รายงานภาวะเศรษฐกิจญี่ปุ่น ประจำสัปดาห์วันที่ 10 - 14 มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 17, 2011 14:00 —กระทรวงการคลัง

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา มีความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจ ดังนี้

1. ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้จัดประชุมเพื่อหารือเรื่องกรอบความตกลง Trans-Pacific Partnership

2. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นลดลง

3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 15.7

-----------------------------------

1. ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้จัดประชุมเพื่อหารือเรื่องกรอบความตกลง Trans-Pacific Partnership

ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้หารือกันเรื่องเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการที่ญี่ปุ่นจะเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกรอบความตกลงการค้าเสรี Trans-Pacific Partnership: TPP หรือไม่ เพื่อเจรจาขยายความตกลงกันในการค้าระหว่างประเทศ ทั้ง 2 ประเทศได้หารือกันว่ามีความสนใจที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกใน TPP ในการประชุมที่จะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2554 ณ กรุง Washington D.C. ในการนี้สหรัฐฯ เป็นผู้มีบทบาทสาคัญของ 9 ประเทศที่จะเข้าร่วมในการประชุมดังกล่าวนี้เพื่อเจรจาการส่งเสริมขยายจานวนสมาชิก TPP

นอกจากนี้ ทั้ง 2 ประเทศจะหารือกันเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งด้านความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศเพื่อรักษาผลผลิตทรัพยากรในกรณีจีนจะลดการส่งออกลง ซึ่งขณะนี้จีนมีอิทธิผลต่อผลผลิตทรัพยากรของโลก

ความตกลง TPP เป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีคุณภาพสูงทั้งในด้านการค้า การลงทุน และบริการโดยสินค้าทั้งหมดจะถูกยกเลิกภาษีภายใน 10 ปี ซึ่งเริ่มต้นจัดตั้งขึ้นในปี 2549 โดยมีการเจรจาระหว่างประเทศ Brunei New Zealand Singapore Australia Malaysia Peru USA และ Vietnam ส่วนญี่ปุ่นก็ได้ตัดสินใจจะเริ่มมีการเจรจากับ 9 ประเทศว่าจะเข้าเป็นสมาชิก TPP หรือไม่ ตั้งแต่เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยมีการประชุมทวีภาคีกับ Australia New Zealand และ Singapore

อย่างไรก็ตามสหรัฐฯ ได้แสดงความยินดีที่ญี่ปุ่นจะเข้าเป็นสมาชิก TPP แต่การเจรจาในเรื่องการยกเลิกภาษีนาเข้าสินค้าเกษตร และการเปิดตลาดญี่ปุ่นสาหรับสินค้าเนื้อวัวของสหรัฐฯ จะส่งผลให้ทั้ง 2 ประเทศสามารถตกลงกันได้ยากมากขึ้น

2. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นลดลง

ปริมาณเงินทุนสารองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นได้ลดลงอยู่ที่ 1.096 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 จาก 1.101 ล้านล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2553 ซึ่งการลดลงติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือนแล้ว เงินทุนสารองระหว่างประเทศที่ลดลงมีผลมาจากธนาคารแห่งประเทศญี่ปุ่นได้เข้าแทรกแซงตลาดเงินตราต่างประเทศเพื่อให้ค่าเงินเยนปรับตัวค่าอ่อนลง นอกจากนี้ยังมาจากการที่นักลงทุนเริ่มคลายความกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาและยุโรป

ทั้งนี้ การเคลื่อนไหวของเงินทุนสารองระหว่างประเทศเป็นตัววัดที่สาคัญเพื่อวัดความสามารถในการชาระหนี้ต่างประเทศและถูกใช้โดยสถาบันเพื่อจัดอันดับความเชื่อถือ ปัจจุบันประเทศ ญี่ปุ่นได้รับอันดับเครดิต AA จาก Standard & Poor's Ratings Services

เงินทุนสารองระหว่างประเทศของญี่ปุ่นประกอบด้วยหลักทรัพย์ และเงินฝาก ทองคา และสิทธิพิเศษในการถอนเงิน (Special Drawing Rights: SDRs)

3. ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤศจิกายน 2553 ลดลงร้อยละ 15.7

กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ยอดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเดือนพฤศจิกายน 2553 มีมูลค่า 926.2 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 15.7 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือนเนื่องจาก เงินเยนที่แข็งค่าขึ้นทาให้การส่งออกเพิ่มขึ้นไม่มาก

ยอดการเกินดุลการค้าและบริการลดลงร้อยละ 63.6 เหลือมูลค่า 160.4 พันล้านเยน

ส่วนยอดการเกินดุลการค้ามีจานวน 259.79 พันล้านเยน ลดลงร้อยละ 46.6 โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 มีมูลค่า 5,145.9 พันล้านเยน การส่งออกเหล็กกล้าและเครื่องจักรแปรรูปโลหะส่งไปยังประเทศจีนและเกาหลีใต้และสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นขณะเดียวกันการนาเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 มีมูลค่า 4,886.2 พันล้านเยน ราคาทรัพยากรธรรมชาติเพิ่มขึ้นทาให้การนาเข้าสินแร่เหล็กจาก Australia และ Brazil เพิ่มขึ้นด้วย การนาเข้าถ่านหินและก๊าซธรรมชาติเหลวจากภูมิภาคเอเชียและอเมริกากลางและใต้

ส่วนการเกินรายได้จากดอกเบี้ยและเงินปันผลจากลงทุนต่างประเทศอยู่ที่ 883.2 พันล้านเยน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนหน้า ที่มีมูลค่า 728.3 พันล้านเยน รายละเอียดตามตารางที่แนบ

ดุลการชำระเงินระหว่างประเทศประจำเดือนพฤศจิกายน 2553

(Balance of Payments)

หน่วย: พันล้านเยน

               รายการ                                           พฤศจิกายน  2553       พฤศจิกายน 2552
1. ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Account Balance)                             926.2             1,099.3
(เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                            (-15.7)              (76.3)
 1.1 ดุลการค้าและบริการ (Goods & Services Balance)                       160.4               440.4
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                        (-63.6)                (-)
   1.1.1 ดุลการค้า (Trade Balance)                                      259.7               486.3
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                        (-46.6)                (-)
    การส่งออก (Exports)                                              5,145.9             4,707.8
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                          (9.3)              (-6.9)
    การนำเข้า (Imports)                                              4,886.2             4,221.5
    (เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า)                                         (15.7)             (-18.0)
   1.1.2 ดุลบริการ (Services Balance)                                   -99.3               -45.9
 1.2 รายได้จากดอกเบี้ย/เงินปันผล (Income)                                  822.9               728.3
 1.3 การโอนรายได้ (Current Transfers)                                  -57.1               -69.4
2. ดุลบัญชีทุนและการเงิน (Capital & Financial Account Balance)            -518.7            -1,042.3
 2.1 ดุลบัญชีการเงิน (Financial Account Balance)                         -487.6              -986.0
     การลงทุนโดยตรง (Direct Investment)                               -530.8              -465.5
     การลงทุนในหลักทรัพย์ (Portfolio Investment)                        1,237.9            -2,986.5
     การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ด้านการเงิน (Financial Derivatives)            204.2               276.0
     การลงทุนอื่นๆ (Other investments)                                -1,398.9              2,19.0
 2.2 ดุลบัญชีทุน (Capital Account Balance)                                -31.2               -56.2
3. ยอดเงินทุนสารองระหว่างประเทศสุทธิ (Changes in Reserve Assets)          -255.2             -2,40.4

ที่มา: กระทรวงการคลังญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาเศรษฐกิจและการคลัง ณ กรุงโตเกียว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ