รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 27 - 30 ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 4, 2011 10:04 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย.53 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.5 ต่อปี
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย.53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 27.5 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ย.53 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน ธ.ค.53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.5
  • ธนาคารกลางจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นในเดือน พ.ย.53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า
  • GDP เวียดนามไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามทั้งปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปี
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไท ยในสัปด ห์นี้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องกว่า 20 จุด

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Dec: Headline inflation (%yoy)      3.2                  2.8
  • สาเหตุสำคัญจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวขึ้นสูงโดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อเดือน ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับขึ้นในเดือน ธ. ค . ประกอบกับดัช นีราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ด ไก่ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ธ.ค. 53 จะขยายตัวที่ร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
Economic Indicators: This Week
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย. 53 หดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.5 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตสำ คัญ โดยเฉพาะมันสำปะหลัง และข้าวเนื่องจากปัญหาอุทกภัยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคอีสานที่พื้นที่นาข้าวและมันสำปะหลังได้รับความเสียหายมากในขณะที่ผลผลิตยางพาราขยายตัวได้เล็กน้อย เนื่องจากสภาพภูมิอากาศไม่เอื้ออำนวยต่อการกรีดยางเท่าใดนัก ในขณะที่ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 6.9 ต่อปี จากผลผลิตสุกร และไก่เนื้อเป็นสำ คัญ ตามราคาที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีประกอบกับสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยต่อการผลิต ส่งผลให้ผลผลิตหมวดปศุสัตว์ยังขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม เมื่อขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวร้อยละ -0.3 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 13 ที่ร้อยละ 27.5 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 29.1 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้าโดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลกรวมถึงไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวน ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลง ทั้งนี้ ในช่วง 11 เดือนแรกปี 53 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 26.1 ต่อปี ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 22.4 ต่อปี
  • ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) เดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 5.6 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ MPI ที่ชะลอตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมีสาเหตุหลักมาจากการผลิตเครื่องแต่งกายและสิ่งทอที่หดตัวลง เนื่องจากการปรับสูงขึ้นของราคาเส้นด้ายบวกกับฐานทีสูงในช่วงเดียวกันปีก่อน อย่างไรก็ตาม อุตฯ หลักของไทยหลายสาขายังคงขยายตัวได้ดี เช่น การผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า ยายยนต์ และเคมีภัณฑ์ นอกจากนี้ การผลิตอาหารและเครื่องดื่มในเดือนนี้ยังคงเติบโตได้ดี เนื่องจากการผลิตเบียร์ที่เพิ่มขึ้นมากเพื่อรองรับเทศกาลปีใหม่ สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน พ.ย. 53 อยู่ที่ร้อยละ 63.6 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อย 63.9 และเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ MPI ที่ชะลอลงเช่นกัน
Economic Indicators: Next Week
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวอยู่ร้อยละ 2.8 ต่อปีสาเหตุสำคัญจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวขึ้นสูง โดยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาในหมวดยานพาหนะและน้ำ มันเชื้อเพลิงจะปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 1.6 ต่อเดือน ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับขึ้นในเดือน ธ.ค. ประกอบกับดัชนีราคาหมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน ธ.ค. 53 จะขยายตัวที่ร้อยละ 0.28 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ธ.ค. 53 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 52.5 จากความกังวลต่อสถานการณ์การจ้างงานในปีหน้า ดัชนีราคาบ้าน (Case-Shiller index 20yy) ในเดือน ต.ค. 53 หดตัวมากที่สุดในรอบ 1 ปี ที่ร้อยละ -0.8 ต่อปีหรือร้อยละ -1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (%mom_sa) บ่งชี้สัญญาณชะลอตัวในภาคอสังหาริมทรัพย์
China: mixed signal
  • ธนาคารกลางจีนเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งที่ 2 ในรอบ 3 เดือนขึ้นอีกร้อยละ 0.25 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อส่งผลให้ดอกเบี้ยเงินกู้ระยะ 1 ปีและดอกเบี้ยเงินฝากระยะ 1 ปี เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5.81 และร้อยละ 2.75 ตามลำดับ ทางการจีนประกาศยกเลิกการลดภาษีรถยนต์ (Sales tax for cars)ขนาด 1,600 cc และต่ำกว่าจากร้อยละ 7.5 เป็นอัตราเดิมที่ร้อยละ 10 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 54
Japan: mixed signal
  • ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนที่ร้อยละ 1.0 จากเดือนก่อนหน้า(%mom_sa) บ่งชี้แนวโน้มที่ดีในภาคการผลิตและภาคการส่งออกเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 0.1 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงติดลบที่ร้อยละ -0.5 ต่อปี
Hong Kong: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 16.6 ต่อปี ตามการส่งออกไปจีน ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักที่ยังคงขยายตัวได้ดี ในขณะที่การนำเข้าเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 ต่อปี จากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 14.0 ต่อปี
Taiwan: improving economic trend
  • ธนาคารกลางไต้หวันประกาศมาตรการเพื่อจำกัดการทำธุรกรรมอนุพันธ์อัตราแลกเปลี่ยน(Exchange-rate derivatives) โดยต่างชาติเพื่อป้องกันการเก็งกำไรค่าเงิน โดยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ถือครองสัญญาซื้อขายเงินดอลลาร์ไต้หวันล่วงหน้า (Non-deliverable forwards and options) ไม่เกินร้อยละ 20 ลดลงจากเดิมที่อนุญาตไว้ที่ร้อยละ 33.33 (1 ใน 3) ของ position เงินดอลลาร์ไต้หวันที่ธนาคารถือครอง ทั้งนี้ข้อกำ หนดดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึง Deliverable forwards ซึ่งเป็นอนุพันธ์ที่ใช้ปิดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนโดยบริษัทเอกชน
Vietnam: mixed signal
  • GDP ไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี ส่งผลให้เศรษฐกิจเวียดนามทั้งปี 53 ขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ต่อปีเร่งขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 5.3 ต่อปี โดยเป็นผลจากการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 41 ของ GDP ที่ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 7.7 ต่อปีนอกจากนี้ ภาคบริการซึ่งคิดเป็นร้อยละ 38 ของเศรษฐกิจขยายตัวที่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค.53 ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องที่ร้อยละ 11.75 ต่อปี

สะท้อนถึงความเสี่ยงด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในระยะต่อไป

Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยในสัปดาห์นี้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องกว่า 20 จุด โดยได้รับแรงหนุนของนักลงทุนและสถาบันในประเทศจากการเข้าซื้อหลักทรัพย์ LTF และ RMF และแรงซื้อทำ Window dressing ในช่วงปิดปีด้วย ในขณะที่ตลาดพันธบัตรของไทยในสัปดาห์นี้ ธุรกรรมค่อนข้างเบาบางโดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลค่อนข้างทรงตัวทั้งเส้น
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้เคลื่อนไหวในช่วงแคบท่าม กลางปริมาณการซื้อขาย ที่สมดุล โดยปริมาณการซื้อขายในช่วงนี้ค่อนข้างเบาบางก่อนหน้าช่วงปิดปีต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อนหน้า ในขณะที่ค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคส่วนใหญ่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ โดยดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก

สัปดาห์ก่อนหน้าที่ร้อยละ -0.85 จากการที่บาทอ่อนค่าลงเทียบกับแทบทุกสกุลคู่ค้าโดยเฉพาะค่าเงินเยน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ