ความคืบหน้าของการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday January 25, 2011 16:18 —กระทรวงการคลัง

การประกาศใช้มาตรการดังกล่าวในครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่การเกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่าเมื่อปลายปี 2551 และได้มีการประกาศใช้มาตรการเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคม 2552 อีกทั้ง ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะดาเนินมาตรการเดิมในการซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมจากเงินต้นทุนที่ได้รับคืนจากตราสารหนี้ที่ทาการซึ้อมาก่อนหน้านี้

สำนักงานที่ปรึกษาฯ ขอรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นของผู้เกี่ยวข้องและการตอบรับจากตลาด โดยมีสาระสาคัญสรุปได้ดังนี้

1. นายเบน เบอนันกี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงมติคณะกรรมการ FOMC ในการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้รับแรงกดดันมาจากการชะลอตัวของการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ในขณะที่อัตราการว่างงานยังคงอยู่ในระดับสูง หรือร้อยละ 9.6 ในเดือนกันยายน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ากว่าร้อยละ 2 ซึ่งเป็นระดับที่ธนาคารกลางฯ เห็นว่าเหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว โดยมาตรการดังกล่าวจะช่วยเพิ่มจานวนเงินหมุนเวียนในระบบการเงินสหรัฐฯ ซึ่งจะส่งผลในทางบวกต่อสภาพคล่องของตลาดสินเชื่อ ตลอดจนกระตุ้นการจ้างงานและรักษาภาวะเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม

ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้กล่าวแสดงความมั่นใจเกี่ยวกับการใช้มาตรการเชิงปริมาณว่าเป็นนโยบายที่เหมาะสมต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน หลังจากที่ได้มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางฯ อยู่ที่ระดับร้อยละ 0 ถึง ร้อยละ 0.25 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2551 พร้อมเน้นย้าว่ามาตรการดังกล่าวจะไม่ส่งผลในทางลบต่ออัตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและอัตราเงินเฟ้ออย่างที่หลายฝ่ายกังวล

2. นาย Thomas Hoenig ประธานธนาคารกลางรัฐเคนซัส หนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ ได้ออกมากล่าวแสดงความไม่เห็นด้วยกับการออกนโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยกล่าวว่า การใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณและการตรึงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้นไว้ที่ระดับต่าเป็นเวลานาน จะส่งผลเพียงเล็กน้อยในการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในขณะเดียวกันจะส่งผลให้สหรัฐฯ ประสบปัญหาภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง ซึ่งอาจสูงถึงร้อยละ 4-5 ต่อปี ทั้งนี้ ประธานธนาคารกลางรัฐเคนซัส ได้กล่าวอีกว่า สภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่ในระดับที่เหมาะสม เช่นเดียวกับภาวะเงินเฟ้อก็อยู่ในระดับต่าและมั่นคง ซึ่งธนาคารกลางสหรัฐฯ ควรจะหันมาใช้นโยบายการทางเงินในลักษณะภาวะปกติ โดยเริ่มจากการปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางฯ ให้สูงขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 1

3. อนึ่ง หลังจากการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนต่างๆ มีการตอบสนอง ดังนี้ เงินสกุลดอลลาร์ปรับตัวอ่อนตัวลงเทียบเงินตราต่างประเทศโดยรวม โดยเฉพาะเงินสกุลยูโร ในขณะที่ราคาทองคาปรับตัวสูงขึ้น เช่นเดียวกับราคาสินค้า โภคภัณฑ์ (Commodity) ส่วนดัชนีตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ และในต่างประเทศ ทั้งในยุโรปและเอเชียปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยปริมาณการซื้อขายที่หนาแน่น

4. เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2553 หนึ่งวันหลังจากการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ นั้น ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) ต่างได้มีการประชุมหารือถึงนโยบายทางการเงินที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปและประเทศอังกฤษ ซึ่งทั้งสองธนาคารไม่ได้ประกาศใช้นโยบายในลักษณะเดียวกับธนาคารกลางสหรัฐฯ โดยธนาคารกลางยุโรปมีมติตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 1 หลังจากสภาวะการฟื้นตัวของสหภาพยุโรปมีแนวโน้มที่ดี ในขณะที่ธนาคารกลางอังกฤษประกาศระงับการซื้อพันธบัตรรัฐบาลเพิ่มเติมตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจอังกฤษไว้ที่จานวนรวม 200 พันล้านปอนด์ หรือ 322 พันล้านเหรียญ สรอ. พร้อมทั้งตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.5

5. ตัวแทนรัฐบาลจากหลายประเทศ เช่น เยอรมัน บราซิล ญี่ปุ่น และจีน ออกมากล่าวตาหนิการประกาศใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ซึ่งแต่ละประเทศให้ความเห็นว่า นโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบโดยตรงทาให้ค่าเงินของสหรัฐฯ อ่อนตัวลงกว่าเดิม หลังจากที่อ่อนตัวลงอยู่แล้วในช่วงที่ผ่านมา อีกทั้งจะส่งผลให้มีการไหลของเงินทุนไปสู่ตลาดลงทุนใหม่ โดยเฉพาะในประเทศแถบเอเชีย ซึ่งอาจก่อให้เกิดแรงกดดันทางราคาและภาวะเงินเฟ้อในกลุ่มประเทศเหล่านั้นได้ ซึ่งท้ายที่สุดจะนาไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่

ข้อสังเกต/คิดเห็น

6. นโยบายทางการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ มีลักษณะขัดแย้งอย่างชัดเจนกับนโยบายของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ โดยมาตรการผ่อนความเชิงปริมาณของธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่ ต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวมจะส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเพิ่มเติม ในขณะที่กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้เสนอแผนการปรับสมดุลทางการเงินโลกในเวทีการประชุมระดับนานาชาติ พร้อมทั้งโจมตีประเทศจีนที่ใช้ค่าเงินเป็นยุทธวิธีในการขยายการส่งออก

ดังนั้น ประเด็นการใช้มาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณของสหรัฐฯ จึงน่าจะเป็นประเด็นการหารือสาคัญในการประชุม G-20 ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศเกาหลีใต้ในระหว่างวันที่ 11-12 พฤศจิกายน 2553 นี้ โดยกลุ่มประเทศสมาชิกจะหันมาเพ่งเล็งถึงการเลือกใช้นโยบายทางการเงินในประเทศของสหรัฐฯ ที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก หลังจากที่ได้เคยเพ่งเล็งจีนในกรณีดังกล่าว

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office

Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ