ภาวะเศรษฐกิจสหราชอาณาจักร พฤศจิกายน 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday December 28, 2010 12:05 —กระทรวงการคลัง

บทสรุปผู้บริหาร

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ประกาศยืนยันตัวเลขอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ที่ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่ร้อยละ 0.8 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 2.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ที่ร้อยละ 1.7 ต่อปี
  • ปัจจัยหลักที่ช่วยให้เศรษฐกิจ U.K. ในไตรมาส 3 ขยายตัวดี มาจากการบริโภคภาคเอกชน (ซึ่งมีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 63 ของGDP) ขยายตัวดีขึ้นที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี เนื่องจากผู้บริโภคได้ย้ายการบริโภคมาล่วงหน้าในปีนี้ก่อนที่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจะปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ในวันที่ 1 ม.ค.54
  • เศรษฐกิจ U.K.ในไตรมาส 3 ยังได้แรงขับเคลื่อนสำคัญจากการส่งออกที่ขยายตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ในไตรมาสที่ 2 โดยได้รับอานิสงค์จากการที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา
  • เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 4 บ่งชี้ว่าเศรษฐกิจ U.K. น่าจะขยายตัวได้ต่อเนื่องดั่งจะเห็นได้จากปริมาณยอดขายค้าปลีกและดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังคงเปราะบาง จากอัตราเงินเฟ้อจาก Consumer Price Index ในเดือน ต.ค. ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ซึ่งยังคงสูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่กาหนดไว้ไม่เกินร้อยละ 2
  • แต่อัตราการว่างงานในรอบ 3 เดือน มีแนวโน้มดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 7.7 จากร้อยละ 7.8 ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ส่งผลให้มีการจ้างงานมากขึ้น
  • ดุลการค้าของ U.K. เดือน ต.ค. ขาดดุลมากขึ้น จากการใช้จ่ายในประเทศที่เร่งตัวขึ้นได้ส่งผลให้การนาเข้าขยายตัวมากขึ้น ขณะที่การส่งออกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวคู่ค้าในยุโรป
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ธนาคารกลางอังกฤษคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ร้อยละ 0.5 และคงมาตรการ QE ที่ 200 พันล้านปอนด์
  • รัฐบาลขาดดุลการคลังเพิ่มขึ้นในเดือน ต.ค. ส่งผลให้หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ร้อยละ 64.5

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาส 3

เศรษฐกิจ U.K.ไตรมาส 3 ขยายตัวดีจากการบริโภคเอกชนและการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้น

สำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร ประกาศยืนยันตัวเลขอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจประจำไตรมาสที่ 3 ของปี 2010 ที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา (Year-on-Year) ซึ่งเป็นอัตราการขยายตัวที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ1.7 ต่อปี ขณะที่เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรขยายตัวร้อยละ 0.8 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า

แรงขับเคลื่อนสาคัญที่ช่วยให้เศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรในไตรมา 3 ขยายตัวดีขึ้นมาจากภาคเอกชน (Consumption) ซึ่งมีสัดส่วนถึงร้อยละ 63 ของ GDP ได้ขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องมาอยู่ที่ร้อยละ 1.8 ในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสสองที่ขยายตัวร้อยละ 1.4 ต่อปี โดยหตุสาคัญที่ช่วยให้การบริโภคภาคเอกชนดีขึ้นมาจากการที่ปเร่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ก่อนที่รัฐบาลสหราชอาณาจักรจะปรับเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax: VAT) อีกร้อยละ 2.5 จากร้อยละ 17.5 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 20.0 ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554 นอกจากนั้น เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรในไตรมาส 3 ยังได้แรงขับเคลื่อนสาคัญจาก การเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 7.6 ในไตรมาส 3 และการทดลองของการนำเข้าสินค้าและบริการที่ขยายตัวในอัตราลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.9 ในไตรมาส 3 อันเป็นผลมาจากการที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงในช่วงที่ผ่านมา

เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาส 4

การเพิ่มขึ้นของปริมาณยอดขายปลีกและดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมบ่งชี้เศรษฐกิจไตรมาส 4 น่าจะขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่อง

ปริมาณยอดขายปลีก (Retail Sales Volume) ประจำเดือนตุลาคมปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 0.5 (%Month-on-Month: %m/m) ซึ่งเป็นการปรับดีขึ้นครั้งแรกในรอบสามเดือนเป็นผลมาจากการที่ประชาชนมีการตื่นตัวในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นก่อนที่อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จะปรับสูงขึ้นในช่วงต้นปีหน้า

นอกจากนั้น ดัชนีเครื่องชี้เศรษฐกิจภาคตสาหกรรมของสหราชอาณาจักร (UK CIPS/Markit Report on Manufacturing) ประจาเดือนพฤศจิกายนอยู่ที่ระดับ 58 จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนตุลาคมที่อยู่ที่ระดับ 54.5 จุด โดยได้รับปจจัยสนับสนุนจากการปรับเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่ง ซื้อสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นมาก สอดคล้องกับอัตราการมีงานทาในอังกฤษที่ปรับตัวสูงขึ้น

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราเงินเฟ้อจาก CPI เดือน ต.ค. ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 3.2% สูงกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารกลางที่ 2.0%

อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป (CPI) เดือนตุลาคมสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่อยู่ที่ร้อยละ 3.1 ต่อปี โดยสาเหตุหลักที่ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนตุลาคมปรับตัวสูงขึ้นมาจากการที่ราคานามันในท้องตลาดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนประมาณ 1.1 เพนซ์ต่อลิตร สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภครายย่อย Retail Price Index (RPI) ในเดือนตุลาคมชะลอตัวลงเล็กน้อยเหลือร้อยละ 4.5 จากร้อยละ 4.6 ในเดือนก่อน ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภครายย่อยที่ไม่รวมค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยสาหรับอสังหาริมทรัพย์ Retail Price Index excluding Mortgage Interest Payments (RPIX) ในเดือนตุลาคมทรงตัวเท่ากับเดือนก่อนที่ร้อยละ 4.6 ต่อปี

การที่อัตราการขยายตัวของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนตุลาคมปรับตัวสูงขึ้น เป็นแรงกดดันสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางอังกฤษ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ในเดือนตุลาคมเป็นอัตราการขยายตัวที่สูงเกินกว่ากรอบเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อของธนาคารกลางอังกฤษที่ตั้งไว้อยู่ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ดังนั้น ตลาดการเงินจึงคาดการณ์ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะไม่ดาเนินนโยบายเข้าซื้อพันธบัตรรัฐบาล (Quantitative Easing Policy) เพิ่มเติม

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

ดุลการค้าในเดือนต.ค.ขาดดุลเพิ่มขึ้นจากการนาเข้าที่เร่งตัวขึ้นตามการใช้จ่ายในประเทศ

ดุลการค้าของสินค้าและบริการของสหราชอาณาจักรประจาเดือนตุลาคมขาดดุลที่ 3.9 พันล้านปอนด์ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นจากเดือนกันยายนที่ผ่านมาที่ขาดดุล 3.8 พันล้านปอนด์ สาเหตุสาคัญมาจากการที่ดุลการค้าของสินค้ามีการขาดดุลเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 0.1 พันล้านปอนด์มาอยู่ที่ 8.5 พันล้านปอนด์ ซึ่งเป็นผลมาจากการนาเข้าที่ขยายตัวเร่งขึ้นมากกว่าการส่งออก โดยการนาเข้าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.1 พันล้านปอนด์ ขณะที่การส่งออกขยายตัวดีขึ้น 0.9 พันล้านปอนด์ สาหรับดุลการบริการยังคงเกินดุลในระดับคงที่ที่ 4.6 พันล้านปอนด์เท่ากับเดือนที่ผ่านมา

การที่มูลค่าการนำเข้าในเดือนตุลาคมขยายตัวเร่งขึ้นในเดือนตุลาคม เป็นผลมาจากการที่การใช้จ่ายภายในประเทศ โดยเฉพาะการบริโภคภายในประเทศ ฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้มีการนำเข้าสินค้าอุปโภคและบริโภคจากต่างชาติเพิ่มขึ้นด้วย ขณะที่มูลค่าการส่งออกในเดือนตุลาคมขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนลงในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ดี มูลค่าการส่งออกยังไม่สามารถขยายตัวได้ในอัตราที่สูงมากนักเนื่องจากเศรษฐกิจในเขตยูโร ซึ่งเป็นคู่ค้ารายใหญ่ของอังกฤษได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจ

นโยบายการเงินและอัตราดอกเบี้ย

Bank of England คงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0.5 พร้อมกับคงมาตรการ QE จานวน 200 พันล้านปอนด์ไว้ตามเดิม

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (MPC) ของธนาคารกลางอังกฤษ มีมติให้คงนโยบายอัตราดอกเบี้ย Bank rate ไว้ตามเดิมในที่ร้อยละ 0.50 เป็นเดือนที่ 23 พร้อมกับคงนโยบายรับซื้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชน (Quantitative Easing: QE) จานวน 200 พันล้านปอนด์

อย่างไรก็ดี แม้ว่าธนาคารกลางอังกฤษจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและประกาศคงนโยบาย QE ไว้เท่าเดิม แต่อัตราเงินเฟ้อของอังกฤษล่าสุดในเดือนตุลาคมอยู่ที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี ซึ่งเกินกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อของธนาคารอังกฤษที่กำหนดไว้ที่ร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลานาน ประกอบกับการที่เศรษฐกิจอังกฤษเริ่มฟื้นตัวได้ค่อนข้างแข็งแกร่งในไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา ตลาดการเงินจึงคาดว่าธนาคารกลางอังกฤษน่าจะทยอยปรับลดมาตรการรับซิ้อตราสารหนี้ภาครัฐและเอกชนลงในระยะเวลาอันไกล้

อัตราแลกเปลี่ยน

อัตราแลกเปลี่ยน: เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับยูโรแต่อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับ $

ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรต่อเนื่อง โดยเงินปอนด์ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 1.192 ยูโร/ปอนด์ แข็งค่าขึ้นจากเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ระดับประมาณ 1.15 ยูโร/ปอนด์ โดยสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโรมาจากข้อมูลเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ของสหราชอาณาจักรที่ประกาศออกมาดีกว่าที่ตลาดการเงินคาดการณ์ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มยุโรป ได้รับผลกระทบจากปัญหาการขาดความเชื่อมั่นในการชำระหนี้ของเศรษฐกิจในกลุ่มโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และกรีซ (กลุ่ม PIGS) ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนค่าลงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา

แต่เมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ. โดยเงินปอนด์ ณ วันที่ 9 ธันวาคม 2553 อยู่ที่ระดับ 1.576 $/ปอนด์ ซึ่งเป็นการอ่อนค่าลงจากต้นเดือนพฤศจิกายนที่อยู่ที่ประมาณ 1.60 $/ปอนด์ สำหรับสาเหตุหลักที่ค่าเงินปอนด์อ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สรอ. มาจากการที่ตลาดเงินและนักลงทุนคาดการณ์ว่าปญหาวิกฤติเศรษฐกิจไอร์แลนด์ในช่วงเดือนที่ผ่านมาจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ในยุโรป นักลงทุนจึงได้ย้ายเงินลงทุนกลับไปลงทุนในสินทรัพย์ในรูปดอลลาร์สหรัฐ ที่ถือว่ามีความปลอดภัยสูง (Safe Haven Currency) เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ

นโยบายการคลังและฐานะการคลัง

รัฐบาลขาดดุลในเดือนต.ค.เพิ่มขึ้น ทำให้ยอดหนี้ Debt/GDP สูงขึ้นอยู่ที่ 64.5%

ณ สิ้นเดือนตุลาคมซึ่งเป็นเดือนที่ 7 ของปีงบประมาณ 2010/11 รัฐบาลมียอดขาดดุลงบประมาณสุทธิ 10.3 พันล้านปอนด์ ซึ่งประกอบด้วยดุลงบรายจ่ายประจา (Current budget) ที่ขาดดุลจานวน 7.1 พันล้านปอนด์ และยอดลงทุนสุทธิจานวน 3.2 พันล้านปอนด์ ทำให้ยอดการกู้เงินสะสมตั้งแต่ต้นปีงบประมาณ (Cumulative public sector net borrowing) อยู่ที่ 81.6 พันล้านปอนด์ ซึ่งตากว่ายอดกู้เงินสะสมในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อนที่อยู่ที่ 87.5 พันล้านปอนด์ อย่างไรก็ดี ความท้าทายที่สาคัญของรัฐบาลคือจะต้องพยายามลดการขาดดุลงบประมาณรายเดือนให้ได้มากขึ้น ในช่วง 6 เดือนหลังของปีงบประมาณ 2010/11 เพื่อให้สามารถบรรลุเปาหมายของการขาดดุลงบประมาณในปี 2010/11 ให้ได้ที่ 149 พันล้านปอนด์ (หรือร้อยละ 10.1 ของ GDP) ตามที่ได้เสนองบประมาณฉุกเฉินต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 22 มิถุนายนที่ผ่านมา

สำหรับยอดหนี้สาธารณะ (ที่รวมมาตรการช่วยเหลือภาคการเงิน) ณ เดือนกันยายนอยู่ที่ระดับ 955 พันล้านปอนด์ หรือเท่ากับร้อยละ 64.5 ของ GDP สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ร้อยละ 58.8 ของ GDP

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ