รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 7, 2010 09:31 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • สินเชื่อเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่6 ที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปีจากการแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อจูงใจลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค.53 เกินดุลที่ 2,909 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากการเกินดุลการค้าในระดับที่สูงที่ 2,442 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลที่ประมาณ 467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปีขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปีและเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน พ.ย. 53 สูงที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 54.1
  • เงินเฟ้อทั่วไปของยูโรโซนในเดือน พ.ย. 53 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (NBS PMI) ของจีนในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Nov: Motorcycle Sales (%yoy)        12.0                14.4
  • เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามคาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 53 จะยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
Economic Indicators: This Week

สินเชื่อเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 12.1 ต่อปี หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 17 เดือนที่ร้อยละ 2.5 ต่อปี และสินเชื่อภาครัวเรือนที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อที่เริ่มชัดเจนตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ

เงินฝากสถาบันการเงินเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 7.9 ต่อปี จากการแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อจูงใจลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผ่านการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และออกผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน ต.ค.53 เกินดุลที่ 2,909 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากการเกินดุลการค้าในระดับที่สูงที่ 2,442 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นสำคัญ ในขณะที่ดุลบริการ รายได้ และเงินโอนขาดดุลที่ประมาณ 467 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าที่เกินดุลในระดับที่สูงมาจากมูลค่าการส่งออกระดับที่สูงที่ 17,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าที่ขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ระดับ 14,604 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ดุลบริการเงินโอน และรายได้ในเดือนนี้กลับมาเกินดุลเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือนมาจากรายรับการท่องเที่ยว ในขณะที่รายจ่ายจากผลประโยชน์การลงทุนเริ่มปรับตัวลดลง

ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 5.1 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กในเดือน ต.ค. 53 ที่ขยายตัวเป็นผลมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง โดยมาจากเหล็กเส้นกลมขยายตัวร้อยละ 21.4 ต่อปี เหล็กเส้นข้ออ้อยขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี เหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสีขยายตัวร้อยละ 14.4 ต่อปี ทั้งนี้ การขยายตัวดังกล่าวสะท้อนถึงการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมที่ใช้เป็นส่วนประกอบภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 0.4 ต่อปีโดยดัชนีที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ดัชนีในหมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กขยายตัวร้อยละ 5.2 ต่อปี ซึ่งสินค้าสำคัญ ได้แก่ เหล็กเส้นเสริมคอนกรีต เหล็กฉาก ท่อเหล็ก ดัชนีหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ขยายตัวร้อยละ 4.0 ต่อปี ซึ่งสินค้าสำคัญได้แก่ บานประตู หน้าต่างวงกบประตู หน้าต่าง ไม้ปาร์เก้ และดัชนีหมวดวัสดุก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 2.9 ต่อปี โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ อิฐมอญ อิฐโปร่งกระจก หมวดอุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา เช่น ท่อร้อยสายไฟสายไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 2.7 ต่อปี ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนของปี 53 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.2 ต่อปี เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตปรับตัวสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ .ย 53 .ขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ต่อปีเท่ากับเดือนก่อนหน้า นับเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าจะขยายตัวที่ร้อยละ 0.21 ต่อเดือน เร่งขึ้นจากเดือน ต .ค 53 .ที่ขยายตัวร้อยละ 0.03 ต่อเดือน โดยมีปัจจัยหลักมาจาก 1) ดัชนีในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวร้อยละ 0.95 ต่อเดือน ตามการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก 2)ดัชนีราคาในหมวดผักและผลไม้ ปลาและสัตว์น้ำที่ขยายตัวร้อยละ 0.61 และ 0.77 ต่อเดือน ตามลำ ดับ เนื่องจากผลกระทบจากปัญหาอุทกภัย ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.1 ต่อปี ทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในช่วง 11เดือนแรกของ ปี 53ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.4 และ 0.9 ต่อปี ตามลำดับ

คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประกาศปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นครั้งที่ 3 นับตั้งแต่ต้นปี 53 โดยได้ประกาศปรับขึ้นจากร้อยละ 1.75 เป็นร้อยละ 2.00 โดยกนง.ให้เหตุผลในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งนี้ว่า เนื่องจากแรงกดดันด้านต้นทุนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามแรงกดดันด้านอุปสงค์จากการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทำให้อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

Economic Indicators: Next Week

ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 12.0 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 14.4 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นประกอบกับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมสูงหลายพื้นที่ ส่งผลให้ยอดจำหน่ายปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน พ.ย. 53 จะยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

Global Economic Indicators: This Week

USA: improving economic trend
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ย. 53 สูงที่สุดในรอบ 5 เดือนที่ระดับ 54.1 ยอดทำสัญญาซื้อขายบ้านในเดือน ต.ค. 53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 จากเดือนก่อนหน้า (%mom)
Eurozone: mixed signal
  • เงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 53 คงที่จากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 1.9 ต่อปี ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ 80,000 ตำแหน่งหรือเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 10.1 ของกำลังแรงงาน
China: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายผลิต (NBS PMI) ในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 55.2 นับเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจจีนในไตรมาสที่ 4
South Korea: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 24.6 ต่อปีจากฐานที่ปรับสูงขึ้น และจากการส่งออกไปยังสหภาพยุโรปที่แผ่วลงในขณะที่การนำเข้าขยายตัวที่ร้อยละ 31.2 ต่อปี ด้านอัตราเงินเฟ้อขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าทีร้อยละ 3.3 ต่อปี บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจยังน่าขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ อย่างไรก็ตามความขัดแย้งที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรเกาหลี อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ ซึ่งต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
India: improving economic trend
  • GDP ไตรมาส 3 ปี 53 ขยายตัวในระดับเดียวกับไตรมาสก่อนหน้า ที่ร้อยละ 8.9 ต่อปี หรือขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) จากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนอย่างไรก็ตาม ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจอินเดียในระยะต่อไปยังคงเป็นประเด็นความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยล่าสุดเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ต.ค 53 .อยู่ที่ร้อยละ 8.6 ต่อปี ส่งผลให้ในปีนี้ธนาคารกลางอินเดียต้องปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 6 ครั้ง มาอยู่ที่ร้อยละ 6.25 สศค. วิเคราะห์ว่า จากปริมาณเงินที่เพิ่มขึ้นในระบบเศรษฐกิจโลก ประกอบกับแนวโน้มการลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะยังคงมีอยู่ต่อเนื่องและธนาคารกลางอินเดียอาจจำ เป็นต้องปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก
Australia: mixed signal
  • GDP ในไตรมาสที่ 3ปี 53ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.7ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 0.2เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) โดยภาคการบริโภคภาคเอกชนซึ่งมีสัดส่วนมากที่สุดที่ร้อยละ 75ของ GDP ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 3.4 ต่อปี อย่างไรก็ตาม ภาคการส่งออกในไตรมาสที่ 3ปี 53เริ่มมีทิศทางการชะลอลง โดยขยายตัวที่ร้อยละ 4.3ต่อปี ชะลอลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.7ต่อปี ตามค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียที่แข็งค่าขึ้นในช่วงดังกล่าว นอกจากนี้ ในเดือน พ.ย.53 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้การหดตัว โดยอยู่ในระดับต่ำกว่า 50ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ที่ระดับ 47.6 ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 53
Weekly Financial Indicators
  • นักลงทุนให้ผลตอบรับต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในทางบวกประกอบกับเริ่มคลายความกังวลต่อปัญหาหนี้สาธารณะของยุโรป หลังจากที่ธนาคารกลางของยุโรปส่งสัญญาณว่าอาจดำเนินมาตรการเข้าช่วยเหลือเพิ่มเติม อนึ่งตัวเลขเศรษฐกิจโลกส่วนใหญ่ที่ออกมาดีได้หนุนให้มีการไหลเข้ามาลงทุนในตลาดพันธบัตรและตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่องส่งผลให้ดัชนี SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาจากระดับที่ต่ำกว่า1,000 จุดมาอยู่ที่ระดับประมาณ 1,040 จุด อย่างไรก็ตามผลตอบแทนพันธบัตรโดยเฉพาะระยะสั้นปรับตัวเพิ่มขึ้นตามการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. อีก 25 bps
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้แข็งค่าขึ้นที่ร้อยละ 0.50 ซึ่งเป็นไปตามภาวะการแข็งค่าขึ้นข องค่าเงินสกุลภูมิภาคหลัง จาก ที่สถานะการณ์หนี้สาธารณะของยุโรปเริ่มผ่อนคลาย ตัวเลขเศรษฐกิจโลกที่ประกาศออกมาในสัปดาห์นี้ที่ปรับตัวดีขึ้น และการที่ กนง.ประกาศเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่งผลให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์และพันธบัตรอย่างต่อเนื่องทำ ให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ปรับตัวขึ้นมาเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.34

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ