในเดือนก่อนเช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ แม้ว่าอัตราการขยายตัวดัชนีราคาผู้บริโภคจะทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ในเดือนสิงหาคมนี้ แต่ก็ยังเป็นการขยายตัวที่ยังคงสูงกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่ตั้งไว้อยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี นอกจากนั้น อัตราเงินเฟ้อของสหราชอาณาจักรยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของอัตราเงินเฟ้อในยุโรปที่อยู่ที่ร้อยละ 2.0 อยู่มาก

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการมีงานทำเริ่มดีขึ้น ส่งผลให้อัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยเหลือ 7.7%

ในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคม (มิถุนายน-สิงหาคม) อัตราการมีงานทำ (Employment Rate) อยู่ที่ระดับร้อยละ 70.7 ของผู้ที่อยู่ในวัยทางานทั้งหมด (working age employment rate) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยมีจานวนผู้มีงานทาที่อายุระหว่าง 16-64 ปี (employment level) มีจานวน 29.16 ล้านคน เพิ่มขึ้น 241,000 คน โดยสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราการมีงานทำในสหราชอาณาจักรปรับตัวดีขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของการจ้างงานแบบชั่วคราวที่เพิ่มขึ้นถึง 143,000 คน จากไตรมาสก่อนหน้า

สำหรับอัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือนสิ้นสุดเดือนสิงหาคมลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 ลดลงจากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยมีจานวนผู้ว่างงานในเดือนสิงหาคมทั้งสิ้น 2.45 ล้านคน ลดลง 20,000 คนจากไตรมาสก่อนหน้า

อัตราการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นและอัตราการว่างงานที่ลดลงนี้ สอดคล้องในทิศทางเดียวกับภาวะเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรที่ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 0.8 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

ดุลการค้าและดุลบริการในเดือนก.ย.ขาดดุลลดลง จากการส่งออกที่ดีขึ้น

ดุลการค้าของสินค้าและดุลบริการในเดือนกันยายน ขาดดุลที่ 4.6 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นการขาดดุลที่ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขาดดุลถึง 4.9 พันล้านปอนด์ โดยมีสาเหตุหลักมากจากการขาดดุลการค้าของสินค้าที่ขาดดุลลดลงในเดือนกันยายนมาอยู่ที่ 8.2 พันล้านปอนด์ ลดลงจากที่ขาดดุล 8.5 พันล้านปอนด์ในเดือนสิงหาคม ทั้งนี้เนื่องจากในเดือนกันยายนการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.5 พันล้านปอนด์ ขณะที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเพียง 0.2 พันล้านปอนด์ สาหรับดุลบริการในเดือนกันยายนยังคงเกินดุลอยู่ที่ 3.7 พันล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคมที่เกินดุลอยุ่ที่ 3.6 พันล้านปอนด์

การที่ดุลการค้าของสินค้าและดุลบริการปรับตัวดีขึ้นในเดือนกันยายนดังกล่าว น่าจะเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินปอนด์ได้อ่อนค่าลงมาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา เมื่อเปรียบเทียบกับคู่ค้าหลักในกลุ่มยุโรป ดั่งจะเห็นได้จากการขาดดุลของสหราชอาณาจักรกับประเทศในกลุ่มยุโรปที่ลดลงเหลือ 3.6 พันล้านปอนด์ จากที่ขาดดุล 3.8 พันล้านปอนด์ในเดือนสิงหาคม

นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย

Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0.5 พร้อมกับคงมาตรการ QE จานวน 200 พันล้านปอนด์ไว้ตามเดิม

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติให้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมในอัตราร้อยละ 0.50 เป็นเดือนที่ 22 ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุดนับจากก่อตั้ง Bank of England ในปี 1694 พร้อมกับคงนโยบายรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Quantitative Easing: QE) จานวน 200 พันล้านปอนด์ตามมาตรการ Quantitative Easing ไว้ตามเดิม ทั้งนี้ คณะกรรมการส่วนใหญ่เห็นว่าแม้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 จะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ แต่การขยายตัวน่าจะเป็นลักษณะชั่วคราวและเครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอังกฤษน่าจะชะลอตัวลงเล็กน้อย

อย่างไรก็ดี แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม เช่นเดียวกับธนาคารกลางของสหรัฐที่เช่นเดิม แต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศใช้นโยบายรับซื้อตราสารหนี้ระยะยาวเพิ่มเติม (Quantitative Easing II : QEII) เป็นจานวนถึง 600 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแตกต่างจากธนาคารกลางอังกฤษที่ประกาศคงนโยบาย QE ไว้เท่าเดิม เนื่องจากอังกฤษประสบปัญหาที่แตกต่างจากสหรัฐค่อนข้างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะ อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษล่าสุดในเดือนกันยายนอยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารอังกฤษที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งต่างจากสหรัฐที่อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี

อัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยน: ปอนด์แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับยูโรจากเศรษฐกิจอังกฤษที่ดีเกินคาด

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรต่อเนื่อง โดยเงินปอนด์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ระดับ 1.181 ยูโร/ปอนด์ แข็งค่าขึ้นจากเมื่อต้นเดือนที่อยู่ที่ระดับประมาณ 1.144 ยูโร/ปอนด์ โดยสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรมาจากข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ของสหราชอาณาจักรที่ประกาศออกมาดีกว่าที่ตลาดการเงินคาดการณ์ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มยุโรป ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในการชาระหนี้ของเศรษฐกิจในกลุ่มโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และกรีซ (กลุ่ม PIGS) ทาให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นกว่าค่าเงินดอลลาร์สรอ.เพียงเล็กน้อย โดยเงินปอนด์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ระดับ 1.6142 $/ปอนด์ ซึ่งเป็นการแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากต้นเดือนที่อยู่ที่ประมาณ 1.610 $/ปอนด์ สาหรับสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ. มาจากการที่ตลาดเงินรับรู้ข่าวที่ธนาคารสหรัฐตัดสินใจดาเนินนโยบายรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐ (Quantitative Easing: QE) มากขึ้นมาอยู่ที่ 600 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ในขณะที่ธนาคารกลางของอังกฤษตัดสินใจคงนโยบายรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐไว้เท่าเดิมที่ 200 พันล้านปอนด์ ส่งผลให้ค่าเงินสหรัฐอ่อนค่าลงและค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้น

ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นมากเมื่อเทียบกับค่าเงินเยนในช่วงต้นเดือน เนื่องมาจากการเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของรัฐบาลญี่ปุ่น ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ 133.1 เยน/ปอนด์ ณ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2553 แข็งค่าขึ้นมากจากประมาณ 131 เยน/ปอนด์ ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน 2553

นโยบายการคลังและฐานะการคลัง

รัฐบาลขาดดุลในเดือนก.ย.เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดหนี้Debt/GDP สูงขี้นอยู่ที่ 64.6%

ณ สิ้นเดือนกันยายนซึ่งเป็นเดือนที่ 6 ของปีงบประมาณ 2010/11 รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสุทธิ 16.2 พันล้านปอนด์ ซึ่งประกอบด้วยดุลงบรายจ่ายประจา (Current budget) ที่ขาดดุลจานวน 13.2 พันล้านปอนด์ และยอดลงทุนสุทธิจานวน 2.4 พันล้านปอนด์ ทาให้ยอดการกู้เงินสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (Cumulative public sector net borrowing) อยู่ที่ 73.5 พันล้านปอนด์ ซึ่งต่ากว่ายอดกู้เงินสะสมในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่อยู่ที่ 77.4 พันล้านปอนด์ อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่สาคัญของรัฐบาลคือจะต้องพยายามลดการขาดดุลงบประมาณรายเดือนให้ได้มากขึ้น ในช่วง 6 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2010/11 เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการขาดดุลงบประมาณในปี 2010/11 ให้ได้ที่ 149 พันล้านปอนด์ (หรือร้อยละ 10.1 ของ GDP) ตามที่ได้เสนองบประมาณฉุกเฉินต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา

สำหรับยอดหนี้สาธารณะ (ที่รวมมาตรการช่วยเหลือภาคการเงิน) ณ เดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 952 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 64.6 ของ GDP สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 64.0 ของ GDP

ประเด็นเศรษฐกิจที่สาคัญ ๆ ในรอบเดือนที่ผ่านมา

วันที่ 20 ตุลาคม 2553 นาย George Osborne รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ประกาศรายละเอียดของแนวทางการปรับลดรายจ่ายภาครัฐ (Comprehensive Spending Review) ต่อรัฐสภา โดยมีเป้าหมายที่จะตัดลดงบประมาณรายจ่ายภาครัฐในช่วง 4 ปีข้างหน้าจานวน 81 พันล้านปอนด์ ทั้งนี้ แนวทางในการปรับลดรายจ่ายภาครัฐส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การปรับลดสวัสดิการสังคมของภาครัฐ โดยการตัดลดสิทธิประโยชน์ของผู้มีรายได้สูงเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม (Fairness) กับผู้มีรายได้น้อย เช่น การลดสิทธิประโยชน์ในการเลี้ยงดูบุตรของผู้มีรายได้สูง และการลดเงินช่วยเหลือค่าเชื้อเพลิงในฤดูหนาว/ค่าเดินทาง/ค่าใบอนุญาตโทรทัศน์สาหรับผู้เกษียณอายุที่มีรายได้สูง เป็นต้น นอกจากนี้ แนวทางในการปรับลดรายจ่ายภาครัฐยังเน้นถึงการลดขนาดรายจ่ายของภาครัฐควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการทางานของหน่วยราชการ เช่น การปรับลดรายจ่ายงบประมาณของหน่วยราชการในสาขาต่างๆ ลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 19 รวมทั้งการสนับสนุนการปฏิรูประบบราชการให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ