รายงานภาวะเศรษฐกิจรายสัปดาห์ระหว่างวันที่ 24 - 28 มกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday January 31, 2011 10:05 —กระทรวงการคลัง

Executive Summary

Indicators this week
  • หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 53 มีจำนวนทั้งสิ้น 4,166.3พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.4 ของ GDP
  • ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ร้อยละ 22.7
  • ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค.53 หดตัวร้อยละ -2.5
  • ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.7
  • ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 28.2 ในขณะที่ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ใน
เดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 29.9
  • S&P ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรระยะยาวของญี่ปุ่นลงจากระดับ AA เป็น AA-
  • ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ ในเดือน ม.ค. 54 เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 60.6
  • GDP เกาหลีใต้ในไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 53 GDP ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ร้อยละ 6.1

Indicators next week

 Indicators                         Forecast            Previous
Dec: Iron sales (%yoy)                15.0                44.8
  • เนื่องจากอุปสงค์ภาคการก่อสร้างภายในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
Jan: Headline inflation (%yoy)         3.0                 3.0
  • สาเหตุสำคัญจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผลไม้และผักบางชนิดทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาน้อย ประกอบกับเป็นช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ซึ่งปี 54 นี้ตรงกับต้นเดือนก.พ. ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเนื้อสัตว์ เช่น สุกร และไก่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ไข่ไก่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งส่งผลต่อภูมิต้านทานในตัวไก่ ทำให้ไก่เกิดอาการป่วยได้ง่ายและส่งผลต่อปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ
Economic Indicators: This Week

หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นเดือน พ.ย. 53 มีจำ นวนทั้งสิ้น 4,166.3พันล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 35.2 พันล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 41.4 ของ GDP ทั้งนี้ การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะที่สำคัญเกิดจากหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน และหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน) ที่ลดลงสุทธิ 31.5 12.3 และ 4.3 พันล้านบาท ตามลำดับ ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะเกิดจากหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยเพิ่มขึ้นสุทธิ 12.9 พันล้านบาทซึ่งสะท้อนว่าสถานะหนี้สาธารณะของไทยมีความมั่นคงจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ของ GDP

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากเดือนก่อนที่หดตัวร้อยละ -5.3 ตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตสำคัญ โดยเฉพาะข้าวนาปี และยางพารา เนื่องจากปัญหาอุทกภัยคลี่คลายลง ประกอบกับราคาสินค้าเกษตรยังคงทรงตัวในระดับสูง ซึ่งเป็นจูงใจให้เกษตรกร ทำการเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรทั้งปี 53 หดตัวร้อยละ -3.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและโรคระบาดในช่วงต้นปี และประสบปัญหาอุทกภัยและวาตภัยในช่วงปลายปี

ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 14 ร้อยละ 22.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนต่อเนื่องจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 26.0 ต่อปี จากการขยายตัวในเกือบทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะยางพารา มันสำปะหลัง และปาล์มน้ำมัน เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น ตามอุปสงค์ในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่อุปทานของสินค้าเกษตรในตลาดโลกรวมถึงไทย ได้รับผลกระทบจากปัญหาสภาพภูมิอากาศโลกแปรปรวน ทำให้ผลผลิตสินค้าเกษตรปรับตัวลดลงทั้งนี้ ทั้งปี 53 ราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 25.7 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวร้อยละ 16.6

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือน ธ.ค. 53 หดตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากเดือน พ.ย. 53 ที่ขยายตัวร้อยละ 5.7 โดยมีสาเหตุหลักจากการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก เช่น เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูป) และฮาร์ดดิสไดรฟ์ที่หดตัวลง ผลจากอุปสงค์จากต่างประเทศลดลง ประกอบกับปัจจัยฐานสูงในช่วงเดียวกันปีก่อน เนื่องจากมีการผลิตสินค้าตัวใหม่ออกมาในช่วงดังกล่าว อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมหลักของไทยหลายสาขายังคงขยายตัวได้ดี เช่น เครื่องใช่ไฟฟ้า วิทยุโทรทัศน์ และยานยนต์ ตามการขยายตัวของการส่งออกไปยังอาเซียนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เมื่อปรับผลทางฤดูกาลแล้วพบว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ขยายตัวเล็กน้อยที่ร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า และทั้งปี 53 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 14.5 สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเดือน ธ.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 63.4 ของกำลังการผลิตรวม ลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าที่อยู่ที่ร้อย63.6 และเป็นไปในทิศทางที่สอดคล้องกับ MPI หดตัวลง

ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -2.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และเมื่อขจัดผลทางฤดูกาลออกขยายตัวร้อยละ 4.7 จากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในไตรมาส 4 ของปี 53 หดตัวร้อยละ -2.4 ซึ่งหดตัวลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่ขยายตัวร้อยละ 3.0 เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 4 เผชิญกับสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งเป็นอุปสรรคต่อภาคการก่อสร้างที่ชะลอการก่อสร้างออกไป ทั้งนี้ทั้งปี 53 ปริมาณจำหน่ายปูนซิเมนต์ขยายตัวได้ดีที่ร้อยละ 4.6 เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -0.4

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในเดือนธ.ค. 53 ขยายตัวร้อยละ 28.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 39.7 แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจาก 1) กำ ลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้นเนื่องจากราคาสินค้าเกษตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และ 2)ผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงความนิยมจากรถที่มีขนาดใหญ่ มาเป็นรถที่มีขนาดกลางและเล็กมากขึ้น ทั้งนี้ ในปี 53 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 50.7

ปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในเดือนธ.ค.53 ขยายตัวร้อยละ 29.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ชะลอลงจากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 37.3 แต่ถือได้ว่ายังคงขยายตัวในระดับสูง โดยได้รับปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มชัดเจนมากขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ และเศรษฐกิจโลก และความต่อเนื่องของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทั้งนี้ ในปี 53 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ยังขยายตัวในระดับสูงที่ร้อยละ 42.3

Economic Indicators: Next Week
  • ปริมาณจำหน่ายเหล็กภายในประเทศในเดือน ธ.ค. 53 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 15.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ขยายตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 44.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องจากอุปสงค์ภาคการก่อสร้างภายในประเทศยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ม.ค. 54 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.0 เท่ากับเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าคาดว่าดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปจะขยายตัวร้อยละ 0.5 สาเหตุสำคัญจากดัชนีราคาสินค้าในหมวดผักและผลไม้ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งไม่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของผลไม้และผักบางชนิดทำให้ปริมาณผลผลิตออกมาน้อย ประกอบกับเป็นช่วงใกล้เทศกาลตรุษจีน ซึ่ง ปี 54 นี้ตรงกับต้นเดือนก.พ. ส่งผลให้ดัชนีราคาสินค้าเนื้อสัตว์ เช่น สุกร และไก่ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่ไข่ไก่มีราคาปรับเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็น ซึ่งส่งผลต่อภูมิต้านทานในตัวไก่ ทำให้ไก่เกิดอาการป่วยได้ง่ายและส่งผลต่อปริมาณผลผลิตไข่ไก่ในท้องตลาดมีไม่เพียงพอต่อความต้องการ

Global Economic Indicators: This Week

Japan: mixed signal
  • S&P ปรับลดระดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรระยะยาวของญี่ปุ่นลงจากระดับ AA เป็น AA- เท่ากับจีน จากความกังวลต่อการขาดดุลงบประมาณและหนี้สาธารณะที่อยู่ในระดับสูง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือน ธ.ค. 53 อยู่ที่ร้อยละ 0.0 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า ขณะที่อัตราการว่างงานในเดือน ธ.ค. 53 ปรับลดลงครั้งแรกในรอบ 4 เดือนมาอยู่ที่ร้อยละ 4.9 ของกำลังแรงงานรวม ยอดส่งออกในเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่ร้อยละ 13.3 จากการส่งออกเครื่องจักรไปจีนและรถยนต์ไปยังสหรัฐฯที่ขยายตัวได้ดียอดค้าปลีกเดือน ธ.ค. 53 หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -2.0 หรือหดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าร้อยละ -4.1
USA: mixed signal
  • ราคาบ้าน Case-Shiller 20 City ในเดือน พ.ย. 53 หดตัวเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าร้อยละ -0.5 หรือหดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ -1.6 บ่งชี้ความเปราะบางในภาคอสังหาริมทรัพย์ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ม.ค. 54เพิ่มสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 60.6 จากความกังวลที่ผ่อนคลายลงต่ำสถานการณ์เศรษฐกิจในอนาคต
Eurozone: improving economic trend
  • ดัชนีคำสั่งซื้อผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (Composite PMI) เดือนม.ค. 54 เพิ่มขึ้นสูงที่สุดในรอบ 7 เดือนมาอยู่ที่ระดับ 56.3 จากการเพิ่มขึ้นของดัชนีดังกล่าวในภาคบริการ ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมชะลอตัวลงเล็กน้อย
Australia: improving economic trend
  • อัตราเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 2.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า หรือขยายตัวร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัวต่ำสุดในรอบเกือบ 2 ปี โดยเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของสินค้าบริโภคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอิเล็กทรอนิคส์เสื้อผ้า และยานยนต์ เป็นสำคัญ
Hong Kong: improving economic trend
  • การส่งออกเดือน ธ.ค. 53 ขยายตัวชะลอลงร้อยละ 12.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า จากการส่งออกไปจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก ขยายตัวชะลอลงค่อนข้างมาก ซึ่งสาเหตุหลักมาจากฐานการคำณวนที่สูงจากการส่งออกที่กลับเข้าสู่ระดับปรกติ ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 14.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
South Korea: improving economic trend
  • เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 53 ขยายตัวร้อยละ 4.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 53 GDP ขยายตัวสูงที่สุดในรอบ 8 ปีที่ร้อยละ 6.1 จากการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังหักผลทางฤดูกาลแล้ว GDP ขยายตัวชะลอลงที่ร้อยละ 0.5 จากการลงทุนเอกชน โดยเฉพาะภาคก่อสร้าง ที่มีการปรับตัวลงค่อนข้างมาก โดยหดตัวถึงร้อยละ -4.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า
India: mixed signal
  • ธนาคารกลางอินเดียปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อีกร้อยละ 0.25 จากระดับปัจจุบันที่ร้อยละ 6.25 เป็นร้อยละ 6.50 เพื่อสกัดภาวะเงินเฟ้อที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่าง
Weekly Financial Indicators
  • ตลาดหลักทรัพย์ของไทยผันผวนตามการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า1,000 จุด หลังจากมีแรงเทขายจากนักลงทุนต่างชาติอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายสัปดาห์ก่อน คาดว่าเนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปีเป็นต้นมา ประกอบกับมีข่าวว่านักลงทุนต่างชาติจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อเตรียมเข้ามาลงทุนใหม่อีกครั้งอย่างไรก็ตามนักลงทุนต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิตั้งแต่ช่วงกลางสัปดาห์ ทำให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวดีขึ้น ส่วนความเคลื่อนไหวในตลาดพันธบัตรของไทยมีความเคลื่นไหวค่อนข้างผันผวน โดยผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งจากการที่มีอุปสงค์เข้ามาเพิ่มขึ้น และจากแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะปรับสูงขึ้นหลังจากที่ ธปท. เปิดเผยรายงานการประชุมของกนง. ที่กล่าวว่าอาจจะต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อเนื่องไปอีกเพื่อดูแลภาวะเงินเฟ้อและเสถียรภาพเศรษฐกิจ ทั้งนี้การซื้อขายเป็นแรงซื้อจากนักลงทุนต่างประเทศ
  • ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อ่อนค่าลงอีกต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี จากมีเงินทุนไหลออกโดยเฉพาะจากตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งเป็นไปในทางเดียวกับค่าเงินหยวนของจีน และค่าเงินเยนของญี่ปุ่นโดย ดัชนีค่าเงินบาท (NEER) ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าร้อยละ 1.07 แสดงให้เห็นว่าเมื่อเทียบกับค่าเงินของประเทศคู่ค้าสำคัญแล้ว ค่าเงินบาทยังคงอ่อนค่าลง ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อภาคส่งออก

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ