รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 4 - 7 มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 10, 2011 13:46 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนพฤศจิกายน 2553

2. รัฐบาลจะเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบภาษีทั้งหมดรวมทั้งภาษีบริโภค (consumption tax)

-----------------------------------

1. ดัชนีเศรษฐกิจที่สาคัญในเดือนพฤศจิกายน 2553

1.1 ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) เดือนพฤศจิกายน 2554 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1

กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม (Ministry of Economic Trade and Industry)ได้เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (Industrial Output) ของเดือนพฤศจิกายน 2553 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับเดือนที่แล้ว มาอยู่ที่ระดับ 91.8 (ปี 2005=100) ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เนื่องจากความต้องการรถยนต์ในญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและการส่งออกไปยังประเทศภูมิภาคเอเชีย และเครื่องโทรศัพท์มือถือก็มียอดการผลิตเพิ่มขึ้นโดยมีเครื่องรุ่นใหม่ออก

1.2 ดัชนีราคาผู้บริโภค (Core Consumer Price Index)

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคประจาเดือนยกเว้นอาหารสด (CPI, ปี 2548=100) ประจาเดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 0.5 อยู่ที่ 99.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องติดต่อกัน 21 เดือนแล้ว เนื่องจากสินค้าบริโภคหลายประเภทลดลงอย่างต่อเนื่อง แสดงถึงเศรษฐกิจยังอยู่ในภาวะเงินฝืดต่อไป

1.3 อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate)

อัตราการว่างงานเดือนพฤศจิกายน 2553 อยู่ที่ร้อยละ 5.1 เท่ากับเดือนตุลาคม 2553 แต่ภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นและเงินเยนที่แข็งค่าขึ้นอาจส่งผลให้ภาวะการว่างงานอาจปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกได้

1.4 การใช้จ่ายบริโภคเดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 0.2

กระทรวงมหาดไทยและการสื่อสารได้เปิดเผยว่าการใช้จ่ายบริโภคประจาเดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งลดลงติดต่อกัน 3 เดือนแล้ว เป็นผลมาจากมียอดการบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 48 โดยมีอัตราภาษีบุหรี่ที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ 12,244 เยนต่อ 1,000 ม้วนจาก 8,744 เยนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา

2. รัฐบาลจะเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบภาษีทั้งหมดรวมทั้งภาษีบริโภค (consumption tax)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นนาย Naoto Kan ได้เปิดเผยว่ารัฐบาลจะเสนอแนวทางการปรับปรุงระบบภาษีทั้งหมดรวมทั้งภาษีบริโภค (consumption tax) ภายในเดือนมิถุนายน 2554 เนื่องจากรัฐบาลได้เล็งเห็นว่าสถานะทางการเงินของประเทศในปัจจุบันนั้นไม่สู้ดีนัก และหากปล่อยไว้อย่างนี้จะทาให้ความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถจัดทางบประมาณโดยไม่ทาการออกพันธบัตรที่รัฐบาลกาหนดไว้ไม่ให้เกินวงเงิน 44 ล้านล้านเยนได้ ซึ่งเมื่อดูจากแผนจัดทางบประมาณประจาปี 2554 ที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2553 แล้วพบว่าปัจจุบันจานวนยอดการออกพันธบัตรรัฐบาลนั้นมีมากกว่ายอดรายได้จากการเก็บภาษีติดต่อกันเป็นเวลา 2 ปีแสดงให้เห็นว่าสถานะทางการคลังปัจจุบันของประเทศญี่ปุ่นนั้นตกอยู่ในสถานะที่ไม่สู้ดีนัก โดยจากการคานวณพบว่าจานวนหนี้พันธบัตรของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น ณ ช่วงสิ้นปี 2554 นั้นจะมีจานวนเท่ากับ 891 ล้านล้านเยน ซึ่งเมื่อเทียบกับประเทศผู้นาทางเศรษฐกิจด้วยกันแล้วนับว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก สาเหตุหนึ่งที่ทาให้รายจ่ายของประเทศญี่ปุ่นสูงมากคือการที่ประชากรผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อัตราการเกิดนั้นลดลงจนทาให้ภาระรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทางด้านบริการสังคม เช่นค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันสังคม และค่าใช้จ่ายสนับสนุนทางการแพทย์ของรัฐบาลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันการที่รัฐบาลจะคงสถานะการสนับสนุนค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 1 ล้านล้านเยนซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้ใช้งบประมาณในส่วนอื่นมาทดแทนในส่วนดังกล่าวมาตลอด ซึ่งผู้บริหารของกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นว่านับจากนี้ไปการที่จะนารายได้ในส่วนอื่นมาทดแทนในส่วนดังกล่าวนั้นจะทาได้ยากขึ้นเรื่อยๆ จนไม่สามารถทาได้ในท้ายที่สุด ดังนั้นหากรัฐบาลไม่มีรายได้จากการเก็บภาษีที่เป็นรายได้คงที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน ประเทศญี่ปุ่นจะประสบปัญหาด้านงบประมาณในอนาคตอันใกล้นี้อย่างแน่นอน โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวว่าต้องการให้มีการเริ่มปรับปรุงและนาระบบภาษีดังกล่าวมาใช้จริงในปี 2555 แต่ในขณะเดียวกันรัฐบาลปัจจุบันก็กาลังประสบปัญหาความนิยมลดต่าลงทาให้หลายฝ่ายคาดว่าจะมีเสียงคัดค้านนโยบายการปรับขึ้นภาษีดังกล่าวนี้จากภายในพรรครัฐบาลอย่างแน่นอน

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ