Executive Summary
- หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,201.3 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.0 ของ GDP
- รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือนพ.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 6.144 พันล้านบาท
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี ในขณะที่ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวร้อยละ 85.0 ต่อปี
- ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ย. 53 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 223.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.3 ต่อปีทำให้ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย. 53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -97.0 พันล้านบาท
- มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 28.5 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวร้อยละ 35.3 ต่อปี
- GDP สหรัฐฯ ไตรมาส 3 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปีหรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa)
- การส่งออกญี่ปุ่นเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่อปี
- อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี
Indicators next week
Indicators Forecast Previous Nov: Iron sales (%yoy) 3.0 5.0
- เนื่องจากปัจจัยฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน ต.ค. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,201.3 พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 29.4 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 42.0 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน(รัฐบาลค้ำประกัน) โดยลดลงสุทธิ 15.8 11.6 และ 2.0 พันล้านบาทตามลำดับ ซึ่งสะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยยังมีความมั่นคง จากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP
รายได้สุทธิของรัฐบาล (หลังหักจัดสรรให้ อปท.) ในเดือน พ.ย. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 144.6 พันล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.0 ต่อปี และสูงกว่าประมาณการ 17.1 พันล้านบาทหรือร้อยละ 13.4 สะท้อนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการใช้จ่ายภายในประเทศและรายได้ประชากร โดยภาษีฐานการบริโภค (ภาษีมูลค่าเพิ่ม) ในเดือนพ.ย. 53 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ 11.0 และขยายตัวร้อยละ 10.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าและปรับผลทางฤดูกาลแล้ว ในขณะที่ภาษีฐานรายได้ (ผลรวมของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล) ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 21.7 ต่อปี และขยายตัวร้อยละ 12.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 9.7 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปีและหากปรับผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยได้รับปัจจัยจากกำลังซื้อของประชาชน การภาคการผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ตามทิศทางเศรษฐกิจภายในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่มีการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง ส่งผลให้ 11 เดือนแรกปี 53 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ระดับราคาคงที่ขยายตัวที่ร้อยละ 16.0 ต่อปี
ภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 85.0 ต่อปี ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 61.2 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 12.0 จากเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ การขยายตัวของภาษีอสังหาริมทรัพย์รวมที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องบ่งชี้ถึงภาคอสังหาริมทรัพย์ที่มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และสอดคล้องกับการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลสะสมในช่วงสามไตรมาสแรกของปี 53 ที่มีจำนวน 136,047 หน่วย เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีจำนวน 115,097 หน่วย เนื่องจากอุปสงค์เพื่อที่อยู่อาศัยที่ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน พ.ย. 53 หดตัวร้อยละ -2.5 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -7.8 ต่อปี และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 7.4 จากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับ การที่อยู่ในช่วงฤดูฝนซึ่งเป็นอุปสรรคต่อภาคการก่อสร้างที่ชะลอการก่อสร้างออกไป ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 53 ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ยังคงขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี
ผลการเบิกจ่ายงบประมาณในเดือน พ.ย. 53 เบิกจ่ายได้ทั้งสิ้นจำนวน 223.2 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 18.3 ต่อปี สำหรับผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณเบิกจ่ายได้จำนวน 207.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.0 ของกรอบวงเงิน 2.07 ล้านล้านบาท ในขณะที่รายจ่ายประจำเบิกจ่ายได้ 196.4 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 22.2 ต่อปี และรายจ่ายลงทุนเบิกจ่ายได้จำนวน 10.8 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 101.7 ต่อปี ทั้งนี้ การเบิกจ่ายที่สำคัญในเดือน พ.ย. 5 3 ได้แก่รายจ่ายเงินอุดหนุนของกระทรวงศึกษาธิการจำ นวน 24.4 พันล้านบาท รายจ่ายของสำนักงานประกันสังคมจำนวน 23.0 พันล้านบาท และรายจ่ายของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจำนวน 21.4 พันล้านบาทนอกจากนี้ ผลการเบิกจ่ายแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ณ วันที่ 17 ธ.ค. 53 สามารถเบิกจ่ายสะสมได้ทั้งสิ้น 251.2 พันล้านบาท คิดเป็นอัตราการเบิกจ่ายที่ร้อยละ 71.8 ของกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจำนวน 350.0 พันล้านบาท
ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในเดือน พ.ย.53 ดุลงบประมาณขาดดุลจำนวน -97.0 พันล้านบาท เมื่อรวมกับดุลเงินนอกงบประมาณที่ขาดดุลจำนวน -20.9 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสด (ก่อนกู้) ของรัฐบาลขาดดุลจำนวน -117.9 พันล้านบาท และรัฐบาลได้มีการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลจำนวน 20.0 พันล้านบาท ส่งผลให้ดุลเงินสดหลังการกู้เงินขาดดุลจำนวน -97.9 พันล้านบาท ทำให้ปริมาณเงินคงคลัง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 53 อยู่ที่ระดับ 239.5 พันล้านบาท
มูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 28.5 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 15.7 ต่อปี และหากหักผลทางฤดูกาลออกแล้วจะขยายตัวร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ผลจากการเร่งส่งออกในตลาดสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอาเซียน โดยในแง่มิติสินค้า การส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดีที่ร้อยละ 32.8 และ 28.8 ต่อปี ตามลำดับ ในขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมเกษตรกลับมาขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี ในขณะที่การนำเข้าสินค้ารวมในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 12 ที่ร้อยละ 35.3 ต่อปี เร่งขึ้นมากจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัว ร้อยละ 13.5 ต่อปี หรือขยายตัวสูงถึงร้อยละ 22.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (ขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว) โดยการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงขยายตัวสูงที่ร้อยละ 35.3 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนสินค้าวัตถุดิบ และสินค้าอุปโภคบริโภคขยายตัวดีที่ร้อยละ 23.6 34.1 และ 23.4 ต่อปี ตามลำดับ ทั้งนี้ มูลค่าส่งออกสินค้าที่สูงกว่ามูลค่านำเข้าเพียงเล็กน้อยจากการเร่งนำเข้า ทำให้ดุลการค้าในเดือนพ.ย. 53 เกินดุลเล็กน้อย 0.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ดุลการค้า 11 เดือนแรกของปี 53 เกินดุล 11.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ
ปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศในเดือน พ.ย. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.0 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
Global Economic Indicators: This Week
- GDP ไตรมาสที่ 3 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 3.2 ต่อปีหรือร้อยละ 0.6 จากไตรมาสก่อนหน้า (%qoq_sa) จากการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนเป็นสำคัญ ยอดขายบ้าน (Existing Home Sales) ในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 5.6 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) มาอยู่ที่ระดับ 4.68 ล้านหลังต่อปี ยอดสร้างบ้านใหม่ (Housing starts) เดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.9 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) หรือที่ระดับ 555,000 หลังซึ่งยังต่ำกว่าระดับก่อนวิกฤต ขณะที่ยอดขออนุญาตสร้างบ้าน (Building permits) เดือน พ.ย. 53 มีระดับต่ำที่สุดในรอบ 20 เดือนโดยหดตัวร้อยละ 4.0 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) รายได้ส่วนบุคคล และรายได้หลังหักภาษี เดือน พ.ย. 53 ขยายตัวในอัตราที่เท่ากันที่ร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) ซึ่งจะสนับสนุนการบริโภคภาคเอกชนในช่วงสิ้นปี
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) เดือน ธ.ค. 53 บ่งชี้การขยายตัวในไตรมาสที่ 4 โดย PMI ภาคการผลิตอยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 8 เดือนที่ 56.8 ขณะที่ PMI ภาคบริการลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 53.7 แต่ยังคงบ่งชี้การขยายตัวในภาคบริการ
- การส่งออกเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ร้อยละ 9.1 ต่อปี จากการส่งออกไปยังจีนที่ขยายตัวเร่งขึ้นในขณะที่การนำเข้าในเดือนเดียวกันขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 14.2 ต่อปี
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 2.0 ต่อปี หรือขยายตัวที่ร้อยละ 0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) บ่งชี้แรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ไม่สูงนัก อย่างไรก็ตามจากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในปี 54 ที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ทำให้สศค. คาดว่า แรงกดดันด้านเงินเฟ้อน่าจะเพิ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป
- คำสั่งซื้อสินค้าส่งออกในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 14.3 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวที่ร้อยละ 12.3 ต่อปีจากคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นจากประเทศคู่ค้าหลักโดยเฉพาะจากจีน และสหรัฐฯ สะท้อนแนวโน้มการส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในระยะต่อไป อัตราการว่างงานในเดือน พ.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 4.8
ของกำลังแรงงานรวม ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อยละ 5.0 ของกำลังแรงงานรวม จากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 23,000 คน ในช่วงเดียว สะท้อนอุปสงค์ในประเทศ โดยเฉพาะภาคการบริโภคที่คาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในระยะต่อไป
- การนำเข้าเดือน ต.ค. 53 ขยายตัวในระดับสูงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 28.4 ต่อปี จากยอดนำเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อใช้ผลิตอีเล็กทรอนิกส์เป็นสำคัญ สะท้อนถึงแนวโน้มการส่งออกที่ดีอย่างต่อเนื่องของภาคการส่งออกโดยรวม โดยเฉพาะสินค้าส่งออกหลักอย่างอีเล็กทรอนิกส์ในระยะต่อไป
- อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 11.8 ต่อปี จากราคาอาหารและเครื่องดื่มที่ยังคงขยายตัวเร่งขึ้น สะท้อนแรงกดดันด้านเงินเฟ้อที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้คาดว่าอาจมีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระยะต่อไปเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ
- ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตรของไทยในสัปดาห์นี้ยังคงได้รับการตอบรับที่ดี จากทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างชาติซึ่งส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงระยะปานกลางปรับตัวลดลงไปจากสัปดาห์ก่อนหน้าประมาณ 10 จุดจากความต้องการที่ยังมีเข้ามาอย่างต่อเนื่องในขณะที่ตลาดหลักทรัพย์ไทยยังคงได้รับแรงหนุนจากการเข้าซื้อหลักทรัพย์ LTF และ RTF ในช่วงปลายปีด้วย
- ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในช่วงแคบท่าม กลางปริมาณการซื้อขายที่สมดุล โดยปริมาณการซื้อขายในช่วงนี้ค่อนข้างเบาบางก่อนวันหยุดคริสมาสประกอบกับนักลงทุนยังคงรอดูท่าทีของสถานะการณ์แถบคาบสมุทรเกาหลีและการปรับลดอันดับความน่าเชื่อมั่นของยุโรป โดยดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.42 จากการที่บาทอ่อนค่าลงเทียบกับแทบทุกสกุลคู่ค้า
ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th