รายงานสถานการณ์ด้านการคลัง ประจำเดือนกันยายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday November 29, 2010 11:41 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ด้านรายได้
  • เดือนกันยายน 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,653 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,777 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.8 สาเหตุสำคัญยังคงเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บ ภาษีที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการนำเข้าได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ ที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีน้ำมัน ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้า โดยในเดือนนี้ได้จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผน และขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ งวดที่ 5 และงวดที่ 6 รวมเป็นเงิน 23,414 ล้านบาท
  • ปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 — กันยายน 2553) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,678,910 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 328,910 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4 เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บภาษีที่สูงกว่าประมาณการถึง 304,894 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.8 นอกจากนี้ ในปีนี้มีรายได้พิเศษจากการได้รับเงินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 49,016 ล้านบาท และได้รับเงินส่งคืนเงินประเดิมและเงินชดเชยและดอกผลของเงินดังกล่าวจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ จำนวน 8,135 ล้านบาท อีกด้วย
ด้านรายจ่าย
  • เดือนกันยายน 2553 รัฐบาลเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2553 จำนวน 182,407 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 4,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 โดยแบ่งออกเป็นรายจ่ายประจำ 161,105 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน จำนวน 21,302 ล้านบาท นอกจากนี้ มีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 10,297 ล้านบาท รวมการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 192,704 ล้านบาท
  • สิ้นปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลเบิกจ่ายเงินรวมทั้งสิ้น 1,784,413 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,627,875 ล้านบาท (เป็นรายจ่ายประจำ 1,444,760 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน 183,115 ล้านบาท) คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 95.8 ของวงเงินงบประมาณ 1,700,000 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 156,538 ล้านบาท
  • เมื่อรวมกับการเบิกจ่ายเงินจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 อีกจำนวน 219,529 ล้านบาท ส่งผลให้ตลอดปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 2,003,942 ล้านบาท
ดุลการคลังรัฐบาล
  • ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 1,683,592 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 1,784,413 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 100,821 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 3,733 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 97,088 ล้านบาท รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลโดยการออกพันธบัตร จำนวน 232,575 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลทั้งสิ้น 135,487 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 97,088 ล้านบาท รัฐบาลได้ชดเชยการขาดดุลโดยการออกพันธบัตร จำนวน 232,575 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลทั้งสิ้น 135,487 ล้านบาท
  • ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 1,755,256 ล้านบาทและมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,775,665 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลทั้งสิ้น 20,409 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล 8,509 ล้านบาท และรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศ จำนวน 879 ล้านบาท แล้วทำให้ดุลการคลังของรัฐบาลขาดดุลทั้งสิ้น 12,779 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP
สถานะหนี้สาธารณะ
  • หนี้สาธารณะคงค้างของรัฐบาล ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553 มีจำนวน 4,266.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.8 ของ GDP โดยร้อยละ 91.3 ของหนี้สาธารณะคงค้างเป็นหนี้ในประเทศ และส่วนที่เหลือร้อยละ 8.7 เป็นหนี้ต่างประเทศ
  • หนี้ระยะยาวมีจำนวน 4,084.5 พันล้านบาท ส่วนหนี้ระยะสั้นมีจำนวน 182.2 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95.7 และ 4.3 ของหนี้สาธารณะคงค้าง ตามลำดับ
กรอบความยั่งยืนทางการคลัง (60 - 15 — 0 — 25)
  • กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีตัวชี้วัดประกอบด้วย สัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60 ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15 จัดทำงบประมาณสมดุลและสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25
  • กรอบความยั่งยืนในระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2554 — 2558)
  • รัฐบาลยังสามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 60 ไว้ได้แม้ว่ารัฐบาลจะต้องมีการกูยื้มเพิ่มสูงขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ทั้งในสว่ นของการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี และการกู้ยืมเพื่อดำเนินการแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งฯ
  • รัฐบาลจะยังสามารถรักษาสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณไม่ให้เกินร้อยละ 15
  • รัฐบาลไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2554 ได้ เนื่องจากยังมีความจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และจากสภาวการณ์ในปัจจุบันคาดว่าจะต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ 2554 — 2558
  • รัฐบาลไม่สามารถรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ในปีงบประมาณ 2554 ได้ แต่จะยังคงเป้าหมายการรักษาตัวชี้วัดดังกล่าวตั้งแต่ปี 2555
การดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่าน SFIs ของรัฐบาล

รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจโดยการปล่อยสินเชื่อให้โครงการต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการปล่อยสินเชื่อเพื่อสนับสนุนมาตรการต่างๆ เช่น มาตรการเพื่อสนับสนุนกิจการ SMEs มาตรการเพื่อสนับสนุนผู้มีรายได้น้อยให้มีที่อยู่อาศัย และมาตรการเพื่อสนับสนุนการประกอบอาชีพระดับฐานราก

ผลการปล่อยสินเชื่อและค้ำประกันสินเชื่อ ในไตรมาส 2 ปี 2553 (เดือนเมษายน — มิถุนายน 2553)มีจำนวน 46,618.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 23.7 และมีการปล่อยสินเชื่อ และการค้ำประกันสินเชื่อสะสมตั้งแต่เริ่มโครงการ จนถึง ณ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2553 จำนวน 1,033,242.3 ล้านบาท

ทั้งนี้ ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2553 มียอดสินเชื่อคงค้าง จำนวน 339,229.6 ล้านบาท โดยเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) จำนวน 35,289.2 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 10.4 ของยอดสินเชื่อคงค้าง และมีภาระค้ำประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ (NPGs) บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จำนวน 4,944.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของยอดค้ำประกันสินเชื่อของ บสย.

การกระจายอำนาจการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)
  • ความคืบหน้าการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 เห็นชอบร่างประมวลกฎหมาย อปท. ซึ่งประกอบด้วยร่าง พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. .... ร่าง พ.ร.บ.รายได้ อปท. พ.ศ. ....และร่าง พ.ร.บ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อปท. และประมวลกฎหมาย อปท. ได้ผ่านการพิจารณา จากคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) แล้ว และปัจจุบันร่างประมวลกฎหมาย อปท. ดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการร่างกฎหมาย ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไปโดยสำนักนโยบายการคลังได้ศึกษาผลกระทบหากร่างประมวลกฎหมาย อปท. มีผลบังคับใช้ซึ่งสรุปได้ดังนี้

มติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับภาคการคลังที่สำคัญ ระหว่างวันที่ 28 กันยายน — 26 ตุลาคม 2553
1. เรื่อง แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2554

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2554 โดยมีวงเงินรวมทั้งสิ้น 1,296,427.90 ล้านบาท ซึ่งประกอบไปด้วย 3 แผนงานย่อย คือแผนการก่อหนี้ใหม่ (วงเงินรวม 607,528.8 ล้านบาท) แผนการปรับโครงสร้างหนี้ (วงเงินรวม 608,900.10 ล้านบาท) และแผนการบริหารความเสี่ยง (วงเงิน 80,000 ล้านบาท)

2. เรื่อง มาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผูป้ ระกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมือง (ปรับปรุงเพิ่มเติม)

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2553 เห็นชอบมาตรการสินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ย่านราชประสงค์และพื้นที่ใกล้เคียงที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยให้แยกวงเงินช่วยเหลือที่ยังคงเหลืออยู่ 5,000 ล้านบาท ออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • ส่วนแรก เป็นการให้สินเชื่อแบบมีหลักประกันและไม่มีหลักประกันตามโครงการราชประสงค์เดิม วงเงิน 3,000 ล้านบาท ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ประกอบการ SMEs ที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมโดยยึดตามกรอบพื้นที่ที่กรุงเทพมหานครประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติ 7 เขต รวมไปถึงเขตพื้นที่เขตดุสิตและพระนคร หรืออยู่ในที่ถูกจำกัดการเข้าออก
  • ส่วนที่สอง เป็นการให้สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการชุมนุมที่ยังไม่ได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัย วงเงิน 2,000 ล้านบาท
3. เรื่อง ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการดำเนินงานของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.) เพื่อสนับสนุนการดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2553 เห็นชอบให้แก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 เกี่ยวกับการดำเนินงานของ บสย. เพื่อสนับสนุนโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ ใน 2 ประเด็นคือ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ให้เปลี่ยนจาก “กำหนดค่าธรรมเนียมการค้ำประกันร้อยละ 1.75 ของวงเงินค้ำประกัน” เป็น “การเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามความเหมาะสม” และเกณฑ์การจ่ายค่าประกันชดเชย ให้เปลี่ยนจาก “จ่ายค่าชดเชยความเสียหายเมื่อมีการฟ้องร้องดำเนินคดีระหว่างสถาบันการเงินกับผู้กู้” เป็น “จ่ายเมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้เฉพาะการค้ำประกัน ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ภายใต้การค้ำประกันสินเชื่อโครงการแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบ โดยให้ ธ.ก.ส. และ บสย. ตกลงในรายละเอียดเกี่ยวกับแนวทางและขั้นตอนการจ่ายค่าประกันชดเชยต่อไป”

4. เรื่อง ขออนุมัติใช้เงินกู้ SAL เพื่อสนับสนุนโครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วน (เพื่อคนไทย) และโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2553 อนุมัติให้ใช้เงินกู้ SAL ที่มีเงินคงเหลือ 1,150 ล้านบาทเพื่อจัดจ้างที่ปรึกษาในการศึกษาแนวทางการดำเนินงานของ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วน(เพื่อคนไทย) และโครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและ สำนักงบประมาณ สามารถสรุปสาระสำคัญของโครงการ ได้ดังนี้

  • โครงการเร่งรัฐปฏิบัติการด่วน (เพื่อคนไทย) เป็นการศึกษาหาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติและสามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง โดยในเบื้องต้นเป็นการหาแนวทางในการเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มแรงงานนอกระบบและยกระดับคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มประชากรที่มีรายได้ต่ำในเขตเมืองใหญ่ และหาแนวทางเพื่อแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายด้านอาหาร
  • โครงการสนับสนุนการปฏิบัติงานตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เป็นการสร้างกระบวนการสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อนำระบบการคลังของประเทศเข้าสู่สมดุลการคลังภายใน 5 ปี ตามที่ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2553 ทั้งนี้ กระบวนการสนับสนุนทางวิชาการที่สำคัญ เช่น ด้านรายได้ ให้วางแผนจัดเก็บเพื่อเพิ่มรายได้ รวมทั้งให้มีการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บ ด้านรายจ่าย ให้วางแผนลดค่าใช้จ่ายและบริหารจัดการเพื่อให้รายจ่ายประจำสุทธิขยายตัวในอัตราที่ต่ำ และด้านหนี้สาธารณะ โดยบริหารหนี้สาธารณะให้มีต้นทุนที่ต่ำ รวมทั้งลดหนี้สาธารณะเพื่อให้สัดส่วนหนี้ต่อ GDP อยู่ในระดับต่ำ
5. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2553 เห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์กลางการจัดหาสินค้าเพื่อการผลิตระหว่างประเทศ โดยลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล เหลือร้อยละ 15 สำหรับกำไรสุทธิ เป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน สำหรับรายได้จากการจัดซื้อและขายสินค้านอกประเทศ และรายได้จากการขายวัตถุดิบและชิ้นส่วนให้แก่วิสาหกิจในเครือที่ตั้งในต่างประเทศ นอกจากนี้ยังกำหนดให้มีการลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ของคนต่างด้าวที่เป็นผู้บริหารหรือผู้เชี่ยวชาญระดับสูง

6. เรื่อง การเตรียมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 เห็นชอบแนวทางการเตรียมจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 ซึ่งประกอบด้วย 1) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี และแผนปฏิบัติราชการประจำปี สำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 อย่างไรก็ดี ปัจจุบันยังไม่มีแผน บริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555 เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ2555 จึงมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแก้ไขปัญหานี้เป็นกรณีเร่งด่วน 2) การจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 เพื่อรองรับข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณ เรื่องการเข้าสู่ภาวะงบประมาณสมดุลภายในระยะเวลา 5 ปี และ3) การกำหนดปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555

7. เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ปี 2553

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 รับทราบมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยปี 2553 โดยสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

1) เพิ่มความคล่องตัวด้านการเงินในการช่วยเหลือ โดยแต่ละจังหวัดสามารถเบิกจ่ายเงินทดรองราชการได้ทันที 50 ล้านบาท หากไม่เพียงพออธิบดีกรมบัญชีกลางสามารถอนุมัติวงเงินให้ได้อีก 200 ล้านบาท(รวมเป็น 250 ล้านบาท) และปลัดกระทรวงการคลังมีอำนาจอนุมัติวงเงินเพิ่มขึ้นถึง 500 ล้านบาท หากเกินกว่านี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นผู้อนุมัติ

2) มาตรการช่วยเหลือผู้เช่าที่ราชพัสดุที่ได้รับความเดือดร้อน โดยจะได้รับการยกเว้นการเรียกเก็บค่าเช่าตามประเภทของการเช่า และความเสียหายที่เกิดขึ้น

3) ความช่วยเหลือแก่ลูกค้าสถาบันการเงินเฉพาะกิจทุกแห่ง ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย นาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

3.1) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)

  • หนี้เงินกู้เดิม : ขยายเวลาการชำระหนี้เงินกู้ และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้เป็นเวลา 3 ปีตั้งแต่ปีบัญชี 2553 — 2555
  • เงินกู้ใหม่เพื่อฟื้นฟู : ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากอัตราปกติ (ร้อยละ 3 ต่อปี)

3.2) ธนาคารออมสิน

  • หนี้เงินกู้เดิม : ลูกค้าสินเชื่อเดิมของธนาคารและลูกค้าสินเชื่อเคหะให้พักชำระหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 6 เดือน และให้ติดต่อขอความช่วยเหลือจนถึง 15 ธันวาคม 2553
  • เงินกู้ใหม่ : ให้เงินกู้รายละไม่เกิน 300,000 บาท ผ่อนชำระภายใน 3 — 5 ปี อัตราดอกเบี้ยปีแรกร้อยละ 2.50 ปีที่ 2 คิดตาม MLR ลบ ร้อยละ 2.0 (ปัจจุบัน MLR เท่ากับร้อยละ 6) ปีที่ 3 เป็นต้นไปคิด MLR ลบร้อยละ 1

3.3) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) : จัดทำโครงการเงินกู้เพื่อลดภาระหนี้ปลูกสร้างซ่อมแซมที่อยู่อาศัยแก่ผู้ประสบอุทกภัย ปี 2553 โดยได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยพิเศษให้

3.4) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)

  • การพักชำระหนี้ : พักชำระหนี้เงินต้นและ/หรือเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยให้กับลูกค้าทุกรายตั้งแต่งวดที่ครบชำระในเดือนที่ประสบปัญหา เป็นเวลา 3 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน
  • วงเงินฉุกเฉินเพื่อฟื้นฟูกิจการสำหรับลูกค้าเดิมและลูกค้าทั่วไป : ให้กู้สูงสุดรายละไม่เกิน 500,000 บาท ระยะเวลากู้ยืมไม่เกิน 5 ปี ระยะเวลาปลอดการชำระคืนเงินต้น ไม่เกิน 12 เดือน โดยลูกค้าเดิมคิดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับ MLR ตลอดอายุสัญญา สำหรับลูกค้า SMEs ทั่วไป คิดอัตราดอกเบี้ย MLR บวกร้อยละ 0.5 ต่อปี

** สถานการณ์รายได้ **

เดือนกันยายน 2553

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,653 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,777 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 1.2)

เดือนกันยายน 2553 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 84,653 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 12,777 ล้านบาทหรือร้อยละ 17.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.2) สาเหตุสำคัญยังคงเป็นผลจากการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและ การนำเข้าได้สูงกว่าเป้าหมาย โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีน้ำมัน ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ และอากรขาเข้า สูงกว่าประมาณการ 8,989 4,687 3,688 3,464 และ 1,773 ล้านบาท ตามลำดับ และในเดือนนี้ได้จัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ งวดที่ 5 และงวดที่ 6 รวมเป็นเงินจำนวน 23,414 ล้านบาท

ปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 — กันยายน 2553)

รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,678,910 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 328,910 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.4 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.0)

ผลการจัดเก็บรายได้แยกตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้

  • กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,264,584 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 166,684 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.2 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.1) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
  • ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 502,176 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 98,876 ล้านบาท หรือร้อยละ 24.5 สาเหตุสำคัญมาจากการบริโภคและการนำเข้าที่ขยายตัวสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสูงกว่าประมาณการ 57,718.7 ล้านบาท หรือร้อยละ 36.4 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 25.9) และภาษีมูลค่าเพิ่มจากการบริโภคในประเทศสูงกว่าประมาณการ 41,156.9 ล้านบาทหรือร้อยละ 16.8 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 9.9)
  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดเก็บได้ 454,565 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 57,565 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 15.9) เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2552 มาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของบริษัทขยายตัวสูงขึ้นด้วย
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ 208,374 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 23,374 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.2) เป็นผลจากภาษีที่จัดเก็บได้จากฐานเงินเดือนและฐานอสังหาริมทรัพย์ สูงกว่าประมาณการเป็นสำคัญ
  • ภาษีธุรกิจเฉพาะจัดเก็บได้ 22,892 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,892 ล้านบาทหรือร้อยละ 34.7 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 26.5)เป็นผลจากการลดภาษีธุรกิจเฉพาะ เพื่อกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ ได้สิ้นสุดลงเมื่อสิ้นเดือนมีนาคม 2553
  • ภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 67,599 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 20,401ล้านบาท หรือร้อยละ 23.2 (ต่ำกว่าปีที่แล้วร้อยละ 25.5) ซึ่งเป็นผลจากกำไรสุทธิของบริษัทที่ประกอบกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมลดลง เนื่องจากการปรับตัวลดลงของราคาน้ำมันดิบและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ รวมทั้งบริษัทมีการขยายการลงทุนเพิ่มมากขึ้น

กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 405,862 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 114,862 ล้านบาทหรือร้อยละ 39.5 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 39.4)โดยมีสาเหตุหลักจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 ส่งผลให้จัดเก็บภาษีน้ำมัน ยาสูบ เบียร์ และสุรา ได้สูงกว่าประมาณการ 53,825 13,581 8,431 และ 3,058 ล้านบาท ตามลำดับนอกจากนี้ ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่เพิ่มมากขึ้นและอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน ประกอบกับผู้ประกอบการมีการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถอีโคคาร์ และจัดโครงการส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สามารถจัดเก็บภาษีรถยนต์ได้สูงกว่าประมาณการถึง 35,002 ล้านบาท หรือร้อยละ 82.9

กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 97,148 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 23,348 ล้านบาท หรือร้อยละ31.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 21.0) สาเหตุสำคัญ จากการจัดเก็บอากรขาเข้าที่สูงกว่าประมาณการถึง 22,013 ล้านบาท หรือร้อยละ 30.8 ซึ่งเป็นผลจากมูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม 2552 — สิงหาคม 2553)มูลค่าการนำเข้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯ และเงินบาทขยายตัวสูงถึงร้อยละ 31.9 และ 24.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ รายได้อื่นจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการถึง 1,466 ล้านบาท หรือร้อยละ 73.3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรายได้จากค่าปรับคดีมีจำนวนสูงถึง 897 ล้านบาทอย่างไรก็ดี การจัดเก็บอากรขาออกต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 43.7 เนื่องจากมีการยกเว้นการจัดเก็บอากรขาออกของไม้และไม้แปรรูปที่ได้จากต้นยางตระกูลฮีเวียและหนังดิบ

  • รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 91,553 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,253 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.9 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.7) โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากการนำส่งรายได้และการจ่ายเงินปันผลที่สูงกว่าประมาณการของธนาคารออมสินบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และกองทุนรวมวายุภักษ์ อย่างไรก็ดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) นำส่งรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
  • หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 135,818 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 56,218 ล้านบาท หรือร้อยละ 70.6 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 55.1) เนื่องจากในปีนี้กระทรวงการคลังมีรายได้พิเศษจากเงินยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 49,016 ล้านบาท และเงินส่งคืนเงินประเดิมและเงินชดเชยและดอกผลของเงินดังกล่าวจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จำนวน 8,135 ล้านบาท
  • การคืนภาษีของกรมสรรพากร 222,709 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 12,709ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 (สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.7) ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม 170,280 ล้านบาท และการคืนภาษีอื่นๆ 52,429 ล้านบาท โดยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสูงกว่าประมาณการ 280 ล้านบาทขณะที่การคืนภาษีอื่นๆ สูงกว่าประมาณการ12,429 ล้านบาท
  • การจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.ตาม พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจฯ โดยในปีนี้ได้มีการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ อปท. แล้ว 6 งวดรวมทั้งสิ้น 67,886 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 22,486 ล้านบาท หรือร้อยละ49.5 และ สูงกว่าปีที่แล้ว 14,054 ล้านบาทหรือร้อยละ 26.1

** สถานการณ์ด้านรายจ่าย **

พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 ซึ่งได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 126 ตอนที่ 79 ก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ได้กำหนดวงเงินงบประมาณรายจ่ายจำนวน 1,700,000 ล้านบาทต่ำกว่าวงเงินปีงบประมาณ 2552 ที่รวมงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ร้อยละ 12.9 โดยแบ่งเป็นรายจ่ายประจำ 1,434,710 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับปีก่อน รายจ่ายลงทุน 214,369 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 50.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 50,921 ล้านบาท และไม่มีการตั้งงบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง

คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2552 เห็นชอบการกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2553 ที่อัตราร้อยละ 94.0 และกำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75.0 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน โดยได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายรายไตรมาสดังนี้

ไตรมาสที่     เป้าหมายการเบิกจ่าย    เป้าหมายการเบิกจ่าย      เป้าหมายอัตราการ        เบิกจ่าย       อัตราเบิกจ่าย
              แต่ละไตรมาส         สะสม ณ สิ้นไตรมาส        เบิกจ่ายสะสม           สะสม             %
               (ล้านบาท)             (ล้านบาท)          ณ สิ้นไตรมาส (%)       (ล้านบาท)
  1            340,000             340,000               20                 396,155          23.3
  2            391,000             731,000               43                 829,176          48.8
  3            425,000           1,156,000               68               1,207,018          71.0
  4            442,000           1,598,000               94               1,627,875          95.8
เดือนกันยายน 2553

รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2553 จำนวน 182,407 ล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว 4,484 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 และมีการ เบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 10,297 ล้านบาท ทำให้มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 192,704 ล้านบาท

  • การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 182,407 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำจำนวน 161,105 ล้านบาท และรายจ่ายลงทุน จำนวน 21,302 ล้านบาท
  • การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี มีจำนวน 10,297 ล้านบาท
สิ้นปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 — กันยายน 2553)

ปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินแล้วจำนวน 1,627,875 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 162,987 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.1 และมีการเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี 156,538 ล้านบาท ทำให้มีการเบิกจ่ายรวมทั้งสิ้น 1,784,413 ล้านบาท

  • การเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,627,875 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายร้อยละ 95.8 ของวงเงินงบประมาณ 1,700,000 ล้านบาท แบ่งเป็น รายจ่ายประจำ จำนวน 1,444,760 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.4 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำหลังโอนเปลี่ยนแปลง (1,468,655 ล้านบาท) รายจ่ายลงทุน จำนวน 183,115 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนหลังโอนเปลี่ยนแปลง (231,345 ล้านบาท)
  • การเบิกจ่ายงบกลาง มีจำนวน 225,356 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 106.7 ของงบประมาณงบกลาง (211,281 ล้านบาท)
  • สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณตามหน่วยงานหน่วยงานที่มีการเบิกจ่ายสูงที่สุด 3 อันดับแรก คือ กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน มีการเบิกจ่าย 115,762
ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100.0 หน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญ 16,609 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100.0 และกระทรวงการคลัง 214,119 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.3
  • ในขณะที่หน่วยงานที่มีการเบิกจ่ายต่ำสุด 3 อันดับสุดท้าย คือ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีการเบิกจ่าย 2,569 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 69.9 สำนักนายกรัฐมนตรี 17,429 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 76.1 และ กระทรวงกลาโหม 125,225 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 81.3
  • การเบิกจ่ายเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี มีจำนวน 156,538 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 64.3 ของเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (243,547 ล้านบาท)
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในเดือนกันยายน 2553 จำนวน 18,675 ล้านบาท
  • เดือนกันยายน 2553 มีการเบิกจ่ายเงินจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 18,675 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.3 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ จำนวน 349,960 ล้านบาท
  • การเบิกจ่ายเงินจากโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง สะสมจนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2553 มีจำนวนทั้งสิ้น 234,401 ล้านบาท2 คิดเป็นร้อยละ 67.0 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 349,960 ล้านบาท
  • สำหรับสาขาที่มีการเบิกจ่ายสะสมสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สาขาการประกันรายได้และการดำเนินงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง มีการเบิกจ่าย 39,513 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.8 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (40,000 ล้านบาท) สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 178 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.4 ของวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ(185 ล้านบาท) และสาขาสิ่งแวดล้อม 663 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.2 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (689 ล้านบาท)
  • ในขณะที่สาขาที่มีการเบิกจ่ายสะสมต่ำสุด 3 อันดับ คือ สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน 757 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 5.2 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (14,692 ล้านบาท) สาขาพัฒนาด้านสาธารณสุข พัฒนาบุคลากร 327 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 16.9 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (1,928 ล้านบาท) และสาขาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยว 575 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.5 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติ (3,282 ล้านบาท)
  • สำหรับสาขาที่ยังไม่มีการเบิกจ่าย ได้แก่ สาขาพลังงาน มีวงเงินที่ได้รับอนุมัติ 174 ล้านบาท
รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจทั้งสิ้น 2,003,942 ล้านบาท
  • สิ้นปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 — กันยายน 2553) มีการเบิกจ่ายเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ จำนวนทั้งสิ้น 2,003,941 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,627,875 ล้านบาท เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 156,538 ล้านบาท และโครงการลงทุนไทยเข้มแข็ง 2555 จำนวน 219,529 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ

ผลการเบิกจ่าย

  • เดือนกันยายน 2553 มีการคืนเงินกู้ต่างประเทศ ประมาณ 36.96 ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วมีการเบิกจ่าย 27.80 ล้านบาท
  • ปีงบประมาณ 2553 (ต.ค. 2552 -ก.ย. 2553) มีการเบิกจ่ายเงินกู้ต่างประเทศ 878.90 ล้านบาทเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วลดลง 192.70 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.98
การเบิกจ่ายของกองทุนนอกงบประมาณตามระบบ สศค.
  • เดือนกันยายน 2553

การเบิกจ่ายเงินของกองทุนนอกงบประมาณสูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 0.2 เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายและกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

ปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 - กันยายน 2553) การเบิกจ่ายเงินของกองทุนฯ สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 17.6 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการเบิกจ่ายของกองทุนประกันสังคม และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

1. เดือนกันยายน 2553 มีการเบิกจ่ายรวม 26,895.6 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 55.0 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.2 ประกอบด้วยรายจ่ายดำเนินงาน 25,036.5 ล้านบาท สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 156.6 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 เป็นผลมาจากรายจ่ายของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย และกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ในขณะที่มีเงินให้กู้สูงกว่าการรับชำระคืน 1,859.1 ล้านบาท

2. ปีงบประมาณ 2553 มีการเบิกจ่ายรวม 302,631.7 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 45,212.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.6 ประกอบด้วย

1) รายจ่ายดำเนินงาน 279,631.8 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 52,103.5 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.9

2) รายจ่ายเงินให้กู้ยืมสุทธิ 29,999.9 ล้านบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 6,891.0 ล้านบาทหรือร้อยละ 23.1 เป็นผลมาจากการให้กู้ยืมที่ลดลงของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและกองทุนอ้อยและน้ำตาล

** ฐานะการคลัง **

ดุลการคลังตามระบบกระแสเงินสด ปีงบประมาณ 2553 (เดือนตุลาคม 2552 —กันยายน 2553)
  • เดือนตุลาคม 2552 — กันยายน 2553 ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดขาดดุล 97,088 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.97 ของ GDP

ปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 1,683,592 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายงบประมาณจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อนรวม 1,784,413 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินงบประมาณขาดดุลจำนวน 100,821 ล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลจำนวน 3,733 ล้านบาท ทำให้ดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 97,088 ล้านบาท โดยรัฐบาลชดเชยการขาดดุลโดยการออกพันธบัตร จำนวน 232,575 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินเกินดุลทั้งสิ้น 135,487 ล้านบาท

ดุลการคลังของรัฐบาลตามระบบ สศค. ปีงบประมาณ 2553 (เดือนตุลาคม 2552 — กันยายน 2553)
  • เดือนตุลาคม 2552 — กันยายน 2553 รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 1,755,256 ล้านบาท และมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,775,665 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.6 และ 17.8 ของ GDP ตามลำดับ
  • ด้านรายได้ รัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น 1,755,256 ล้านบาทเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 19.4 โดยประกอบด้วยรายได้ในงบประมาณ 1,753,961.5 ล้านบาท (ก่อนจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.)และเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 1,294.47 ล้านบาท

ด้านรายจ่าย รัฐบาลมีรายจ่ายทั้งสิ้น 1,775,665 ล้านบาทลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 6.1 ประกอบด้วยรายจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันและปีก่อน (ไม่รวมรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้) 1,774,370.5 ล้านบาท รายจ่ายเงินช่วยเหลือจากต่างประเทศ 1,294.47 ล้านบาท

  • ดุลเงินงบประมาณ ปีงบประมาณ 2553 ขาดดุลทั้งสิ้น 20,409 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP

ดุลเงินงบประมาณ ขาดดุลทั้งสิ้น 20,409 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.2 ของ GDP ขาดดุลลดลงร้อยละ 95.2 ในขณะที่ปีที่แล้วขาดดุล 421,301 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 4.7 ของ GDP

  • ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณปีงบประมาณ 2553 เกินดุล 8,509 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP

บัญชีเงินนอกงบประมาณ ประกอบด้วยเงินฝากนอกงบประมาณ และกองทุนนอกงบประมาณ มีรายได้รวมทั้งสิ้น 359,486 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน ปีที่แล้วร้อยละ 3.2 มีรายจ่ายจำนวน 327,977 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 18.5 และมีเงินให้กู้หักชำระคืนจำนวน 23,000 ล้านบาท ทำให้ ดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณเกินดุลทั้งสิ้น 8,509 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP

  • ดุลการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2553 ขาดดุลทั้งสิ้น 12,779 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP

ดุลเงินงบประมาณที่ขาดดุลรวมกับดุลบัญชีเงินนอกงบประมาณที่เกินดุล และเมื่อหักรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศแล้วจำนวน 879 ล้านบาท ทำให้ดุลการคลังของรัฐบาล ปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม 2552 —กันยายน 2553) ขาดดุลจำนวน 12,799 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 0.1 ของ GDP ขาดดุลลดลงร้อยละ 96.4 ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ขาดดุล 357,893 ล้านบาทสำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายได้และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) ในช่วง 12 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 เกินดุลทั้งสิ้น 176,239 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 1.8 ของ GDP ในขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล 171,353 ล้านบาท

** สถานการณ์ด้านหนี้สาธารณะ **

หนี้สาธารณะ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2553
  • หนี้สาธารณะคงค้าง เท่ากับ 4,266.7 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.7 ของ GDP เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้ว จำนวน 15.1 พันล้านบาท โดยเป็นหนี้คงค้างที่เป็นภาระงบประมาณต่อ GDP เท่ากับร้อยละ 31.8 และแยกเป็นหนี้ในประเทศร้อยละ 91.3 ส่วนที่เหลือร้อยละ 8.7 เป็นหนี้ต่างประเทศ
  • หนี้คงค้างที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากหนี้รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 23.9 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้ของรัฐวิสาหกิจลดลง 8.8 พันล้านบาท
  • หนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงเพิ่มขึ้น 23.9 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว โดยหนี้ในประเทศเพิ่มขึ้น 24.9 พันล้านบาท มีสาเหตุหลักจากการเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555จำนวน 20.0 พันล้านบาท ในขณะที่หนี้ต่างประเทศลดลง 1.0 พันล้านบาท
  • หนี้ของรัฐวิสาหกิจลดลง 8.8 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับเดือนก่อน เนื่องจากมีการชำระคืนเงินกู้มากกว่าการเบิกจ่ายเงินกู้ โดยรัฐวิสาหกิจที่มีการชำระคืนเงินกู้สุทธิที่สำคัญ ได้แก่ รฟท. กปน.และ กฟน. แห่งละ 1.0 พันล้านบาทในขณะที่ ขสมก. และ กปภ.เบิกจ่ายเงินกู้สุทธิ 2.0 และ 0.9 พันล้านบาท ตามลำดับ

** กรอบความยั่งยืนทางการคลัง **

กระทรวงการคลังได้กำหนดกรอบความยั่งยืนทางการคลัง เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายทางการคลังที่สอดคล้องกับสถานะเศรษฐกิจการเงินและการคลังของประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพด้านการคลังในระยะปานกลางและระยะยาว ซึ่งกรอบความยั่งยืนทางการคลังประกอบด้วยตัวชี้วัดและเป้าหมาย (60-15-0-25) ดังนี้

o ยอดหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่เกินร้อยละ 60

o ภาระหนี้ต่องบประมาณไม่เกินร้อยละ 15

o การจัดทำงบประมาณสมดุล

o สัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้จัดทำการวิเคราะห์ความยั่งยืนทางการคลังในระยะปานกลางเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมินและรักษาความยั่งยืนทางการคลัง โดยมีผลการวิเคราะห์ระหว่างปีงบประมาณ 2554-2558 (รายละเอียดปรากฏตามตารางสรุป) ซึ่งสรุปได้ดังนี้

o สามารถรักษาสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP ไม่ให้เกินร้อยละ 60

o สามารถรักษาสัดส่วนภาระหนี้ต่องบประมาณไม่ให้เกินร้อยละ 15

o ไม่สามารถจัดทำงบประมาณสมดุลในปีงบประมาณ 2554 เนื่องจากจำเป็นต้องจัดทำงบประมาณแบบขาดดุล เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากสภาวการณ์ในปัจจุบันคาดว่าจะมีการจัดทำงบประมาณแบบขาดดุลอย่างต่อเนื่องระหว่างปีงบประมาณ 2554 — 2558

o ไม่สามารถรักษาสัดส่วนงบลงทุนต่องบประมาณรายจ่ายให้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 25 ในปีงบประมาณ 2554 อย่างไรก็ดี จะยังคงเป้าหมายที่จะรักษาตัวชี้วัดดังกล่าวตั้งแต่ปี 2555 เพื่อการพัฒนาและการขยายตัวของเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

การดำเนินกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล

รัฐบาลมีการดำเนินมาตรการกิจกรรมกึ่งการคลังผ่านสถาบันการเงินเฉพาะกิจในโครงการต่าง ๆ ที่สำคัญอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการดำเนินงาน ณ สิ้นไตรมาสที่ 2 ปี 2553 ดังนี้

สินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อการอนุมัติสินเชื่อและการค้ำประกันสินเชื่อในไตรมาสที่ 2 ปี 2553จำนวน 46,618.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว จำนวน8,941.0 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.7

สินเชื่อสะสมและการค้ำประกันสินเชื่อสะสมนับตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึง ณ สิ้น ไตรมาสที่ 2 ปี 2553มีจำนวน 1,033,242.3 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่ผ่านมาจำนวน 46,618.4 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 4.7 โดยมีโครงการสนับสนุนกิจการ SMEs อนุมัติสินเชื่อสูงสุดจำนวน 593,402.2ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 57.4 ของยอดสินเชื่อสะสม

หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs)ลดลงจากไตรมาสที่ผ่านมาโดยมียอด NPLs จำนวน 35,289.2ล้านบาท เมื่อเทียบกับยอดสินเชื่อคงค้างจำนวน 339,229.6 ล้านบาทคิดเป็นร้อยละ 10.4 และมีภาระค้ำประกันหนี้จัดชั้นด้อยคุณภาพ(NPGs) ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)จำนวน 4,944.1 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.9 ของยอดค้ำประกันคงค้าง

** การกระจายอำนาจทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น **

ความคืบหน้าการจัดทำและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.)

1. ความเป็นมา สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีโดยคณะกรรมการ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้พิจารณา เสนอร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. ต่อคณะรัฐมนตรีรวม 5 ฉบับได้แก่

1) ร่างพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. ....

2) ร่างพระราชบัญญัติรายได้ อปท. พ.ศ. ....

3) ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการส่วนท้องถิ่นพ.ศ. ....

4) ร่างพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมาย อปท.และประมวลกฎหมาย อปท.

5) ร่างพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่กำหนดให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการจัดทำหรือปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกระจายอำนาจให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่วันที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา

คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2552 ได้มีมติอนุมัติในหลักการร่างกฎหมายดังกล่าวเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

2. การพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ซึ่งมีนายสมชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน พิจารณาตรวจร่างกฎหมายดังกล่าว โดยได้พิจารณา ร่าง พรบ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. พ.ศ. .... ร่างพรบ. รายได้ อปท.พ.ศ. .... และร่าง พรบ. ให้ใช้ประมวลกฎหมาย อปท. และประมวลกฎหมาย อปท. และจัดทำเป็นประมวลกฎหมาย อปท.

3. คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว (โดยเห็นควรแก้ไขในบางประการ เช่น วาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น) และปัจจุบันร่างดังกล่าวอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการร่างกฎหมาย ซึ่งมีรัฐมนตรี ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย) เป็นประธานกรรมการก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป

4. สำหรับสาระสำคัญของร่างประมวลกฎหมาย อปท.ในส่วนของโครงสร้างรายได้ภาษีอากรของ อปท. สรุปดังนี้

ทั้งนี้ ภาษีที่ใช้ฐานร่วมกันตามร่างกฎหมายดังกล่าวจะจัดเก็บเพิ่มในอัตราเท่าใดให้เป็นไปตามที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา โดยให้ถือว่าภาษีที่จัดเก็บเพิ่มนั้นเป็นภาษีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น แต่ไม่ให้นำไปรวมคำนวณเป็นมูลค่าของภาษี(แตกต่างจากปัจจุบันในกรณีของการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตและภาษีสุราเพิ่มให้แก่ อปท. ได้กำหนดให้นำไปรวมคำนวณเป็นฐานภาษี)

5. สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ศึกษาผลกระทบเกี่ยวกับรายได้ต่อภาคส่วนต่างๆ หากร่างประมวลกฎหมาย อปท. มีผลบังคับใช้ โดยใช้ฐานรายได้รัฐบาลเบื้องต้นปีงบประมาณ 2553ในการคำนวณพบว่า จะส่งผลให้รัฐบาลมีรายได้ลดลง 13,000 ล้านบาท ในขณะที่ อปท. จะมีรายได้เพิ่มขึ้น 5,300 45,000 และ 84,000 ล้านบาท ในกรณีที่จัดเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีสรรพสามิต ภาษีสุราและภาษียาสูบ ให้ อปท.ในอัตราร้อยละ 10 20 และ 30 ตามลำดับ ส่วนกรณีภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บเพิ่มให้แก่ อปท. สามในเจ็ดส่วนของอัตราภาษีที่เรียกเก็บตามประมวลรัษฎากรนั้นจะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐบาลและอปท. เนื่องจากเป็นการรวมเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่ปัจจุบัน อปท. ได้รับ 3 ส่วนไว้เป็นส่วนเดียว อย่างไรก็ดี ภาษีที่ภาครัฐบาลจัดเก็บลดลงหรือเพิ่มขึ้น ก็จะส่งผลให้ภาคเอกชนมีภาระการคลังเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน โดยในกรณีที่จัดเก็บภาษีให้ อปท. ในอัตราร้อยละ 10 จะทำให้ภาระการคลังของประชาชนลดลง 7,700 ล้านบาทแต่หากเพิ่มอัตราดังกล่าวเป็นร้อยละ 20 และ 30 จะทำให้ภาระฯ เพิ่มขึ้น 32,000 และ 71,000 ล้านบาท ตามลำดับ

นอกจากผลกระทบเรื่องตัวเงินภาษีที่มีการเปลี่ยนแปลงแล้วการปรับปลี่ยนแนวทางในการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มตามร่างประมวลกฎหมายฯ ก็อาจส่งผลกระทบต่อกระแสเงินสดรับของ อปท.อย่างไรก็ดีหลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และความถี่ในการจัดสรรภาษีต่อไป

เนื่องจากร่างกฎหมายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อโครงสร้างรายได้ของทั้งรัฐบาล อปท. และภาระการคลังของภาคเอกชนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวทางและหลักเกณฑ์ในการบริหารภาคการคลังในภาพรวม ดังนี้

1) รัฐบาลควรพิจารณาแนวทางในการเพิ่มรายได้จากแหล่งอื่นเพื่อชดเชยรายได้ในส่วนที่จะขาดหายไป ซึ่งส่งผลกระทบต่อรายได้รัฐบาลและความยั่งยืนทางการคลังในระยะยาว เนื่องจากในปัจจุบันรัฐบาลมีข้อจำกัดด้านรายได้ ทั้งยังได้รับผลกระทบจากการสูญเสียรายได้จากอากรขาเข้าตามข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศในจำนวนมาก

2) ในด้านรายจ่าย รัฐบาลอาจพิจารณาปรับลดเงินอุดหนุนให้ อปท. ในปีต่อ ๆ ไป โดยยังรักษาแนวโน้วสัดส่วนรายได้อปท. ต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลให้เพิ่มขึ้นแต่ละปี ทั้งนี้เนื่องจากอปท. มีรายได้ในส่วนที่รัฐบาลจัดเก็บให้เพิ่มขึ้นจึงสามารถปรับลดเงินอุดหนุนจากงบประมาณของรัฐบาลลง

3) แม้ว่าร่างประมวลกฎหมายท้องถิ่นมีผลบังคับใช้แต่การดำเนินการตามร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 พระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 พระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. 2509 และพระราชกฤษฎีกาเพื่อกำหนดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นต้นเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของร่างประมวลกฎหมาย อปท.

4) ในระยาว รัฐบาลต้องสนับสนุนให้ อปท. มีรายได้ที่จัดเก็บเองเพิ่มขึ้น เช่น การผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อเป็นการลดการพึ่งพาเงินอุดหนุนของรัฐบาล และในส่วนของอปท. เอง ก็ควรมีแนวทางในการหารายได้เพิ่มขึ้นตามกรอบของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้ เช่น การจัดเก็บภาษีบำรุง อบจ. จากการค้าน้ำมันและยาสูบในเขตจังหวัด การจัดเก็บค่าธรรมเนียมบำรุง อบจ.จากผู้พักในโรงแรมฯ เป็นต้น รวมทั้งการเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้อื่น ๆ ด้วย

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ