รายงานสรุปสภาวะเศรษฐกิจสหรัฐ - มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 25, 2011 15:41 —กระทรวงการคลัง

ภาพรวมเศรษฐกิจ

เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ขยายตัวจากไตรมาสก่อนที่อัตราร้อยละ 2.6 ปรับแก้ไขดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น โดยได้รับปัจจัยทางบวกจากการขยายตัวของการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค (เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4) ปริมาณการส่งออก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8) การลงทุนภาคเอกชน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5) ตลอดจนการใช้จ่ายภาครัฐ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.0)

เสถียรภาพเศรษฐกิจ
  • ดัชนีทางการผลิตและการใช้กาลังการผลิตปรับตัวดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายภายในประเทศและการส่งออก
  • ยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคส่วนบุคคล (PCE) และยอดรายได้ส่วนบุคคลสุทธิ (DPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และ 0.3 ตามลาดับ ในขณะที่อัตราการออมปรับลดลงร้อยละ 0.1
  • ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในเดือนธันวาคม 2553 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 0.8 ต่อปี
  • อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2553 ปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.4
  • สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าระหว่างประเทศลดลงเล็กน้อยในเดือนพฤศจิกายน 2553 มาอยู่ที่ระดับ 38.3 ล้านเหรียญ สรอ.
  • ในระหว่างช่วงต้นเดือนมกราคม 2554 ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลัก โดยแข็งขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเทียบกับเงินปอนด์
ภาคการเงินและภาคการคลัง
  • ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ยื่นหนังสือต่อรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อให้พิจารณาขยายขอบเขตวงเงินหนี้สาธารณะ (US Public Debt Limit) ซึ่งคาดว่าหนี้ดังกล่าวอาจเงินวงเงินที่กาหนดภายในเดือนมีนาคม 2554
  • นาย Gene Sperling ได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ประจาทาเนียบขาวสหรัฐฯ
  • ประธานาธิบดีจีนมีกาหนดการเยือนสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม 2554 โดยคาดว่าจะมีการหยิบยกประเด็นนโยบายทางการค้าของจีน ปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการแทรงแซงค่าเงินหยวน ในการประชุมระดับผู้นา ทั้งนี้ จีนได้ตกลงทางการค้าโดยการนาเข้าสินค้าสหรัฐฯ เป็นมูลค่ารวม 45 พันล้านเหรียญฯ ด้วย

ภาพรวมเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3

ค่า GDP ของไตรมาสที่ 3 ปรับแก้ไขเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 2.6

ตัวเลขแก้ไขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริง (GDP) ประจาไตรมาสที่ 3 ของปี 2553 ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากการคาดการณ์เบื้องต้นมาอยู่ที่อัตราขยายตัวร้อยละ 2.6 จากไตรมาสก่อนหน้า โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าว เป็นผลมาจากปริมาณการนาเข้าที่ชะลอตัวลงอย่างมาก ตลอดจนปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังภาคเอกชนและการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการคาดการณ์ครั้งก่อน

อนึ่ง เศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ได้รับปัจจัยทางบวกจาก (1) การขยายตัวของปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง (2) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชน และ (3) ปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศ

ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรมขยายตัวที่ร้อยละ 0.8 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เบื้องต้น

ในเดือนธันวาคม 2553 ดัชนีการผลิตทางอุตสาหกรรม (Industrial Production) ของสหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากเดือนก่อน หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในเดือนพฤศจิกายน โดยการปรับเพิ่มขึ้นดังกล่าวเป็นผลมาจากปริมาณการใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภคกับปริมาณการส่งออกของสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงไตรมาสที่ 4 ทั้งนี้ อุตสาหกรรมการผลิตที่มีการขยายตัวอย่างชัดเจนในเดือนธันวาคม ได้แก่ การผลิตวัสดุสานักงาน และเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน

อัตราการใช้กาลังการผลิต (Capacity Utilization) ของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 76.0 ของกาลังการผลิตทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งต่ากว่าอัตราเฉลี่ยของกาลังการใช้การผลิตในระหว่างปี 2515-2552 อยู่ร้อยละ 4.6 (ค่าเฉลี่ยของปี 2515-2552 คิดเป็นร้อยละ 80.6)

ภาพรวมด้านรายได้และการใช้จ่ายของประชากรสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 รายได้ส่วนบุคคลที่สามารถนาไปใช้ได้จริง (Real-DPI) ขยายตัวร้อยละ 0.2 ส่วนยอดการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคอุปโภคที่แท้จริง (Real-PCE) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 ในขณะที่อัตราการออมที่ปรับลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากการขยายตัวของการใช้จ่ายที่มีอัตราสูงกว่าการขยายตัวของรายได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันมากขึ้น และเป็นสัญญาณที่ดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯในไตรมาสที่ 4 ซึ่งเป็นไตรมาสที่มีการใช้จ่ายสูงสุดในรอบปี

ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ในธันวาคม 2553 มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 1.5 ต่อปี ในขณะที่ดัชนีราคาที่ไม่รวมสินค้าอาหารและน้ามัน (Core-CPI) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากเดือนก่อน มาอยู่ที่ระดับการขยายตัวร้อยละ 0.8 ต่อปี

อัตราการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 9.4 ในเดือนธันวาคม

อัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2553 ปรับลดลงร้อยละ 0.4 มาอยู่ที่ระดับร้อยละ 9.4 โดยสหรัฐฯ มีประชากรที่อยู่ในวัยทางาน (Labor force) ทั้งหมด 153.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 64.3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งลดลง 260,000 คนจากเดือนก่อน ในขณะที่มีประชากรได้รับจ้างงานจานวนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 58.2 ของประชากรในวัยทางานในเดือนพฤศจิกายนมาอยู่ที่ร้อยละ 58.3 และมีประชากรที่ว่างงานทั้งหมด 14.5 ล้านคน

ในช่วงเดือนที่ผ่านมา การจ้างงานที่ไม่ใช่เกษตรกรรม (Nonfarm payroll) ขยายตัวเพิ่มขึ้น 103,000 งาน โดยมาจากการขยายตัวของการจ้างงานเพื่อความบันเทิงและการบริการต้อนรับ (Leisure and hospitality) และงานเกี่ยวข้องกับสาธารณสุข (Healthcare)

มลรัฐที่มีอัตราการว่างงานสูงสุดในสหรัฐฯ ได้แก่ รัฐเนวาดา (ร้อยละ 14.3) รัฐแคลิฟอร์เนีย (ร้อยละ 12.4) และรัฐมิชิแกน (ร้อยละ 12.4) ตามลาดับ

เครื่องชี้เสถียรภาพเศรษฐกิจต่างประเทศ

สหรัฐฯ ขาดดุลการค้าลดลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ระดับ 38.3 พันล้านเหรียญ สรอ. ในเดือนพฤศจิกายน

ในเดือนพฤศจิกายน 2553 สหรัฐฯ ยังคงขาดดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ปริมาณการขาดดุลได้ปรับลดลง 0.1 พันล้านเหรียญ สรอ. หรือร้อยละ 0.29 จากเดือนตุลาคมที่ระดับ 38.4 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ระดับ 38.3 พันล้านเหรียญสรอ. สืบเนื่องจากมูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการ (Export) ที่ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวของมูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการ (Import) ในช่วงเดือนที่ผ่านมา

มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการขยายตัว 1.2 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 159.6 พันล้านเหรียญ สรอ. ในขณะที่มูลค่าการนาเข้าสินค้าและบริการปรับเพิ่มขึ้น 1.1 พันล้านเหรียญ สรอ. มาอยู่ที่ 198.0 พันล้านเหรียญ สรอ.

ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้า 3 ประเทศหลักที่สหรัฐฯ ประสบภาวะขาดดุลการค้าในด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ (ไม่รวมมูลค่าการบริการ) ได้แก่ จีน สหภาพยุโรป และเม็กซิโก โดยในเดือนพฤศจิกายน 2553 มูลค่าการขาดดุลกับจีนปรับเพิ่มขึ้น ในขณะที่มูลค่าการขาดดุลกับสหภาพยุโรป และเม็กซิโกปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า

  US Trade              China                Europe                Mexico
                    Nov 10   Oct 10     Nov 10   Oct 10       Nov 10  Oct 10
Export                9.48      9.30     21.0      21.8        14.8    15.4
Import                35.1      34.8     28.1      29.0        20.5    21.1
Trade Balance        -25.6     -25.5    -7.08     -7.12       -5.62   -5.75
ที่มา: สานักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ (www.bea.gov)


นโยบายทางการเงินและอัตราดอกเบี้ย

Federal Reserve ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 0 ถึง 0.25
          ในช่วงเดือนที่ผ่านมานั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิมที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25 ซึ่งอัตราดังกล่าวอยู่ในระดับคงที่ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 ตลอดจนยังคงมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (Quantitative easing: QE) ครั้งที่ 2 ไว้ที่จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. โดยจะทาการซื้อพันธบัตรรัฐบาลจากตลาดการเงินสหรัฐฯ ด้วยอัตราการซื้อที่ 75 พันล้านเหรียญ สรอ. ต่อเดือนไปจนถึงเดือนมิถุนายน 2554
          แม้ว่าสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของสหรัฐฯ มีแนวโน้มไปในทางที่ดีขึ้น สังเกตได้จากปริมาณการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคของประชากรสหรัฐฯ ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับระดับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นเข้าใกล้ระดับเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ร้อยละ 2 ต่อปี ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ เห็นว่าระดับดังกล่าวเหมาะสมต่อการเกิดภาวะการจ้างงานสูงสุดและเสถียรภาพของการเติบโตเศรษฐกิจในระยะยาว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ยังคงจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 0 ถึง 0.25 ไว้อีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราการว่างงานของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ประกอบกับรอดูผลของการประกาศใช้มาตรการ QE2 จานวน 600 พันล้านเหรียญ สรอ. ก่อนจะมีการปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเงินของสหรัฐฯ

นโยบายทางการคลังและฐานะการคลัง

รัฐมนตรีคลังสหรัฐฯ ยื่นหนังสือต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาขยายขอบเขตวงเงินหนี้สาธารณะ
          เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2554 นาย Timothy Geithner รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้มีหนังสือถึงสมาชิกรัฐสภาสหรัฐฯ เพื่อให้รัฐสภาสหรัฐฯ พิจารณาปรับเพิ่มขอบเขตวงเงินหนี้สาธารณะ (US Public Debt Limit) ซึ่งถูกกาหนดไว้ที่จานวน 14.29 ล้านล้านเหรียญ สรอ. โดยในปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐฯ มีหนี้ทั้งหมด 13.95 ล้านล้านเหรียญ สรอ. ต่ากว่าระดับที่กาหนดไว้เพียง 335 พันล้านเหรียญ สรอ.
          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แสดงความกังวลต่อการบริหารงบประมาณของรัฐบาลสหรัฐฯ ในปี 2554 ว่าระดับวงเงินหนี้สาธารณะอาจจะขยายตัวเกินกว่าระดับที่กาหนดไว้ภายในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2554 หรืออย่างช้าในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2554 หากรัฐบาลยังคงไม่มีการขยายวงเงินดังกล่าว
          ทั้งนี้ พรรครีพับรีกันแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โดยให้ความเห็นว่าการขยายขอบเขตหนี้รัฐบาลดังกล่าวจะเป็นช่องทางให้รัฐบาลสหรัฐฯ ไม่ดาเนินการตามแผนการลดรายจ่ายของรัฐบาลอย่างจริงจัง
          อนึ่ง หลังจากพรรครีพับริกันได้ที่นั่งเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งเทอมกลาง (Mid-term election) เมื่อเดือนธันวาคม 2553 พร้อมทั้งครองเสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ พรรครีพับริกันได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนในการผลักดันการลดงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลสหรัฐฯ โดยจะมุ่งเน้นในการลดงบประมาณทางการทหาร ด้านการศึกษา การค้นคว้าวิจัย ด้านกฎหมาย การขนส่ง และอื่นๆ ตลอดจนการปรับแก้กฎหมาย Healthcare bill ที่ได้ผ่านเป็นกฎหมายไปเมื่อต้นปี 2553

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา

ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง
          ภาพรวมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศในช่วงสองสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2554 เงินดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอย่างเงินยูโร, เงินปอนด์, เงินเยน และเงินหยวน หลังจากอ่อนค่าลงในช่วงปลายปี 2554 โดยในช่วงดังกล่าว เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นมากที่สุดเทียบกับเงินปอนด์ ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายเดือนธันวาคม 2554 ทั้งนี้ อัตราการแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 18 มกราคม 2554 อยู่ที่ 1.3279 USD/EUR, 1.5962 USD/GBP, 0.0121 USD/JPY, และ 0.1517 USD/CNY
          THB/USD - เงินดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในช่วงต้นเดือนมกราคม โดยค่าเงินดอลลาร์ ณ วันที่ 18 มกราคม 2554 อยู่ที่ 30.4804 THB/USD เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 30.0698 THB/USD เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2553

ประเด็นทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่สาคัญ
          เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2554 ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้แต่งตั้งนาย Gene Sperling เข้ารับตาแหน่งประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ ประจาทาเนียบขาวสหรัฐฯ โดยก่อนหน้านี้ นาย Gene Sperling ดารงที่ปรึกษาของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ และเคยดารงตาแหน่งเดียวกันนี้ในสมัยของประธานาธิบดี Bill Clinton
          ประธานาธิบดี Hu Jintao ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีกาหนดการเยือนสหรัฐอเมริกาในระหว่างวันที่ 18-21 มกราคม 2554 โดยการมาเยือนดังกล่าว เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อกรณีพิพาทต่างๆ ระหว่างสหรัฐฯ และจีน เช่น นโยบายทางการค้าของจีน ปัญหาทรัพย์สินทางปัญญา ตลอดจนการแทรงแซงค่าเงินหยวน
          ในระหว่างการมาเยือนสหรัฐฯ ของประธานาธิบดีจีนนั้น รัฐบาลจีนและภาคเอกชนได้ทาการตกลงซื้อขายและนาเข้าสินค้าจากธุรกิจสหรัฐฯ คิดเป็นมูลค่ารวม 45 พันล้านเหรียญ สรอ. ซึ่งประกอบด้วย เครื่องบินโดยสารจากบริษัท Boeing จานวน 200 ลา และสินค้าเทคโนโลยีอื่นๆ โดยความตกลงดังกล่าวจะส่งในทางบวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ขาดดุลการค้ากับประเทศจีนกว่า 250 พันล้านเหรียญ สรอ. ต่อปี อีกทั้ง ยังจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการเมืองอันดีระหว่างทั้งสองประเทศอีกด้วย


          ที่มา : Macroeconomic Analysis Group : Fiscal Policy Office
          Tel 02-273-9020 Ext 3665 :  www.fpo.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ