รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ - ธันวาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday January 6, 2011 11:27 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 2.5 และขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 3.2 ซึ่งดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น
  • การปรับขยายตัวของค่า GDP ในไตรมาสที่ 3 ได้รับปัจจัยทางบวกจากการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8) ปริมาณการส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.3) การลงทุนภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3) ตลอดจนการใช้จ่ายภาครัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9)
เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตปรับตัวดีขึ้นในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization)
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ได้ขยายตัวเป็นเวลา 5 เดือนติดต่อกันมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม 2553 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี แต่ยังคงอยู่ตากว่าระดับเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ร้อยละ 2
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 9.8 ปรับตัวสูงขึ้นจากร้อยละ 9.6 ในเดือนตุลาคม
-สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 13.2 ในเดือนตุลาคม 2553 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นและการนาเข้าที่ชะลอตัวลง ในเดือนดังกล่าว
  • ในระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม 2553 ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากกว่าร้อยละ 3 เมื่อเทียบเงินยูโร
ภาคการเงินและภาคการคลัง

ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณครั้งที่ 2 ไว้ที่จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ และยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25

  • รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ออกกฎหมายขยายการลดหย่อนภาษีรายได้และขยายเงินช่วยเหลือผู้ว่างงานของสหรัฐฯ มูลค่ารวม 858 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยรวม
ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.5 ดีขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น

  • ตัวเลขแก้ไขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (GDP) ประจาไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นร้อยละ 0.5 กว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น มาอยู่ที่อัตราขยายตัวร้อยละ 2.5 จากไตรมาสก่อนหน้า ในขณะที่ขยายตัวร้อยละ 3.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
  • ปัจจัยบวกสาคัญที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ได้แก่ การขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง ซึ่งส่วนใหญ่มาจากการใช้จ่ายด้านบริการ การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน เช่นเดียวกับการขยายตัวของปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่อยู่อาศัย (Non-residential fixed Investment) และปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐ
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรมและการใช้กาลังการผลิตปรับตัวดีขึ้น

  • ในเดือนพฤศจิกายน ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับลดลงร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม โดยนับเป็นการขยายตัวของอุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่ ยกเว้นเพียงอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ชะลอการผลิตในช่วงดังกล่าว
  • ส่วนอัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2553 คิดเป็นร้อยละ 75.2 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมร้อยละ 0.3
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

การใช้จ่ายเพื่อการบริโภคขยายตัว 5 เดือนติดต่อกัน ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงตากว่าระดับเป้าหมายของ Federal Reserve

  • ภาพรวมด้านรายได้และการใช้จ่ายของผู้บริโภคสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้น โดยยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) ได้ขยายตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ร้อยละ 2.3 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือนตุลาคม 2553 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.2 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและนามัน (Core-CPI) อยู่ที่ระดับคงที่ ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 0.6 ต่อปี
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

อัตราการว่างงานปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.8

  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2553 ปรับสูงขึ้นมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.8 หลังจากที่คงตัวอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.6 ตั้งแต่เดือนสิงหาคม โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่ว่างงานทั้งหมด 15.1 ล้านคน
  • ทั้งนี้ สหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 154 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.5 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้น 103,000 คนจากเดือนก่อน ในขณะที่มีประชากรได้รับจ้างงานจานวนลดลงจากร้อยละ 58.3 ของประชากรในวัยทางานในเดือนตุลาคมมาอยู่ที่ร้อยละ 58.2
  • ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payrol) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 39,000 งาน โดยมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการจ้างงานเพื่อการบริการชั่วคราว (Temporary help service) และงานเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข (Healthcare) ในขณะที่การจ้างงานจากธุรกิจขายปลีก (Retail trade) ปรับลดลงในช่วงดังกล่าว
เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงร้อยละ 13.2 ในเดือนตุลาคม มาอยู่ที่ระดับ 38.7 พันล้านเหรียญ สรอ.

  • ในเดือนตุลาคม 2553 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลงร้อยละ 13.2 จากที่ระดับ 44.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนกันยายน มาอยู่ที่ระดับ 38.7 พันล้านเหรียญสรอ. ในเดือนตุลาคม สืบเนื่องจากมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าชะลอตัวลงในช่วงเดือนที่ผ่านมา
  • มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 4.9 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 158.7 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับลดลง 1.0 พันล้านเหรียญ มาอยู่ที่ 197.4 พันล้านเหรียญ สรอ.
  • ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยมูลค่าการขาดดุลกับจีนและเม็กซิโกปรับลดลง ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลกับสหภาพยุโรป ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า
นโยบายทางการเงินและและอัตราดอกเบี้ย

Federal Reserve ประกาศคงมาตรการ QE2 ไว้ที่ 600 พันล้านเหรีญ สรอ.

  • เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2553 ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ประกาศคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ครั้งที่ 2 ไว้ที่จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม และรักษาระดับเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยจะทาการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดการเงินสหรัฐฯ ด้วยอัตราการซื้อที่ 75 พันล้านเหรียญ สรอ. ต่อเดือนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2554 ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าวส่งผลให้การคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อ (Inflationary expectation) ปรับสูงขึ้น ในช่วงเดือนที่ผ่านมา สังเกตได้จากการกระจายตัวของ Treasury yield curves เปรียบเทียบกับก่อนการประกาศใช้มาตรการ QE2
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25 ซึ่งอัตราดังกล่าวอยู่ในระดับคงที่ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง

  • ภาพรวมในช่วงเดือนที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอย่างเงินยูโร, เงินปอนด์, เงินเยน และเงินหยวน ถึงแม้จะมีการปรับค่าแข็งตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงสัปดาห์ที่สองของเดือนธันวาคม โดยในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงมากที่สุดเทียบกับเงินยูโร ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2553 อยู่ที่ 1.3124 USD/EUR, 1.551 USD/GBP, 0.0119 USD/JPY, และ 0.1498 USD/CNY
  • เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยในเดือนธันวาคม โดย ค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 20 ธันวาคม 2553 อยู่ที่ 30.185 THB/USD ลดลงเล็กน้อยจาก 30.2097 THB/USD เมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน อย่างไรก็ตาม ภาพรวมในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา เงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนตัวลงค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท
นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง

รัฐบาลสหรัฐฯ ขยาย Bush Tax Cuts ไปอีก 2 ปี คิดเป็นมูลค่ารวม 858 พันล้านเหรียญ สรอ.

  • เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2553 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามผ่านกฎหมาย Tax Relief, Unemployment Insurance Reauthorization, and Job Creation Act of 2010 เพื่อขยายการลดหย่อนภาษีรายได้และขยายเงินช่วยเหลือผู้ว่างงาน ซึ่งมีมูลค่ารวม 858 พันล้านเหรียญ สรอ. เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม โดยมาตรการที่สาคัญในกฎหมายประกอบด้วย การขยายการลดหย่อนภาษีรายได้ (Income taxes) ให้กับประชากรสหรัฐฯ ทั้งหมด ไปจนถึงสิ้นปี 2555 การลดหย่อนภาษีหักจากค่าจ้าง (Payroll taxes) จานวนร้อยละ 2 การขยายเงินกองทุนช่วยเหลือสาหรับผู้ว่างงาน (Unemployment benefit) ตลอดจนการลดหย่อนภาษีจากการลงทุนของผู้ประกอบธุรกิจในปี 2554
  • อนึ่ง รัฐบาลสหรัฐฯ ขาดดุลงบประมาณเป็นมูลค่ารวม 1.29 พันล้านเหรียญ สรอ. ในปีงบประมาณ 2553 (เดือนตุลาคม 2552-กันยายน 2553) หรือคิดเป็นร้อยละ 8.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยเป็นผลมาจากการใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ รัฐบาลสหรัฐฯ ได้พิจารณาแนวทางการใช้นโยบายการคลังเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ (Fiscal Consolidation) แต่ก็ยังมีความไม่ชัดเจนว่าจะดาเนินการได้ในระดับใด เนื่องจากการว่างงานยังคงเป็นปัญหาหลักของสหรัฐฯ

ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ