ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) ตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ 4 (กรกฎาคม—กันยายน 2553) และ2553 (ตุลาคม 2552—กันยายน 2553)

ข่าวเศรษฐกิจ Friday January 21, 2011 10:51 —กระทรวงการคลัง

นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เผยฐานะการคลังของภาครัฐบาล ตามระบบ สศค. (Government Finance Statistics : GFS) ในไตรมาสที่ ๔ เกินดุลกว่า ๖ หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ดุลการคลังภาครัฐขาดดุล ๑.๙๘ แสนล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ ๔๕.๙

ในไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (กรกฎาคม — กันยายน ๒๕๕๓) ดุลการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาลและองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น) เกินดุลจำนวน ๖๔,๐๒๐ ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ขาดดุล ๕๑,๔๘๐ ล้านบาท โดยมีรายได้ทั้งสิ้น ๗๕๗,๐๙๓ ล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๑๗๖,๗๔๔ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓๐.๕ จากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนรายจ่าย ภาครัฐบาลมีจำนวน ๖๙๓,๐๗๓ ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๖๑,๒๔๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๗ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ภาครัฐบาลมีรายได้ทั้งสิ้น ๒,๕๗๐,๔๒๕ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗ ของ GDP) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ๔๐๘,๙๓๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๘.๙ ขณะที่รายจ่ายภาครัฐบาลมีจำนวน ๒,๗๖๘,๙๖๓ ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว ๒๔๐,๔๕๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๕ เนื่องจากมีการเบิกจ่ายจากเงินกู้ (รวมการเบิกจ่ายจากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕) สูงกว่าปีที่แล้ว ๒๐๔,๔๖๔ ล้านบาท ส่งผลให้ดุลการคลังภาครัฐบาลขาดดุลจำนวน ๑๙๘,๕๓๘ ล้านบาท ขาดดุลลดลงร้อยละ ๔๕.๙ (ปีที่แล้วขาดดุล ๓๖๗,๐๒๑ ล้านบาท)

นายนริศ ชัยสูตร สรุปว่า “การที่ดุลการคลังของภาครัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ขาดดุลลดลงในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว เป็นผลจากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลและรายได้ของ อปท. ที่รัฐบาลเก็บให้และแบ่งให้ บนฐานภาษีของรัฐบาลเพิ่มขึ้นในอัตราสูง”

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค. ในไตรมาสที่ ๔ และปีงบประมาณ ๒๕๕๓

หน่วย: ล้านบาท

                          ที่มา                              ไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ                                             ปีงบประมาณ
                                                                    ๒๕๕๓                ๒๕๕๒       เปรียบเทียบ                     ๒๕๕๓         ๒๕๕๒        เปรียบเทียบ
                                                                                                     จำนวน         ร้อยละ                                    จำนวน        ร้อยละ
๑. รายได้ (๑.๑+๑.๒+๑.๓)                                                        ๗๕๗,๐๙๓    ๕๘๐,๓๔๙        ๑๗๖,๗๔๔        ๓๐.๕๐     ๒,๕๗๐,๔๒๕    ๒,๑๖๑,๔๘๙        ๔๐๘,๙๓๖       ๑๘.๙๐
     ๑.๑ รัฐบาล                                                                ๔๘๖,๑๖๘    ๔๑๗,๘๐๕         ๖๘,๓๖๓        ๑๖.๔๐     ๑,๗๕๕,๒๕๖    ๑,๔๗๐,๕๕๐        ๒๘๔,๗๐๖       ๑๙.๔๐
     ๑.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   ๗๖,๒๗๒     ๗๖,๐๐๙            ๒๖๓         ๐.๓๐       ๓๔๘,๙๑๕      ๓๑๙,๗๔๘         ๒๙,๑๖๖        ๙.๑๐
     ๑.๓ บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                                    ๑๙๔,๖๕๒     ๘๖,๕๓๕        ๑๐๘,๑๑๗       ๑๒๔.๙๐       ๔๖๖,๒๕๔      ๓๗๑,๑๙๐         ๙๕,๐๖๔       ๒๕.๖๐

๒. รายจ่าย (๒.๑+๒.๒+๒.๓+๒.๔)                                                   ๖๙๓,๐๗๓    ๖๓๑,๘๒๙         ๖๑,๒๔๓         ๙.๗๐     ๒,๗๖๘,๙๖๓    ๒,๕๒๘,๕๑๐        ๒๔๐,๔๕๓        ๙.๕๐
     ๒.๑ รัฐบาล                                                                ๔๕๓,๗๗๗    ๕๐๗,๗๐๓        -๕๓,๙๒๖       -๑๐.๖๐     ๑,๗๗๕,๖๖๕    ๑,๘๙๑,๘๕๑       -๑๑๖,๑๘๖       -๖.๑๐
     ๒.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น๑                                                  ๗๓,๑๕๐     ๔๐,๑๙๕         ๓๒,๙๕๕        ๘๒.๐๐       ๓๙๐,๑๗๑      ๓๑๔,๐๐๔         ๗๖,๑๖๗       ๒๔.๓๐
     ๒.๓ รายจ่ายเงินกู้๒                                                           ๕๕,๖๗๐     ๑๕,๒๐๑         ๔๐,๔๖๙       ๒๖๖.๒๐       ๒๒๐,๔๐๘       ๑๕,๙๔๔        ๒๐๔,๔๖๔    ๑,๒๘๒.๔๐
     ๒.๔ บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                                   ๑๑๐,๔๗๕     ๖๘,๗๓๐         ๔๑,๗๔๕        ๖๐.๗๐       ๓๘๒,๗๑๙      ๓๐๖,๗๑๑         ๗๖,๐๐๘       ๒๔.๘๐
๓. ดุลการคลังภาครัฐบาล (๑-๒)                                                      ๖๔,๐๒๐    -๕๑,๔๘๐        ๑๑๕,๕๐๐      -๒๒๔.๔๐      -๑๙๘,๕๓๘     -๓๖๗,๐๒๑        ๑๖๘,๔๘๓      -๔๕.๙๐
๔. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                                     ๑๘๒,๒๒๙     -๔,๓๐๐        ๑๘๖,๕๒๙    -๔,๓๓๘.๒๐       ๒๕๑,๒๖๕     -๑๗๑,๓๕๓        ๔๒๒,๖๑๘     -๒๔๖.๖๐

หมายเหตุ ๑ ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.

๒ รายจ่ายเงินกู้ เป็นรายจ่ายเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ของรัฐบาล (รวมเงินอุดหนุน อปท.) และ รายจ่ายเงินกู้จากต่างประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติม ดูได้จาก www.fpo.go.th

สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 02-273-9020 ต่อ 3584

ฐานะการคลังภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)

ตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ ๔ (กรกฎาคม — กันยายน ๒๕๕๓) และปีงบประมาณ ๒๕๕๓

ฐานะการคลังของภาครัฐบาลตามระบบ สศค.๑ (ระบบ Government Finance Statistics : GFS) ในไตรมาสที่ ๔ (กรกฎาคม — กันยายน ๒๕๕๓) ของปีงบประมาณ ๒๕๕๓ ภาครัฐบาล (รัฐบาล และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) เกินดุลการคลังทั้งสิ้น ๖๔,๐๒๐ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๐.๖ ของ GDP เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีที่แล้ว ๑๐๒,๐๒๘ ล้านบาท ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่าง ต่อเนื่อง โดยสรุปได้ ดังนี้

๑. ผลการดำเนินงานของภาครัฐบาลในไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ ๒๕๕๓

๑.๑ รายได้ภาครัฐบาล มีจำนวนทั้งสิ้น ๗๕๗,๐๙๓ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๗.๖ ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๑๗๖,๗๔๔ ล้านบาท หรือร้อยละ ๓๐.๕ ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของ ๓ กรมหลักเพิ่มขึ้นได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตน้ำมัน และ รถยนต์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และอากรขาเข้า ตามลำดับ ส่งผลให้รายได้รัฐบาลและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) สูงขึ้นกว่า ช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๖๘,๓๖๓ และ ๒๖๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๖.๔ และ ๐.๓ ตามลำดับ นอกจากนี้บัญชีเงินนอกงบประมาณ (กองทุนนอก งบประมาณและเงินฝากนอกงบประมาณ) มีรายได้สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๑๐๘,๑๑๗ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๒๔.๙ เนื่องจากได้รับการ จัดสรรเงินอุดหนุน และรายได้จากเงินสมทบทางสังคมของกองทุนประกันสังคมเพิ่มมากขึ้น

๑.๒ รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริงมีจำนวน ๖๙๓,๐๗๓ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๖๑,๒๔๓ ล้านบาท หรือร้อยละ๙.๗ เนื่องจากการเบิกจ่ายของ อปท. จำนวน ๗๓,๑๕๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๓๒,๙๕๕ ล้านบาท หรือร้อยละ ๘๒.๐ และรายจ่ายจากบัญชีเงินนอกงบประมาณซึ่งรวมเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบาย รัฐบาลรวม ๑๑๐,๔๗๕ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๔๑,๗๔๕ ล้านบาท หรือร้อยละ ๖๐.๗ ซึ่งมีสาเหตุหลักจากการเบิกจ่ายของ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนประกันสังคม ส่วนรายจ่ายเงินกู้มีการเบิกจ่าย ๕๕,๖๗๐ ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๔๐,๔๖๙ ล้านบาท ขณะที่การเบิกจ่ายของรัฐบาลลดลงโดยมีจำนวน ๔๕๓,๗๗๗ ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว ๕๓,๙๒๖ ล้านบาท หรือ ร้อยละ ๑๐.๖

๑.๓. ดุลการคลังภาครัฐบาล จากรายได้และรายจ่ายข้างต้นภาครัฐบาลเกินดุลการคลังจำนวน ๖๔,๐๒๐ ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ ๐.๖ ของ GDP ขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล ๕๑,๔๘๐ ล้านบาท สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็น ดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาลและทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง (โดยไม่รวมรายได้และรายจ่าย ดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) เกินดุลทั้งสิ้น ๑๘๒,๒๒๙ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๑.๘ ของ GDP) ขณะที่ช่วงเดียวกันปีที่แล้วขาดดุล ๔,๓๐๐ ล้านบาท

๑ ระบบ สศค. : ระบบสถิติเพื่อการศึกษาและวิเคราะห์นโยบายการคลัง หรือ Government Finance Statistics (GFS) เป็นระบบสถิติที่รวบรวมกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ของรัฐบาลทั้งหมด โดยครอบคลุมการใช้จ่ายตามระบบงบประมาณ เงินฝากนอกงบประมาณ กองทุนหมุนเวียนนอกงบประมาณ เงินกู้ต่างประเทศ และเงินช่วยเหลือต่างประเทศ

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค. ไตรมาสที่ ๔ ปีงบประมาณ ๒๕๕๓

หน่วย: ล้านบาท

                           ที่มา                              ไตรมาสที่ ๔ ของปีงบประมาณ                                            เปรียบเทียบ
                                                                     ๒๕๕๓               % of GDP๑     ๒๕๕๒      % of GDP๑       จำนวน         ร้อยละ
๑. รายได้ (๑.๑+๑.๒+๑.๓)                                                         ๗๕๗,๐๙๓         ๗.๖๐    ๕๘๐,๓๔๙         ๕.๘๐        ๑๗๖,๗๔๔        ๓๐.๕๐
      ๑.๑ รัฐบาล                                                                ๔๘๖,๑๖๘         ๔.๙๐    ๔๑๗,๘๐๕         ๔.๒๐         ๖๘,๓๖๓        ๑๖.๔๐
      ๑.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   ๗๖,๒๗๒         ๐.๘๐     ๗๖,๐๐๙         ๐.๘๐            ๒๖๓         ๐.๓๐
      ๑.๓ บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                                    ๑๙๔,๖๕๒         ๑.๙๐     ๘๖,๕๓๕         ๐.๙๐        ๑๐๘,๑๑๗       ๑๒๔.๙๐

๒. รายจ่าย (๒.๑+๒.๒+๒.๓+๒.๔)                                                    ๖๙๓,๐๗๓         ๖.๙๐    ๖๓๑,๘๒๙         ๖.๓๐         ๖๑,๒๔๓         ๙.๗๐
      ๒.๑ รัฐบาล                                                                ๔๕๓,๗๗๗         ๔.๕๐    ๕๐๗,๗๐๓         ๕.๑๐        -๕๓,๙๒๖       -๑๐.๖๐
      ๒.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                                   ๗๓,๑๕๐         ๐.๗๐     ๔๐,๑๙๕         ๐.๔๐         ๓๒,๙๕๕        ๘๒.๐๐
      ๒.๓ รายจ่ายเงินกู้๒                                                           ๕๕,๖๗๐         ๐.๖๐     ๑๕,๒๐๑         ๐.๒๐         ๔๐,๔๖๙       ๒๖๖.๒๐
      ๒.๔ บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                                   ๑๑๐,๔๗๕         ๑.๑๐     ๖๘,๗๓๐         ๐.๗๐         ๔๑,๗๔๕        ๖๐.๗๐
๓. ดุลการคลังภาครัฐบาล (๑-๒)๓                                                      ๖๔,๐๒๐         ๐.๖๐    -๕๑,๔๘๐        -๐.๕๐        ๑๐๒,๐๒๘      -๒๒๔.๔๐
๔. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                                      ๑๘๒,๒๒๙         ๑.๘๐     -๔,๓๐๐         ๐.๐๐        ๑๘๖,๕๒๙    -๔,๓๓๘.๒๐

หมายเหตุ

๑ GDP ปี ๒๕๕๒ และประมาณการปี ๒๕๕๓ เท่ากับ ๙,๐๕๐.๗ และ ๑๐,๐๐๐.๙ พันล้านบาท ตามลำดับ (ข้อมูลจาก สศช.)

๒ รายจ่ายเงินกู้ เป็นรายจ่ายเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ของรัฐบาล (รวมเงินอุดหนุน อปท.) และรายจ่าย เงินกู้จากต่างประเทศ

๓ ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government)

หักด้วยรายได้ของ อปท.

๒. ฐานะการคลังตามระบบ สศค. ปีงบประมาณ ๒๕๕๓ (ตุลาคม ๒๕๕๒- กันยายน ๒๕๕๓)

๒.๑ รายได้ภาครัฐบาลมีจำนวนทั้งสิ้น ๒,๕๗๐,๔๒๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๕.๗ ของ GDP เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ๔๐๘,๙๓๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๑๘.๙ โดยเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของรายได้รัฐบาล อปท. และบัญชีเงินนอกงบประมาณ โดยมี รายละเอียด ดังนี้

๑) รัฐบาลมีรายได้รวม ๑,๗๕๕,๒๕๖ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๖ ของ GDP) เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๒๘๔,๗๐๖ ล้านบาท หรือ ร้อยละ ๑๙.๔ ทั้งนี้ เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ ๓ กรมหลัก (กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต และกรมศุลกากร) ที่เพิ่มขึ้น

๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายได้ทั้งสิ้น ๓๔๘,๙๑๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓.๕ ของ GDP และเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๒๙,๑๖๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๑ ทั้งนี้เนื่องจากการจัดสรรเงินที่รัฐบาลแบ่งให้และเก็บให้ อปท. เพิ่มขึ้น

๓) บัญชีเงินนอกงบประมาณซึ่งประกอบด้วยกองทุนนอกงบประมาณและเงินฝาก นอกงบประมาณจำนวน ๔๖๖,๒๕๔ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๔.๗ ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๙๕,๐๖๔ ล้านบาท หรือร้อยละ ๒๕.๖

๒.๒ รายจ่ายของภาครัฐบาล (รวมการให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) ซึ่งมีผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจริงมีจำนวน ๒,๗๖๘,๙๖๓ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๗.๗ ของ GDP เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ๒๔๐,๔๕๓ ล้านบาท หรือร้อยละ ๙.๕ โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ รายจ่ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และบัญชีเงินนอกงบประมาณ ขณะที่รายจ่ายของรัฐบาลกลับลดลง ๑๑๖,๑๘๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๖.๑ โดยมีรายละเอียด ดังนี้

๑) รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น ๑,๗๗๕,๖๖๕ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๑๗.๘ ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็น ร้อยละ ๒๐.๙ ของ GDP) และต่ำกว่าปีที่แล้ว ๑๑๖,๑๘๖ ล้านบาท หรือร้อยละ ๖.๑

๒) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีรายจ่ายจำนวนทั้งสิ้น ๓๙๐,๑๗๑ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๓.๙ ของ GDP (ปีที่แล้วคิดเป็นร้อยละ ๓.๕ ของ GDP) และสูงกว่าปีที่แล้ว ๗๖,๑๖๗ ล้านบาท หรือร้อยละ ๒๔.๓

๓) รายจ่ายเงินกู้ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น ๒๒๐,๔๐๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒.๒ ของ GDP สูงกว่าปีที่แล้ว ๒๐๔,๔๖๔ ล้านบาท เนื่องจากมีรายจ่ายเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ จำนวน ๒๓๔,๔๐๐ ล้านบาท ในขณะที่ปีที่แล้วมีจำนวน ๑๔,๘๗๒ ล้านบาท (การ เพิ่มทุนให้ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และอื่นๆ)

๔) บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมรายจ่ายและเงินให้กู้หักชำระคืนตามนโยบายรัฐบาล) จำนวน ๓๘๒,๗๑๙ ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว ๗๖,๐๐๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒๔.๘ สาเหตุมาจากรายจ่ายของกองทุนเงินนอกงบประมาณเพิ่มขึ้น เช่น รายจ่ายเพื่อชดเชยราคาน้ำมันของ กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นต้น

๒.๓. ดุลการคลังภาครัฐบาล ขาดดุลการคลัง ๑๙๘,๕๓๘ ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๒.๐ ของ GDP (ปีที่แล้วที่ขาดดุลจำนวน ๓๖๗,๐๒๑ ล้านบาท) สำหรับดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล (Primary Balance) ซึ่งเป็นดุลการคลังที่สะท้อนถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาล และทิศทางของนโยบายการคลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง (ไม่รวมรายได้และรายจ่ายดอกเบี้ย และการชำระคืนต้นเงินกู้) ของปีงบประมาณ ๒๕๕๓ เกินดุลทั้งสิ้น ๒๕๑,๒๖๕ ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ ๒.๕ ของ GDP) ในขณะที่ปีที่แล้วขาดดุล ๑๗๑,๓๕๓ ล้านบาท

ดุลการคลังภาครัฐตามระบบ สศค. ปีงบประมาณ ๒๕๕๓

หน่วย: ล้านบาท

                        ปีงบประมาณ                          ปีงบประมาณ                                             เปรียบเทียบ
                                                              ๒๕๕๓       % of GDP๑      ๒๕๕๒       % of GDP๑       จำนวน        ร้อยละ
๑. รายได้ (๑.๑+๑.๒+๑.๓)                                        ๒,๕๗๐,๔๒๕        ๒๕.๗๐    ๒,๑๖๑,๔๘๙        ๒๓.๙๐        ๔๐๘,๙๓๖       ๑๘.๙๐
      ๑.๑ รัฐบาล                                               ๑,๗๕๕,๒๕๖        ๑๗.๖๐    ๑,๔๗๐,๕๕๐        ๑๖.๒๐        ๒๘๔,๗๐๖       ๑๙.๔๐
      ๑.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                   ๓๔๘,๙๑๕         ๓.๕๐      ๓๑๙,๗๔๘         ๓.๕๐         ๒๙,๑๖๖        ๙.๑๐
      ๑.๓ บัญชีเงินนอกงบประมาณ                                     ๔๖๖,๒๕๔         ๔.๗๐      ๓๗๑,๑๙๐         ๔.๑๐         ๙๕,๐๖๔       ๒๕.๖๐

๒. รายจ่าย (๒.๑+๒.๒+๒.๓+๒.๔)                                   ๒,๗๖๘,๙๖๓        ๒๗.๗๐    ๒,๕๑๕,๐๓๘        ๒๗.๙๐        ๒๔๐,๔๕๓        ๙.๕๐
      ๒.๑ รัฐบาล                                               ๑,๗๗๕,๖๖๕        ๑๗.๘๐    ๑,๘๙๑,๘๕๑        ๒๐.๙๐       -๑๑๖,๑๘๖       -๖.๑๐
      ๒.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น                                   ๓๙๐,๑๗๑         ๓.๙๐      ๓๑๔,๐๐๔         ๓.๕๐         ๗๖,๑๖๗       ๒๔.๓๐
      ๒.๓ รายจ่ายเงินกู้๒                                           ๒๒๐,๔๐๘         ๒.๒๐       ๑๕,๙๔๔         ๐.๒๐        ๒๐๔,๔๖๔    ๑,๒๘๒.๔๐
      ๒.๔ บัญชีเงินนอกงบประมาณ (รวมการให้กู้ยืมสุทธิ)                    ๓๘๒,๗๑๙         ๓.๘๐      ๓๐๖,๗๑๑         ๓.๔๐         ๗๖,๐๐๘       ๒๔.๘๐
๓. ดุลการคลังภาครัฐบาล (๑-๒)๓                                     -๑๙๘,๕๓๘        -๒.๐๐     -๓๖๗,๐๒๑        -๔.๑๐        ๑๖๘,๔๘๓      -๔๕.๙๐
๔. ดุลการคลังเบื้องต้นของรัฐบาล                                       ๒๕๑,๒๖๕         ๒.๕๐     -๑๗๑,๓๕๓        -๑.๙๐        ๔๒๒,๖๑๘     -๒๔๖.๖๐

หมายเหตุ

๑ GDP ปี ๒๕๕๒ และประมาณการปี ๒๕๕๓ เท่ากับ ๙,๐๕๐.๗ และ ๑๐,๐๐๐.๙ พันล้านบาท ตามลำดับ (ข้อมูลจาก สศช.)

๒ รายจ่ายเงินกู้ เป็นรายจ่ายเงินกู้จากแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ๒๕๕๕ ของรัฐบาล (รวมเงินอุดหนุน อปท.) และรายจ่ายเงินกู้ จากต่างประเทศ

๓ ประมาณการรายจ่าย อปท. โดยใช้ข้อมูลสิทธิเรียกร้องจาก อปท. ในระบบธนาคาร (Net Claims of Banking System on Local Government) หักด้วยรายได้ของ อปท.

จัดทำโดย: สำนักนโยบายการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง

--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 4/2554 19 มกราคม 54--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ