รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 4 - 7 มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 10, 2011 10:03 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • การจ้างงานเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ 38.0 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อน 3.0 แสนคน ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม
  • สินเชื่อเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี ขณะที่เงินฝากสถาบันการเงินเดือนพ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ย.53 เกินดุลที่ 1,019 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 44.8 ต่อปี
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ3.5 ต่อปี
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือนธ.ค. 53 มีจำนวน 1.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมสหรัฐฯ (ISM Mfg PMI) เดือน ธ.ค. 53 อยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ 57.0
  • ตัวเลข GDP สิงคโปร์ (เบื้องต้น) ไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี

Indicators next week

 Indicators                       Forecast            Previous
Dec: Motorcycle sales (%yoy)        6.0                 10.18
  • เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือน ธ.ค. 53 จะยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับจจัย

บวกจากกำ ลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง

Economic Indicators: This Week
  • การจ้างงานเดือน ต.ค. 53 อยู่ที่ 38.0 ล้านคน โดยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนพบว่า เพิ่มขึ้น 3.0 แสนคน หรือคิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.8 โดยการจ้างงานภาคเกษตรมีจำนวน 14.4 ล้านคน เพิ่มขึ้น 6.4 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนเนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวของข้าวนาปีและพืชผลบางชนิด แต่หากปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าจะลดลง 1.1 ล้านคน จากปัญหาอุทกภัยส่งผลให้พื้นที่การเพาะปลูกได้รับความเสียหายขณะที่การจ้างงานภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ 8.1 ล้านคน ลดลงทั้งเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน และเดือนก่อนหน้าที่ 2.2 และ 1.6 แสนคน ตามลำดับ จากสาขาการผลิตเฟอร์นิเจอร์/เครื่องประดับ สาขาก่อสร้าง และสาขาการผลิตสิ่งทอ และการจ้างงานภาคบริการมีจำนวนอยู่ 15.5 ล้านคน ลดลง 1.5 แสนคนเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน จากสาขาการค้าส่ง/ค้าปลีก เมื่อแต่หากปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่าเพิ่มขึ้น 4.7 แสนคน จากสาขาการเงิน การธนาคาร และสาขาบริหารราชการแผ่นดิน ขณะที่อัตราการว่างงานเดือน ต.ค.53 อยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ทรงตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 คิดเป็นผู้ว่างงานจำนวนทั้งสิ้น 3.5 แสนคน โดยเป็นผู้ว่างงานในภาคบริการ 1.1 แสนคน ภาคอุตสาหกรรม1.1 แสนคน ภาคการเกษตร 3.7 หมื่นคน และผู้ที่กำลังหางานจำนวน 0.9 แสนคน
  • สินเชื่อเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ที่ร้อยละ 12.2 ต่อปี หรือหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้วจะขยายตัวเร่งขึ้นร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า โดยเป็นการขยายตัวของทั้งสินเชื่อธุรกิจที่ขยายตัวเร่งขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ที่ร้อยละ 3.6 ต่อปี และสินเชื่อภาครัวเรือนที่ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่องที่ร้อยละ 14.8 ต่อปี บ่งชี้ว่าความต้องการสินเชื่อที่สามารถขยายตัวได้ต่อเนื่องตามการขยายตัวของเศรษฐกิจ
  • เงินฝากสถาบันการเงินเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 ต่อปี จากปัจจัยฐานที่สูงขึ้น ซึ่งหากขจัดผลทางฤดูกาลแล้ว จะขยายตัวเร่งขึ้นที่ร้อยละ 0.9 ต่อเดือน จากการแข่งขันระหว่างธนาคารเพื่อจูงใจลูกค้าที่เพิ่มสูงขึ้น ผ่านการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก และออกผลิตภัณฑ์เงินออมพิเศษ เพื่อรองรับความต้องการสินเชื่อที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้น ตามเศรษฐกิจที่ขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง
  • ดุลบัญชีเดินสะพัดในเดือน พ.ย.53 เกินดุลที่ 1,019 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เกินดุลถึง 2,740 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผลจากการเกินดุลการค้าที่ 490 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการเกินดุลบริการ รายได้ และเงินโอนเกินดุลที่ประมาณ 529 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยดุลการค้าที่เกินดุลลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 2,273 มาจากมูลค่าการนำเข้าที่ปรับตัวเร่งขึ้นมามากที่ร้อยละ 35.0 มาอยู่ที่ระดับ 17,094 ล้านดอลลาร์สหรัฐแม้ว่ามูลค่าการส่งออกจะยังอยู่ในระดับที่สูงที่ 17,548 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ ดุลบริการ เงินโอน และรายได้ในเดือนนี้เกินดุลต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้าจากรายรับนักท่องเที่ยวที่ปรับเพิ่มขึ้นตามนักท่องเที่ยวต่างชาติ
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กรวมภายในประเทศในเดือน พ.ย. 53 ขยายตัวในระดับสูงถึงร้อยละ 44.8 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี จากปัจจัยฐานต่ำของช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกแล้วจะขยายตัวร้อยละ 17.8 จากเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากปริมาณการจำหน่ายเหล็กในหมวดภาคการก่อสร้าง โดยเฉพาะเหล็กเส้นข้ออ้อยเหล็กเส้นกลมลวดเหล็กแรงดึงสูงและเหล็กที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมที่มาจากเหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี ที่ขยายตัวร้อยละ 58.1 40.0 30.0 และ 13.8 ต่อปี ตามลำดับ สะท้อนว่าการลงทุนภาคอสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบภายในประเทศเริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ที่ร้อยละ 3.0 ต่อปี เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.8 ต่อปี สาเหตุหลักจากดัชนีในหมวดยานพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก และดัชนีราคาในหมวดผักและผลไม้ ที่ยังคงขยายตัวได้สูงที่ร้อยละ 20.7 ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าดัชนีราคาผู้บริโภคขยายตัวที่ร้อยละ 0.16 ต่อเดือน ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี เร่งขึ้นจากเดือนก่อน ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทั้งปี 53 ขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.3 และ 1.0 ตามลำดับ
  • ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.5 ต่อปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 ต่อปีทำให้ไตรมาสที่ 4 ของปี 53 ขยายตัวร้อยละ 2.1 ต่อปี เร่งขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 1.1 ต่อปี โดยหมวดสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ หมวดเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ขยายตัวร้อยละ 6.9 ต่อปี จากเหล็กเส้นเสริมคอนกรีต ท่อเหล็กเคลือบสังกะสีเหล็กฉากและเหล็กตัวซี ดัชนีในหมวดไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ขยายตัวร้อยละ 4.5 ต่อปี จากวงกบประตู หน้าต่าง แผ่นไม้อัด ในขณะที่ดัชนีหมวดก่อสร้างอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 3.6 ต่อปี โดยมีสินค้าสำคัญ อาทิ อิฐมอญ อิฐโปร่ง กระจก ทั้งนี้ ทั้งปี 53 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.3 ต่อปี เนื่องจากต้นทุนราคาวัตถุดิบในการผลิตและราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น
  • นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในเดือน ธ.ค.53 มีจำนวน 1.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.0 ต่อปี นับเป็นจำนวนที่เดินทางเข้าประเทศสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ส่งผลให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 53 มีจำนวนนักท่องเที่ยว 4.6 ล้านคนขยายตัวที่ร้อยละ 7.8 ต่อปี และทั้งปี 53 มีจำนวนนักท่องเที่ยว

ต่างชาติทั้งสิ้น 15.8 ล้านคน ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 ต่อปี สูงกว่าการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้าว่าจะมีจำนวน 15.6 ล้านคน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นมากมาจาก จีน รัสเซีย เกาหลี และอินเดียเป็นหลัก

Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายรถจักรยานยนต์ ในเดือน ธ.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6.0 ต่อปี ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 10.1 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นแต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์ในเดือนธ.ค. 53 จะยังขยายตัวได้ดี โดยได้รับปัจจัยบวกจากกำลังซื้อของประชาชนยังอยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะรายได้เกษตรกรที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดีตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง

Global Economic Indicators: This Week

USA: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (ISM Mfg PMI) เดือน ธ.ค. 53 อยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนที่ 57.0 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่ระดับ 56.6 บ่งชี้การขยายตัวที่ต่อเนื่องในภาคการผลิต อย่างไรก็ตาม ดัชนีองค์ประกอบด้านการจ้างงานในภาคการผลิตลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 55.7 ขณะที่ดัชนีฯภาคบริการ อยู่ที่ระดับสูงที่สุดในรอบ 4 เดือน ที่ระดับ 57.1 ส่วนดัชนีองค์ประกอบด้านการจ้างงานในภาคบริการลดลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ 50.5
China: mixed signal
  • ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรม (Mfg PMI) เดือนธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 ที่ระดับ 53.9 บ่งชี้การขยายตัวในภาคการผลิต ทางการจีนประกาศมาตรการควบคุมการกำหนดราคาสินค้าโดยใช้กฎหมาย Anti-Monopoly Laws ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ก.พ. 54 เพื่อลดแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
Eurozone: mixed signal
  • เงินเฟ้อทั่วไป (เบื้องต้น) เดือน ธ.ค. 53 สูงที่สุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 2.2 ต่อปี เนื่องจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้น ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อโดยรวม (Composite PMI) เดือน ธ.ค.53 อยู่ในระดับเท่ากับเดือนก่อนหน้าที่ 55.5 บ่งชี้การขยายตัวต่อเนื่องในภาคการผลิตและบริการ อย่างไรก็ตาม ดัชนีฯ ภาคบริการขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 54.2 ยอดค้าปลีกเดือน พ.ย. 53 หดตัวร้อยละ -0.8 จากเดือนก่อนหน้า
Taiwan: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า และต่ำกว่าคาดการณ์ที่ร้อยละ 1.3 ต่อปี จากราคาผักที่ลดลง ส่งผลให้ทั้งปี 53 อัตราเงินเฟ้อขยายตัวร้อยละ 1.0 อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวสูงขึ้นน่าจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อขยายตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในปี 54
Singapore: improving economic trend
  • เศรษฐกิจสิงคโปร์ในไตรมาสที่ 4 ปี 53 (Advanced GDP) ขยายตัวร้อยละ 12.5 ต่อปี หรือขยายตัวร้อยละ 1.7 ต่อไตรมาส (%qoq_sa) ส่งผลให้ทั้งปี 53 เศรษฐกิจสิงคโปร์ขยายตัวร้อยละ 14.8 ต่อปี บ่งชี้เศรษฐกิจที่สามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวอย่างเปราะบาง อย่างไรก็ตาม สศค. วิเคราะห์ว่าในปี 54 การขยายตัวของเศรษฐกิจจะชะลอลง จากผลของปัจจัยฐานที่ค่อนข้างสูงในปี 53 โดย สศค. คาดว่า ในปี 54 เศรษฐกิจสิงคโปร์จะขยายตัวร้อยละ 4.4 ต่อปี (ช่วงคาดการณ์ร้อยละ 3.9 — 4.9 ต่อปี)
Philippines: improving economic trend
  • บริษัท Moody’s ปรับเพิ่มระดับความน่าเชื่อถือเป็นระดับบวก (Positive) จากระดับคงที่ (Stable) จากทิศทางการขยายตัวที่แข็งแกร่งของประเทศ ซึ่งการปรับขึ้นดังกล่าวเป็นผลดีต่อระดับความน่าเชื่อถือของประเทศในภูมิภาคเช่นกันในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.0 ต่อปี สะท้อนถึงแรงกดดันด้านอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น จากราคาน้ำ มันที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามการขยายตัวที่ดีของเศรษฐกิจโลก
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยในสัปดาห์แรกของปีปรับตัวดีขึ้นเกือบ 20 จุดต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 โดยเป็นแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ และมีแรงซื้อจากบัญชีบริษัทหลักทรัพย์บ้างเล็กน้อยขณะที่มีแรงขายจากนักลงทุนทั่วไปในประเทศในช่วงต้นสัปดาห์ แต่มีแนวโน้มกลับมาซื้อสุทธิในช่วงปลายสัปดาห์ ส่วนความเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรของไทยในสัปดาห์นี้ เริ่มคึกคักในช่วงปลายสัปดาห์ โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และมีแรงซื้อเข้ามามากหลังจากที่กระทรวงการคลังประกาศงดการประมูลตั๋วเงินคลังทุกรุ่นอายุในเดือนมกราคม และ กุมภาพันธ์
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องหลังจากที่แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในวันแรกของปีที่ตลาดเปิดทำ การ เป็นไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินสกุลอื่นๆในภูมิภาคที่ส่วนใหญ่ปรับตัวอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลลาร์สรอ. ยกเว้นเงินริงกิตของมาเลเซียโดย ดัชนีค่าเงินบาท(NEER) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่

ร้อยละ 0.24 จากการที่เงินบาทอ่อนค่าลงน้อยกว่าค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยอ่อนค่าเป็นรองเพียงค่าเงินหยวนของจีน

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ